ธงไตรรงค์ ธำรงไทย สัญลักษณ์แห่งการรวมใจ ความรัก และความสามัคคี

ตอนที่ ๓ การใช้ธงชาติ

1

โดย

พลโท กิตติศักดิ์  บุนสุข

ที่ปรึกษาพิเศษ

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

———————————————————————————————

๒๘ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๐

พระราชบัญญัติ แก้ไขพระราชบัญญัติธง

พระพุทธศักราช ๒๔๖๐ ต้นกำเนิดแห่งธงไตรรงค์

ในฉบับที่แล้วได้กล่าวถึงพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช ๒๔๖๐ ซึ่งถือเป็นต้นกำเนิดแห่งธงไตรรงค์ที่เรามีความภาคภูมิใจอยู่ในปัจจุบันนี้ และในฉบับนี้จะได้กล่าวถึง การใช้ธง ซึ่งจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้และการประดับธงในโอกาสต่างๆ รวมทั้งการดูแลรักษาธง การพับธง รวมถึงการทำลายธงที่ชำรุดเสื่อมสภาพต่อไป

 

  • การใช้ธงชาติ

การใช้ธงชาติ หมายความถึง การนำธงที่อยู่ในสภาพพร้อมแล้วทำให้ปรากฏหรือให้เห็น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดประโยชน์หรือใช้ในโอกาสใดโอกาสหนึ่งตามกำหนดในระเบียบ พุทธศักราช ๒๕๒๙

 

 

 

2 3

ธงชาติที่จะนำมาใช้ ชัก หรือแสดง            ธงชาติที่มีสภาพไม่สมบูรณ์ เก่า ขาด เป็นรู

ต้องมีสภาพดี เรียบร้อย  สมบูรณ์            ผิดเพี้ยน สีซีดจนเกินควร จะไม่นำมาใช้

 

 

4

 

5

 

  • การใช้ธงชาติกับผู้เสียชีวิต

ธงชาติ สามารถใช้เป็นเครื่องประกอบเกียรติยศศพหรืออัฐิได้ กับบุคคลดังต่อไปนี้

๑.  ประธานองคมนตรี ประธานรัฐสภา นายกรัฐมนตรี หรือประธานศาลฎีกา ที่เสียชีวิตในขณะดำรงตำแหน่ง

๒. ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์

๓. ผู้เสียสละเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่การสู้รบ ต่อสู้ หรือเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือช่วยเหลือราชการในการปกป้องอธิปไตย รักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศ หรือปราบปรามการกระทำผิดต่อความมั่นคงของรัฐ หรือปราบปรามการกระทำผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

๔. ผู้เสียชีวิตจากการแสดงความกล้าหาญช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ให้เป็นประโยชน์อย่างสำคัญแก่ราชการ โดยไม่เกรงภัยอันจะเกิดแก่ชีวิตตน

๕. บุคคลตาม ๓ และ ๔ ในกรุงเทพมหานคร ให้เสนอขอความเห็นชอบจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่เกี่ยวข้อง ในจังหวัดอื่นๆ ให้เสนอขอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอท้องที่ หรือผู้บังคับบัญชาทหารระดับกองทัพ หรือเทียบเท่าขึ้นไป แล้วแต่กรณี

๖. บุคคลที่ทางราชการเห็นสมควร ให้หัวหน้าส่วนราชการ ตามข้อ ๕ เป็นผู้เสนอขอความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย

 

 

 

 

  • การใช้ธงชาติคลุมศพ

ในพิธีรับพระราชทานน้ำอาบศพ           ในพิธีปลงศพ                ในระหว่างเคลื่อนย้ายศพ

หรือพิธีรดน้ำศพ                ตามประเพณีของทหารเรือ       เพื่อประกอบพิธีทางศาสนา

 

  • การใช้ธงชาติคลุมหีบศพหรืออัฐิ

ให้ใช้ในกรณีดังต่อไปนี้

  • เมื่อเชิญหรือเคลื่อนย้ายศพหรืออัฐิ เพื่อประกอบพิธีรับพระราชทานน้ำอาบศพ หรือพิธีรดน้ำศพ หรือบำเพ็ญกุศลตามพิธีทางศาสนา

๒. ในระหว่างการประกอบพิธีทางศาสนา

๓. ในระหว่างการตั้งศพเพื่อรับพระราชทานเพลิงศพ ประกอบการฌาปนกิจ หรือเคลื่อนย้ายศพไปประกอบพิธีฝัง

  • วิธีการใช้ธงชาติคลุมศพหรือหีบศพ
  • ปกติให้ใช้คลุมตามความยาวของธง โดยให้ด้านต้นของธงอยู่ทางส่วนศีรษะของศพ และจะต้องปฏิบัติไม่ให้เป็นการเสื่อมเสียเกียรติแก่ธงชาติ เว้นข้าราชการทหารเป็นไปตามประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่องชี้แจงการใช้ธงชาติคลุมศพ หีบศพ หรือที่เก็บอัฐิผู้เสียชีวิต เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ลงวันที่ ๒๒พฤษภาคม ๒๕๒๗
  • ห้ามมิให้วางสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงบนธงชาติที่คลุมศพหรือหีบศพ

๓  เมื่อจะรับพระราชทานน้ำอาบศพ บรรจุ หรือฝังศพ ประชุมเพลิงศพตอนเผาจริง ให้อัญเชิญธงชาติที่คลุมศพหรือหีบศพพับเก็บให้เรียบร้อย โดยมิให้ส่วนหนึ่งส่วนใดของธงชาติสัมผัสพื้น

สำหรับผู้ที่ได้รับพระราชทานโกศหรือหีบหลวงประกอบพิธีเกียรติยศศพอยู่แล้ว ถ้ามีสิทธิที่จะใช้ธงชาติคลุมศพด้วย ให้กระทำโดยวิธีเชิญธงชาติในสภาพที่พับเรียบร้อยใส่พานตั้งไว้หน้าที่ตั้งศพ เช่นเดียวกับเครื่องยศ
และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ แต่ต้องไม่ต่ำกว่าเครื่องยศและเครื่องราชอิสริยาภรณ์โดยห้ามใช้ธงชาติหรือแถบสีธงชาติคลุมทับ หรือตกแต่งโกศ หรือหีบศพที่พระราชทานประกอบเกียรติยศศพ

  • การชักธงชาติ

๑. ผู้มีหน้าที่ชักธงชาติต้องแต่งกายเรียบร้อย

๒. เมื่อใกล้กำหนดเวลาชักธงขึ้น ให้เตรียมธงชาติผูกติดกับสายเชือกทางด้านขวาของผู้ชักธงให้เรียบร้อย

๓. เมื่อถึงกำหนดเวลา ให้คลี่ธงชาติออกเต็มผืน แล้วดึงเชือกให้ธงชาติขึ้นช้าๆ ด้วยความสม่ำเสมอจนถึงสุดยอดเสาธง แล้วจึงผูกเชือกไว้ให้ตึงไม่ให้ธงลดต่ำลงมา

๔. เมื่อชักธงลง ให้ดึงเชือกให้ธงชาติลงช้าๆ ด้วยความสม่ำเสมอและสายเชือกตึงจนถึงระดับเดิมก่อนชักขึ้น

๕. ในกรณีที่มีการบรรเลงเพลงชาติหรือสัญญาณในการชักธงขึ้นลง จะต้องชักธงชาติขึ้นและลงให้ถึงจุดที่สุด พร้อมกับจบเพลงหรือสัญญาณนั้นๆ

 

  • กรณีที่ทางราชการประกาศให้ลดธงชาติครึ่งเสา

ให้ปฏิบัติในการชักธงขึ้นเช่นเดียวกับข้อ ๑, ๒ และ ๓ เมื่อธงถึงยอดเสาแล้วจึงลดธงลงมาจากยอดเสาเพียง ๑ ใน ๓ ของความสูงเสาธง หรืออีกนัยหนึ่ง คือธงจะอยู่ที่ความสูง ๒ ใน ๓ ส่วนของความสูงเสาธง ไม่ใช่ครึ่งเสา และเมื่อจะชักธงลง ให้ชักธงขึ้นจนถึงยอดเสาก่อน แล้วจึงชักธงลงตามข้อ ๔ และ ๕

6

 

  • การชักธงชาติและวันพระราชทานธงชาติไทย

คณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๖ เป็นหลักการว่าสถานที่ราชการ สถาบันการศึกษา สถานศึกษา ที่ทำการรัฐวิสาหกิจ และองค์การอื่นๆของรัฐ นอกจากจะมีการชักธงชาติขึ้นและลงตามเวลาที่ทางราชการกำหนดแล้ว ยังสามารถประดับธงชาติ ณ สถานที่อันสมควรในบริเวณที่ทำการทุกวัน และตลอดเวลาเป็นการถาวรและสม่ำเสมอ การชักธงชาติ ณ อาคารสถานที่และยานพาหนะของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ ตลอดถึงสถานที่อยู่ ที่พักอาศัยของหัวหน้าคณะผู้แทนทางทูตหรือหัวหน้าสถานที่ทำการกงสุล ให้ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้เช่นเดียวกับการชักธงชาติในราชอาณาจักรโดยอนุโลม โดยให้หัวหน้าหน่วยงานหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ คำนึงถึงขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ  ความตกลงกับรัฐบาลไทย และขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๙ เห็นชอบกำหนดให้ วันที่ ๒๘ กันยายน ของทุกปีเป็นวันพระราชทานธงชาติไทย (Thai National Flag Day) และเริ่มในวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๐ เป็นวันแรก โดยไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ รวมทั้งกำหนดให้มีการชักและประดับธงชาติในวันดังกล่าวด้วย

  • การประดับธงชาติ

การประดับธงชาติ หมายความถึง การนำธงชาติไปตกแต่งหรือแสดงร่วมกับสิ่งอื่นๆ ประกอบด้วย  เช่น

การประดับธงชาติคู่หรือร่วมกับธงอื่น การประดับธงชาติร่วมกับพระพุทธรูปและพระบรมรูป เป็นต้น

 

  • การประดับธงชาติคู่หรือร่วมกับธงอื่น
  • การประดับธงชาติคู่หรือร่วมกับธงอื่น ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยธง ยกเว้นธงพระอิสริยยศ จะต้องไม่ให้ธงชาติอยู่ในระดับต่ำกว่าธงอื่นๆ และโดยปกติให้จัดธงชาติอยู่ที่เสาธงแรกด้านขวา (เมื่อมองออกมาจากภายใน หรือจุดของสถานที่ที่ใช้ชัก แสดง หรือประดับธงเป็นหลัก)
  • การประดับธงชาติคู่กับธงอื่นในงานพิธีซึ่งมีแท่นหรือมีที่สำหรับประธาน ให้จัดธงชาติอยู่ด้านขวาของแท่นพิธีและธงอื่นอยู่ด้านซ้าย

๓  การประดับธงชาติคู่กับธงอื่น นอกจากดังที่กล่าวในข้อ ๑ และข้อ ๒ แล้วให้ปฏิบัติดังนี้

๓.๑ เมื่อรวมกับธงชาติแล้วนับได้เป็นจำนวนคี่  ให้ธงชาติอยู่กลาง

๓.๒ เมื่อรวมกับธงชาติแล้วนับได้เป็นจำนวนคู่  ให้ธงชาติอยู่กลางด้านขวา

 

  • การประดับธงชาติร่วมกับพระพุทธรูปและพระบรมรูป

7

การประดับธงชาติร่วมกับธงอื่น              การประดับธงชาติร่วมกับธงอื่น                             การประดับธงชาติร่วมกับกรณีมีธง     รวมนับเป็นจำนวนคี่                                     กรณีมีธงรวมนับเป็นจำนวนคู่                                 พระพุทธรูปและพระบรมรูป

การประดับธงชาติร่วมกับพระพุทธรูปและพระบรมรูปในพิธีการต่างๆ เพื่อเป็นที่สักการะร่วมกัน ให้จัดธงชาติอยู่ด้านขวาของพระพุทธรูป และพระบรมรูปอยู่ด้านซ้ายของพระพุทธรูป

  • การประดับธงชาติ

การประดับธงชาติคู่หรือร่วมกับธงของต่างประเทศ ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้

๑.การประดับธงชาติคู่หรือร่วมกับธงของต่างประเทศ จะต้องเป็นไปในลักษณะเท่าเทียมกัน เช่น ขนาด สี ของธง ความสูงต่ำของธง เป็นต้น

๒. ถ้าประดับหรือชักธงของต่างประเทศประเทศเดียว ต้องให้ธงชาติเคียงคู่อยู่ด้านขวาของธงต่างประเทศ

๓. ถ้าประดับธงของต่างประเทศเกินกว่าหนึ่งประเทศ เมื่อรวมกับธงชาติแล้วเป็นจำนวนคี่ ต้องให้ธงชาติอยู่ ตรงกลาง

๔. ถ้าประดับธงของต่างประเทศเกินกว่าหนึ่งประเทศ เมื่อรวมกับธงชาติแล้วเป็นจำนวนคู่ต้องให้ธงชาติอยู่
กลางด้านขวา

๕. การประดับธงชาติในอาคารสถานที่ หรือมีข้อตกลงระหว่างประเทศ หรือประเทศภาคีกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ก็ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงหรือข้อกำหนดนั้น

๖. การประดับธงชาติในการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศ โดยปกติให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของสมาคมกีฬาระหว่างประเทศหรือตามหลักสากล

๗. การประดับธงชาติคู่กับธงของต่างประเทศสำหรับรถยนต์ให้ปักธงชาติไว้ทางด้านขวา และธงของต่างประเทศไว้ทางด้านซ้าย

๘. ยานพาหนะอื่นให้ใช้ทำนองเดียวกับข้อ ๗ เว้นแต่การประดับบนเรือ ให้เป็นไปตามธรรมเนียมประเพณีของชาวเรือ

  • โอกาสและวันพิธีสำคัญ

ให้ชักและประดับธงชาติ

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการใช้ การชักหรือการแสดงธงชาติ และธงของต่างประเทศในราชอาณาจักร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๖๐ ให้ชักและประดับธงชาติ ณ อาคารสถานที่ ยานพาหนะ และที่สาธารณสถาน ตามกำหนดวันและระยะเวลา ดังต่อไปนี้

วันที่ ๑ มกราคม ของทุกปี

 

วันขึ้นปีใหม่

 

๑ วัน

วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓

 

วันมาฆบูชา

 

๑ วัน

วันที่ ๖ เมษายน ของทุกปี

วันพระบาทสมเด็จ

พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์

๑ วัน

วันที่ ๑๓ เมษายน ของทุกปี

 

วันสงกรานต์

 

๑ วัน

 

 

 

วันพืชมงคล

 

๑ วัน

วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖

 

วันวิสาขบูชา

 

๑ วัน

วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘

 

วันอาสาฬหบูชา

 

๑ วัน

วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘

 

วันเข้าพรรษา

 

๑ วัน

วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ของทุกปี

วันเฉลิมพระชนมพรรษา

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลง      กรณบดินทรเทพยวรางกูร

๒ วัน

(๒๘ – ๒๙ กรกฎาคม)

 

 

วันที่ ๑๒ สิงหาคม ของทุกปี

วันเฉลิมพระชนมพรรษา

สมเด็จพระบรมราชินีนาถ

ในรัชกาลที่ ๙

๑ วัน

 

วันที่ ๒๘ กันยายน ของทุกปี

วันพระราชทาน

ธงชาติไทย

 

๑ วัน

วันที่ ๒๔ ตุลาคม ของทุกปี

วันสหประชาชาติ

 

๑ วัน

 

วันที่ ๕ ธันวาคม ของทุกปี

วันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา

พระบาทสมเด็จพระปรมินทร

มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

วันชาติและวันพ่อแห่งชาติ

๒ วัน

(๕ – ๖ ธันวาคม)

วันที่ ๑๐ ธันวาคม ของทุกปี

วันรัฐธรรมนูญ

 

๑ วัน

 

 

8

 

๑. เมื่อมีการชักธงชาติขึ้นและลง ให้แสดงความเคารพโดยการยืนตรง หันไปทางเสาธง อาคาร หรือสถานที่
ที่มีการชักธงชาติขึ้นและลง จนกว่าจะเสร็จการ

๒. ในกรณีที่ได้ยินเพลงชาติหรือสัญญาณการชักธงชาติ จะเห็นหรือไม่เห็นการชักธงชาติก็ตาม หรือในกรณีอยู่ในอาคาร หรือยานพาหนะที่ไม่สามารถยืนแสดงความเคารพได้ ให้แสดงความเคารพ โดยหยุดนิ่งในอาการสำรวม จนกว่าการชักธงชาติหรือเสียงเพลงชาติ หรือสัญญาณการชักธงชาติจะสิ้นสุดลง

  • การดูแลรักษาธงชาติ

๑.ให้หัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานผู้ปกครองอาคารสถานที่ราชการ หรือสถานที่ทำการของหน่วยงานของรัฐและเอกชน ผู้ครอบครองอาคารสถานที่ที่มีการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติ กวดขันดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบโดยเคร่งครัด

๒. ให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติเก็บรักษาธงชาติไว้ด้วยความเคารพในสถานที่และที่เก็บอันสมควร

๓. การเชิญธงชาติจากที่เก็บรักษาเพื่อนำไปใช้ ชัก หรือแสดง ในกรณีที่ธงชาติเป็นผืนผ้าให้เชิญไปในสภาพที่พับเรียบร้อย และด้วยอาการเคารพ เมื่อถึงจุดที่จะใช้หรือแสดงจึงคลี่ธงออกเพื่อใช้หรือแสดงต่อไป

๔. การเชิญธงชาติจากจุดที่ใช้ ชัก หรือแสดง ไปเก็บไว้ ณ ที่เก็บรักษา ให้ดำเนินการในลักษณะเดียวกับที่กำหนดไว้ในข้อ ๓

  • คำแนะนำในการพับธงชาติ การทำลายธงชาติ

คำแนะนำในการพับเก็บธงชาติ

การพับเก็บธงชาติที่ถูกต้อง ต้องพับเป็นรูปสามเหลี่ยมที่แสดงให้เห็นแถบสีทั้งสามของธงชาติ โดยพับครึ่งธงชาติ ๒ ครั้ง แล้วพับทบเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉากไปเรื่อยๆจนพับต่อไม่ได้ จึงเก็บชายธงสอดเข้าให้เรียบร้อย9

คำแนะนำในการทำลายธงชาติ

ธงชาติที่ชำรุด ขาดวิ่น หรือสภาพเก่า จะไม่นำมาใช้ ให้ทำลายอย่างเหมาะสมและถูกต้อง โดยการตัดผืนธงชาติให้ริ้วสีแยกออกจากกัน เพื่อให้สิ้นสภาพ หรือลักษณะอันเป็นผืนธงชาติ หรือแถบสีธงชาติ

10

 

  • ธงชาติไทยในโลกสากล

“ธงชาติไทย” เครื่องหมายแสดงถึงความเป็นชาติสูงสุด การปรากฏของธงชาติไทยนอกราชอาณาจักร จึงเป็นการแสดงถึงเกียรติศักดิ์อันแผ่ไพศาลของชาติ และการได้รับการยอมรับในโลกสากล อันนำมาซึ่งความภาคภูมิใจ ของคนไทยทั้งประเทศ

 

11

 

สำหรับบทความเรื่อง ธงไตรรงค์ ธำรงไทย สัญลักษณ์แห่งการรวมใจ ความรัก และความสามัคคี ซึ่งเริ่มตั้งแต่พัฒนาการของธงชาติไทย ต้นกำเนิดแห่งธงไตรรงค์ ซึ่งจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระราชบัญญัติ แก้ไขพระราชบัญญัติธง พุทธศักราช ๒๔๖๐ ซึ่งถือเป็นกำเนิด “ธงไตรรงค์” และการใช้ธง ซึ่งจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้และการประดับธงในโอกาสต่างๆ รวมทั้งการดูแลรักษาธง การพับธง รวมถึงการทำลายธงที่ชำรุดเสื่อมสภาพ รวม ๓ ตอนนี้ ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงจะเป็นประโยชน์ในราชการ และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำต่อไปได้ ข้าพเจ้าจึงขอจบบทความไว้แต่เพียงเท่านี้ ในโอกาสต่อไปข้าพเจ้าจะได้นำเรื่องที่มีประโยชน์มานำเสนอต่อผู้อ่านในคราวต่อไป ขอบคุณครับ