เบอร์ลินเมืองที่กำลังเต็มไปด้วยกลอุบายทางการเมืองต่าง ๆ ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในเขตหลังม่านเหล็กเกือบ ๑๐๐ ไมล์และก็ไม่ได้อยู่ในเขตของเยอรมันตะวันออก ตามเขตการปกครองในยุคการแผ่อิทธิพลของโซเวียตนั้นอีกทั้งยังเคยเป็นเมืองหลวงเก่าของอาณาจักรไรน์ที่สามของเยอรมัน เมืองนี้ถูกครอบครองโดยชาติมหาอำนาจที่มีชัยในสงครามโลกครั้งที่สองถึงสี่ชาติคือ สหรัฐ อังกฤษ ฝรั่งเศส และโซเวียตรัสเซีย โดยแผนการเตรียมไว้แล้ว สำหรับการเป็นเมืองหลวงสำหรับการรวมเยอรมันในอนาคต

lm 283 (28)นิกิต้า ครุสชอพ นายกรัฐมนตรีของโซเวียตถึงกับกล่าวว่า นี่คือสถานที่ที่อันตรายที่สุดในโลก ในที่ซึ่งมหาอำนาจเผชิญหน้ากันด้วยกำลังกันอย่างใกล้ชิดและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และโจมตีเยอรมันตะวันตกคือความก้าวร้าวที่น่ารำคาญและเป็นตัวหน่วงสำหรับคอมมิวนิสต์เยอรมันตะวันออกซึ่งกำลังเจ็บปวดและย่ำแย่เมื่อเปรียบเทียบกับเยอรมันตะวันตก ผู้คนจำนวนมากที่เป็นแรงงานฝีมือในด้านต่าง ๆ หลั่งไหลเข้าไปเขตตะวันตกผ่านเมืองเบอร์ลินนี้

โซเวียตได้ยั่วยุให้เกิดความตึงเครียดขึ้นถึงสามครั้งในรอบหลายสิบปีหลังจากสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ครั้งที่สามนี้และเป็นครั้งสุดท้ายมีความรุนแรงน่ากลัวที่สุด คือ เมื่อ ๔ มิ.ย. ๑๙๖๑ ซึ่งครุสชอพได้ยื่นคำขาดให้กำลังทหารของชาติตะวันตกเคลื่อนย้ายออกจากเบอร์ลินภายในเวลาหกเดือน ซึ่งก็เหมือนกับทุกครั้งที่ผ่านมา หากแต่ว่าครั้งนี้มีความเป็นจริงเป็นจังมากกว่า และสถานการณ์ความตึงเครียดของการเผชิญหน้าก็ได้ลุกลามยกระดับความน่าสะพรึงกลัวขึ้นอย่างรวดเร็ว

lm 283 (29)กำแพงเบอร์ลินจึงถูกสร้างขึ้นในวันที่ ๑๓ ส.ค. ปีเดียวกันนั้นเองโดยเยอรมันตะวันออกเพื่อตัดหรือขัดขวางการหลบหนีของผู้คนไปยังฝั่งตะวันตก ผู้ที่พยายามหลบหนีเล็ดลอดออกไปจะถูกสังหารทันทีจากทหารยามที่ได้รับอนุญาตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในขณะเดียวกันการเคลื่อนย้ายกำลังขนาดใหญ่ของ ทอ.สหรัฐและกองกำลังป้องกันภัยทางอากาศของนาโตก็ต้องรีบเคลื่อนย้ายออกไปอย่างโกลาหล อีกทั้งกำลังภาคพื้นของรถถังจำนวนมากก็เกือบปะทะกันที่ Charlie Checkpoint วิกกฤตที่เบอร์ลินครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นช่วงแห่งสงครามเย็นที่ยืนยาวมาอีกถึงสามสิบปีซึ่งเป็นการสิ้นยุคของมัน

ต้นตอของสาเหตุแห่งการเผชิญหน้าในเบอร์ลินนี้ เกิดขึ้นในเดือน ก.ย. ๑๙๔๔ เมื่อกำลังฝ่ายพันธมิตรซึ่งได้แก่ สหรัฐ อังกฤษและโซเวียต ได้ทำข้อตกลงการยึดครองประเทศเยอรมันโดยการแบ่งประเทศเยอรมันเป็นสามส่วนและกรุงเบอร์ลินก็อยู่ภายใต้เงื่อนไขแบ่งการปกครองนี้เช่นเดียวกัน แต่ต่อมาในเดือน ส.ค.๑๙๔๕ จึงได้มีการแก้ไขสัญญาใหม่เนื่องจากฝรั่งเศสคู่แค้นตั้งแต่โบราณขอมีส่วนร่วมและบทบาทด้วยในการบริหารจัดการประเทศเยอรมัน

lm 283 (30)วิกฤตการณ์เบอร์ลินเกิดขึ้นครั้งแรกในปี ๑๙๔๘ เมื่อโซเวียตและเยอรมันตะวันออกพยายามที่จะตัดขาดการติดต่อจากโลกภายนอกของเยอรมันตะวันตก แต่อย่างไรก็ตามก็มีการเปิดห้วงอากาศหรืออากาศวิถีในการเดินทางไว้สามเส้นทางซึ่งมีความกว้างเส้นทางละ ๒๐ กิโลเมตรเท่านั้นสำหรับการช่วยเหลือใด ๆ จากประเทศพันธมิตร ด้วยเหตุนี้สหรัฐและอังกฤษจึงได้เปิดปฏิบัติการโต้ตอบโซเวียตเพื่อการช่วยเหลือให้เกิดความอยู่รอดเกือบทุกด้านแก่เยอรมันตะวันตกภายใต้ชื่อThe Berlin Airlift ซึ่งเริ่มปฏิบัติการณ์ตั้งแต่ มิ.ย. ๑๙๔๘ ถึง ก.ย. ๑๙๔๙ ในวิกฤตการณ์ครั้งแรกนี้มีการต่อต้านจากจนท.อาวุโสระดับของทบวงแห่งรัฐของสหรัฐที่ต้องการให้ปลดปล่อยเบอร์ลินไปเลย ซึ่งสวนทางกับแนวความคิดของ พล.อ.Lucius D.Clay ที่มีความต้องการที่จะทลายสิ่งกีดขวางต่าง ๆ ในเบอร์ลิน ซึ่งความต้องการของเขาก็ได้รับการสนับสนุนจากประธานาธิบดีทรูแมน ท้ายที่สุด Berlin Airlift ก็ประสบความสำเร็จด้วยดี ด้วยบทบาทที่แน่วแน่และลักษณะของคนที่อ่านสถานการณ์ที่แม่นยำ ในวิกฤตการณ์ครั้งที่สามเขาก็ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้มีบทบาทสูงสุดในวิกฤตการณ์อีกครั้งในปี ๑๙๖๑ ซึ่งก็เป็นการมาพบกันอีกครั้งกับคู่ปรับเก่าจากวิกฤตการณ์ครั้งแรกคือ Walter Ulbrich หัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์ของเยอรมันตะวันออก

Ulbricht ถูกคัดเลือกให้ทำหน้าที่ในการเป็นผู้นำของเยอรมันตะวันออกโดยตรงจากสตาลิน เนื่องจากเขาเป็นผู้ที่มีความมุ่งมั่นและยึดถือหลักการแห่งคอมมิวนิสต์และจะเป็นตัวแทนในการบริหารงานที่ดีและเป็นที่ไว้วางใจภายใต้อิทธิพลของโซเวียตที่มีความต้องการจะผนึกเยอรมันทั้งหมดเข้ามาอยู่ในเงามืดของม่านเหล็ก ถึงแม้ว่าแนวความคิดในการนี้ของโซเวียตจะถูกเขาแสดงการต่อต้านไม่เห็นด้วยเป็นอย่างมาก แต่ก็เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดของโซเวียต ดีกว่าที่จะปล่อยให้มีการคัดสรรขึ้นมาอย่างอิสระของเยอรมันตะวันออก

สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน (The Federal Republic of Germany) เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่นเพื่อการรวมชาติในอนาคตของเยอรมัน ริเริ่มโดยตะวันตก ซึ่งเกิดขึ้นในปี ๑๙๔๙ โดยมี Bonn เปน็ เมืองหลวง ในขณะที่เยอรมันตะวันออกภายใต้การปกครองของ Ulbricht ก็ประกาศการปกครองของเขาเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน (The German Democratic Republic) ขึ้นมาในเดือนตุลาคมปีเดียวกันนั้นเอง และประกาศให้เบอร์ลินตะวันออกเป็นเมืองหลวง โดยไม่สนใจสถานะของเบอร์ลินที่ถูกแบ่งการปกครองของชาติมหาอำนาจสี่ชาติ ในปี ๑๙๕๒ เยอรมันตะวันออกได้สั่งปิดและเสริมความแข็งแกร่งตามแนวชายแดนติดกับเยอรมันตะวันตก ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีสิ่งกีดขวางใด ๆ ถูกก่อสร้างขึ้นในกรุงเบอร์ลินแต่อย่างใด

เมื่อสตาลินเสียชีวิตในปี ๑๙๕๓ ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อมาคือครุสชอพพร้อมกับขึ้นเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์คนแรกของโซเวียต และขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในปี ๑๙๕๘ เขาจึงเป็นผู้สืบทอดมรดกที่สร้างความยุ่งยากใจให้แก่ชาวโลกในประเด็นของเบอร์ลิน และ Ulbricht ผู้นำเยอรมันตะวันออกก็ยังมุ่งมั่นเคียงข้างครุสชอพอยู่

เยอรมันตะวันออกคือหัวใจสำคัญทางยุทธศาสตร์ของความเป็นสหภาพของโซเวียตซึ่งโซเวียตจะไม่มีทางปล่อยให้ล้มหรือหลุดมือไปเป็นอันขาด อย่างเช่นในปี ๑๙๕๓ กองทัพรถถังของโซเวียตถูกเรียกให้เข้ามาปราบปรามการพยายามปฏิบัติของแรงงานในเยอรมันตะวันออกซึ่งมีสาเหตุเนื่องจากสภาพความเป็นอยู่ที่ย่ำแย่ ทั้งเรื่องอัตราภาษีที่แสนโหดและการว่างงานที่มีอยู่อย่างท่วมท้นทั่วประเทศในเขตของเยอรมันตะวันออก

ความตกต่ำเกือบทุกด้านและเป็นที่เปรียบเทียบกันอย่างชัดเจนระหว่างสองเยอรมันนั้นเริ่มพอกพูนสะสมมาอยู่ตลอดเวลาจนผู้คนในฝั่งตะวันออกอึดอัดและสุดจะทนทานในระบบการปกครองที่กดขี่ของรัฐบาลตะวันออก สิ่งเหล่านี้เป็นต้นเหตุของการเกิดวิกฤตการณ์ครั้งที่สองของเบอร์ลินขึ้น และในปี ๑๙๕๘ เกิดการไหลทะลักอพยพหลบหนีของผู้คนเป็นจำนวนมากถึงสี่ล้านคนจากฝั่งตะวันออกไปตะวันตกโดยผ่านกรุงเบอร์ลิน

โซเวียตเองได้เริ่มสร้างเสริมพลังอำนาจทางทหารให้แข็งแกร่งขึ้นตั้งแต่ปี ๑๙๔๘ แล้วจนถึงขั้นที่สหรัฐไม่ได้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์แต่เพียงประเทศเดียวอีกต่อไป นอกจากนั้นในปี ๑๙๕๗ โซเวียตก็เป็นประเทศแรกที่สามารถยิงขีปนาวุธข้ามทวีป(ICBM) ได้สำเร็จไปจนถึงการความสำเร็จในอวกาศของดาวเทียมสปุตนิกอีกด้วย ซึ่งสหรัฐถือว่าเป็นการคุกคามและท้าทายเป็นอย่างมาก

ในปี ๑๙๕๘ Ulbricht ได้เร่งเดินหน้าข้อเรียกร้องตามความต้องการของเขาในการรวมเยอรมันโดยการทำให้สภาวะขั้วอำนาจที่ปกครองเยอรมันตะวันตกเข้าสู่สมดุล ความหมายก็คือเขาคือผู้ปกครองและมีอำนาจเต็มแต่เพียงผู้เดียวเมื่อมีการรวมชาติแล้ว ในขณะเดียวกันครุสชอพก็จุดประกายเพลิงวิกฤตการณ์เบอร์ลินครั้งที่สองให้รุนแรงขึ้นโดยการยื่นข้อเรียกร้องแบบเด็ดขาดว่า ถ้าพันธมิตรไม่ถอนตัวออกจากเขตเยอรมันตะวันตกเพื่อการรวมชาติตามความต้องการและริเริ่มของ Ulbricht โดยขีดเส้นตายไว้ให้หกเดือนแล้ว โซเวียตจะถ่ายโอนอำนาจเต็มที่ให้แก่ Ulbricht ในการปกครองเยอรมันตะวันออก และเปิดการบุกเข้ายึดครองเยอรมันตะวันตกหากเป็นเช่นนั้นก็หมายความว่าเป็นการหมดอำนาจการปกครองโดยสิ้นเชิงต่อเยอรมันของมหาอำนาจทั้งสี่ชาติรวมถึงโซเวียตเองด้วย และพันธมิตรที่ปกครองฝั่งตะวันตกก็จะต้องเจรจาโดยตรงกับ Ulbricht จอมกระหายสงครามโดยตรงเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากลัวยิ่งกว่า

Harold Macmillan นายกรัฐมนตรีอังกฤษวิตกกังวลกับเรื่องนี้มากด้วยเกรงว่ามีความล่อแหลมที่จะเกิดสงครามใหม่ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากยังรู้สึกขยาดสงครามกับผู้นำกระหาย สงครามของเยอรมันอยู่มาก โดยเฉพาะผู้นำอย่าง Ulbricht และต้องการให้ได้ข้อสรุปในเรื่องนี้โดยเร็ว หากแต่ว่าประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ของสหรัฐฯ ไม่ต้องการให้เกิดความตื่นตระหนก ดังนั้นการเจรจาต่อรองจึงได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อครุสชอพเดินทางเข้าเจรจากับไอเซ็นฮาวที่แคมป์เดวิดในรัฐแมรี่แลนด์ ซึ่งผู้นำทั้งสองตกลงที่จะมีการเจรจาประชุมสุดยอดในประเด็นสำคัญอีกครั้งในเดือน มิ.ย. ๑๙๕๘ โดยจัดให้มีขึ้นที่กรุงปารีส

ผลการประชุมสุดยอดที่กรุงปารีส โซเวียตประกาศยกเลิกเส้นตายการถอนกองกำลังของพันธมิตรภายในหกเดือน ทุกอย่างดูเหมือนจะราบรื่น แต่แล้วในวันที่เขาเมามายเป็นอย่างมากก่อนวันปีใหม่ของปีถัดมา โดยเขาได้ข่มขู่ทูตสหรัฐฯ ประจำมอสโคว์ว่าจะโจมตีสหรัฐฯ ด้วยอาวุธนิวเคลียร์หากข้อเรียกร้องต่าง ๆ ของเขาที่กรุงปารีสยังไม่ได้รับการตอบสนองและกองกำลังพันธมิตรยังไม่ถอนตัวออกจากเบอร์ลิน ในท้ายที่สุดข้อตกลงของการประชุมสุดยอดกรุงปารีสก็ต้องล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เมื่อโซเวียตได้ยิงเครื่องบินจารกรรม U-2 ของสหรัฐฯ ตกในดินแดนของโซเวียตและจับนักบินไว้ได้เมื่อ พ.ค. ๑๙๖๐

ครุสชอพได้ประเมินสถานการณ์ถึงโอกาสของความได้เปรียบของเขาในวิกฤตการณ์เบอร์ลินครั้งที่สองนี้อย่างแน่นอน เนื่องจากว่าในปี ๑๙๖๐ นี้สหรัฐฯ ได้มีประธานาธิบดีคนใหม่ที่ยังดูหนุ่มและอ่อนหัดทางการเมืองระหว่างประเทศคือประธานาธิบดี John F.Kennedy แต่ในความเป็นจริงแล้วมันกลับกลายเป็นเค้าลางของการเกิดวิกฤตการณ์เบอร์ลินครั้งที่สามนั่นเอง

เริ่มยุคของ John F.Kennedy
รัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การนำของ John F.Kennedy เริ่มเข้าบริหารประเทศในเดือน ม.ค. ๑๙๖๑ พร้อมกับปรับเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศให้เข้มข้นขึ้น เพื่อเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่ถูกคุกคามเป็นอย่างหนักของโซเวียต และในขณะเดียวกันประชาชนมากกว่า ๑๐๐,๐๐๐ คนจากเยอรมันตะวันออกได้ไหลบ่าเข้ามาอยู่ฝั่งตะวันตกภายในเวลาเพียงแค่หกเดือนแรกของปี ๑๙๖๑ และ Ulbricht ได้โจมตีเยอรมันตะวันตกว่าเป็นตัวการในการวางแผนดูดประชากรในระดับแรงงานฝีมือไปเป็นจำนวนมาก

เคนเนดี้และครุสชอพได้ประชุมสุดยอดกันในเดือน มิ.ย. ๑๙๖๑ ด้วยท่าทีที่แข็งกร้าวและบวกกับการประเมินถึงความเป็นต่อของครุสชอพ ทำให้เขาได้ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขอันเป็นคำขาดที่ต้องการให้เบอร์ลินทั้งหมดอยู่ภายใต้การปกครองของเยอรมันตะวันออกโดยเด็ดขาดและมหาอำนาจทั้งสี่ชาติก็จะหมดอิทธิพลในการบริหารการปกครองต่อไปโดยนัยแล้วโซเวียตก็จะมีอิทธิพลเพียงผู้เดียวนั่นเอง ซึ่งเงื่อนไขเช่นนี้มีเงื่อนงำหลายประการที่จะเสี่ยงต่อการเกิดสงครามนิวเคลียร์

ครุสชอพมารู้ตัวว่าประเมินเคนเนดี้ไว้ต่ำมากเมื่อเคนเนดี้ได้ประกาศทางโทรทัศน์ว่า เบอร์ลินไม่ใช่ส่วนหนึ่งของเยอรมันตะวันออกและพันธมิตรทั้งสี่ชาติยังคงมีส่วนในการบริหารตามเขตการปกครองอยู่ต่อไป อีกทั้งสหรัฐฯ ไม่มีทางที่จะถอนกำลังออกจากเบอร์ลินตามการขู่บังคับของคอมมิวนิสต์เป็นอันขาดไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น พร้อมกันนั้นเขาได้เสนอต่อสภาคองเกรสเพื่อการระดมสรรพกำลังเข้าสู่กองทัพอีกเป็นจำนวนถึง ๒๑๗,๐๐๐ คน

The Berlin Wall
เมื่อสิ้นสุดการประกาศจุดยืนที่ชัดเจนของเคนเนดี้ต่อครุสชอพในวิกฤตการณ์เบอร์ลินครั้งที่สามนี้ ครุสชอพได้ให้การอนุมัติเป็นการชั่วคราวแก่ Ulbricht ในคำขอหรือความต้องการที่รอคอยมาอย่างยาวนานในการปิดพรมแดนทั้งหมดกับเยอรมันตะวันตก ในการนี้พวกเขาต้องใช้รั้วลวดหนามที่มีความยาวถึง ๒๗ ไมล์เพื่อกั้นเขตการปกครองในเบอร์ลินให้ชัดเจนระหว่างเขตของเบอร์ลินตะวันออกและของพันธมิตรที่เหลือ และรั้วลวดหนามที่มีความยาวอีก ๖๙ ไมล์เพื่อกั้นแนวชายแดนรอบนอกระหว่างตะวันออกและตะวันตก และเมื่อเดือนสิงหาคมภายหลังจากที่กำหนดเขตแดนที่ชัดเจนและดูปฏิกิริยาการตอบโต้ของตะวันตกพอสมควรแล้ว ครุสชอพได้อนุมัติให้ Ulbricht ดำเนินการสร้างแนวกำแพงคอนกรีตที่แข็งแรงเป็นปราการที่ถาวรในเบอร์ลิน ซึ่งถือเป็นคำเรียกขานที่น่าเศร้าว่า The Berlin Wall ในการนี้รัฐบาลสหรัฐฯ เห็นว่ายังไม่ควรโต้ตอบอะไรที่รุนแรงออกไป หากแต่เคนเนดี้ได้กล่าวถึงเรื่องกำแพงเบอร์ลินนี้ว่า “มันมีสภาพคล้ายนรกยิ่งกว่าอยู่ในสภาวะสงครามจริง ๆ เสียอีก : A wall is hell of a lot better than a war”

หลังจากนั้นไม่นานในเดือนเดียวกัน สหรัฐฯ สั่งระดมสรรพกำลังเพิ่มขึ้นอีก ๑๔๘,๐๐๐ คน ในส่วนของกำลังทางอากาศนั้นให้เคลื่อนย้ายไปประจำการในยุโรปภายใน ๓๐ วัน โดยมีฐานทัพอยู่ในฝรั่งเศส เยอรมันและสเปน ซึ่งมีชื่อรหัสปฏิบัติการคือ Operation Tack Hammer และ Operation Stair Step และเครื่องบินรบส่วนใหญ่ในยุคนั้นคือ F-100 และในช่วงนี้มีแผนการที่น่าสะพรึงกลัวอีกอย่างหนึ่งของเคนเนดี้ที่มาเปิดเผยกันในภายหลังที่เหตุการณ์ผ่านไปแล้วหนึ่งปี คือ เคนเนดี้ต้องการชิงโจมตีด้วยขีปนาวุธนิวเคลียร์ต่อระบบอาวุธนิวเคลียร์ของโซเวียตให้ราบเรียบไปก่อน ซึ่งในเวลานั้น ICBM ของโซเวียตยังมีไม่ถึงแปดชุดยิงและเครื่องบินทิ้งระเบิดยังจอดล่อเป้าอยู่ในที่เปิดเผยโล่งแจ้งเป็นยิ่งนักส่วนในเบอร์ลินนั้น Ulbricht ยังเปิดให้มีการปฏิบัติการก่อกวนทุกอย่างที่มีต่อชาติพันธมิตรอย่างสม่ำเสมอ เพราะสิ่งที่เขาต้องการอย่างแท้จริงคือการไม่ให้มีชาติพันธมิตรอื่นใดอยู่ในเบอร์ลินอีกต่อไปการกลับมาของ พล.อ.Clay

เมื่อเหตุการณ์ก้าวล่วงมาถึงตอนนี้ เคนเนดี้ได้เรียก พล.อ.Clay ผู้เป็นต้นความคิดและผลักดันให้เกิด The German Airlift และได้เกษียณราชการไปแล้ว ให้กลับเข้ามาช่วยงานด้านการเมืองกับเคนเนดี้อีกครั้งในประเด็นของเบอร์ลินโดยเฉพาะ ด้วยมุ่งหวังที่จะทำให้ข้อขัดแย้งทางแนวความคิดจากกลุ่มอนุรักษ์และยึดมั่นในแนวทางเดิม ๆ ของฝ่ายสหรัฐฯ เองให้เจือจางลงมาอยู่ระดับที่พูดกันได้บ้าง การเข้ามาทำหน้าที่อีกครั้งของเขาได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากชาวเยอรมัน แต่ก็เป็นที่ไม่ยินดียินร้ายจาก จนท.ทบวงแห่งรัฐฯ และนายทหารระดับสูงของสหรัฐฯ ในเยอรมันเป็นอย่างมาก เนื่องจากพวกเขามองว่า พล.อ.Clayเป็นผู้ที่ไร้พิษสงไปแล้ว ในขณะที่เขาเองนั้นเข้ามาด้วยความเชื่อที่ว่า การข่มขู่ของครุสชอพและทีท่าที่ก้าวร้าวของ Ulbricht นั้นเป็นเพียงการยั่วยุเท่านั้นเอง ศักดิ์สงครามที่แท้จริงอยู่ที่สหรัฐฯ และต่อไปนี้เขาจะไม่เบามือเรื่องวิเทโศบายกับสองผู้นำนี้อีกเป็นอันขาด

พล.อ.Clay ได้สั่งให้ทหารสร้างแบบจำลองของกำแพงเบอร์ลินขึ้นในพื้นที่ที่เป็นป่าในเมืองเบอร์ลิน และให้มีการซ้อมทำลายกำแพงนั้นเสีย ซึ่งอาจจะเป็นยุทธวิธีในการส่งข่าวไปถึงโซเวียตก็เป็นไปได้ ความนี้ล่วงรู้ไปถึงกองบัญชาการใหญ่ของสหรัฐฯ ทื่ Heidelbergและได้สั่งระงับการปฏิบัตินั้นแต่โดยเร็ว ด้วยเกรงว่าจะเป็นการสะกิดที่น่ากลัวมากเกินไปหรือบาดแผลยังไม่แห้งพอ จึงยังไม่ควรจะสะกิด แต่ทั้งหมดนี้หาได้ก้าวข้ามการรับรู้ของฝ่ายตะวันออกรวมทั้งโซเวียตไปได้ และเมื่อวันที่ ๒๒ ต.ค. ๑๙๖๑ ความตึงเครียดได้กระหน่ำขึ้นมาอีกครั้งที่ Charlies Point อันเป็นจุดผ่านของเยอรมันตะวันออกและเขตปกครองของสหรัฐฯ โดยที่ Clay ไม่ยินยอมให้มีการแสดงตนหรือแสดงบัตรผ่านเข้า-ออกบริเวณดังกล่าวแก่ทหารเยอรมันตะวันออกซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงเดิมที่จะไม่มีการตรวจสอบของทั้งสองฝ่ายสำหรับการเข้า-ออกของผู้ปฏิบัติหน้าที่ แต่ Ulbricht เป็นผู้ที่สั่งการให้ปฏิบัติเองและโซเวียตก็ปล่อยเลยตามเลยหากแต่ Clay ไม่ได้รู้สึกเช่นนั้น นอกจากจะไม่ให้ จนท.ของเขาแสดงบัตรผ่านเพื่อการตรวจสอบของทหารเยอรมันตะวันออกเท่านั้นยังไม่พอ เขายังให้ทหารสหรัฐฯ ที่อยู่ในสภาพเตรียมพร้อมคุ้มกันการเดินทางของ จนท. ของเขาในการผ่านบริเวณดังกล่าวอีกด้วยที่ปรึกษาของเคนเนดี้ขอร้องให้เคนเนดี้ยับยั้งหรือห้ามปรามพฤติกรรมที่อาจเป็นภัยคุกคามของเขาเสีย แต่เขาได้กล่าวต่อเคนเนดี้ว่า ถ้าต้องการเขา เขาขอความอิสระในการทำงานของเขา มิฉะนั้นเขาจะลาออกทันที

รถถังประจันบาน
ความรุนแรงที่เป็นการโต้ตอบกันบริเวณ CP นั้นเขม็งเกลียวขึ้นอีกมาก ครั้นเมื่อวันที่ ๒๖ ต.ค. รถของทางการสหรัฐฯ ถูกทหารเยอรมันตะวันออกกักเพื่อตรวจสอบทั้งที่ติดแผ่นป้ายทะเบียนของทางการสหรัฐฯ Clay ได้สั่งให้รถทหารสหรัฐฯ จำนวนถึงห้าคันเข้าทำการคุ้มกันรถของ จนท.สหรัฐฯ เข้า-ออกบริเวณ CP โดยปลอดภัย อีกทั้งยังสั่งให้รถถังแบบ M-48 จำนวน ๑๐ คัน เตรียมพร้อมที่ CP อีกด้วย และรถถังบางคันในจำนวนนั้นติดตั้งชุด Bulldozor เพื่อการรื้อถอนและทำลายกำแพงได้ด้วย เพียงเท่านี้ในวันรุ่งขึ้นผู้คนต่างแตกตื่นเมื่อได้เห็นรถถังของโซเวียตจอดประจันหน้ากับ M-48 เต็มไปหมดที่ CP สร้างความหวาดผวาครั้งยิ่งใหญ่ให้เกิดขึ้นในเบอร์ลินอีกครั้งหนึ่ง หลังจากการจลาจลจากภัยสงครามในเบอร์ลินครั้งสุดท้ายเมื่อ ๑๙๕๓

การเผชิญหน้ากันอย่างเอาจริงเอาจังใช้เวลาทั้งสิ้น ๑๖ ชั่วโมง เริ่มตั้งแต่เวลาห้าโมงเย็นวันที่ ๒๗ ต.ค. ถึงเวลาห้าโมงเช้าวันที่ ๒๘ ต.ค. โดยที่รถถังทั้งฝ่ายอยู่ห่างกันแค่ ๑๐๐ หลาเท่านั้นเอง อีกทั้งยังหันปากกระบอกปืนเข้าหากันอีกด้วย และในเวลาเที่ยงคืนของวันที่ ๒๗ ต.ค.นั้นเอง เคนเนดี้ได้ใช้ข่ายการสื่อสารลับบอกแก่ Clay โดยไม่ได้ใส่ใจในคำทัดทานของที่ปรึกษาเลยว่า “Don’t lose your nerve : อย่าหวั่นไหว”

lm 283 (31)แต่แล้วทุกอย่างก็คลี่คลายลงด้วยดี เมื่อมีการเปิดเผยในภายหลงั ว่าน้องชายของเคนเนดี้คือ Attroney General Robert F.Kennedy ได้ประสานกับโซเวียตในทางลับและตกลงให้มีการถอนกำลังการเผชิญหน้ากันในเวลา ๑๐.๓๐ ของวันที่ ๒๘ ต.ค. และเมื่อเหตุการณ์ระทึกขวัญผ่านไป Clay ได้กล่าวว่า นี่คือความสำเร็จของกำลังพันธมิตร ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดว่า พันธมิตรจะไม่มีวันทอดทิ้งเยอรมันตะวันตกอย่างแน่ชัดความตึงเครียดในเบอร์ลินครั้งที่สามหรือครั้งสุดท้ายนี้ยืดเยื้ออยู่ไม่นานมากนัก ซึ่งก็มีการคุกคามกันอยู่บ้าง แต่เป็นไปอย่างประปรายเท่านั้น และก่อนจะเข้าสู่สถานการณ์ปกติปลายปี ๑๙๖๑ ที่ไม่มีการเผชิญหน้ากันด้วยกำลังนั้น ครุสชอพได้พูดถึงเคนเนดี้ว่า “เขาไม่ได้มีเพียงแค่พื้นฐานที่ดีทางสังคมหรือการพูดที่ยอดเยี่ยมเท่านั้น หากแต่เขายังสามารถยืนหยัดได้อย่างมั่นคงภายใต้สถานการณ์ที่ท้าทายและเสี่ยงต่อความเป็นความตายได้เป็นอย่างดีอีกด้วย” เมื่อถึงเดือนมิ.ย. ๑๙๖๓ เคนเนดี้ได้เดินทางไปที่กำแพงเบอร์ลินพร้อมทั้งได้กล่าวแก่ชาวเมืองเบอร์ลินที่มารอต้อนรับกว่า ๓๐๐,๐๐๐ คนไว้ว่า “I proud to come here with my fellow, General Clay, who has been in this city during its great moments of crisis and will come again if ever needed”

การก่อสร้างกำแพงยังคงดำเนินก่อสร้างจนเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งเป็นช่วงที่สี่ของการก่อสร้างนั้นเรียบร้อยในปี ๑๙๘๐ โดยเบ็ดเสร็จแล้วมีหอสังเกตการณ์อยู่ถึง ๑๑๖ แห่งเลยทีเดียวแต่เมื่อภายหลังปี ๑๙๘๙ มีการรวมเยอรมันกันได้ กำแพงเหล่านี้ได้เริ่มถูกทลายลงไปเรื่อย ๆ และมีบางส่วนนำไปเก็บรักษาให้เห็นถึงความบาดหมางและเจ็บปวดของสงครามที่ National Museum of the USAF at Wright Patterson AFB ซึ่งได้เริ่มจัดแสดงให้ชมตั้งแต่ ม.ค. ๒๐๐๐ เป็นต้นมา นั่นคือการปิดฉากนรกของชาวเยอรมัน ที่พวกเขาชาวเยอรมันตะวันออกในขณะนั้นที่ต้องสูญเสียชีวิตจากการยิงของชนชาติเดียวกันเองในระหว่างปี ๑๙๖๑ – ๑๙๘๙ เป็นจำนวนถึง ๑๓๖ คน ในความพยายามที่จะหลบหนีมาฝั่งตะวันตกโดยผ่านกำแพงเบอร์ลิน และยังมีมากกว่านั้นนอกเขตกำแพงเบอร์ลินนี้ นับแต่วิกฤตการณ์เบอร์ลินปี ๑๙๖๑ เมื่อกาลเวลาผ่านไป พร้อมกับการกลืนกินอดีตที่ขมขื่นตามไปด้วย ในปี ๒๐๑๐ McDonald’s ได้เปิดร้านสาขาที่หรูหราอาหารแบบด่วนในสไตล์ของคนอเมริกันขนาดความจุของร้านถึง ๑๒๐ ที่นั่ง ณ บริเวณแยกเมื่ออดีตที่เคยถูกเรียกว่า Charlies Point แต่บัดนี้ได้ถูกเรียกขานกันใหม่ในกลุ่มของนักท่องเที่ยวว่า“Snackpoint Charlie”