ผลการประชุม รมว.กห.อาเซียน ครั้งที่ ๑๒ ( ADMM ) เมื่อ ๑๙ ต.ค.๖๑ ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. และ รมว.กห. พร้อม ปล.กห. เข้าร่วมประชุม กับ รมว.กห.ประเทศสมาชิก

ที่ประชุมได้รับทราบ ผลการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน ( ADSOM ) และ ผลการประชุม ผบ.ทสส.อาเซียน อย่างไม่เป็นทางการ จากนั้นได้หารือร่วมกันถึงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของอาเซียน การตอบสนองและการฟื้นฟู สำหรับการต่อต้านการก่อการร้าย โดยแสดงความกังวลร่วมกันถึงภัยจากการก่อการร้าย ที่ต้องการ
บูรณการความร่วมมือในการรับมือกันมากขึ้น ในการเสริมสร้างความเข้มแข็ง การตอบสนองและการฟื้นฟูสำหรับการต่อต้านการก่อการร้าย

พล.อ.ประวิตร ได้แสดงความเสียใจกับลาว และอินโดนีเซีย ต่อเหตุการณ์ภัยพิบัติที่ผ่านมา โดยรัฐบาลไทยพร้อมให้การสนับสนุนและช่วยเหลือ พร้อมทั้งเชื่อมั่นว่า ลาวและอินโดนีเซีย จะสามารถผ่านความยากลำบาก
ไปได้โดยเร็ว พร้อมทั้งย้ำถึงความตระหนักร่วมกันถึงภัยคุกคามรูปแบบใหม่ และความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาค
ที่ถูกแสวงประโยชน์จากกลุ่มผู้ไม่หวังดี ขยายผลเป็นภัยคุกคามข้ามชาติ ซึ่งทุกประเทศจำเป็นต้องให้ความร่วมมือกันใกล้ชิดมากขึ้น ผ่านการเสริมสร้างกลไกความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะ การก่อการร้าย อาชญากรรม
ข้ามชาติ และความมั่นคงทางทะเล ซึ่งรวมถึงการทำประมงผิดกฎหมาย ( IUU Fishing ) ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญ
ของหลายประเทศ ที่ควรได้รับการริเริ่มแสวงหาแนวทางและสร้างกลไกความร่วมมือที่สร้างสรรค์ระดับภูมิภาค
ที่เป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืนร่วมกัน พร้อมทั้งได้ใช้โอกาสนี้ ยืนยันถึงความพร้อมของ กห.ไทย ในการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน ที่มุ่งมั่นจะสานต่อและขับเคลื่อนความร่วมมือ รวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งของความเป็นหุ้นส่วนระหว่างประเทศ ให้เกิดความต่อเนื่องยั่งยืนต่อไป

ทั้งนี้ ที่ประชุมอาเซียน ได้เห็นชอบกับข้อเสนอของ กห.ไทย ในการร่วมกันผลักดัน การแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ( IUU Fishing ) โดยจะนำไปหารือเพื่อแสวงความร่วมมือกันในการประชุม ADMM ปี ๖๒
ซึ่งไทยจะเป็นเจ้าภาพ ต่อจากนั้นได้ลงนามร่วมกัน ในปฏิญญาร่วม ว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือและเสริมสร้างความเข้มแข็งของอาเซียน โดยมีสาระสำคัญ เกี่ยวกับแนวความคิดด้านต่างๆ ๕ ฉบับ ประกอบด้วย การจัดตั้งเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญของอาเซียน ด้านเคมี ชีวภาพและรังสี เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ร่วมกัน ,
กรอบแนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์อากาศยานทหารบินเผชิญหน้ากัน เพื่อหลีกเลี่ยงความเข้าใจผิด , ขอบเขตการปฏิบัติงานของผู้แทนฝ่ายทหารประจำศูนย์ประสานงานอาเซียน สำหรับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และ
การบรรเทาภัยพิบัติ โดยกองกำลังเตรียมพร้อมอาเซียน , แนวความคิดว่าด้วยบรรทัดฐาน การคัดเลือกประเทศผู้สังเกตการณ์ของคณะผู้เชี่ยวชาญในกรอบการประชุม รมว.กห.อาเซียนกับ รมว.กห.ประเทศคู่เจรจา รวมทั้ง แนวความคิดโครงการ “Our Eyes Initiative” ในการแลกเปลี่ยนข่าวสารทางยุทธศาสตร์ด้านการต่อต้านการก่อการร้ายร่วมกัน พร้อมทั้ง ได้ลงนามร่วมกัน ในปฏิญญาร่วม ว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือและเสริมสร้างความเข้มแข็งของอาเซียน เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของภูมิภาคร่วมกัน

S__10051597

S__10051617

S__10051687

IMGP3045