๕ ปีที่ผ่านมากลุ่มประเทศอาเซียนได้ขยายความร่วมมือ ด้านการเมืองและด้านเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น จึงมีบทบาทที่สำคัญของเวทีการเมืองในระดับภูมิภาคและในระดับ โลกทั้งทางด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ และ การคมนาคม ทุกชาติ ต่างมีผลประโยชน์ของประเทศซึ่งบางครั้งนำมาซึ่งความขัดแย้ง หลายประเทศจึงได้จัดหายุทโธปกรณ์ทางทหารใหม่เข้าประจำการ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ…….บทความนี้กล่าวถึงการ จัดหายุทโธปกรณ์ทางทหารใหม่ของกองทัพไทย

๑.  กล่าวทั่วไป

การขยายตัวด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วพร้อมทั้งการเพิ่มของ ประชากรในกลมุ่ประเทศอาเซยีน มปีระชากร ๕๘๖ ล้านคนเศษ เป็นผลให้ทุกประเทศพยายามแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น เพื่อ สนองความต้องการด้านบริโภค หลายประเทศได้เร่งพัฒนาแหล่ง ทรัพยากรธรรมชาติแห่งใหม่ในทะเลทั้งทางด้านการประมงและด้าน พลังงานเกิดเป็นพื้นที่ทับซ้อนนำมาสู่ความขัดแย้งในระดับภูมิภาค ครั้งให่

๒.  อาเซียนกับยุทโธปกรณ์ ทางทหารใหม่

กลุ่มประเทศอาเซียนมีการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจที่ด ีหลาย ประเทศที่มีเขตแดนทางทะเลติดต่อกับทะเลจีนใต้ มีความขัดแย้งใน ปัญหาหมู่เกาะสแปรตลีย์ (ประเทศอาเซียน มีส่วนความขัดแย้ง คือ เวียดนาม, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์ และบรูไน) เพื่อจะปกป้องผลประโยชน์ ของประเทศจึงได้มีการเพิ่มขีดความสามารถทางทหารโดยการประจำการด้วยยุทโธปกรณ์ทางทหารที่ทันสมัย ที่สำคัญคือ

๒.๑ กองทัพบก
รถรบทหารราบ (เวียดนาม ๗๕๐ คัน, สิงคโปร์ ๔๐๐ คัน, มาเลเซีย ๓๖๐ คัน, อินโดนีเซีย ๕๐ คัน และเมียนมา ๕๐ คัน), รถเกราะล้อยางชนิด ๘x๘ ล้อ (สิงคโปร์ ๑๓๕ คัน, มาเลเซีย ๒๕๗ คัน, เมียนมา ๓๖๘ คัน, อินโดนีเซีย ๒๘๕ คัน, เวียดนาม ๕๕๐ คัน และไทย ๒๑๗ คัน), รถถังหลักเลียวปาร์ด-๒เอ๔ (สิงคโปร์ ๑๘๒ คัน และอินโดเนีเซีย ๑๐๔ คัน), ปืนใหญ่ อัตตาจรชชนิดสายพานขนาด ๑๕๕ มิลลิเมตร (สิงคโปร์ ๕๔ หน่วยยิง และ ไทย ๒๐ หน่วยยิง), ปืนใหญ่อัตตาจรชนิดล้อยางขนาด ๑๕๕ มิลลิเมตร (อินโดนีเซีย ๓๗ หน่วยยิง และไทย ๖ หน่วยยิง), เฮลิคอปเตอร์โจมตี (สิงคโปร์ ๑๗ เครื่อง, เวียดนาม ๓๖ เครื่อง, อินโดนีเซีย ๑๖ เครื่อง และ ไทย ๗ เครื่อง) และเฮลิคอปเตอร์ขนส่งขนาดหนัก (สิงคโปร์ ๑๔ เครื่อง, อินโดนีเซีย ๑๕ เครื่อง, เวียดนาม ๖๐ เครื่อง สังกัดกองทัพอากาศ และ ไทย ๑๒ เครื่อง)

277-8

๒.๒.  กองทัพเรือ
เรือฟรีเกตล่องหน (สิงคโปร์ ๖ ลำ), เรือฟรีเกตจรวดนำวิถี (มาเลเซีย ๒ ลำ, อินโดนีเซีย ๖ ลำ, เวียดนาม ๗ ลำ, เมียนมา ๔ ลำ และไทย ๘ ลำ), เรือคอร์เวตจรวดนำวิถี (อินโดนีเซีย ๗ ลำ, มาเลเซีย ๔ ลำ, เวียดนาม ๘ ลำ, เมียนมา ๒ ลำ และไทย ๒ ลำ), เรือดำน้ำดีเซล ไฟฟ้า (อินโดนีเซีย ๕ ลำ, สิงคโปร์ ๖ ลำ, มาเลเซีย ๓ ลำ และเวียดนาม ๖ ลำ), เครื่องบินลาดตระเวนทางนาวี (อินโดนีเซีย ๑๕ เครื่อง, สิงคโปร์ ๕ เครื่อง สังกัดกองทัพอากาศไทย ๑๔ เครื่อง), เฮลิคอปเตอร์ทางนาวี (สิงคโปร์ ๘ เครื่อง, มาเลเซีย ๖ เครื่อง, เวียดนาม ๗ เครื่อง, อินโดนีเซีย ๓๘ เครื่องและไทย ๑๐ เครื่อง) และหน่วยนาวิกโยธิน (อินโดนีเซีย ๒ กองพลน้อย, ฟิลิปปินส์ ๓ กองพลน้อย และไทย ๑ กองพล)

277-9

๒.๓  กองทัพอากาศ

เครื่องบินขับไล่ (สิงคโปร์ ๑๑๕ เครื่อง, อินโดนีเซีย ๒๗ เครื่อง, เวียดนาม ๒๑๒ เครื่อง, มาเลเซีย ๓๑ เครื่อง, เมียนมา ๕๑ เครื่องและไทย ๙๑ เครื่อง), เครื่องบินขับไล่โจมตีชนิดสองที่นั่ง (สิงคโปร์ ๒๔ เครื่อง, มาเลเซีย ๑๘ เครื่อง, อินโดนีเซีย ๑๑ เครื่อง และเวียดนาม ๒๔ เครื่อง), เครื่องบินโจมตี (อินโดนีเซีย ๒๘ เครื่อง, เวียดนาม ๑๔๔ เครื่อง, มาเลเซีย ๑๓ เครื่อง และไทย ๑๙ เครื่อง), เครื่องบินเติมน้ำมัน ทางอากาศ (สิงคโปร์ ๙ เครื่อง, มาเลเซีย ๔ เครื่อง และอินโดนีเซีย ๒ เครื่อง), เครื่องบินเตือนภัยทางอากาศ (สิงคโปร์ ๔ เครื่อง และไทย ๒ เครื่อง) และเครื่องบินขนส่งทางทหาร (สิงคโปร์ ๙ เครื่อง, มาเลเซีย ๒๓ เครื่อง, อินโดนีเซีย ๑๐ เครื่อง, ฟิลิปปินส์ ๑๑ เครื่อง, เวียดนาม ๔๕ เครื่อง, เมียนมา ๑๐ เครื่อง และไทย ๒๐ เครื่อง)

277-10

๓. ไทยกับยุทโธปกรณ์ทางทหารใหม่

๓.๑ รถถังหลัก
กองทัพบกไทยจัดซื้อรถถังหลักรุ่นใหม่ ที-๘๔ (T-84 Oplot) จำนวน ๔๙ คัน เทียบได้กับรถถังหลักที่ประจำการในกองทัพเวียดนาม เมียนมา และมาเลเซีย อยู่ระหว่างการรับมอบ

277-11

๓.๒ เรือฟรีเกต
๓.๒.๑. ปรับปรุงเรือฟรีเกต กองทัพเรือไทยกำลังปรับปรุงเรือฟรีเกตจรวดนำวิถีในชั้นนเรศวร รวม ๒ ลำ ขนาด ๒,๙๕๐ ตัน อาวุธหลักที่สำคัญตามมาตรฐานกองทัพ เรือสหรัฐอเมริกา ความเร็ว ๓๒ นอต ประจำการนาน ๑๕ ปี ติดตั้ง ระบบอาวุธใหม่ที่ทันสมัย ประกอบด้วย จรวดนำวิถีต่อสู้อากาศยาน ทางดิ่ง (ESSM) ระยะยิงไกล ๕๐ กิโลเมตร (ความเร็วกว่า ๔ มัค) ปืน กลขนาด ๓๐ มิลลิเมตร (๒ กระบอก) และติดตั้งระบบเชื่อมต่อข้อมูล อัตโนมัติ (Data Link) ใช้ประสานงานกับเครื่องบินเตือนภัยทางอากาศ (Saab 340 AEW) ของกองทัพอากาศ เป็นระบบที่สำคัญยิ่ง (ดำเนินการ รวมทั้งโครงการ ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๕๔ – ๒๕๕๘)

277-12

๓.๒.๒ เรือฟรีเกตใหม่
กองทัพเรือไทยกำลังดำเนินการต่อเรือฟรีเกตจรวดนำวิถีลำาใหม่ จากประเทศเกาหลีใต้ จำนวน ๑ ลำ (ได้รับอนุมัติตามโครงการ ๒ ลำ เรือลำแรก ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๕๕ – ๒๕๕๙ และเรือลำที่สอง ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๕๗ – ๒๕๖๑) มีระวางขนาด ๓,๙๖๐ ตัน ทำการรบได้ทั้งสาม มติิ ระบบอาวธุมาตรฐานเดียวกับเรือฟรีเกตชึ้นนเรสวร ทางด้านซ้ายเรือจะมีลานจอดเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ทางนาวี พร้อมทั้งโรงเก็บเครื่องบิน

277-14

๓.๓ เครื่องบินขับไล่
๓.๓.๑ เครื่องบินขับไล่ใหม่ กองทัพอากาศไทยจัดซื้อเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่กริพเพน (Gripen JAS-39) จำนวน ๑๒ เครื่อง (รุ่นที่นั่งเดี่ยว และรุ่นฝึกสอง ที่นั่ง) พร้อมทั้งได้รับมอบเครื่องบินเตือนภัยทางอากาศจำนวน ๒ เครื่อง (Saab 340 AEW เรดาร์ตรวจการณ์ระยะ ๔๒๕ กิโลเมตร จะช่วยให้มีเวลาในการแจ้งเตือนภัยคุกคามที่เกิดขึ้น และส่งเครื่องบินขับไล่ขึ้น สกัดกั้นทันที) จบโครงการเมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๖

277-15

๓.๓.๒ ปรับปรุงเครื่องบินขับไล่
กองทัพอากาศไทยปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ เอฟ-๑๖เอ/บี (F-16A/B Block 15) ให้มีความทันสมัยเนื่องจากได้ประจำการมานาน ปรับปรุงครึ่งทางของการใช้งาน (MLU) จำนวน ๑๘ เครื่อง (แบ่งเป็น ๓ เฟส เฟสละ ๖ เครอื่ง) สงักดัฝงูบนิที่ ๔๐๓ ฐานทพัอากาศตาคลี ปรบัปรงุ เสร็จแล้วจะมีความทันสมัยใช้อาวุธได้ตามมาตรฐานของกองทัพอากาศ สหรัฐอเมริกา (ทำาการยิงจรวดนำวิถี AIM-120C พิสัยกลางก้าวหน้า ติดตั้งเรดาร์ใหม่ APG-68 (V) 9 และระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส ์ ALQ-213) ดำเนินการตามโครงการทั้งสิ้นระหว่างปี พ.ศ.๒๕๕๔ – ๒๕๖๐

๔. บทสรุป

ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนทำให้ยุทโธปกรณ์ทาง ทหารมีความก้าวหน้ามากที่สุด มีขีดความสามารถทำให้มีความแม่นยำ ในการทำลายเป้าหมาย ยุทโธปกรณ์ทางทหารจึงได้รับการพัฒนาอยู่ ตลอดเวลา ดังนั้นทุกประเทศที่ต้องการขีดความสามารถทางทหารให้ อยู่ในระดับสูงสุดจะต้องได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยตลอดเวลา ซึ่งจะ ต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมากและมีบุคลากรที่มีคุณภาพเช่นกัน จึง จะใช้ยุทโธปกรณ์ทางทหารให้มีขีดความสามารถสูงสุด

 

For the past 5 years, there has been a significant increase in Asean’s political and economical collaborations. Asean has therefore became one of the key players both regionally and globally in economics, politics, and transportation. Countries are trying to protect their interests which occasionally lead to conflict. Many countries then have to find ways to best protect their resources and their interests through procuring modern weapons and equipments. This paper is discussed on Thailand’s procurement of modern equipment.

1. Introduction

Rapid population growth and economic expansion in the ASEAN with more than 586 million people has resulted in a significant increase in demand of natural resources to accommodate the consumers. Many countries have been undertaking to develop new natural resources in fishery Royal and energy on the overlapping areas which lead to a new regional dispute.

2. ASEAN and the New Military Equipment

ASEAN countries have been enjoying their economic growth. Many Asean countries with territory in South China Sea are claiming the ownership over the Spratly Islands; including Vietnam, Malaysia, the Philippines and Brunei. To protect their best interest, these countries are enhancing their military superiority through procuring modern equipment as follows:

2.1 The Army
Infantry Vehicle: Vietnam 750, Singapore 400, Malaysia 360, Indonesia 50, Myanmar 50
8×8 Armored Wheel Vehicle: Singapore 135, Malaysia 257, Myanmar 368, Indonesia 285, Vietnam 550, Thailand 217 2A4 Leopard Tanks: Singapore 182, Indonesia 104 Track Self-Propelled 155 mm Artillery: Singapore 54, Thailand 20 Wheeled Self-Propelled 155 mm Artillery: Indonesia 37, Thailand 6 Attack Helicopter: Singapore 17, Vietnam 36, Indonesia 16, Thailand 7 Transport Helicopter: Singapore 14, Indonesia 15, Vietnam 60, Thailand 12

2.2 The Navy
Formidable-Class Frigate: Singapore 6 Missile Frigate: Malaysia 2, Indonesia 6, Vietnam 7, Myanmar 4, Thailand 8 Corvette Missiles: Indonesia 7, Malaysia, Vietnam 8, Myanmar 2, Thailand 2 Diesel-Electric Submarine: Indonesia 5, Singapore 6, Malaysia 3, Vietnam 6 Maritime Patrol Aircraft: Indonesia 15, Singapore 5, Thailand 14 Maritime Patrol Helicopter:
Singapore 8, Malaysia 6, Vietnam 7, Indonesia 38, Thailand 10 Marine Unit: Indonesia 2 Brigades, Philippines 3 Bridades, Thailand 1 Division

2.3 The Air Force
Fighter: Singapore 115, Indonesia 27, Vietnam 212, Malaysia 31, Myanmar 51, Thailand 91 2-Seater Fighter: Singapore 24, Malaysia 18, Indonesia 11, Vietnam 24, Strike Fighter: Indonesia 28, Vietnam 144, Malaysia 13, Thailand 19 Tanker Aircraft: Singapore 9, Malaysia 4, Indonesia 2 Airborne Early Warning Aircraft Singapore 4, Thailand 2 Military Transport Aircraft: Singapore 9, Malaysia 23, Indonesia 10, Philippines 11, Vietnam 45, Myanmar 10, Thailand 20

3. Thailand and Modern Military Equipment

3.1 Main Battle Tank
Thailand has recently purchased 49 (T84) Oplot Tanks, with comparable efficiency to the commissioned tanks of Vietnam, Myanmar and Malaysia. They are in the process of delivery.ฃ

3.2 Frigate

3.2.1 Ship Upgrades (2011-2015)

The Royal Thai Navy is on the process of upgrading 2 Naresuan-class Guided Missile Frigates, 2950 tons displacement which consists of the main weapon system of US Navy standard 30 knots of speed and 15 years in commission and will be equipped with the new weapon system including vertical launch system for ESSM with a range of 50 km. (at the speed of Mach 4), 2 (30 mm) artillery guns and Automated DataLink System to coordinate with Saab 340 AEW of the Royal Thai Air Force.

3.2.2 New Frigate (2012-2018)
The Royal Thai Navy has chosen South Korea to build 1 new frigate (RTN has been approved to build 2 new multirole frigates and the scheme is divided into 2 phases, 1 frigate for each phase: the first frigate will be built between 2012-2016 and the second frigate in 2014-2018) with 3,960 tons displacement. This new frigate will include the ability of 3 dimension attack, comprising similar weapon system of Naresuan-class frigate, with helipad and hangar at the rear.

3.3 Fighter Jet

3.3.1 New Fighter Jet (completed 2013) The Royal Thai Air Force has recently purchased 12 new Gripen JAS-39 Fighters (both one seater and two seater training jets). They have also received 2 airborne early warning aircrafts (Saab 340 AEW) with 425 km range radar to allow enough time for warning and prompt intercepting. The project has completed on September 11th, 2013.

3.3.2 Fighter Upgrades (2011-2017)
The Royal Thai Air Force is upgrading its F-16 A/B Block 15 fighter jets after they have been commissioned for a long time. 18 jets of Air Squadron 403 are going through their mid-life upgrades (MLU). The upgrade process has been divided into 3 phases, 6 jets per phase. When completed, the jets will be equipped with U.S. standards medium-range homing air-to-air missiles (AIM 120C), radar APG-68 (V) 9 and an electronic warfare management system (ALQ 213)

4. Conclusion
Technology advancement has been a critical part for modernising military equipments. It improves accuracy in attacking the target. Within this regard, military equipments require constant upgrades and maintenance. Hence, countries have to allocate a large amount of budget both for modernizing their equipments as well as their personnel to maximise the use of the equipment.

Reference The World Defence Almanac 2013