ภายหลังจากที่ กรุงอโยธยาศรีรามเทพนครหรือกรุงศรีอยุธยา ต้องเสียทีให้แก่พม่าข้าศึกในช่วงค่ำของวันที่ ๗ เมษายน ๒๓๑๐ ทำให้เอกราชของชาติในเวลานั้นต้องสูญสิ้นไป กล่าวได้ว่าสถานการณ์บ้านเมืองในเวลานั้นอยู่ในช่วงการจลาจลครั้งใหญ่ ผู้คนหลายครอบครัวและประชาชนในเมืองต่างต้องกระจัดกระจายพลัดพรากจากกัน บ้างก็ถูกข้าศึกกวาดต้อนไปเป็นเชลยสำหรับใช้แรงงานหรืออื่น ๆ จิปาถะบ้างก็ต้องหลบหนีกันหัวซุกหัวซุนเพื่อหลบภัยสงคราม เรียกได้ว่าบ้านเมืองสมัยนั้นอยู่ในสภาพบ้านแตกสาแหรกขาด ราชอาณาจักรอยุธยานั้นจึงถูกแบ่งออกเป็นก๊ก เป็นชุมนุมที่นำโดยผู้มีอำนาจในพื้นที่ต่าง ๆ และมีความเป็นอิสระต่อกันสุดแล้วแต่ว่าชุมนุมใดจะมีแสนยานุภาพมากกว่ากัน แต่ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งคือชุมนุมต่าง ๆ (ยกเว้นชุมนุมพระยาตาก) กลับมิได้มีความสนใจที่จะกอบกู้บ้านเมืองอย่างแท้จริง เพียงแต่รักษาฐานอำนาจและผลประโยชน์ของตนไว้กับการมองเพียงว่าข้าศึกมีความเข้มแข็งมากยังไม่ควรเข้าไปต่อสู้เพราะในเวลานั้นคนไทยต่างเกรงกลัวความดุร้ายและดุดันของข้าศึกเป็นอย่างยิ่งซึ่งก็มีเพียงชุมนุมของพระยาตากหรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเท่านั้น ที่ยังมีอุดมการณ์อย่างแรงกล้าในอันที่จะรวบรวมกองกำลังเพื่อขับไล่กองกำลังข้าศึกที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในกรุงศรีอยุธยาพร้อมกับกอบกู้เอกราชของชาติ ด้วยการประกาศตนเป็นผู้นำในการที่จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนา และกอบกู้กรุงศรีอยุธยาให้กลับรุ่งเรืองดังเดิม ดังปรากฏในข้อความบางตอนตามพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวถึงคำพูดของพระยาตากไว้ตอนหนึ่งว่า

“…ตัวเราคิดจะซ่องสุมประชาราษฎรในแขวงหัวเมืองให้ได้มาก แล้วจะยกกลับไปกู้กรุงให้คงคืนเป็นราชธานีดังเก่า แล้วจัดทำนุบำรุงสมณพราหมณาประชาราษฎร ซึ่งอนาถาหาที่พำนักมิได้ให้ร่มเย็นเป็นสุขานุสุขแล้วจะยอยกพระบวรพุทธศาสนาให้โชตนาการขึ้นเหมือนอย่างแต่ก่อน เราจะตั้งตัวเป็นเจ้าขึ้นให้คนทั้งหลายยำเกรงจงมาก ซึ่งจะก่อกู้แผ่นดินจึงจะสำเร็จโดยง่าย ท่านทั้งหลายจะเห็นประการใด…”

284-60

ทั้งนี้พระยาตากได้มีการซ่องสุมกำลังและเตรียมการระดมสรรพกำลังสำหรับบุกจู่โจมข้าศึกโดยตั้งแหล่งชุมนุมที่เมืองจันทบุรี ด้วยการฝึกไพร่พลให้พร้อมที่จะปฏิบัติการรบกอบกู้กรุงศรีอยุธยาคืนจากข้าศึก พร้อมกับสั่งให้ต่อเรือรบกับรวบรวมเครื่องศัตราวุธและยุทธภัณฑ์ภายในเวลา ๓ เดือน

ในราวเดือนตุลาคม ๒๓๑๐ ภายหลังจากสิ้นฤดูมรสุม พระยาตากได้ยกกองทัพเรือจากจันทบุรีเดินทางเลียบอ่าวไทยและเคลื่อนกำลังพลพร้อมยุทโธปกรณ์เข้ามาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วเข้าโจมตีข้าศึกที่เมืองธนบุรีเป็นที่แรก และเมื่อยึดเมืองธนบุรีและปราบนายทองอินผู้ดูแลเมืองได้แล้ว จึงได้เคลื่อนทัพทั้งทางบกและทางเรือเข้ายึดค่ายโพธิ์สามต้นซึ่งข้าศึกได้ตั้งเป็นฐานที่มั่นในขณะนั้น ซึ่งจากการรบอย่างดุเดือดถึงขั้นตะลุมบอนและปะทะกันด้วยอาวุธสั้น ในที่สุดกองกำลังของพระยาตากสามารถปราบข้าศึกจนราบคาบและสามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนมาเมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ จุลศักราช๑๑๒๙ ปีกุน นพศก เวลาบ่ายโมงเศษ ซึ่งตรงกับวันศุกร์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๓๑๐ รวมเวลาประมาณ ๗ เดือน ภายหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยา

ต่อมา พระยาตากได้ปราบดาภิเษก เป็นพระมหากษัตริย์ ณ วันจันทร์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนยี่ปีกุน จุลศักราช ๑๑๒๙ ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๘ธันวาคม ๒๓๑๐ ทรงพระนามว่า พระศรีสรรเพชญ์ หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ แต่เรียกขานพระนามของพระองค์ติดปากว่า สมเด็จพระเจ้าตากสิน หรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีหลังจากนั้นระหว่างปีพุทธศักราช ๒๓๑๑ – ๒๓๑๓ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงปราบปรามบรรดาผู้ที่ตั้งตนเป็นใหญ่ในชุมนุมต่าง ๆ รวม ๔ ชุมนุมให้ราบคาบ เพื่อคงความเป็นปึกแผ่นอันหนึ่งอันเดียวกันของราชอาณาจักรสยาม สำหรับการปราบปรามชุมนุมนั้นเป็นการดำเนินการกับกลุ่มคนไทยผู้มีความเห็นต่างกันซึ่งผู้เขียนไม่ขอนำมาบรรยายในครั้งนี้

สิ่งสำคัญที่ผู้เขียนใคร่ขอนำเสนอคือราชการสงครามกับข้าศึกภายหลังที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชแล้วซึ่งจากการสืบค้นทราบว่ามีราชการศึกในการป้องกันราชอาณาจักรสยามกับพม่าข้าศึก รวม๙ ครั้งด้วยกัน กล่าวคือ

สงครามครั้งที่ ๑ : รบพม่าที่บางกุ้ง ปลายพุทธศักราช ๒๓๑๐ พระเจ้ามังระกษัตริย์พม่า ทราบข่าวการตั้งตัวเป็นใหญ่ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงทรงสั่งให้เจ้าเมืองทวาย คุมกำลังมาตรวจตราแผ่นดินไทยมีหน้าที่ปราบปรามผู้ที่กำเริบตั้งตนเป็นใหญ่ให้ราบคาบโดยมีการรบกันที่เมืองไทรโยค และเมืองสมุทรสงคราม การรบครั้งนั้นฝ่ายสยามชนะศึก สามารถยึดเรือรบ เครื่องศัตราวุธ และเสบียงอาหารได้เป็นจำนวนมาก

สงครามครั้งที่ ๒ : พม่าตีเมืองสวรรคโลกพุทธศักราช ๒๓๑๓ รบกับพม่าครั้งพม่าตีเมืองสวรรคโลก ทัพสยามสามารถตีแตกไปได้

สงครามครั้งที่ ๓ : ตีเมืองเชียงใหม่ครั้งแรกพุทธศักราช ๒๓๑๔ เป็นการรบกับพม่าเมื่อฝ่ายสยามยกกองทัพไปตีนครเชียงใหม่ (ซึ่งพม่ายึดครองอยู่) เป็นครั้งแรก แต่ไม่สำเร็จเนื่องจากเสบียงฝ่ายสยามไม่เพียงพอ

สงครามครั้งที่ ๔ : พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ ๑ พุทธศักราช ๒๓๑๕ ทัพพม่ายกไปช่วยเมืองเวียงจันทน์รบกับหลวงพระบาง โดยขากลับผ่านเมืองพิชัย และยกเข้าตีเมืองแต่ก็ไม่สำเร็จปรากฏว่าฝ่ายสยามเป็นฝ่ายชนะ

สงครามครั้งที่ ๕ : พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ ๒ พุทธศักราช ๒๓๑๖พม่ายกมาตีเมืองพิชัยครั้งที่ ๒ แต่พม่าตีไม่สำเร็จ และได้เกิดวีรกรรมพระยาพิชัยดาบหักขึ้น

สงครามครั้งที่ ๖ : ตีเมืองเชียงใหม่ครั้งที่ ๒ พุทธศักราช ๒๓๑๗ กองทัพสยามชนะสงครามสามารถ ยึดนครเชียงใหม่คืนกลับจากพม่าได้พร้อมกับได้เมือง ลำปาง ลำพูน และน่าน กลับคืนมาเป็นของสยาม

สงครามครั้งที่ ๗ : รบพม่าที่บางแก้วเมืองราชบุรี พุทธศักราช ๒๓๑๗ พม่ายกพลตามพวกมอญที่หนีเข้ามาในเขตไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกทัพไปยังเมืองราชบุรีทรงบัญชาการทัพด้วยพระองค์เองโดยตั้งค่ายล้อมค่ายพม่าและลอบตีตัดทางลำเลียงเสบียงอาหาร จนในที่สุดข้าศึกขอยอมแพ้ ชัยชนะในครั้งนี้ส่งผลให้ชาวสยามที่หลบซ่อนตามพื้นที่ต่าง ๆ เข้ามาสวามิภักดิ์เป็นจำนวนมากเนื่องจากหมดความกลัวเกรงพม่า

สงครามครั้งที่ ๘ : อะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ พุทธศักราช ๒๓๑๘ นับเป็นสงครามครั้งใหญ่ที่สุดโดย อะแซหวุ่นกี้เป็นผู้นำที่เชี่ยวชาญศึก ในครั้งนั้น พม่ายกพลมาประมาณ๓๕,๐๐๐ คน เข้าล้อมเมืองพิษณุโลก และล้อมเมืองสุโขทัย ส่วนเมืองพิษณุโลกมีพลประมาณ๑๐,๐๐๐ คน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงยกทัพไปช่วย ในที่สุด อะแซหวุ่นกี้ต้องยกทัพกลับ เนื่องจากพระเจ้าแผ่นดินพม่าสวรรคตกองทัพพม่าส่วนที่กลับไปไม่ทันจึงถูกกองทัพสยามจับได้บางส่วน

สงครามครั้งสุดท้าย : พม่าตีเมืองเชียงใหม่พุทธศักราช ๒๓๑๙ ทัพพม่าและมอญประมาณ๖,๐๐๐ คน ยกมาตีเชียงใหม่ ในห้วงแรกเชียงใหม่ไม่มีกำลังพลพอป้องกันเมืองได้ จึงได้อพยพลงมาอยู่ที่เมืองสวรรคโลก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุรสีห์คุมกองทัพเมืองเหนือขึ้นไปสมทบกองกำลังนครลำปาง ยกไปตีเมืองเชียงใหม่คืนสำเร็จ

นอกจากนี้ ยังมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้จัดทัพไปราชการที่เขมรและในบางพื้นที่ ซึ่งฝ่ายสยามก็สามารถเอาชนะศึกได้เป็นส่วนใหญ่ แต่ส่วนใหญ่มิได้เป็นราชการสงครามเพื่อการป้องกันประเทศหรือรักษาเอกราชของชาติเหมือนดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

284-61

สิ่งที่ผู้เขียนใคร่ขอกล่าวถึงต่อไปนี้คือ พระราชนโยบายในการปรับปรุงกิจการทหารให้เข้มแข็ง ด้วยทรงกำหนดวางมาตรการทางทหารที่สำคัญไว้ ๓ แนวทาง ดังนี้

๑. การรวบรวมแม่ทัพนายกอง โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้รวบรวมผู้ที่มีความสามารถในการรบและกิจการทหารมาร่วมกันต่อสู้ศึกและกอบกู้สถานการณ์ โดยทรงแต่งตั้งผู้มีความรู้ความสามารถเป็นแม่ทัพสนองราชการสงครามทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักรสยาม ซึ่งบุคคลสำคัญในราชการสงครามอาทิ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) พระยาพิชัย (ทองดี)หรือพระยาพิชัยดาบหัก

๒. การบริหารจัดการกำลังพล โดยทรงกำหนดให้ชายฉกรรจ์ไทยทุกคนต้องเป็นทหารและเข้ารับราชการทหารตามระยะเวลาที่กำหนด ด้วยการสำรวจกำลังพลและทำการและการยกกองกำลังทางเรือไปตีเขมรเมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๑๔

ข้อความข้างต้นเป็นเพียงเนื้อหาบางส่วนของพระราชกรณียกิจสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในการกอบกู้เอกราชและสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่สยามประเทศและรวบรวมความเป็นชาติให้แก่สยาม ด้วยพระราชวิริยภาพ และพระอัจฉริยภาพเพราะหากพระองค์มิได้กอบกู้เอกราชได้ในเวลาอันเหมาะสมแล้วจะมีใครที่จะล่วงรู้ได้ว่าเราจะมีความเป็นชาติไทยได้ในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะ กลุ่มชนผู้เคยพ่ายแพ้สงครามกับพม่าในอดีตส่วนใหญ่แตกกระจัดพลัดพรายเป็นชนกลุ่มน้อยให้ทุกท่านเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในเวลานั้นมีการตั้งก๊ก ตั้งชุมนุมกันหลายชุมนุมและต่างก็มีความเกรงกลัวข้าศึกอยู่ด้วยแล้ว ความสุ่มเสี่ยงที่ชาวสยามจะแตกฉานซ่านเซ็นเป็นชนกลุ่มน้อยจึงมีความเป็นไปได้สูงมากในเวลานั้นสักข้อมือพวกไพร่และทาสทุกคน เพื่อให้ทราบต้นสังกัดกับชื่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้ทราบจำนวนที่แน่นอนและง่ายต่อการควบคุมบังคับบัญชา

๓. ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ ได้มีการแสวงหาอาวุธที่มีอานุภาพสูงมาใช้ในกองทัพเป็นจำนวนมาก ได้รับอาวุธปืนชนิดต่าง ๆ จากต่างประเทศ อาทิ ปืนใหญ่ ปืนคาบศิลา ปืนนกสับและปืนจ่ารงค์ โดยเฉพาะปืนใหญ่นอกจากที่ได้รับจากต่างประเทศแล้ว ยังได้หล่อขึ้นใช้เองสำหรับป้องกันพระนครอีกด้วย

๔. ด้านยุทธศาสตร์ทหาร ได้มีการกำหนดเขตสงคราม ออกเป็นเขตหน้าและเขตหลังเพื่อประโยชน์ในการรบและการส่งกำลังบำรุง และใช้วิธียกกำลังไปสกัดยับยั้งข้าศึกที่มารุกรานที่บริเวณชายแดนเพื่อป้องกันดินแดนภายในราชอาณาจักรไม่ให้เสียหายจากภัยสงครามและไม่เป็นภัยต่อราชธานี

๕. การระดมสรรพกำลังด้านยุทโธปกรณ์เนื่องจากปืนใหญ่เป็นยุทโธปกรณ์ที่ทรงอานุภาพและเพื่อเพิ่มอำนาจกำลังรบอย่างได้ผล แต่ในเวลานั้น ปืนใหญ่มีอยู่อย่างจำกัดจึงทรงกำหนดนโยบายการใช้ปืนใหญ่ช่วยส่วนรวม ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารพระราชหัตถเลขา ตอนศึกอะแซหวุ่นกี้ในตอนหนึ่งว่า“…ครั้นถึงวันอังคาร ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๓อะแซหวุ่นกี้ก็ให้กองทัพพม่ากองหนึ่ง มาตั้งค่ายตรงวัดจุฬามณีข้างฝั่งตะวันตกสามค่ายแล้วให้อีกกองหนึ่ง ยกลงมาลาดตระเวนทางฝั่งตะวันตก ได้รบกับไทยตั้งแต่ค่ายระยะที่สาม ที่บ้านกระดาษลงมา จนถึงค่ายระยะที่หนึ่งที่บางทราย ให้กองเกณฑ์หัดคุมปืนใหญ่รางเกวียน ๓๐ กระบอก ขึ้นไปช่วยรักษาค่ายที่บางทราย พม่ารบพุ่งอยู่จนค่ำจึงถอยกลับไป…”

๖. ตั้งกองกำลังทางเรือ โดยใช้กำลังทางเรือ ในการยกกองทัพไปปฏิบัติราชการสงครามในดินแดนที่อยู่ห่างไกลออกไปมากอาทิ การยกกองกำลังทางเรือไปตีเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๑๒ และการยกกองกำลังทางเรือไปตีเขมรเมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๑๔ข้อความข้างต้นเป็นเพียงเนื้อหาบางส่วนของพระราชกรณียกิจสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในการกอบกู้เอกราชและสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่สยามประเทศและรวบรวมความเป็นชาติให้แก่สยาม ด้วยพระราชวิริยภาพ และพระอัจฉริยภาพเพราะหากพระองค์มิได้กอบกู้เอกราชได้ในเวลาอันเหมาะสมแล้วจะมีใครที่จะล่วงรู้ได้ว่าเราจะมีความเป็นชาติไทยได้ในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะ กลุ่มชนผู้เคยพ่ายแพ้สงครามกับพม่าในอดีตส่วนใหญ่แตกกระจัดพลัดพรายเป็นชนกลุ่มน้อยให้ทุกท่านเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในเวลานั้นมีการตั้งก๊ก ตั้งชุมนุมกันหลายชุมนุมและต่างก็มีความเกรงกลัวข้าศึกอยู่ด้วยแล้ว ความสุ่มเสี่ยงที่ชาวสยามจะแตกฉานซ่านเซ็นเป็นชนกลุ่มน้อยจึงมีความเป็นไปได้สูงมากในเวลานั้นจึงถือว่าสยามประเทศโชคดีเป็นอย่างยิ่งที่มีพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งที่มีพระราชสมัญญาว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ในวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๗ นี้ ทางราชการได้จัดพิธีถวายราชสักการะในพระมหากรุณาธิคุณขององค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่ทรงมีคุณูปการต่อประเทศชาติและประชาชนชาวไทย ผู้เขียนใคร่ขอเรียนเชิญทุกท่านได้กรุณาน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านและร่วมกันถวายราชสักการะโดยพร้อมเพรียงกัน