ผลการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ASEAN Defence Minister’s Meeting Retreat (ADMM Retreat) ระหว่างวันที่ ๑๘ – ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ณ นครพุกาม สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
การประชุม รมว.กห. อาเซียน อย่างไม่เป็นทางการที่จัดขึ้นระหว่างวันที่๑๘ – ๑๙ พ.ย.๕๗ ณ นครพุกามสาธารณรัฐสหภาพเมียนมา ที่ผ่านมานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรับทราบพัฒนาการและความคืบหน้าความร่วมมือระหว่าง กห.ประเทศสมาชิกอาเซียน และ ระหว่าง กห. ประเทศสมาชิกอาเซียนกับ กห. ประเทศคู่เจรจา รวมทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและมุมมองเกี่ยวกับสถานการณ์ความมั่นคงและความท้าทายด้านความมั่นคงของภูมิภาคร่วมกัน
โดยการประชุม รมว.กห.อาเซียนของทั้ง๑๐ ประเทศสมาชิก ได้มีการพูดคุยถึงปัญหาความซับซ้อนของสถานการณ์โลก ที่มีความท้าทายต่ออาเซียนมากขึ้น ซึ่งทุกประเทศสมาชิกต้องมีความร่วมมือกันทุกระดับอย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันความร่วมมือนอกอาเซียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศมหาอำนาจถือว่ามีความสำคัญ ที่อาเซียนสามารถใช้โอกาสดังกล่าวเป็นเครื่องมือถ่วงดุลประเทศมหาอำนาจ เพื่อสร้างเสถียรภาพความมั่นคงในภูมิภาค และพัฒนาศักยภาพของอาเซียนในการเผชิญกับความท้าทายของภูมิภาคที่เกิดขึ้น เช่น ความมั่นคงทางทะเล ภัยพิบัติโรคระบาด การก่อการร้าย ภัยจากสงครามไซเบอร์ เป็นต้น ที่ประชุมได้ประณามและปฏิเสธการสนับสนุนกลุ่มหัวรุนแรงและกลุ่มก่อการร้าย ISIS และเห็นว่าเป็นการบิดเบือนคำสอนศาสนา ซึ่งอาเซียนควรต่อต้านแนวความคิดการสร้างรัฐอิสลามในพื้นที่ต่างๆ ของโลกด้วย ขณะเดียวกันก็ได้เรียนรู้บทเรียนที่สำคัญ จากพายุไต้ฝุ่นไห่เยียน ที่ภูมิภาคนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนากลไกและแนวทางในการสร้างความร่วมมือในการบริหารจัดการบรรเทาภัยพิบัติ และการฟื้นฟูร่วมกัน นอกจากนั้นยังเห็นตรงกันว่าช่องแคบมะละกาและทะเลจีนใต้เป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญของภูมิภาคและของโลก จึงควรร่วมมือกันลดปัญหาความขัดแย้ง สนับสนุนให้ทุกฝ่ายใช้ความยับยั้งชั่งใจ ปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดเสรีภาพในการเดินเรือ รวมทั้งยังเห็นว่าความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนนั้นเกิดได้จากการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การฝึกร่วม/ผสม และการพัฒนาความสัมพันธ์ในทุกระดับ นอกจากนั้น ยังได้เสนอกลไกและแนวทางร่วมมือด้านความมั่นคง เช่น การจัดตั้ง Hot Line ระหว่างกห.อาเซียน จัดทำเอกสารแนวความคิดด้านการจัดตั้งการประชุม ADMM และ ADMM Plus แผนปฏิบัติงาน ๓ ปีของ ADMM การปฏิสัมพันธ์ระหว่างนายทหารระดับล่าง ความร่วมมือในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ รวมทั้งความร่วมมือระหว่าง กห. กับภาคประชาสังคม
ท้าทายร่วมกัน โดยญี่ปุ่นให้ความสำคัญต่อความมั่นคงทางทะเลและเห็นควรยึดหลัก ๓ประการ คือ ๑. ยึดกฎระหว่างประเทศ ๒. ไม่ใช้กำลังในการแก้ปัญหา และ ๓. แก้ไขความขัดแย้งโดยสันติวิธี โดยทั้ง ๒ ฝ่ายควรร่วมกันกำหนดประเด็นความร่วมมือในอนาคตที่ชัดเจนขึ้นผ่านกลไกความร่วมมือต่าง ๆ
นอกจากนี้เป็นโอกาสดีที่ พล.อ.ประวิตรวงษ์สุวรรณ รอง นรม.และ รมว.กห. ได้มีโอกาสหารือทวิภาคีระหว่าง รมว.กห.ประเทศต่างๆ อันประกอบด้วย สาธารณรัฐสิงคโปร์สาธารณรัฐสังคมเวียดนาม สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และ มาเลเซีย ซึ่งพล.อ.ประวิตร ฯ รอง นรม.และ รมว.กห. ได้ใช้โอกาสนี้สร้างความเข้าใจถึงสถานการณ์ในไทย และความจำเป็นต่อการเข้ามาแก้ปัญหาภายในประเทศของ คสช. และรัฐบาล รวมทั้งแผนการดำเนินงานตาม Road Map ที่จะร่วมกันนำพาประเทศไทยไปสู่การปฏิรูป
ที่ประชุมได้ตระหนักถึงความท้าทายจากโรคระบาด เช่น อีโบล่า ซึ่งเป็นความกังวลของอาเซียนร่วมกัน โดยในโอกาสนี้ พล.อ.ประวิตรวงษ์สุวรรณ รอง นรม.และ รมว.กห. ได้เสนอการจัดตั้งศูนย์การแพทย์ทหารอาเซียนขึ้นในประเทศไทย ในปี ๒๕๕๘ พร้อมทั้งทำการฝึกร่วมด้านการแพทย์ทหารกับด้านการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ เพื่อทดสอบศูนย์ฝึกดังกล่าวในปี ๒๕๕๙ ซึ่งได้การตอบรับจากทุกชาติสมาชิกด้วยดีพร้อมกับได้ใช้โอกาสนี้ นำเสนอนโยบายของรัฐบาลในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษบริเวณชายแดน จำนวน ๕ พื้นที่ และเชิญชวนประเทศสมาชิกที่มีชายแดนติดกัน และประเทศสมาชิกอื่น ได้ร่วมพัฒนาเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน และการสร้างความมั่นคงแนวชายแดนร่วมกัน ซึ่งทุกประเทศสมาชิกเห็นประโยชน์ที่จะได้รับร่วมกัน
การประชุมครั้งนี้ยังเป็นโอกาสสำคัญที่รมว.อาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศ ได้ร่วมประชุมกับรมว.กห.ญี่ปุ่น นาย Akinori Eto ซึ่งถือเป็นการเปิดศักราชใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างกห.อาเซียน กับ กห.ญี่ปุ่น โดย นรม.ญี่ปุ่นได้ประกาศนโยบายเสริมสร้างสันติภาพเชิงรุกในภูมิภาคอาเซียน (Proactive Contribution To Peace) ซึ่งญี่ปุ่นสามารถมีบทบาทและความร่วมมือด้านความมั่นคงมากขึ้นในอนาคตเช่น การรักษาสันติภาพ การสนับสนุนด้านการส่งกำ ลังบำรุง การช่วยเหลือประชาคมระหว่างประเทศ เป็นต้น ทั้งนี้ ญี่ปุ่นจะยังคงเป็นชาติที่รักสันติภาพและจะร่วมมือกับประเทศอื่นๆในการแสวงหาผลประโยชน์และเผชิญความและการเลือกตั้งได้ตามกำหนดเวลา ซึ่งทุกประเทศมีความเข้าใจเราเป็นอย่างดี เพราะได้ติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งของไทยมาเกือบ ๑๐ ปี โดยปัญหาของไทย มีผลกระทบเชื่อมโยงต่อภูมิภาคร่วมกัน ทุกประเทศได้แสดงความยินดีต่อการเข้ามาแก้ปัญหาของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นรม. พร้อมทั้งให้กำลังใจและเวลาในการดำเนินงานกับเรา และยินดีให้การสนับสนุนทุกเรื่องเพื่อให้ประเทศไทยสามารถสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงได้โดยเร็ว โดยเฉพาะ รมว.กห.สิงคโปร์ ได้ใช้โอกาสการจัดประชุมShangri-La Dialogue ซึ่งเป็นการพูดคุยกับรมว.กห.หลายประเทศ รวมถึงสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร โดยแสดงความเห็นว่าไทยต้องการเวลาในการสร้างเสถียรภาพและความมั่นคง รัฐบาลไทยต้องการการสนับสนุนมิใช่การถูกคว่ำบาตร ขณะเดียวกันทุกประเทศก็พร้อมที่จะร่วมกันพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจชายแดนที่ติดกัน เพื่อความมั่นคงและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนที่มีชายแดนติดกันอย่างยั่งยืนต่อไป
การแสดงความเข้าใจและจริงใจของทุกประเทศสมาชิกต่อไทยครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความใกล้ชิดและความเป็นหนึ่งเดียวของรมว.กห.อาเซียน และกองทัพ ที่ทำงานร่วมกันมาด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจกันอย่างต่อเนื่องในการที่จะดำเนินการพัฒนาภูมิภาคอาเซียนโดยมุ่งเน้นความเป็นหนึ่งเดียว ความเป็นศูนย์กลางของความร่วมมือในภูมิภาค การเน้นที่ประชาชนเป็นศูนย์กลาง และความเชื่อมโยงระหว่างประชาชน เพื่อนำพาภูมิภาคอาเซียนไปสู่ความสงบมั่นคงร่วมกันอย่างยั่งยืน
- สำนักงานโฆษก กระทรวงกลาโหม