แนะนำอาวุธเพื่อนบ้านรถสะเทินน้ำสะเทินบก เอเอวีพี-7เอ1

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์

นาวิกโยธินฟิลิปปินส์ (PMC) เตรียมรับมอบรถสะเทินน้ำสะเทินบกรุ่นใหม่เอเอวีพี-๗เอ๑ (AAVP-7A1) ชุดแรกรวม ๔ คัน จากประเทศเกาหลีใต้ในเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๑ และชุดที่สอง อีก ๔ คัน ในเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๑ โดยจัดหาจากประเทศเกาหลีใต้รวม ๘ คัน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๙ เกาหลีใต้จะมีชื่อเรียกใหม่ว่าแบบเคเอเอวี-๗เอ๑ (KAAV-7A1) หน่วยนาวิกโยธินฟิลิปปินส์ (PMC) มีกำลังประมาณ ๗,๕๐๐ นายกองบัญชาการ อยู่ที่ฟอร์ท โบนิฟาซิโอ (Fort Bonifacio) การรบที่เมืองมาราวี (Marawi) ตอนใต้ของประเทศที่เกาะมินดาเนา หน่วยนาวิกโยธินเข้าร่วมปฏิบัติการเป็นการรบภายในเมืองกำลังทหารฟิลิปปินส์เข้ากวาดล้างกองกำลังติดอาวุธประมาณ ๑,๐๐๐ คน (อาบูซายัฟและมาอูเต้) เข้ายึดเมืองขนาดพื้นที่ ๘๗ ตารางกิโลเมตร ประชากร ๒๐๑,๗๐๐ คน ใช้กำลังทหาร ๖,๕๐๐ นาย เข้ากวาดล้างระหว่างวันที่ ๒๓ พฤษภาคม – วันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๐ เป็นการรบติดพันนานถึง ๕ เดือน กองทัพฟิลิปปินส์ได้รับชัยชนะ (กองกำลังติดอาวุธเข้ายึดเมืองในอดีตของกลุ่มประเทศกลุ่มอาเซียนเกิดขึ้นมาแล้วรวม ๒ ครั้ง ครั้งแรกที่เมืองลาฮัดดาตู ประชากร ๒๗,๘๐๐ คน รัฐซาบา ประเทศมาเลเซีย กองกำลังติดอาวุธ ๒๓๕ คนเข้ายึดเมืองกองทัพบกมาเลเซียใช้กำลังทหารเข้าผลักดันและกวาดล้างใช้กำลังทหารราบรวม ๗ กองพัน พร้อมด้วยหน่วยสนับสนุนกำลังพลรวม ๖,๕๐๐ นาย ระหว่างวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ – วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖  นาน ๑ เดือน กับ ๑๓ วัน กองทัพมาเลเซียได้รับชัยชนะและครั้งที่สอง การรบที่เมืองมาราวี ที่เพิ่งยุติลง เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๐) รถสะเทินน้ำสะเทินบกรุ่นใหม่เอเอวีพี-๗เอ๑ (สหรัฐอเมริกาได้วิจัยพัฒนาและทำการผลิตนำเข้าประจำการปี พ.ศ.๒๕๑๕ ข้อมูลที่สำคัญคือ น้ำหนัก ๒๙.๑ ตัน  ยาว ๗.๙๔ เมตร  กว้าง ๓.๒๗ เมตร สูง ๓.๒๖ เมตรเครื่องยนต์ ดีเซล (8V-53T) ขนาด ๔๐๐ แรงม้า  ความเร็วบนถนน ๗๒ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความเร็วในภูมิประเทศ ๓๒ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความเร็วในทะเล ๑๓.๒ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะปฏิบัติการ ๔๘๐ กิโลเมตรอาวุธปืนกลหนัก (M-2HB) ขนาด ๑๒.๗ มิลลิเมตร เครื่องยิงลูกระเบิดเอ็มเค.๑๙ (Mk.19) ขนาด ๔๐ มิลลิเมตรและบรรทุกทหารได้ ๒๔ นาย (พลประจำรถ ๓ นาย + นาวิกโยธิน ๒๑ นาย) มีการผลิต ๒ รุ่น ประกอบด้วยรุ่นแอวีทีพี-๗ (LVTP-7) พ.ศ.๒๕๑๕ ปืนกลหนัก ๑๒.๗ มิลลิเมตร(0.5 นิ้ว) และรุ่นแอลวีทีพี-๗เอ๑ (LVTP-7A1) ปรับปรุงใหม่ พ.ศ.๒๕๒๕ ต่อมามีชื่อเรียกใหม่ว่าเอเอวีพี-๗เอ๑ ปี พ.ศ.๒๕๒๗ โดยแบ่งเป็นรุ่นย่อยอีก ๓ รุ่นคือรุ่นเอเอวีพี-๗เอ๑ ภารกิจลำเลียงพล ติดตั้งอาวุธ ใหม่ประกอบด้วย ปืนกลหนัก ๑๒.๗ มิลลิเมตร (กระสุน ๗๖๘ นัด) และเครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติขนาด ๔๐ มิลลิเมตร (กระสุน ๑,๐๐๐ นัด), รุ่นเอเอวีซี-๗เอ๑ (AAVC-7A1) รถบังคับการได้ติดตั้งระบบสื่อสารเพิ่มเติมหลายชุดพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่วิทยุ และรุ่นเอเอวีอาร์-๗เอ๑ (AAVR-7A1) รถกู้ซ่อมติดตั้งอุปกรณ์เสริมเพิ่มเติม

รถสะเทินน้ำสะเทินบกแบบเอเอวีพี-๗เอ๑ หน่วยนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกานำออกปฏิบัติการทางทหารในหลายสมรภูมิที่สำคัญทั่วโลกคือสมรภูมิอ่าวเปอร์เซียครั้งที่สอง โดยกองพลนาวิกโยธินที่ ๑ จากรัฐเซ้าคาโรไลน่า กำลังรบหลักคือกองพันสะเทินน้ำสะเทินบกที่ ๒ และกองพันสะเทินน้ำสะเทินบกที่ ๓ ห้วงดำเนินกลยุทธ์ระหว่างวันที่ ๑๙ มีนาคม – วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๖ เข้าตีประเทศอิรักจากทางด้านใต้รุกจากแนวชายแดนประเทศคูเวต ผ่านจากแนวออกตีเข้าสู่เขตแดนประเทศอิรักรุกขึ้นเหนือ (ทางด้านปีกขวา และปีกซ้ายคือกองพลทหารราบยานเกราะที่ ๓ ) สู่กรุงแบกแดด ประเทศอิรัก มีการต่อสู้ตลอดแนวของเส้นหลักการรุกสู่เป้าหมาย การรบครั้งสำคัญคือการรบที่เมืองนาซิริย่าฮ์ (Battle of Nasiriyah) เมืองชายฝั่งแม่น้ำยูเฟรติส (ประชากร ๐.๕๖ ล้านคน) ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองหลวงหรือกรุงแบกแดด เป็นระยะทาง ๓๖๒ กิโลเมตรเริ่มจากกองร้อยซ่อมบำรุงที่ ๕๐๗ เป็นขบวนสัมภาระรบ เคลื่อนที่ตามกองพลทหารราบยานเกราะที่ ๓ เกิดการเลี้ยวผิดเส้นทางจึงเข้าไปอยู่ในเขตทหารของกองทัพบกอิรักจึงถูกซุ่มโจมตีจากกำลังฝ่ายอิรักด้วยอาร์พีจี-๗ (RPG-7) และปืนเล็กยาวแบบเอเค-๔๗ (AK-47) ได้รับความเสียหาย เวลาประมาณตอนเช้าตรู่ทหารนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกาจากกองร้อยซีกองพันที่ ๑ – ๒ พร้อมด้วยรถสะเทินน้ำสะเทินบกแบบเอเอวีพี-๗เอ๑ รวม ๒ คัน หน่วยอยู่ใกล้ที่สุดจึงได้เข้าช่วยเหลือเกิดการปะทะอย่างรุนแรงเป็นการต่อสู้ภายในเมือง ฝ่ายข้าศึก (หน่วยเฟเดยีน) ใช้ยุทธวิธีการซุ่มยิงจากที่สูงของอาคารมายังรถเอเอวีพี-7เอ1เวลาใกล้เที่ยงรถติดหล่มหนึ่งคันทหารนาวิกโยธินต้องออกจากรถสู่พื้นดินจึงเป็นการรบทางพื้นดินในระยะใกล้  ฝ่ายข้าศึกจึงได้เพิ่มกำลังพลเข้าปิดล้อมมากยิ่งขึ้น นาวิกโยธินจึงได้เพิ่มกำลังเข้าช่วยเหลือช่วงบ่ายเครื่องบินโจมตีไอพ่นแบบเอ-๑๐ (A-10) กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาจึงเข้ามาสนับสนุน แต่สถานการณ์การสู้รบได้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วมากจากมุมสูงเป็นผลให้นักบินมองเป็นรถรบของฝ่ายข้าศึกจึงเข้าโจมตีได้รับความเสียหายการติดต่อสื่อสารก็มีความยุ่งยากเนื่องจากอยู่ใกล้กับสายไฟฟ้าแรงสูง ต่อมารถถังหลักแบบเอ็ม-๑เอ๑ (M-1A1) ของนาวิกโยธินรวม ๓ คัน (หลังจากที่ได้รับการเติมน้ำมันและส่งกำลังบำรุง) ได้เคลื่อนที่อย่างรวดเร็วเข้าคลี่คลายสถานการณ์สามารถจะผลักดันให้ฝ่ายข้าศึกถอนตัว ทหารจากกองร้อยซ่อมบำรุงเสียชีวิต ๑๑ นาย  ถูกจับตัวเป็นเชลย ๖ นาย ทหารสหรัฐอเมริกาได้รับชัยชนะ แต่สูญเสียทหาร ๓๒ นาย, ได้รับบาดเจ็บ ๖๐ นาย ถูกจับเป็นเชลยศึก ๖ นาย และรถสะเทินน้ำสะเทินบกแบบเอเอวีพี-๗เอ๑ เสียหาย ๘ คัน (ยานยนต์เสียหายรวมทั้งสิ้น ๑๕ คัน) ฝ่ายอิรักสูญเสียกำลังพล ๓๕๙ – ๔๓๑ นาย ได้รับบาดเจ็บกว่า ๑,๐๐๐ นาย และถูกจับกว่า ๓๐๐ นาย ห้วงปฏิบัติการระหว่างวันที่ ๒๓ – ๒๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๖ รถสะเทินน้ำสะเทินบกแบบเอเอวีพี-๗เอ๑ ยังคงมีความทันสมัยอยู่ ปัจจุบันประจำการ ๗ ประเทศมียอดผลิตกว่า ๑,๑๕๗ คัน (หน่วยนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกาประจำการ ๑,๓๑๑ คัน)หน่วยนาวิกโยธินอินโดนีเซีย (KOMAR, TNI-AL) ประจำการด้วยรถสะเทินน้ำสะเทินบกเคเอเอวีพี-๗เอ๑ (KAAVP-7A1) รวมทั้งสิ้น ๑๕ คัน (ได้รับการช่วยเหลือจากประเทศเกาหลีใต้ปี พ.ศ.๒๕๕๒) เป็นหน่วยขนาด ๒ กองพลนาวิกโยธิน (กองพลที่ ๑ เมืองสุราบายา จังหวัดชวาตะวันออกและกองพลที่ ๒ อยู่ที่ชวาใต้) และกองพลน้อยนาวิกโยธินอิสระที่ ๓ ตอนใต้ของเกาะสุมาตรา หน่วยนาวิกโยธินไทยประจำการด้วยรถสะทินน้ำสะเทินบกแบบเอเอวีพี-๗เอ๑ รวม ๓๖ คัน (AAVP-7A1/AAVC-7A1/AAVR-7A1) ประจำการที่กองพลนาวิกโยธิน จังหวัดชลบุรีหน่วยนาวิกโยธินไทยทำการฝึกกับหน่วยนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกาเป็นประจำในรหัสการัท(CARAT) ทำการฝึกยกพลขึ้นบกเมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๙ รหัสการัท (CARAT 2016) พื้นที่ฝึกจังหวัดชลบุรี

 

 

 

050628-9866B-012 Pacific Missile Range Facility, Kauaíi, Hawaii ñ June 28, 2005 ñ Marines assigned to the 3rd Amphibious Assault Battalion based at Camp Pendelton, Calif., drive their amphibious assault vehicles (AAVs) down the beaches of Majorís Bay during amphibious training. The battalion is embarked aboard the amphibious assault ship USS Peleliu (LHA 5). Photo by Journalist 2nd Class Zack Baddorf.

รถสะเทินน้ำสะเทินบกแบบเอเอวีพี-๗เอ๑(AAVP-7A1)หน่วยนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกา

ขณะทำการฝึกโดยการเคลื่อนที่บริเวณชายฝั่งทะเล

 

 

 

2

รถสะเทินน้ำสะเทินบกแบบเคเอเอวี-๗เอ๑(KAAV-7A1)หน่วยนาวิกโยธินเกาหลีใต้

ที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ(มีแผ่นเกราะทางด้านข้าง)

 

 

 

3

รถสะเทินน้ำสะเทินบกแบบเอเอวีพี-๗เอ๑(AAVP-7A1)ขณะเคลื่อนที่ในทะเลจากเรือ

ระบายพลเข้าสู่ชายฝั่งทะเลไปยังพื้นที่เป้าหมาย

 

 

4

 

 

รถสะเทินน้ำสะเทินบกแบบเอเอวีพี-๗เอ๑(AAVP-7A1)พร้อมอาวุธประกอบด้วยปืน

กลหนักขนาด ๑๒.๗ มิลลิเมตร(๐.๕ นิ้ว)และเครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติขนาด ๔๐

มิลลิเมตร

 

 

5

 

ระบบอาวุธของรถสะเทินน้ำสะเทินบกแบบเอเอวีพี-๗เอ๑(AAVP-7A1)ประกอบด้วย

ปืนหนักขนาด ๑๒.๗ มิลลิเมตร(๐.๕ นิ้ว)และเครื่องยิงลุกระเบิดอัตโนมัติขนาด ๔๐

มิลลิเมตร ช่วยให้มีขีดความสามารถในการยิงเพิ่มขึ้นอย่างมากจากรุ่นแรก

 

 

 

6

 

 

 

 

รถสะเทินน้ำสะเทินบกแบบเคเอเอวี-๗เอ๑(KAAV-7A1)หน่วยนาวิกโยธินอินโดนีเซีย

ขณะเตรียมตัวทำการฝึกในรหัส ลัทแก็บ๒๐๑๓(LATGAB 2013)ห้วงวันที่ ๑๕ เมษายน

ถึงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๖

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

17 Nov 2004: An Amphibious Assault Vehicle (AAV) drives through a wall and locked gate to open a path for Marines from 2nd Platoon, India Company, 3rd Battalion, 1st Marines, 1st Marine Division to gain entrance to a building that needed to be cleared. Operation Al Fajr is an offensive operation to eradicate enemy forces within the city of Fallujah in support of continuing security and stabilization operations in the Al Anbar province of Iraq by units of the 1st Marine Division. Official USMC Photograph by LCpl Ryan L Jones

 

รถสะเทินน้ำสะเทินบกแบบเอเอวีพี-๗เอ๑(AAVP-7A1)หน่วยนาวิกโยธินกองทัพเรือ

ไทยขณะทำการฝึก เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๔