รัฐบาลทหารกับการสร้างบ้านแบ่งเมือง

จุฬาพิช มณีวงศ์

          ตลอด ๘๐ กว่าปีที่ผ่านมาของการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศ โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือ บทบาทของทหารถูกจับตามองในฐานะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ในการสร้างบ้านแบ่งเมืองเสมอ แม้จะมีความพยายามในการจับวางทหารให้ห่างไกลจากการเมือง แต่ทุกครั้งเมื่อเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงของคนไทยด้วยกัน จนยากจะคลี่คลายสถานการณ์โดยสันติ ทหารเป็นเพียงกลุ่มเดียวที่มีศักยภาพในการจัดการบ้านเมืองให้เดินต่อไปได้ การบริหารประเทศไทยในช่วงรัฐบาลทหาร มีหลายสิ่งหลายอย่างน่าศึกษาและชวนติดตาม เพราะรัฐบาลทหารหลายชุด ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ

ตัวอย่างที่มักจะถูกกล่าวถึงมากที่สุด คือ การเปลี่ยนแปลงในช่วงรัฐบาล จอมพล สฤษดิ์ ธนรัชต์นักวิชาการบางสำนักถึงกับระบุว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมอย่างพลิกแผ่นดินคล้ายกับการปฏิรูปการปกครอง และการบริหารราชการบนแผ่นดินครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะเป็นการรับอิทธิพลทางวัฒนธรรม และการเมืองจากตะวันตกแต่ฝ่ายเดียว รวมทั้งยังครอบคลุมไปถึงทุกองคาพยพในสังคมไทยแต่ก็เป็นช่วงเวลาหนึ่งที่บ้านเมืองมีการพัฒนาไปอย่างมาก โดยเฉพาะ เมื่อมีการจัดตั้งกระทรวงพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ซึ่งต่อมาก็คือ สถาบันพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และยืนยง   มานานจนถึงปัจจุบัน และในปี พ.ศ.๒๕๐๐ จอมพล สฤษดิ์ ยังกำหนดให้มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะ ๕ ปี เป็นฉบับแรกของประเทศไทยอีกด้วย

รัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ เข้ามาทำการประเทศในช่วงสงครามเย็นต่อเนื่องจนถึงสิ้นสุดสงครามโลก    ครั้งที่ ๒ รัฐบาลได้นำหลักคิดแบบ Americanized มาใช้ในการพัฒนาประเทศเข้าสู่สังคมนิยม และอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน การศึกษา การวางแผนทางเศรษฐกิจ การสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการลงทุน และเข้าถึงทรัพยากร การสร้างเขื่อนพลังงานไฟฟ้า การสร้างถนนหนทาง และที่สำคัญ คือ การส่งคนไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกาและประเทศตะวันตกที่เป็นทุนไทย เพื่อกลับมาทำงานในด้านต่างๆ ส่วนใหญ่จะเน้นความสำคัญที่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์ การศึกษา การบริหารการปกครอง คติพจน์สำคัญของรัฐบาลในชุดนั้นคือ “งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข” ผลที่ตามมา คือการพัฒนาเศรษฐกิจที่ทำให้เกิดสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และการมีแผนพัฒนาเป็นระยะๆ ต่อมาจนถึงปัจจุบัน แต่นักวิชาการมองว่า การพัฒนาในช่วงรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ เป็นการพัฒนาเชิงวัตถุ โดยใช้คนในสังคมเมืองเป็นผู้ตัดสิน และกำหนดคนในสังคมชนบทอย่างขาดความเข้าใจถึงรากเหง้าทางสังคม และวัฒนธรรมของสังคมชนบทอย่างสิ้นเชิง

act01140558p1-750x458

เมื่อเปรียบเทียบสังคมเมืองกับชนบท จะเห็นความแตกต่างที่ชัดเจนประการหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันสังคมชนบทไทยมีความเปลี่ยนแปลงแบบช้าๆ โดยพื้นฐานส่วนใหญ่ยังเป็นสังคมเกษตรแบบชาวนา อยู่รวมกันเป็นระบบเครือญาติกับสายเลือด และการแต่งงานกินดองกัน พี่น้องร่วมบ้านมีการอยู่ในสถานะที่เท่าเทียมกัน     จะเหลื่อมล้ำกันแค่เรื่อง อาวุโส คุณวุฒิ และคุณธรรม การทำมาหากินกับความเป็นอยู่แบบแบ่งปัน ร่วมแรง และใช้ทรัพยากรร่วมกัน ในระบบเศรษฐกิจพอเพียงและยั่งยืน แม้จะมีความขัดแย้งระหว่างกันก็เป็นเรื่องธรรมดา มีกระบวนการไกล่เกลี่ยประนีประนอมกันภายในชุมชนโดยผู้นำ และอาวุโสที่ได้รับการยอมรับและเคารพ มีความเชื่อในอำนาจศักดิ์สิทธิ์และบาปบุญในทางศาสนา มีการถ่ายทอดกรอบจารีตประเพณีจากคน  รุ่นเก่ามาสู่ลูกหลานไม่น้อยกว่าสามชั่วคน ดังนั้นความพยายามในการเปลี่ยนสังคมชนบท จากเกษตรมาเป็นอุตสาหกรรมในยุคต่อๆ มา จึงทำให้เกิดผลกระทบตามมาอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เลย เพราะเท่ากับเป็นการพลิกผันความคุ้นชินของพวกเขาด้วยเช่นกัน

รัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ประกาศเป้าหมายสำคัญของ Thailand 4.0 แต่เริ่มแผ่วลงในโค้งสุดท้ายของโรดแมป คสช. ในเรื่องที่จะขจัดการติดหล่มหรือเผชิญกับดักหรืออุปสรรคสำคัญที่ทำให้เติบโตช้า จากประเทศยากจนมาสู่ประเทศกำลังพัฒนา และต่อไปยังประเทศที่พัฒนาแล้ว หลายฝ่ายเห็นว่ากับดักดังกล่าวนี้ เกิดจากการขาดแคลนประสิทธิภาพการผลิต ขาดนวัตกรรม ขาดการลงทุนขั้นพื้นฐาน ทำให้รายได้เติบโตช้า และอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจลดลง และอาจกลายเป็นปัญหาในระยะยาวต่อไป ซึ่งรัฐบาลกำลังแก้ไขโดยการสนับสนุนเทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างเต็มที่ คาดการณ์ว่าในปี ๒๕๖๑ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญจนอาจทำให้เกิดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำมากขึ้น ทั้งจากสถานการณ์แรงงานที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิตัลเต็มรูปแบบ มีการใช้อินเตอร์เน็ตอย่างกว้างขวาง การซื้อ-ขายผ่าน อี-  คอมเมิร์ช และถึงขั้นจะกลายเป็นสังคมใช้เงินสด เพราะหันไปใช้บัตรรูดเงิน อาชีพบางอาชีพจะถูกแทนที่ในสังคม และต้องปรับตัวขนาดใหญ่

ที่ผ่านมา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ ต่างให้ความสำคัญต่อการจัดทำประมวลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ และพนักงานหรือลูกจ้างอื่นของรัฐ เพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ รวมทั้ง     มีกลไกและระบบในการดำเนินงานเพื่อให้การบังคับใช้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับล่าสุดเอง ก็ระบุให้รัฐพึงจัดให้มีมาตรฐานทางจริยธรรม เพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นหลักในการกำหนดประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐล่าสุดสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือ สภา ให้ได้ทุนสนับสนุนการวิจัยชุดจริยธรรมในวิชาชีพ ๑๑ วิชาชีพ ได้แก่ วิชาชีพกฎหมาย วิชาชีพนักธุรกิจ วิชาชีพทหาร วิชาชีพนักการเมือง วิชาชีพข้าราชการพลเรือน วิชาชีพตำรวจ วิชาชีพแพทย์ วิชาชีพพยาบาล วิชาชีพสื่อมวลชน วิชาชีพครู และวิชาชีพอาจารย์

ในส่วนของทหารนั้น มีการกำหนดไว้ในตำราวิชาผู้นำของโรงเรียนเสนาธิการทหารบก พ.ศ.๒๕๕๘   ได้อย่างหน้าสนใจว่า วิชาชีพทหารหรือทหารอาชีพ คือ ทหารที่มีความรู้ ความชำนาญในวิชาชีพของตน พร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่ มีความรับผิดชอบในสิ่งที่กระทำ ต้องมีหลักความประพฤติในสิ่งที่ถูกต้อง เหมาะสมกับที่ประชาชนไว้วางใจ มีหน้าที่ป้องกันประเทศเป็นหลัก ต้องได้รับการฝึกฝนเรื่องการรบโดยตรง เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการสงคราม นอกจากนี้ยังกำหนดคุณลักษณะของทหารอาชีพไว้ ๔ ประการ คือ ความสำนึกในการเป็นทหาร ฝึกฝนตนเองให้มีความสามารถอย่างแท้จริง มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความกล้าหาญ สำหรับทหารอาชีพนั้น จะเห็นแก่ชาติบ้านเมืองก่อนตัวเองและมีความระลึกอยู่เสมอว่า ความรับผิดชอบของตนไม่สามารถทดแทนด้วยรางวัลอื่นใด เขาเหล่านั้นมีแรงจูงใจภายในที่จำทำเพื่อชาติและประชาชน ด้วยการเสียสละชีวิตเมื่อจำเป็น ขณะเดียวกันเป็นที่ทราบกันดีว่า วิชาติทหารเป็นบุคลที่ถือเป็นอาวุธในการป้องกันประเทศและต้องทำหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยให้เกิดขึ้นภายในชาติบ้านเมือง ช่วยพัฒนาประเทศ และช่วยเหลือประชาขน หากข้าราชการทหารขาดหลักจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ ย่อมส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ รวมทั้งความปลอดภัยของประชาชนในชาติด้วย กระทรวงกลาโหมจึงได้กำหนดให้มีประมวลจริยธรรม เพื่อเป็นมาตรฐานความประพฤติและเป็นหลักปฏิบัติในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามหลักคุณธรรม จริยธรรม ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ โดยได้ประกาศใช้ระเบียบกระทรวงกลาโหมว่าด้วย ประมวลจริยธรรม พ.ศ.๒๕๕๑ ไว้แล้วเป็นอย่างดี ทหารอาชีพทุกหน่วยจะต้องถือปฏิบัติเป็นแนวทางการทำงานให้เป็นมาตรฐานสากล เพื่อเป็นกำลังหลักที่สำคัญของชาติในอนาคต

ข้อหวาดระแวงทุกครั้งที่ทหารเข้ามาทำหน้าที่ในการบริหารบ้านเมืองในสถานการณ์ไม่ปกติเป็นรัฐบาลทหารอย่างที่มักกล่าวขานกันนั้น จึงมักจะเกิดจากการขาดความเข้าใจ และรัฐบาลทหารมักมีความเฉียบขาดในการตัดสินใจในนโยบายต่างๆ ซึ่งบางครั้งต่างจากรัฐบาลพลเรือน แต่ทั้งหมดก็เพื่อผลประโยชน์ของประเทศ รัฐบาลทหารที่ผ่านมาหลายยุคหลายสมัยได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ และยากที่จะประสบความสำเร็จในรัฐบาลพลเรือนดังเช่นที่รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่จะได้ใช้เวลาที่เหลืออยู่ก่อนกลับสู่การเลือกตั้งครั้งต่อไป ด้วยการปฏิรูปด้านต่างๆ และวางยุทธศาสตร์ไว้ ๒๐ ปี เป็นพื้นฐานสู่อนาคต ที่จะไม่กลับไปสู่วังวนเดิมที่ไม่พึงปารถนา

 

20171127120157

ข้อมูลจาก : สร้างบ้านแบ่งเมือง ศรีศักย์ วัลลิโภดม มกราคม ๒๕๖๐

บทความเรื่อง : จริยธรรมในวิชาชีพทหาร พลโท ทวี แจ่มจรัส หนังสือพิมพ์มติชน ๒ มกราคม ๒๕๖๑