lm 283 (33)จังหวัดชวาตะวันออก ที่ลงนามในสัญญาเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๕ ราคาเรือลำละ ๒๒๐ ล้านเหรียญสหรัฐ เรือมีขนาดยาว ๑๐๕.๑ เมตร ระวางขับน้ำ ๒,๓๖๕ ตัน ความเร็วสูงสุด ๒๘ นอต ระยะปฏิบัติการ ๖,๗๐๐ กิโลเมตร ลูกเรือ ๑๒๐ นาย ปืนใหญ่หลักขนาด ๗๖ มิลลิเมตร ปืนขนาด ๒๐ มิลลิเมตร (๒ ชุด) จรวดนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำแบบเอ็กโซเซต์ เอ็มเอ็ม-๔๐ (MM-40 Exocet Block-II มีระยะยิงไกล ๗๒ กิโลเมตร) รวม ๘ ท่อยิง จรวดนำวิถีต่อต้านอากาศยานแบบไมก้า (MICA ลูกจรวดหนัก ๑๑๒ กิโลกรัม หัวรบหนัก ๑๒ กิโลกรัม ระยะยิงไกล ๒๐ กิโลเมตร และมีความเร็ว ๓.๐ มัค) ชนิดแท่นยิงทางดิ่ง (VLS) รวม ๑๒ ท่อยิง ตอร์ปิโดชนิดสามท่อยิงรวม ๒ ระบบ (รวม ๖ ลูก) ปืนกลขนาด ๒๐ มิลลิเมตร (แบบ Denel Vektor รวม ๒ กระบอก) ติดตั้งระบบดาต้าลิ้งค์ (Data Link) ระบบเรดาร์ค้นหาเป้าหมาย (MW083D) ระบบโซน่า (UMS 4132) ระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ (Thales DR 3000/Racal Scorpion 2L) ระบบเป้าลวง (TERMA SKWS, DLT-12T แท่นยิงขนาด ๑๓๐ มิลลิเมตร) และทางด้านท้ายเรือมีลานจอดพร้อมโรงเก็บเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ทางนาวีขนาด ๑๐ ตัน เรือรบลำนี้ต่อเสร็จเรียบร้อยในปี พ.ศ.๒๕๕๙ กองทัพเรืออินโดนีเซีย (TNI-AL) มีโครงการที่จะต่อเรือฟริเกตจรวดนำวิถีชั้นซิกม่า ๑๐๕๑๔ (SIGMA10514) รวม ๒ ลำ

lm 283 (36)

ก่อนนั้นกองทัพเรืออินโดนีเซีย (TNI-AL) ได้สั่งต่อเรือคอร์เวตชั้นซิกม่า ๙๑๑๓ (SIGMA9113) เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๘
เรือยาว ๙๐.๐๑ เมตร ระวางขับน้ำ ๑,๖๙๒ ตัน รวมทั้งสิ้น ๔ ลำ ประกอบด้วย เรือหมายเลข ๓๖๕ (KRI Diponegoro) ประจำการ วันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๐, เรือหมายเลข ๓๖๖ (KRI Sultan Hasanuddin) ประจำการ วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๐, เรือหมายเลข ๓๖๗ (KRI Sultan Iskandar) ประจำการ วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๑ และเรือลำที่สี่หมายเลข ๓๖๘ (KRI Frans Kaisiepo) ประจำการ วันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๒ เรือชุดนี้ทั้งสี่ลำทางด้านท้ายเรือมีเฉพาะลานจอดเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ทางนาวีขนาด ๕ ตัน แต่ไม่มีโรงเก็บเครื่องบิน

lm 283 (38)

เรือคอร์เวตชั้นซิกม่า (SIGMA) ออกแบบโดยประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นเรือรบรุ่นใหม่สามารถที่จะขยายแบบให้มีระวางขับน้ำเพิ่มขึ้นเพื่อให้สามารถปฏิบัติการในทะเลได้นานขึ้นประกอบด้วย ซิกม่า ๙๑๑๓ (SIGMA 9113) ขนาด ๑,๖๙๒ ตัน, ซิกม่า ๙๘๑๓ (SIGMA9813) ขนาด ๒,๐๗๕ ตัน, ซิกม่า ๙๘๑๔ (SIGMA 9814) ขนาด ๒,๑๕๐ ตัน, ซิกม่า ๑๐๕๑๓ (SIGMA 10513) ขนาด ๒,๒๓๕ ตัน และซิกม่า ๑๐๕๑๔ (SIGMA 10514) ขนาด ๒,๓๖๕ ตัน ปืนหัวเรือขนาด ๗๖ มิลลิเมตร ระบบอาวุธที่ติดตั้งเป็นมาตรฐานของนาโต้ แต่ประเทศลูกค้าสามารถที่จะติดตั้งระบบอาวุธได้ตามต้องการ แต่ส่วนใหญ่ยังคงเป็นมาตรฐานนาโต้ กองทัพเรือโมร็อคโคได้สั่งต่อเรือฟริเกตชั้นซิกม่า ๑๐๕๑๓ (SIGMA 10513) เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๑ จำนวน ๓ ลำ ราคา ๑.๒ พันล้านเหรียญสหรัฐ มีระวางขับน้ำขนาด ๒,๐๗๕ ตัน ประกอบด้วย เรือหมายเลข ๖๑๓ (Tarik Ben Ziyad) ประจำการ วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๔, เรือหมายเลข ๖๑๔ (Sultan Moulay Ismail) ประจำการ วันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๕ และเรือลำที่ สาม หมายเลข ๖๑๕ (Allal Ben Abdellah) ประจำการ วันที่ ๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๕
lm 283 (39)กองทัพเรืออินโดนีเซีย (TNI-AL) เข้าร่วมปฏิบัติการสันติภาพในประเทศเลบานอน (UNIFIL) ร่วมกับกองกำลังนานาชาติโดยส่งเรือคอร์เวต หมายเลข ๓๖๘ (KRI Frans Kaisiepo) เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๕๓ โดยปฏิบัติการเป็นระยะเวลานานหนึ่งปี ก่อนนั้นเมื่อปีที่แล้วหรือ พ.ศ.๒๕๕๒ ได้ส่งเรือคอร์เวตหมายเลข ๓๖๕ (KRI Diponegoro) เข้าร่วมปฏิบัติการเป็นครั้งแรกของกองทัพเรือ กองเรือเฉพาะกิจ (MTF) กองกำลังในประเทศเลบานอน เริ่มต้นปฏิบัติการเมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๙ กองเรือเฉพาะกิจจัดมาจาก ๑๓ ประเทศ (จากประเทศยุโรป ๑๒ ประเทศ ส่วนใหญ่สังกัดกองทัพนาโต้) ประเทศเลบานอนมีพื้นที่ ๑๐,๔๕๒ ตารางกิโลเมตร ประชากร ๔.๘ ล้านคน มีชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ยาว ๒๒๕ กิโลเมตร

 

lm 283 (40)กองทัพเรือเวียดนามมีโครงการต่อเรือคอร์เวตชั้นซิกม่า ๙๘๑๔ (SIGMA 9814) ขนาด ๒,๑๕๐ ตัน จำนวน ๔ ลำ จากประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นเรือคอร์เวตชนิดล่องหน โดยเริ่มต้นเจรจาโครงการนี้ในเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๔ เมื่อนายกรัฐมนตรีเวียดนามได้เยือนประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยจะทำการต่อที่อู่ต่อเรือประเทศเนเธอร์แลนด์รวม ๒ ลำ และอู่ต่อเรือประเทศเวียดนามรวม ๒ ลำ ติดตั้งระบบจรวดนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำแบบเอ็กโซเซต์ เอ็มเอ็ม-๔๐ (MM-40 Exocet Block-III มีระยะยิงไกล ๑๘๐ กิโลเมตร) จรวดนำวิถีต่อต้านอากาศยานแบบ ไมก้า (MICA มีระยะยิงไกล ๒๐ กิโลเมตร และมีความเร็ว ๓.๐ มัค) ชนิดแท่นยิงทางดิ่ง (VLS) รวม ๑๒ ท่อยิงปืนกลขนาด ๓๐ มิลลิเมตร ระบบอาวุธทั้งสองแบบผลิตจากประเทศฝรั่งเศส กองทัพเรือเวียดนามได้ตกลงใจเลือกเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๖ และเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ทางนาวีแบบ เคเอ-๒๗ (Ka-27 Helix) ในภารกิจต่อต้านเรือดำน้ำ (ASW) โดยกองบินนาวีเวียดนามประจำการรวม ๗ เครื่องและมีพิสัยบินไกล ๙๘๐ กิโลเมตร

 

– พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์