พลอากาศตรี พงษ์ศักดิ์ เสมาชัย โฆษกกองทัพอากาศ ได้ออกมาชี้แจงกรณี

20046691_884530488364026_6410400085453121393_n

นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ออกแถลงการณ์คัดค้านการจัดซื้อเครื่องบิน T-50TH ให้กับกองทัพอากาศ โดยใช้งบ 8,800 ล้านบาท ในประเด็นการจัดซื้อเครื่องบินอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 62 ประกอบมาตรา 75 และมาตรา 76 ว่า ในฐานะที่เราเป็นชาติที่มีเอกราชและอธิปไตย การจัดหายุทโธปกรณ์ของกองทัพที่เหมาะสม เพียงพอ และที่จำเป็นเพื่อใช้ในการป้องกันประเทศ เป็นสิ่งที่ถูกต้อง และเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่กำหนดให้รัฐต้องมีกำลังทหารไว้เพื่อการป้องกันประเทศ และสอดคล้องกับพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551 ที่กำหนดให้กองทัพมีหน้าที่ในการเตรียมกำลังและป้องกันราชอาณาจักร ดังนั้นไม่มีทางสรุปง่ายๆ ได้เลยว่าการจัดหายุทโธปกรณ์ของกองทัพเพื่อการป้องกันประเทศเป็นการขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 3 วรรค 2 บัญญัติว่า หน่วยงานของรัฐซึ่งรวมถึงกองทัพอากาศต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม ประกอบมาตรา 52 รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราชอธิปไตย บูรณภาพแห่งอาณาเขต และเขตที่ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย เกียรติภูมิ และผลประโยชน์ของชาติ ความมั่นคงของรัฐ และความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพื่อประโยชน์แห่งการนี้ รัฐต้องจัดให้มีการทหารที่มีประสิทธิภาพ

19955949_884530481697360_1985474004265456916_o
ส่วนประเด็นที่ว่าการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ขัดต่อหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สะท้อนว่ารัฐบาลไม่รักษาวินัยทางการเงินการคลังนั้นโฆษกชี้แจงประเด็นนี้ว่าโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นของกองทัพอากาศในครั้งนี้ ได้ดำเนินการโดยคำนึงถึงหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญคือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และความมีภูมิคุ้มกัน ซึ่งโครงการดังกล่าวมีความโปร่งใส และมีขั้นตอนที่สามารถตรวจสอบได้ อีกทั้งเป็นไปตามยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหม พ.ศ.2555 ซึ่งกำหนดโครงสร้างกำลังรบของกองทัพอากาศให้มีฝูงบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น โดยการจัดหาเครื่องบิน T-50TH ในครั้งนี้ จะเข้าประจำการทดแทนเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นแบบ L-39 (ในฝูงบินเดิม) ซึ่งปัจจุบันได้ทยอยปลดประจำการเนื่องจากครบอายุการใช้งาน หากไม่มีการจัดหาทดแทนจะส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติภารกิจสำหรับประเด็นข้อเสนอให้ชะลอการจัดซื้อฯ นั้น กองทัพอากาศขอชี้แจงว่า การจัดทำงบประมาณประเทศเป็นกระบวนการทางกฎหมาย ซึ่งเรื่องนี้ได้ผ่านขั้นตอนตามกระบวนการจนเป็นรายการตาม พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2560 ซึ่งการจัดทำงบประมาณเป็นไปตามยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณประจำปีของรัฐบาล โดยรายการดังกล่าวมีการวางแผนผูกพันงบประมาณข้ามปี และแบ่งชำระเป็น 4 ปี (พ.ศ.2560 – 2563) ซึ่งเป็นการทยอยจ่ายภายใต้กรอบงบประมาณที่กองทัพอากาศได้รับการจัดสรรในแต่ละปี ตามแผนยุทธศาสตร์เสริมสร้างความมั่นคงฯ ทำให้ไม่สามารถชะลอการจัดซื้อฯ ได้เพราะจะกระทบต่อการฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นของกองทัพอากาศ ส่งผลต่อการเตรียมกำลังกองทัพอากาศเพื่อการป้องกันประเทศตามที่ระบุในรัฐธรรมนูญ

19989471_884530485030693_219163967079345334_n