ปรากฏการณ์ทางด้านภาษา ณ เมืองสุราบายา นี้คือคำแปลของหัวเรื่องข้างต้น แต่จริงๆ แล้วการเดินทางไปเมืองสุราบารา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ของผู้เขียนในห้วงวันที่ ๒๒ ถึง ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๗ นั้นเป็นการไปเข้าร่วมประชุมนานาชาติในหัวข้อ “Language Phenomena in Urban Society”
๑. การปนภาษาและการสลับภาษาในการสื่อสารในสังคม (Code-mixing and codeswitching in the communication in the society)
๒. ผลสะท้อนทางด้านวัฒนธรรมของภาษา (Cultural reflection in language)
๓. ภาษาที่ใช้ในภาพยนตร์และโทรทัศน์(Language in film and television) ภาษาในสังคมเมือง” ซึ่งจัดโดยมหาวิทยาลัยแอร์ลังกา ( Airlangga University) ณ เมืองสุราบายา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และมีนักวิชาการ นักวิจัยและนักภาษาศาสตร์ทั่วโลกเข้าร่วมประชุมและนำเสนอผลงานด้านวิจัยและวิชาการจำนวนมาก เช่น ญี่ปุ่น เมียนมาร์ มาเลเซีย โปตุเกส อินเดีย ฟิลิปปินส์ ไทย สิงคโปร์ ซาอุดิอาระเบีย ออสเตรเลีย บรูไน และอินโดนีเซีย เป็นต้น ในการประชุมดังกล่าวมีประเด็นที่น่าสนใจ เกี่ยวกับภาษาต่าง ๆ อาทิ เช่น
๔. การสอนและการเรียนภาษาในสังคมเมืองและสังคมชนบท ( Language teaching and learning in rural and urban societies)
๕. การอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่นในสังคมเมือง
(Maintenance of a local language in urban society)
๖. ความท้าทายและโอกาสในการจัดทำพจนานุกรมในภาษาท้องถิ่น (The challenges and opportunities of lexicography of local languages)
๗. พลวัติของภาษาในงานวรรณกรรม (The dynamics of language in literature)
๘. อิทธิพลของภาษาต่างประเทศต่อชุมชนในท้องถิ่น (The influence of a foreign language in a local community)
๙. การใช้พจนานุกรมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (The use of dictionaries in the information technology era)
๑๐. การแปลสำนวนและคำศัพท์ทางด้านวัฒนธรรม (Translation of culturalphrases and terms) เมื่อกล่าวถึงภาษา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ได้ ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีภาษาพูดที่แตกต่างหลากหลาย จำนวนมาก จากข้อมูลทางด้านชาติพันธุ์วิทยา (Ethnology) หรือจากนักวิชาการด้านชาติพันธุ์วิทยา (Ethnologue) ระบุไว้ว่าในจำนวนภาษาประมาณ ๗,๑๐๕ ภาษาจาก๒๐๐ ประเทศทั่วโลกนั้น ส่วนใหญ่มาจากภาษาในประเทศอินโดนีเซีย ถึงแม้ว่าภาษาราชการของอินโดนีเซียจะเป็นภาษาบาฮาซาอินโดนีเซียก็ตาม แต่ภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้แก่ ภาษาอังกฤษ, ภาษาดัทช์ ภาษาท้องถิ่น และภาษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ ภาษาชวา เป็นต้น
แต่ที่จะมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ คือ ปรากฏการณ์การใช้ภาษาอินโดนีเซียที่ ผู้เขียนได้ฝึกพูดระหว่างเดินทางไปเมืองสุราบายา ซึ่งเป็นเมืองเอกของชวาตะวันออก และเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ ๒ รองลงมาจาก จาการ์ตาเมืองหลวงของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย คำว่า สุราบายาในภาษาอินโดนีเซีย คือ สุรา แปลว่า ปลาฉลาม ส่วน บายา แปลว่า จระเข้ โดยเมืองนี้มีประชากรมากกว่า ๔ ล้านคน และรู้จักกันในชื่อเมืองแห่งวีรบุรุษ ภาษาที่ใช้คือภาษาชวาและภาษาอินโดนีเซีย ดังนั้นก่อนเดินทางมาเมืองสุราบายา ผู้เขียนจึงได้ฝึกท่องคำศัพท์และประโยคที่สำคัญๆ ไว้ใช้ในการสื่อสารดังนี้
๑. เมื่อเดินทางมาถึงสนามบินสุราบาราผู้เขียนได้พยายามสื่อสารเพื่อต้องการจะบอกว่าจะไปโรงแรมแชงกรีล่าโดยพูดว่า ซายา เมากี แชงกรีล่า โฮเต็ล (Saya mau ke Shangrila hotel) และถามต่อว่า แท็กซี่ราคาเท่าไหร่โดยพูดว่า เบอราปา เบียยา ทักซี่ยา (Berapa biaya taxinya?) ทำให้คนขับแท็กซี่ยกป้ายบอกราคาได้
๒. ต่อมาเมื่อถึงโรงแรม ผู้เขียนก็เริ่มแนะนำตัวเองว่า ฉันมาจากประเทศไทย โดยพูดว่าซายา ดารี ไทยแลนด์ (Saya dari Thailand)
๓. ในสนทนาเราต้องการถามว่า คุณพูดภาษาอังกฤษได้ไหม โดยพูดว่า อันดา บิซา บาฮาซา อิงกิส (Anda bisa bahasa Inggris? )๔. และเมื่อเราต้องการบอกว่า ฉันพูดภาษาอินโดนีเซียได้นิดหน่อย เราจะพูดว่า ซายา บิซา บาฮาซา อินโดนีเซีย เซอดิกิต (Saya bisa bahasa Indonesia sedikit)
๕. พอช่วงเย็น ๆ ผู้เขียนต้องการจะไปเดินเล่นที่ห้างสรรพสินค้า เลยคุยกับเจ้าหน้าที่โรงแรมเพื่อถามว่าจะไปที่ห้างสรรพสินค้าอย่างไร โดยพูดว่า บาไกมานา จารันยา กี ช้อปปิ้งมอล (Bagaimana caranya ke shopping mall? )
๖. บอกให้ช่วยเรียกแท็กซี่ให้หน่อยโดยพูดว่า ตูลง ปังกีลกัน ตั้กซี่ อุตตุก ซายา (Tolong panggilkan taxi untuk saya)
๗. บอกแท็กซี่ให้ไปที่ Terminal 2 ให้พูดว่า ซายา ดี เทอมิเนล ทู (Saya di terminal 2)
๘. และกล่าวขอบคุณที่ดูแลฉัน โดยกล่าวว่า เตอริมากาซิ อาตาส บันตวนยา (Terima kasih atas bantuannya.)
๙. ท้ายสุดพูดว่า ฉันหวังว่า จะได้กลับมาที่สุราบายาอีก โดยพูดว่า ซายา เบอรฮารับเบอร์กันจุง กี สุราบายา ลากี (Saya berharap berkunjung ke Surabaya lagi.) ในการเดินทางไปสุราบายาครั้งนี้ จึงเป็นการเริ่มต้นในการฝึกภาษาอินโดนีเซียของผู้เขียนที่ได้ลองนำประโยคและสำนวนต่างๆไปฝึกพูดสถานการณ์จริง ถึงแม้ว่าในบางครั้งเราอาจจะออกเสียงผิดบ้างถูกบ้าง แต่เชื่อว่าประชาชนในพื้นที่คงไม่หัวเราะเราแต่จะช่วยสอนให้เราออกเสียงได้ถูกต้องอีกด้วย พอเดินทางออกมาจากเมืองสุราบายา ผู้เขียนได้รับการต้อนรับอย่างดีจาก พันเอก พงษ์ศักดิ์ หมื่นกล้าหาญ ผู้ช่วยทูตทหารบกไทย ประจำกรุงจาการ์ตา และได้มีโอกาสฝึกภาษาอินโดนีเซียกับแม่บ้านอินโดนีเซียในตอนเช้าวันหนึ่งดังนี้
แม่บ้าน : เซอลามัต บากี อีบู Selamat pagi ibu. (สวัสดีตอนเช้าค่ะคุณผู้หญิง) ซูดะห์ ลาบาร์ Sudah labar? (หิวแล้วยัง)
อาจารย์วันดี : เซอลามัตบากี ลาบาร์ เซอดิกิต Selamat pagi labar sedikit. (สวัสดีตอนเช้าค่ะ หิวนิดหน่อย)
แม่บ้าน : อีบู มากันซาราปัน Ibu, makan sarapan ? (จะรับประทานอาหารเช้าไหม)
อาจารย์วันดี : ฮารี อีนิ มากันอัน อาปา Hari ini makanan apa? (วันนี้ มีอะไรกิน)
แม่บ้าน : อาดา บูบูร์ อายัม ดัน บูบูร์ อีดัง Ada bubur ayam dan bubur udang. (มีข้าวต้มไก่และข้าวต้มกุ้ง)
อาจารย์วันดี : มินต้า โกปี ติดัค มานิส ซาจา Minta kopi tidak manis saja. ขอกาแฟไม่หวานมากันนัน เออน่ะ เซอกาลี Makanan enak sekali อาหารอร่อย
ช่วงนี้หากพบผู้เขียนนั่งท่องศัพท์ภาษาอินโดนีเซีย ก็อย่าแปลกใจนะคะ เพราะตั้งใจภายในเวลาสองปี จะต้องพูด อ่านและเขียนภาษาอินโดนีเซียให้ได้ แล้วคุณล่ะ สนใจภาษาต่างประเทศสักภาษาแล้วหรือยัง จึงขอเชิญชวนให้เริ่มฝึกฝนภาษาต่างประเทศ เช่น กลุ่มภาษาในภูมิภาคอาเซียน เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาเขมร ภาษาอินโดนีเซีย ภาษามาเลย์ ภาษาเวียดนาม ภาษาลาว ภาษาเมียนมาร์ หรือภาษาตากาล๊อก เพราะนอกจากเราจะได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ๆ และยังเป็นการเชื่อมต่อประเพณีและวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ เข้าด้วยกันอีกด้วย
- พันเอกหญิง วันดี โตสุวรรณ