โรคอ้วนจัดเป็นปัญหาหลักทางสาธารณสุขที่พบมากขึ้นโดยเฉพาะ ในกำลังพลำนักงานปลัดกระทรวง กลาโหม พบว่ากำลังพลที่มีอาหารการกิน อุดมสมบูรณ์มีปัญหาเกี่ยวกับโรคอ้วน อีกทั้ง ยังมีปัญหาการเจ็บป่วยต่าง ๆ มากมายสืบ เนื่องมาจากโรคอ้วน มีคนจำนวนมากที่เข้าใจ ผิดว่าการมีไขมันส่วนเกินเพียงเล็กน้อยที่หน้า ท้อง ต้นแขน ต้นขา ก็ถือว่า “อ้วน” ซึ่งถือว่า เป็นความเข้าใจผิดอย่างย่ิงเนื่องจากค?าว่า “อ้วน” ในความหมายของคนทั่วไป กับความ หมายทางวิชาการมีความแตกต่างกันและควร ที่จะมีความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อจะได้ไม่เกิด ปัญหาว่ามีความคิดวิตกกังวลว่าตนเอง “อ้วน” ทั้งที่จริง ๆ แล้วนำหนักยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ ในทางวิชาการมีเกณฑ์ที่ใช้ในการวินิจฉัยว่า เป็นโรคอ้วนหรือไม่ ขององค์การอนามัยโลก โดยใช้ดัชนีมวลกายหรือ Body Mass Index (BMI) ค่าที่ได้ดังกล่าวได้มาจากการคำนวณ ค่าน้้ำหนักตัวปกติซึ่งควรอยู่ในช่วง ๑๘.๕ – ๒๔.๙ และจะถือว่าเป็นโรคอ้วนเมื่อมีค่า BMI มากกว่า ๓๐ ขึ้นไป ในบทความนี้จะมีวิธี คำนวณค่า BMI เพื่อให้ผู้ที่สนใจลองคำนวณ หาค่า BMI ของตนเอง และจะได้ประเมินว่า ร่างกายของท่านอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือ ไม่ ร่วมกับการพิจารณาประกอบว่าควรจะลดน้ำหนักลงมากน้อยเพียงใดและเมื่อทาย “อ้วน” มีปัจจัยเสี่ยงของโรคใดบ้าง และท่านควร ปฏิบัติตนอย่างไรในการลด้ำหนัก เพื่อช่วย ให้ท่านสามารถลดน้ำหนักได้ และมีสุขภาพ ทั้งร่างกายและจิตใจสมบูรณ์ดีสามารถปฏิบัติ กิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ และมีน้ำหนักเหมาะสมกับส่วนสูงและอายุของ ตนเองหรือไม่
ดัชนีมวลกาย หรือ Body Mass Index (BMI) คือค่าที่ได้จากการนำน้ำหนักตัวและ ส่วนสูงมาคำนวณ เพื่อประเมินหาส่วนไขมันในร่างกาย ซึ่งค่าดังกล่าวนิยมใช้ในการคำนวณอย่างแพร่หลาย เนื่องจากคำนวณง่าย และ สามารถใช้ได้กับทุกเพศ ทุกวัยและทุกเชื้อชาติ ดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนักตัว (หน่วยกิโลกรัม) ความสูง ๒ (หน่วยเมตร ๒)
ดัชนีมวลกาย หรือ Body Mass Index (BMI) คือค่าที่ได้จากการนำน้ำหนักตัวและ ส่วนสูงมาคำนวณ เพื่อประเมินหาส่วนไขมัน ในร่างกาย ซึ่งค่าดังกล่าวนิยมใช้ในการคำนวณอย่างแพร่หลาย เนื่องจากคำนวณง่าย และ สามารถใช้ได้กับทุกเพศ ทุกวัยและทุกเชื้อชาติ ดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนักตัว (หน่วยกิโลกรัม) ความสูง ๒ (หน่วยเมตร ๒)
จากตารางข้างต้นจะพบว่าผู้มีน้ำหนักตัว เกิน (ค่า BMI มากกว่า ๒๕) และผู้ที่เป็นโรค อ้วน (ค่า BMI มากกว่า ๓๐) จะมีความเสี่ยงต่อ การเกดิการเจ็บป่วยอย่างมาก หรือกล่าวอีกนัยว่า น้ำหนักเกินหรือความอ้วน นั้นสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลายชนิด และมีผล ตอ่ระบบการทำงานในร่างกายหลายระบบดว้ย กัน ได้แก่
– ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ซึ่งได้แก่ โรคหลอด เลอืดและหวัใจ เชน่ ความดนัโลหติสงู ไขมนัใน เลือดสูง โรคหลอดเลือดโคโรนารี
– โรคเกี่ยวกับถุงน้ำดี (gallbladder disease)
– โรคเกี่ยวกับตับ เช่น ตับแข็ง (cirrhosis)
– มะเร็ง เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ ปากมดลูก เยื่อบุมดลูก ต่อมลูกหมาก มดลูกรังไข่ เต้านม ถุงน้ำาดีตับอ่อน
-โรคทางเดินหายใจและปอดหายใจ ลำบากขณะนอนหลับนอนกรน (snoring) เพราะทางเดินหายใจเริ่มตีบตัน ร่างกายจะ ขาดออกซิเจน ท?าให้ร่างกายพักผ่อนไม่เต็มที่ ส่งผลให้ง่วงนอนในเวลากลางวัน บางคน อาจเป็นมากขนาดหลับในขณะขับรถจนเกิด อุบัติเหตุได้
– โรคเกี่ยวกับไต เช่น นิ่ว ไตวายจากความ ดันโลหิตสูง
– โรคกระดูกและข้อต่อ โรคข้อต่อเสื่อม (Os-teoarthritis in joints) โดยเฉพาะบริเวณ สะโพกหัวเข่าข้อศอก
– โรคเก๊าท์ (gout)
– โรคเบาหวาน (diabetes mellitus)
– เส้นเลือดในสมองแตกหรืออุดตัน (stroke)
– ซึมเศร้า (depression)
– เส้นเลือดขอด (varicose vein)
– เหง่ือออกมาก (sweating)
– การเป็นหมัน (infertility)
จากการเสยี่งตอ่สขุภาพของโรคอว้นทกี่ล่าว ถึงข้างต้นอันมีมากมายหลายประการ จึงมี การศึกษาถึงอันตรายของโรคอ้วนถึงขนาดว่า คนอ้วนมีอัตราการเสียชีวิตแตกต่างจากคน รูปร่างปกติหรือไม่ ซึ่งจากการศึกษาก็พบว่า อัตราการเสียชีวิตของคนที่อ้วนมากมีสูงขึ้นถึง ๒ – ๑๒ เท่า ขึ้นกับอายุของแต่ละบุคคลแต่ถ้า กลุ่มประชากรที่อ้วนหรือน้ำาหนักเกินสามารถ ลดน้ำหนักได้เพียง ๕ – ๑๐% ของน้ำาหนักตัว เริ่มต้นก็จะสามารถลดอัตราการพิการ และ อัตราการตาย (morbidity and mortality rate) ได้ระดับหนึ่งทุกสิ่งทุกอย่างย่อมต้องมี ความพอดี การมากหรือน้อยเกินไปอาจเกิด ผลเสียได้มากกว่าผลดี “น้ำาหนัก” ก็เช่นกัน ถ้า มากเกินไป “อ้วน” ก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ มากมาย แต่ถ้าสามารถลดความอ้วนลงมาให้ ใกล้พอดีได้ก็จะเกิดการลดอัตราการเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้แล้ว คนที่มีน้ำหนักเกินหรือ “อ้วน” สามารถรู้สาเหตุว่าเพราะอะไรจึงเกิดความ อ้วนมากเกินไปได้ โดยทั่วไปสาเหตุของ “อ้วน” มหีลายสาเหตุ บางคนอาจอาจเกิดจากสาเหตุเดียว หรือหลายสาเหตุประกอบกันก็ได้
สาเหตุของโรคอ้วน
๑. พันธุกรรม ถ้าพ่อแม่เป็นโรคอ้วนลูกที่เกิดมาก็มีโอกาสเป็นโรคอ้วนสูง
๒. รับประทานอาหารมากเกินไป แล้วไม่มี เวลาออกก?าลังกาย กล่าวคือ พลังงานที่ได้รับ จากการรบัประทานมากกว่าพลังงานที่ใช้ในการออกกำลังกาย เช่น ชอยรับประทานอาหาร ที่มีไขมันและแคลอรี่สูง เช่น หนังไก่ทอด มัน หมู หมูสามช้ัน ขาหมู ครีม เค้ก ฯลฯ แล้วไม่ ยอมหาเวลาว่างออกกำลังกายเพื่อให้มีการใช้ พลังงานที่ได้รับเข้ามา
๓. พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่ เหมาะสมทให้มีการใช้พลังงานต่ำ และทำให้ เสียโอกาสในการทำกิจกรรมหรือออกกำลัง กายที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น การจราจร ติดขัดในกรุงเทพ ทำให้คนส่วนใหญ่ต้องนั่ง เฉยบนรถยนต์หลายชั่วโมงต่อวัน ลักษณะงาน ที่ต้องนั่งทำงานตลอดเวลา พฤติกรรมชอบรับ ประทานอาหารจุกจิก เป็นต้น
๔. โรคบางชชิด เช่น Cushings Syndrome ซึ่งจะทำให้ร่างกายของผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้อ้วน โดยสาเหตุของโรคนี้เกิดจากความผิดปกติ ของฮอร์โมนในร่างกาย จนทำให้อ้วนบริเวณ ใบหน้า ลำตัว ต้นคอด้านหลัง แต่แขนขาจะ เล็ก และไม่มีแรง ในกรณีนี้จะต้องรักษาที่ ต้นเหตุคือ ฮอร์โมนที่มีความผิดปกติจึงจะ สามารถหายอ้วนได้ สำหรับการรักษาโรคอ้วนนี้ วิธีการรักษษที่ดีควรต้องมีการผสมผสานการรักษาหลายวิธีร่วมกันคือ การควบคุมอาหาร การออกกำลังกายเพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ส่วนการรักษาโดย ใช้ยานั้นต้องใช้ในกรณีจำเป็นต่อการรักษาโรค อ้วนจริง ๆ และมักต้องอาศัยการรักษาด้วยยา ร่วมกับวิธีอื่น ๆ หรือถึงแม้ไม่ได้รับการรักษา ด้วยยาถ้าต้องการลดน้ำหนักก็ต้องอาศัยทั้ง ๓ วิธีข้างต้นร่วมกันในการรักษาและควบคุม น้ำหนัก การควบคุมอาหาร (diet) ในการลด น้ำหนักคนอ้วน คือ ให้พลังงานจากอาหารน้อยกว่าพลังงานที่ร่างกายต้องใช้ ร่างกายจึง สลายพลังงานที่เก็บสะสมในร่างกายออกมา ใช้แทน น้ำหนักก็จะลดลง การควบคุมอาหาร เพื่อให้ประสบความส?าเร็จในการลดน้ำหนัก ได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับความแน่วแน่ของตัวท่าน เองเพราะถ้าท่านยังไม่สามารถตัดใจในเรื่อง อาหารได้ ความสำเร็จในการลดน้ำหนักก็จะ ลดลงดว้ย ลองตั้งใจเต็ม ๑๐๐% ในการควบคมุ อาหาร แล้วท่านก็จะประสบความสำเร็จ แต่มี ข้อแนะนำว่าท่านไม่ควรงดอาหารชนิดใดชนิด หนึ่งอย่างเด็ดขาด หรือไม่ยอมรับประทาน อาหารในมื้อนั้น ๆ เพื่อจะลดน้ำหนักแต่ควร มีการควบคุมปริมาณอาหารที่ได้รับแต่ละมื้อ มากกว่า เพราะถ้างดอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง อย่างเด็ดขาดอาจท?าให้ท่านขาดสารอาหาร ที่จำเป็นต่อร่างกายได้และถ้าท่านไม่ยอมรับ ประทานอาหารในมื้อใดมื้อหนึ่งอย่างเด็ด ขาด ก็อาจทำให้ท่านเป็นโรคกระเพาะอาหาร อักเสบได้เช่นกัน
การออกกำลังกาย (exercise) เป็นวิธีที่สำคัญในการลดน้ำหนัก กล่าวคือเป็นส่วนของ การใช้พลังงานที่ถูกสะสมไว้ในรูปของไขมันซึ่ง ถ้าสัดส่วนของการใช้พลังงานมากกว่าสัดส่วน ของพลังงานที่ได้รับเข้าไปก็จะสามารถลด น้ำาหนักได้ และวิธีการออกก?าลังกายนี้สามารถ ลดน้ำหนักได้ในระยะยาว นอกจากมีผลดีใน การลดน้ำาหนักแล้วยังมีข้อดีอีกหลายประการ ไม่ว่าจะผลดีต่อระบบหายใจทำให้การทำงาน ของหัวใจและปอดดีขึ้น แล้วยังลดปัญหาด้าน ภูมิแพ้ โดยจะเพิ่มความต้านทานแก่ร่างกาย ด้วย นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดีทั้ง ทางด้านร่างกายและจิตใจ โดยทั่วไปมักใช้วิธี ออกกำลังกายนี้ควบคู่กับการควบคุมอาหาร การออกก?าลังกายที่เหมาะสมควรใช้เวลา ประมาณ ๓๐ – ๖๐นาทีต่อครั้งสัปดาห์ละ ๓ – ๕ ครั้ง แค่นี้เราก็จะไม่อ้วนกันอีกต่อไป แล้ว
- สำนักงานแพทย์ สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม