เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทเนื่องจากการขาดสารโดปามีนในสมอง พบได้บ่อยในผู้สูงอายุทั้งเพศชายและหญิง โรคนี้เกิดขึ้นจากการเสื่อมและตายไปของเซลล์สมอง ในตำแหน่งที่สร้างสารโดปามีน จนไม่สามารถสร้างสารโดปามีนได้เพียงพอซึ่งสารนี้มีความสำคัญต่อการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน มีอาการสั่นขณะอยู่เฉย ๆ เกิดขึ้นที่มือหรือเท้า ซีกใดซีกหนึ่งหรือทั้ง ๒ ซีกเคลื่อนไหวช้าลง เช่น เดินช้าลง แขนไม่แกว่งพูดเสียงเบา มักมีอาการแข็งตึงของแขนขาและลำตัว ทำให้เคลื่อนไหวลำบาก นอกจากนี้ยังพบความผิดปกติของท่าทาง และการทรงตัวเช่น หลังค่อม แขนงอ หกล้มง่าย นั่งตัวเอียงส่วนอาการอื่นๆ ที่มักพบร่วมด้วยได้แก่ อาการปวดตามกล้ามเนื้อ ซึมเศร้า นอนไม่หลับ สีหน้าเฉยเมย ไม่แสดงอารมณ์ น้ำลายไหลบ่อย ไม่สามารถควบคุมได้ ลายมือเปลี่ยนไป

ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการรักษาใดที่จะทำให้โรคพาร์กินสันหายขาดได้เนื่องจากไม่สามารถหยุดยั้งความเสียหายที่เกิดกับเซลล์สมอง อย่างไรก็ตามก็ยังมีหลายวิธีในการบำบัดรักษาเพื่อควบคุมอาการหรือชะลอไม่ให้โรคเลวลงเร็วนักเมื่อวินิจฉัยได้แล้วว่าผู้ป่วยเป็นโรคพาร์กินสันแพทย์จำเป็นต้องวางแผนการรักษาติดตามอาการ และประเมินผลการรักษาเป็นระยะๆ แตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย

หลักการใช้ยาก็เพื่อระงับและยับยั้งอาการสั่น การเคลื่อนไหวผิดปกติและปรับความสมดุลของร่างกาย ทั้งนี้คนไข้คนหนึ่งอาจต้องให้ยามากกว่าหนึ่งขนาน ยาที่ใช้บ่อยๆ ได้แก่ เลโวโดป้า (levodopa) ซึ่งเมื่อยาเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกแปลงเป็นสารโดปามีน เพื่อเสริมให้เซลล์สมองที่ไม่สามารถผลิตสารนี้ได้มากพอ ยานี้มักจะต้องให้ควบคู่กับยาขนานอื่นเพื่อช่วยขนส่งยาไปถึงสมองได้มากขึ้น ผู้ป่วยบางรายใช้ไปนาน ๆ แล้วพบว่ายาเสื่อมฤทธิ์ลงยากลุ่มใหม่ ๆ ที่นำมาใช้รักษาโรคพาร์กินสันได้แก่ dopamine agonists ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์เลียนแบบผลของโดปามีน ตัวอย่างเช่น pergolide และ bromocriptine อีกกลุ่มหนึ่งเป็นยาที่ออกฤทธิ์ต้านเอ็นไซม์ MAO-B ทำให้โดปามีนออกฤทธิ์ได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น selegiline และยาที่ออกฤทธิ์ต้านเอ็นไซม์ COMT ช่วยเสริมฤทธิ์เลโวโดปา ตัวอย่างเช่นentacapone เป็นต้น

การรักษาโดยการฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าในสมอง เรียกว่า deep brain stimulation (DBS) ได้ผลดีในผู้ป่วยจำนวนมากและการศึกษาวิจัยปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด หรือ stem cell therapy เชื่อว่าจะประสบความสำเร็จในไม่ช้านี้

ออกกำลังกายป้องกันโรคพาร์กินสัน

รายงานการศึกษาวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดตีพิมพ์ในวารสารประสาทวิทยาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๐๑๔ พบว่าการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอช่วยป้องกันการเกิดโรคพาร์กินสันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเพศชายที่ฟิตร่างกายตั้งแต่อายุยังน้อย จากการคำนวณทางสถิติและวิเคราะห์ผลการศึกษาพบว่าสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคพาร์กินสันได้มากถึงร้อยละ ๕๐

วิธีรับมือกับอาการเจ็บแน่นหน้าอกเฉียบพลัน

ภาวะเจ็บแน่นหน้าอกเฉียบพลันอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคที่เกิดจากระบบทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร กล้ามเนื้อหัวใจหรือหลอดเลือดตีบสาเหตุที่สำคัญ คือ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากหลอดเลือดหัวใจตีบซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต

สัญญาณอันตรายจากภาวะหัวใจขาดเลือด

อาการเจ็บแน่นหน้าอกระหว่างราวนมลนิ้ ปี่ คล้ายมอี ะไรบบี รดั หรอื กดทบั อาจร้าวไปที่คอกราม แขนซ้ายด้านใน และอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เหงื่อออก ตัวเย็น เวียนศีรษะหน้ามืด เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ ใจสั่น เป็นลักษณะเฉพาะของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่เป็นผลจากภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เมื่อหลอดเลือดหัวใจตีบตันกล้ามเนื้อหัวใจจะตายในเวลาอันรวดเร็วภายใน ๖ ชั่วโมง กล้ามเนื้อหัวใจส่วนที่ขาดเลือดอาจตายมากถึงร้อยละ ๙๐ และส่วนที่ดีอีกประมาณ ร้อยละ ๑๐ ถ้ากล้ามเนื้อหัวใจตายเป็นบริเวณกว้างจะทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันหัวใจวายเฉียบพลัน และเสียชีวิตในที่สุด

 

โอกาสในการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตันที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผู้ชายอายุ ๔๐ ปีขึ้นไป และผู้หญิงอายุมากกว่า ๕๕ ปีขึ้นไป โดยมีโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ เครียด ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรือมีประวัติสมาชิกในครอบครัวที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจความเสี่ยงจะยิ่งสูงขึ้นการรักษาเพื่อเปิดหลอดเลือดที่ตีบตันอาจทำได้โดย- การให้ยาละลายลิ่มเลือด (ดีที่สุดภายใน๓๐ นาที หลังผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล)
– การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน(ดีที่สุดภายใน ๙๐ นาที หลังผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล)
– การผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ

จะเห็นได้ว่าการรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันญาติหรือคนใกล้ชิด ควรรีบส่งผู้ที่มีอาการสงสัยว่าอยู่ในภาวะหัวใจขาดเลือด พบแพทย์ที่โรงพยาบาลโดยเร็วที่สุดซึ่งแพทย์จะรักษาโดยการเปิดหลอดเลือดหัวใจทันที เพื่อให้กล้ามเนื้อหัวใจเสียหายน้อยที่สุดลดอัตราการตาย และภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

 

  • สำนักงานแพทย์ สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม