พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้กษัตริย์ลำดับที่สองแห่งราชวงศ์ตองอู ทรงรวบรวมเมืองต่างๆ ให้เป็นหนึ่งเดียว และทรงย้ายเมืองหลวงจากเมืองตองอูมาอยู่ที่กรุงหงสาวดี ซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรมอญที่เป็นคู่ต่อสู้อันยาวนานในอดีต จึงเป็นใหญ่เหนืออาณาจักรต่างๆ แห่งลุ่มแม่น้าอิระวดี อาณาจักรมีความเข้มแข็งจากการจัดซื้อปืนคาบศิลาและปืนใหญ่จากชาวโปรตุเกสจากยุโรป เป็นผลให้การทำสงครามในภูมิภาคแห่งนี้ต้องเปลี่ยนไปจากในอดีตอย่างมาก นับว่าพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ทรงเป็นกษัตริย์นักรบที่เข้มแข็งของอาณาจักรตองอูตอนต้นพระองค์หนึ่ง…………..บทความนี้ กล่าวถึงการรวบรวมอาณาจักรพม่าของพระเจ้าบุเรงนอ

๑.สถานการณ์ทั่วไป
เจ้าชายตะเบ็งชะเวตี้ แห่งราชวงศ์ตองอู(Toungoo Dynasty) ทรงขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ.๒๐๗๔ ขณะที่ทรงมีพระชนมายุ ๑๕ พรรษา ก่อนที่เจ้าชายตะเบงชะเวตี้จะทรงขึ้นครองราชสมบัติ พระองค์ทรงเจาะพระกรรณที่วัดชเวมอดอ (พระธาตุมุเตา) ตั้งอยู่ที่เมืองหงสาวดีซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรมอญที่เป็นคู่สงครามมาในอดีต พระองค์ทรงขยายอาณาเขตตองอูให้ใหญ่ขึ้นต้องทาสงครามกับอาณาจักรเพื่อนบ้านสามารถยึดครองได้ เมืองพะสิม, เมืองหงสาวดีต้องทาสงครามถึง ๓ ครั้งและเมืองเมาะตะมะ ศึกใหญ่เมืองเมาะตะมะต้องใช้กลศึกมากมายทาการรบที่ดุดันและยึดเมืองได้ในปี พ.ศ.๒๐๘๔ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ทรงสั่งประหารเจ้าเมืองเมาะตะมะรวมทั้งครอบครัวและทหารรักษาเมือง เป็นผลให้เมืองมะละแหม่งยอมเป็นเมืองขึ้น ต่อมายึดได้เมืองแปรพร้อมทั้งประหารชีวิตเจ้าเมืองและทหารรักษาเมือง ทรงยกกองทัพขึ้นทางตอนเหนือยึดได้เมืองพกุ าม พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้แห่งกรุงหงสาวดีจึงมีอาณาเขตกว้างใหญ่ พ.ศ.๒๐๙๑ ทรงยกกองทัพเข้าตีอาณาจักรอยุธยาเพื่อนบ้านทางตะวันออกด้วยกาลังทหาร ๓๐๐,๐๐๐ นาย ใช้เส้นทางเดินทัพมาทางเมืองเมาะตะมะผ่านทางด่านเจดีย์สามองค์พร้อมด้วยแม่ทัพใหญ่บุเรงนอง (Bayinnaung) เป็นผลให้แม่ทัพใหญ่พม่าทราบข้อมูลที่สาคัญของเมืองอยุธยาในการป้องกันเมือง ที่ใช้แนวกาแพงเมืองและแม่นป้องกันเมือง จะเป็นอุปสรรคที่สาคัญยิ่งในการเข้าตีของฝ่ายรุกราน

๒. หงสาวดีเปลี่ยนแผ่นดิน
พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ในการรบทรงยกกองทัพกลับทางด้านเหนือทางเมืองตาก เข้าสู่เมืองเมาะตะมะและกรุงหงสาวดี พระองค์เริ่มเสวยนจัณฑ์ที่ปรุงจากผลไม้กับพระสหายชาวโปรตุเกส (ที่หนีมาจากเมืองมะละกา เพราะไปโจมตีสุลต่านเมืองอะเจะห์ แล้วหนีไปอยู่ที่เมืองเมาะตะมะและเจ้าเมืองจับส่งมาให้พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้พระองค์เกิดพอพระทัย ร่วมเสด็จเข้าป่าล่าสัตว์และร่วมเสวยนจันฑ์) พร้อมทั้งไม่ได้ออกว่าราชการ พ.ศ.๒๐๙๓ ขุนนางชาวมอญชื่อสมิงทอสุด(Smim Sawhtut) อามาตย์กรมวังได้วางแผนเชิญพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้เสด็จไปคล้องช้างเผือกในป่า นอกกรุงหงสาวดีที่เมืองสะโตง พร้อมทั้งปลงพระชนม์ในพลับพลาด้วยดาบ ขณะมีพระชนมายุ ๓๔ พรรษา เมื่อวันพุธที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๐๙๔ (ทรงอยู่ในราชสมบัติ พ.ศ.๒๐๗๔-๒๐๙๓ นาน ๑๔ ปี) ขณะนั้นแม่ทัพใหญ่บุเรงนองได้ยกกองทัพไปทาศึกทางด้านตะวันตก หลังจากพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้สิ้นพระชนม์แล้วเป็นผลให้เมืองต่าง ๆ ได้ตั้งตนเป็นอิสระ สมิงทอสุดจึงได้สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้ากรุงหงสาวดีผู้นำชาวมอญพระองค์ใหม่อาณาจักรพม่าแห่งกรุงหงสาวดีได้เกิดความวุ่นวายในหลายเมือง แม่ทัพใหญ่บุเรงนองตั้งตนเป็นอิสระที่เมืองตองอูเตรียมกำลังพลและเสบียงอาหาร เพื่อความพร้อมรบในการปราบปรามเมืองต่างๆ ที่ได้ตั้งตนเป็นอิสระแต่ต้องใช้เวลา เมื่อปราบปรามเมืองต่างๆ เรียบร้อยแล้วก็ยกกองทัพเข้าตีกรุงหงสาวดีและรบชนะสมิงทอราม แต่สมิงทอรามก็หนีไปได้แต่ในที่สุดก็ถูกจับและถูกประหารชีวิต พระองค์จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระเจ้าบุเรงนอง แห่งกรุงหงสาวดี เป็นกษัตริย์ลำดับที่สาม แห่งราชวงศ์ตองอู เมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๔ ขณะที่ราชวงศ์ตองอูมีอายุได้ ๖๕ ปี พระองค์ทรงแต่งตั้งให้พระอนุชาไปครองเมืองต่างๆ ประกอบด้วย เมืองตองอู, เมืองแปร และเมืองเมาะตะมะ พระเจ้าบุเรงนองทรงปรามมอญทางใต้สำเร็จ ขณะที่ทางตอนเหนือคือเมืองอังวะและเมืองของไทยใหญ่ทางตอนเหนือยังเป็นอิสระ พ.ศ.๒๐๘๗ พระเจ้าบุเรงนองทรงยกกองทัพบกและกองทัพเรือเข้าตีเมืองอังวะแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ในปีต่อมาก็สามารถเข้าตีเมืองอังวะได้สำเร็จและทรงแต่งตั้งพระอนุชาองค์เล็กเป็นเจ้าเมืองอังวะ ต่อจากนั้นพระเจ้าบุเรงนองทรงเสด็จยกกองทัพขึ้นทางเหนือเข้าตีไทยใหญ่ ๒ ครั้ง ในปี พ.ศ.๒๐๙๘ และ พ.ศ.๒๑๐๐ สามารถปราบปรามไทยใหญ่สำเร็จ (เมืองสีป่อ และเมืองนาย) เป็นผลให้อาณาจักรพม่าแห่งหงสาวดีมีเขตแดนที่กว้างใหญ่มากขึ้น พ.ศ.๒๑๐๑ ทรงเสด็จยกกองทัพไปตีเมืองล้านนาได้สำเร็จพร้อมทั้งทรงตั้งให้เจ้าเมืองล้านนา (พระเจ้ามกุฏิ) ปกครองต่อไป พร้อมทั้งทรงกวาดต้อนชาวเมือง และที่เป็นช่างสาขาต่าง ๆ ไปเป็นเชลยศึก เพื่อเป็นการลดขีดความสามารถทางทหารให้ต่ำลงจนไม่สามารถในการคิดที่จะแยกตัวเป็นอิสระต่อไปเมืองมณีปุระ (Manipur) ที่อยู่ชายแดนทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือปลายเขตอาณาจักรใกล้กับอินเดียก็ยอมอยู่ร่วมอาณาจักรด้วย เป็นผลให้อาณาจักรพม่าแห่งหงสาวดีมีอาณาเขตเพิ่มมากขึ้นตลอดลุ่มแม่น้ำอิระวดีและลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน

๓. บทสรุป
อาณาจักรพม่าในยุคที่สองแห่งตองอูเริ่มต้นจากอาณาจักรขนาดเล็ก เริ่มต้นการขยายอำนาจสู่อาณาจักรใกล้เคียง พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ทรงรบชนะอาณาจักรมอญและทรงย้ายเมืองหลวงมาตั้งที่กรุงหงสาวดี มีแม่ทัพใหญ่คือบุเรงนองที่มีความเชี่ยวชาญในกลศึกและทำการรบเข้มแข็ง ร่วมออกรบและนำกองทัพพม่าในการเข้าตีเมืองต่าง ๆ อาณาจักรพม่าแห่งกรุงหงสาวดีจึงเป็นจุดเริ่มต้นของอาณาจักรพม่าในยุคที่สอง เริ่มต้นสู่ความยิ่งใหญ่

 

 

  • พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์