แผนที่ “เส้นประ ๙ เส้น” (nine-dash-line) หรือที่บางครั้งเรียกว่า “เส้น ๙ จุด” (nine-dotted-line) คือเส้นที่ลากขึ้นเพื่อกำหนดอาณาเขตของจีน ในทะเลจีนใต้ ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ หรือตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองยุติลง ได้เพียง ๒ ปี จัดทำโดยรัฐบาลชุด “ก๊กมินตั๋ง” ของจีนคณะชาติซึ่งยังครอบครองจีนแผ่นดิน ใหญ่อยู่ในขณะนั้น เส้นดังกล่าวเป็นแนวเส้น ที่ลากลงมาจากเกาะไหหนาน หรือ “ไหหลำ” ของจีนบริเวณอ่าวตั๋งเกี๋ย ขนานกับชายฝั่ง เวียดนามมาจนถึงเกาะบอร์เนียวบริเวณรัฐ ซาราวักของมาเลเซีย แล้ววนกลับเลียบชายฝั่ง บรูไน ผ่านรัฐซาบาห์ ตัดตรงเข้าไปในน่านน้ำ ของฟิลิปินส์เลาะชายฝง่ัของจงัหวดัปาลาวนั เรื่อยไปจนถึงเกาะลูซอน แล้วขึ้นไปสิ้นสุดที่ เกาะไต้หวัน
เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ก่อตั้งสาธารณรัฐ ประชาชนจีนขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๙๑ เหมาเจ๋อตุง ก็ประกาศใช้แผนที่ที่มีเส้นประ ๙ เส้นนี้ พร้อม กับประกาศว่า ดินแดนต่าง ๆ ในอาณาเขต ทะเลจีนใต้ที่เป็นถุงขนาดใหญ่นี้่คืออาณาเขต ของจีน โดยควบรวมดินแดนทั้งหมู่เกาะพารา เซลและหมู่เกาะสแปรตลีอันอุดมสมบูรณ์ไป ด้วยก๊าซธรรมชาติและน้ำมันจำนวนมหาศาล เข้าไปด้วย การประกาศดังกล่าวเริ่มกลายเป็น ประเด็นร้อนขึ้นมา เมื่อเวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไนและไต้หวัน ซึ่งมีพื้นที่เขต เศรษฐกิจจำเพาะของตนอยู่ในทะเลจีนใต้ ต่างก็ออกมาคัดค้าน ยิ่งไปกว่านั้นยังทำให้ อินโดนีเซียซึ่งแต่ก่อนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใน พื้นที่พิพาทเหนือหมู่เกาะสแปรตลีแต่อย่าง ใด ต้องพลอยฟ้าพลอยฝนติดร่างแหไปด้วย เนื่องจากบริเวณตอนล่างสุดของเส้นประ ๙ เส้นนั้น ลากมาจนเกือบจะถึงเกาะ “นาทูน่า” (Natuna) ของตน ส่งผลให้พื้นที่ส่วนล่างของ เส้นดังกล่าวอยู่ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของ อินโดนีเซียไปด้วยโดยปริยาย
นอกจากนี้จีนยังตอกย้ำความขัดแย้งดัง กล่าวด้วยการใช้แผนที่เส้นประ ๙ เส้นเป็น ส่วนประกอบในการร่างแนวปราการป้องกัน อาณาเขตทางทะเลของตนที่เรียกว่า “แนวห่วง โซ่ปราการของเกาะชั้นแรก” (First Islands Chain) ที่ลากเส้นประ ๙ เส้นให้ต่อยาวเป็น เส้นทึบ พร้อมกับลากให้ยาวขึ้นไปครอบคลุม จนถึงประเทศญี่ปุ่น โดยจีนประกาศว่าในปี พ.ศ.๒๕๖๓ หรือ ค.ศ.๒๐๒๐ ตนจะสามารถ ใช้ “แนวห่วงโซ่ปราการของเกาะชั้นแรก” นี้ เป็นแนวปราการสกัดกั้นอิทธิพลของสหรัฐฯ ในทะเลเหลือง ทะเลจีนใต้และทะเลจีนตะวัน ออก ซึ่งจะทำให้พื้นที่ชายฝั่งทะเลของจีน บริเวณด้านที่ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิคมีความ มั่นคงอย่างมาก
จีนไม่เพียงแต่กำหนดยุทธศาสตร์ลงบน แผนที่เท่านั้น หากแต่ยังลงมือเสริมสร้างกำลัง ทางเรืออย่างขนานใหญ่ พร้อมส่งกำลังทางเรือ คืบคลานเข้ามาในพื้นที่เหล่านี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเตรียมการปิดล้อมทะเลต่าง ๆ ตามแนว เส้นประ ๙ เส้นและตามแนวห่วงโซ่ปราการ ของเกาะชั้นแรกดังที่กล่าวมาข้างต้น เป็นการ ป้องกันมิให้สหรัฐฯ ส่งกำลังทางเรือรุกล้ำเข้า มา จนทำให้เกิดการกระทบกระทั่งกับประเทศ ต่าง ๆ ที่อยู่ในแนวเส้นเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง
อาจกล่าวได้ว่าแผนที่ “เส้นประ ๙ เส้น” ได้ส่งผลให้จีนเกิดความขัดแย้งกับประเทศ ต่าง ๆ ในทะเลจีนใต้ถึง ๖ ประเทศด้วย กัน คือ เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์และไต้หวัน รวมทั้งยังสร้าง ความกังวลอย่างมากต่อสิงคโปร์ ท่ีอาศัย ทะเลจีนใต้เป็นเส้นทางหลักในการขนส่งสินค้า ผ่านช่องแคบมะละกา ความขัดแย้งดังกล่าวส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางยุทธศาสตร์การ ปอ้งกนัประเทศของกลุ่มประเทศอาเซยีนอย่างขนานใหญ่ในห้วงทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งนี้เพื่อรับภัยคกุคามจากการแผ่ยายอาณาเขตของจีนในครั้งน
การปรับยุทธศาสตร์ประการแรกคือ การ เสริมสร้างกำลังทางเรือ เพื่อรักษาน่านน้ำ และผลประโยชน์ในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ของตนเองแทนการเสริมสร้างแสนยานุภาพ ทางบกที่ดำเนินมาเป็นเวลาช้านาน ส่วนการ ปรับยุทธศาสตร์ประการที่สองนั้น สืบเนื่อง มาจากสงครามในอิรักทั้งสองครั้งและสงคราม ในอัฟกานิสถาน ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพ ของกำลังทางอากาศ ที่มีขีดความสามารถใน การทำลายเป้าหมายได้อย่างแม่นยำและเด็ด ขาด ทำให้ขนาดความใหญ่โตและจำนวนของ เรือรบไม่ใช่ปัจจัยหลักในการกำหนดชัยชนะ อีกต่อไป หากแต่เป็นเทคโนโลยีระดับสูงและ ระบบเรดาห์ที่มีความสลับซับซ้อน ซึ่งเป็นตัว ชี้นำอาวุธปล่อยนำวิถีและขีปนาวุธทั้งจากพื้น สู่พื้น พื้นสู่อากาศ อากาศสู่อากาศและอากาศ สู่พื้น ให้พุ่งทำลายเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ ส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้มีการเสริม สร้างแสนยานุภาพทางอากาศควบคู่ไปกับ แสนยานุภาพทางเรือเป็นหลัก
เวียดนามเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของ ประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งมีการปรับเปลี่ยน ยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศอย่างขนาน ใหญ่ โดยแต่เดิมในช่วงสงครามเย็นนั้น เวียดนามมีการเสริมสร้างแสนยานุภาพทาง บกจนมีกำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์ติด อนัดบัตน้ ๆ ของโลก เนื่องจากภัยคุกคามทางบกจากทิศด้านตะวันตกของประเทศ ซึ่งเป็น กลุ่มประเทศโลกเสรีที่เผชิญหน้ากับเวียดนาม มาอย่างยาวนาน แต่เมื่อสงครามเย็นยุติลง ประกอบกับการหันไปพัฒนาเศรษฐกิจของตน ตามนโยบาย “โด๋ย เหม่ย” ก็ทำให้เวียดนามว่าง เว้นจากการสร้างแสนยานุภาพมาเป็นระยะเวลาหนึ่งจนกระทั่งจีนได้เคลื่อนตัวเข้ามาและ มีท่าทีที่เป็นภัยคุกคามในการครอบครองพื้นที่ ต่าง ๆ ตามแนวเส้นประ ๙ เส้นดังกล่าว อัน เป็นพ้ืนที่ที่เวียดนามกล่าวอ้างกรรมสิทธิเหนือ ดินแดนเหล่านั้นด้วยเช่นกัน
เมื่อภัยคุกคามของเวียดนามได้เปลี่ยน จากภัยคุกคามทางบกด้านตะวันตก มาเป็น ภัยคุกคามทางทะเลด้านตะวันออก โลกจึง ได้เห็นการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ทางทะเล อย่างขนานใหญ่ของเวียดนาม มีการสั่งซื้อเรือ ดำน้ำพลังงานดีเซลชั้น “กิโล” (Kilo) จำนวน ๖ ลำ มูลค่ากว่า ๑,๘๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ จาก รสัเซยี เรือดำน้ำดังกล่าวเป็นเรือดำน้ำทันสมัยที่สุดชนิดหนึ่ง มีขีดความสามารถในการ เป็น “เพชฌฆาตเงียบใต้ท้องทะเล” ที่สามารถทำลายเรือผิวน้ำ เรือดำน้ำและอากาศยาน เหนือน่านฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรือดำน้ำ สองลำแรกคือเรือ “ฮานอย” และ “โฮ จิ มินห์ ซิตี้” ไดม้กีารสง่มอบใหก้บักองทพัเรอืเวยีดนาม ไปแล้วเมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๕๖ และต้นปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ตามลำดับ รวมทั้งมีกำหนดส่งมอบลำ ที่สามคือ “ไฮ ฟอง” ในปลายปีนี้ และจะส่ง มอบส่วนที่เหลือให้ครบภายในห้วงเวลา ๒ ปี ข้างหน้า โดยเรือดำน้ำทั้งหมดจะประจำการที่ ฐานทัพเรือคัมรานห์ ซึ่งทำให้มีพื้นที่ปฎิบัติการครอบคลุมแนวเส้นประที่ ๑ – ๓
สำหรับการเสริมสร้างแสนยานุภาพทาง อากาศนั้น กองทัพเวียดนามได้จัดหาเครื่องบิน ขับไล่ประสิทธิภาพสูง ๒ ที่นั่งและ ๒ เครื่องยนต์แบบ ซู-๓๐ เอ็มเค ๒ เพิ่มขึ้นอีก จำนวน ๑๒ ลำจากรัสเซีย คิดเป็นมูลค่า ๖๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากเดิมที่เวียดนามเคยสั่ง ซื้อมาแล้วสองครั้งจำนวน ๒๐ ลำในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ และ ๒๕๕๓ ซึ่งทำให้เวียดนามมีฝูงบิน ซู-๓๐ ถึง ๓ ฝูงด้วยกัน เครื่องบินที่สั่งซื้อครั้ง ล่าสุดจะมีการส่งมอบในปี พ.ศ.๒๕๕๗ และ ๒๕๕๘ เครื่องบินรุ่นนี้ติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถี แบบอากาศสู่พื้นเพื่อมุ่งทำลายเรือผิวน้ำเป็น หลัก โดยเวียดนามได้จัดซื้ออาวุธปล่อยนำวิถี ต่อต้านเรือแบบ เอเอส-๑๗ คริปตอน รุ่น เค เอช-๓๕เอ จากรัสเซียจำนวน ๑๐๐ ลูกและ แบบ เอเอส-๑๔ รุ่น เคเอช-๒๙ ที เพื่อนำมา ใช้กับเครื่องบินขับไล่แบบ ซู-๓๐ และซู-๒๗ ที่ มีอยู่เดิมอีกด้วย
สำหรับอินโดนีเซียนั้นเป็นอีกประเทศ หนึ่งที่มีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ในการ ป้องกันประเทศ โดยจากอดีตที่ผ่านมาตั้งแต่ ได้รับเอกราชในปี พ.ศ.๒๔๘๘ ภัยคุกคาม ของอินโดนีเซียร้อยละ ๖๗ เป็นภัยคุกคาม ในประเทศอันเกิดจากกลุ่มศาสนาหัวรุนแรง และกลุ่มเชื้อชาติต่าง ๆ ที่พยายามแยกตัว ออกเป็นอิสระ เช่น ติมอร์ตะวันออก ปาปัว ตะวันตก อาเจะห์และอิเรียนจายา แต่เมื่อ ปัญหาเหล่านี้เบาบางลงภายหลังจากการ แยกตัวเป็นเอกราชของติมอร์ เลสเต ตลอด จนการล่มสลายของกลุ่มต่อต้านในอาเจะห์ อินโดนีเซียก็ต้องเผชิญหน้ากับ “แนวเส้นประ ๙ เส้น” ของจีนที่ผนวกพื้นที่เศรษฐกิจจำเพาะ บริเวณเกาะนาทูน่าของตนเข้าไปด้วย ทำให้มี การปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์หันมารับมือกับภัยคุกคามในทะเลจีนใต้โดยมกีารเสรมิสร้างกำาลงั ทางเรืออย่างยิ่งใหญ่ เช่น การตั้งเป้าที่จะเพิ่ม จำนวนเรอืรบใหม้ถีงึ ๒๕๐ ลำในปีพ.ศ.๒๕๖๗ หรือภายในสิบปีข้างหน้า ปัจจุบันกองทัพเรือ อินโดนีเซียมีกองเรืองจำนวน ๒ กองเรอืคอื กอง เรือภาคตะวันออกอยู่ที่เมืองสุราบายา และ กองเรือภาคตะวันตกอยู่ที่กรุงจาการ์ต้า เมือง หลวงของอินโดนีเซีย ซึ่งอินโดนีเซียมีแผนที่จะ เพิ่มกองเรือขึ้นอีก ๓ กองเรือ โดยจะขยายกอง เรือภาคตะวันออกขึ้นอีก ๑ กองเรือ มีฐานทัพ อยู่ที่เมืองอัมบอน เมืองเมอเรากิและเมืองคูปัง ตลอดจนขยายกองเรอืภาคตะวนัตกเพมิ่ขนึ้อกี ๑ กองเรือ มีฐานทัพอยู่ที่เมืองตันจุงปีนัง เมือง นาตันและเมอืงเบลาวนั รวมทงั้ตงั้กองเรือภาค กลางขึ้นมาใหม่อีก ๑ กองเรือ มีฐานทัพอยู่ที่ เมืองมากัสซ่าร์และเมืองเทรากัน
นอกจากนี้ในปี พ.ศ.๒๕๕๕ อินโดนีเซียได้ สั่งต่อเรือดำน้ำชั้น “ชาง โบโก แบบ ๒๐๙” ระวางขับน้ำ ๑,๘๐๐ ตันจากบริษัทแดวูของ เกาหลีใต้จำนวน ๓ ลำ จากเดิมที่มีประจำ การอยู่แล้ว ๒ ลำคือเรือดำน้ำชั้น “จักกรา” (Chakkra) จากประเทศเยอรมัน ซึ่งเรือดำน้ำ “ชาง โบโก” จำนวนสองลำจะต่อที่อู่ต่อเรือ ในเกาหลีใต้ โดยความร่วมมือระหว่างบริษัท แดวูและรัฐวิสาหกิจการต่อเรือของอินโดนีเซีย ส่วนเรือดำน้ำลำที่สามจะต่อในอินโดนีเซีย ล่าสุดประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ซึ่งเพิ่งเข้า รับตำแหน่งเมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่าน มา ได้เปิดเผยว่าอินโดนีเซียกำลังพิจารณาจัดซื้อเรือดำน้ำชั้น “กิโล” รุ่นปรับปรุงใหม่จาก โครงการ ๖๓๖ (Project 636) ของรัสเซีย ซึ่ง เป็นโครงการเดียวกับเรือดำน้ำของเวียดนาม เนื่องจากมีขีดความสามารถในการครองน่าน น้ำและครองอากาศครบถ้วน ยิ่งไปกว่านั้น เรือดน้ำรุ่นที่อินโดนีเซียสนใจนั้น จะมีระบบ โซนา่รท์ที่นัสมยักวา่ของเวยีดนาม โดยเปน็การ พัฒนาจากแบบ เอ็มจีเค-๔๐๐ อี เป็นรุ่น เอ็ม จีเค-๔๐๐ อีเอ็ม คาดว่าอินโดนีเซียจะส่ังซื้อ เป็นจำนวนถึง ๑๐ ลำเลยทีเดียว
ส่วนกำลังทางอากาศนั้น ในปี พ.ศ.๒๕๕๖ กองทัพบกอินโดนีเซียได้สั่งซื้อเฮลิคอปเตอร์ โจมตีแบบ เอเอช-๖๔ อี “อาปาเช่” จำนวน ๘ ลำจากสหรัฐฯ มูลค่ากว่า ๕๐๐ ล้าน เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นเฮลิคอปเตอร์โจมตีติด อาวุธปล่อยนำวิถีแบบอากาศสู่พื้น ที่ประสบ ความสำเร็จอย่างมากจากการรบในอิรักและ อัฟกานิสถาน โดยคาดว่าอินโดนีเซียจะได้รับ เฮลิคอปเตอร์ทั้งหมดในปี พ.ศ.๒๕๖๐ การส่ัง ซื้อครั้งนี้ทำาให้อินโดนีเซียเป็นประเทศที่สอง ในกลุ่มประเทศอาเซียน รองจากสิงคโปร์ที่มี เฮลิคอปเตอร์โจมตีชั้นสุดยอดของโลกชนิด นี้อยู่ในประจำการ กองทัพบกอินโดนีเซีย วางแผนที่จะนำเฮลิคอปเตอร์อาปาเช่จำนวน ๔ ลำ เข้าประจำการที่เกาะ “นาทูน่า” เพื่อ คุ้มครองเขตเศรษฐกิจจำเพาะของตนจาก แนวเส้นประ ๙ เส้นของจีนนั่นเอง นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังเสริมสร้างกำลังทางอากาศด้วย การสั่งซื้อเครื่องบินขับไล่แบบซุคคอย ซู-๓๐ จากรัสเซียเป็นจำนวนถึง ๖๔ ลำและเครื่อง แบบขับไล่แบบเอฟ-๑๖ จากสหรัฐฯ จำนวน ๓๒ ล ในจนวนนี้เป็นเครื่องบินมีจำนวน ๒๔ ลำที่ได้รับการ “ให้เปล่าโดยไม่คิดมูลค่า” จากสหรัฐฯ เมื่อครั้งประธานาธิบดี บารัก โอบาม่า เดินทางเยือนอินโดนีเซียในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ แต่อินโดนีเซียต้องออกค่าใช้จ่ายใน การปรับปรุงสมรรถนะมูลค่ากว่า ๗๕๐ ล้าน เหรียญเอง
ทางด้านมาเลเซียนั้น ก็มีการปรับ ยุทธศาสตร์ให้มีความพร้อมในการรับมือกับ
ภัยคุกคามในทะเลจีนใต้ แทนการรับมือภัย คุกคามทางบกจากประเทศเพื่อนบ้านทาง ทิศเหนือและทิศใต้ดังเช่นในอดีต เนื่องจาก มาเลเซียมีพื้นที่ทับซ้อนอยู่ในแนวเส้นประ ๙ เส้นของจีนด้วยเช่นกัน มาเลเซียเป็นประเทศ แรก ๆ ที่สั่งซื้อเรือดำน้ำสกอร์ปีเน่ จำนวน ๒ ลำจากการร่วมผลิตของประเทศฝรั่งเศส และสเปน โดยเรือดำน้ำลำแรกคือ เรือดำน้ำ “ตุนกู อับดุล ราห์มาน” ได้เข้าประจำการ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๒ ส่วนเรือดำน้ำอีกลำหนึ่ง คือเรือดำน้ำ “ตุนกู อับดุล ราซัก” เข้าประจำ การในปีถัดมา เรือดำน้ำทั้งสองลำนี้เป็นเรือ ดำน้ำพลังงานดีเซล มีระวางขับน้ำ ๑,๖๐๐ ตัน ความยาว ๖๖.๔ เมตร ความเร็วขณะ ดำน้ำ ๒๐ น๊อตหรือ ๓๘ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ดำน้ำได้ลึกกว่า ๓๐๐ เมตร ติดตั้งตอร์ปิโด นำวิถีแบบ “แบล็คชาร์ค” (Blackshark) ขนาด ๒๑ นิ้ว (๕๓๓ มิลลิเมตร) จำนวน ๖ ท่อยิง และอาวุธปล่อยนวิถีจากใต้น้ำต่อ ต้านเรือผิวน้ำแบบ เอกโซเซต์ เอสเอ็ม ๓๙ ของฝรั่งเศส ซึ่งอาวุธปล่อยนำวิถีเอกโซเซต์รุ่นนี้คล้ายกับรุ่นเอ็มเอ็ม ๔๐ (MM40) ซึ่งเป็น อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือหรือแบบพื้นสู่ พื้นที่ติดตั้งบนเรือเร็วโจมตีชั้น “เปอร์ดานา” จำนวน ๔ ลำซึ่งมาเลเซียสั่งต่อจากฝรั่งเศส และชั้น “ฮันดาลัน” จำนวน ๔ ลำที่สั่งต่อจาก สวีเดน เพียงแต่ถูกออกแบบให้ยิงจากท่อส่งที่ อยู่ภายในเรือดน้ำเท่านั้น มาเลเซียได้น้ำเรือ ดำน้ำทั้งสองลำเข้าประจำาการที่ฐานทัพเรือ “เซปังการ์” (Sepanggar) ในรัฐซาบาห์ ซึ่งเป็น ที่ตั้งกองบัญชาการกองเรือภาคที่ ๒ หรือ “มาวิลล่า ดัว” ฐานทัพนี้ตั้งอยู่ทางตอนเหนือ ของเกาะบอร์เนียว ทอดตัวขนานไปกับแนว เส้นประเส้นที่ ๔ และ ๕ ของจีน ส่งให้เรือด น้ำดังกล่าวมีพ้ืนท่ีปฏิบัติการครอบคลุมพื้นที่ พิพาททั้งหมด
ทางด้านฟิลิปปินส์นั้นก็เช่นเดียวกับ ประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนทั้งสามที่กล่าวมา ข้างต้น ที่ปรับยุทธศาสตร์จากการเสริมสร้าง แสนยานุภาพทางบก ซึ่งมุ่งเน้นการรับมือกับภัยคุกคามภายในประเทศอันเกิดจากการ ก่อการร้ายของกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มแนวร่วม ปลดปล่อยอิสลามโมโร ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ เกาะมินดาเนาแห่งนี้มาตั้งแต่คริสตศตวรรษ ที่ ๑๖ แต่เมื่อมีการลงนามครั้งประวัติศาสตร์ กับกลุ่มดังกล่าวเพื่อยุติสงครามกลางเมืองที่ ยาวนานที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อ วันที่ ๒๗ มนีาคม พ.ศ.๒๕๕๗ ที่ผ่านมา ก็ทำให้ ภัยคุกคามภายในประเทศของฟิลิปปินส์มีแนว โน้มลดลง ในทางกลับกันภัยคุกคามจากจีน ในทะเลจีนใต้กลับทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น เรอื่ย ๆ สง่ผลใหฟ้ลิปิปนิสต์อ้งปรบัยทุธศาสตร์ มาเสริมสร้างแสนยานุภาพทางทะเลและ ทางอากาศ แม้จะต้องประสบกับภาวะการ ขาดแคลนงบประมาณอย่างมากก็ตาม ก่อนหน้านี้กองทัพเรือฟิลิปปินส์มีเรือ ฟริเกตเพียงลำเดียวคือ เรือ “ราชา ฮัมอาบอน” ซงึ่เปน็เรอืชนั้เดยีวกบัเรอืหลวง “ปิ่นเกล้า” ของ ราชนาวีไทยที่มีอายุกว่า ๕๐ ปี และปลดประจำการไปแล้วเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๑ แต่เน่ืองจาก ความขาดแคลนทำให้ฟิลิปปินส์ต้องใช้เรือ ดังกล่าวต่อไป การปรับยุทธศาสตร์เพื่อรับมือ ภัยคุกคามทางทะเลทำให้ฟิลิปปินส์จัดหา เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง “มือสอง” ชั้น “แฮมิล ตัน” จากหน่วยป้องกันและรักษาฝั่งสหรัฐฯ จำนวน ๒ ลำ เพื่อเข้าประจำการในฐานะเรือ ฟริเกต ประกอบดว้ยเรอื “เกรโกริโอ เดล พิลาร์” เข้าประจำการเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๔ และเรือ “รามอน อัลคาราซ” เข้าประจำการในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา รวมทั้งจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ อเนกประสงค์แบบ เอฟ/เอ-๕๐ ซึ่งพัฒนามา จากเครื่องบินฝึกความเร็วเหนือเสียงแบบ ที๕๐ โกลเดน้ อเีกลิ้ ผลติโดยบรษิทัอตุสาหกรรม การบินของเกาหลีใต้ จำนวน ๑๒ ลำมูลค่ากว่า ๔๒๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ นับเป็นการสั่งซื้อ ยุทโธปกรณ์ครั้งสำคัญและมีมูลค่าสูงที่สุดอีก ครั้งหนึ่งของฟิลิปปินส์ โดยเครื่องบินดังกล่าว ๒ ลำแรกจะส่งมอบให้กับฟิลิปปินส์ภายใน สิ้นปี พ.ศ.๒๕๕๗ นี้ เพื่อใช้เป็นเครื่องบินฝึก สำหรับที่เหลืออีก ๑๐ ลำ จะทยอยส่งมอบ ครั้งละ ๒ ลำในทุก ๆ ๒ เดือน
จากที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างการ ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ของประเทศในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเตรียมรับมือกับ ยุทธศาสตร์การแผ่ขยายอาณาเขตของจีนตาม แนวทาง “เส้นประ ๙ เส้น” ซึ่งนับแต่นี้ต่อไป ความเคลื่อนไหวในทะเลจีนใต้ จะยิ่งทวีความ เข้มข้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะเมื่อประเทศต่าง ๆ ได้รับอาวุธยุทโธปรณ์ที่สั่งซื้อครบถ้วนแล้ว ก็ จะส่งผลให้ “การเผชิญหน้ากับจีน” กลายเป็น สิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้อีกต่อไป