อาณาจักรพม่าแห่งพุกามเป็นอาณาจักรพม่ายุคแรกก้าวสู่อำนาจสูงสุดแห่งแม่น้ำอิระวดี มีอาณาจักรที่กว้างใหญ่ในสมัยของพระเจ้าอโนรธามังช่อ (Anawrahta Minsaw)ทรงครองราชสมบัติระหว่างปี พ.ศ.๑๕๘๗ – ๑๖๒๐ ครองราชสมบัตินาน ๓๓ ปี ต่อมาอาณาจักรก็ เรมิ่ออ่นแอลง ในทสี่ดุกถ็กูกองทพัมองโกลจาก ทางตอนเหนือโจมตีในปี พ.ศ.๑๘๒๗ กองทัพ พม่าไม่สามารถจะต้านทานกองทัพมองโกลที่ ยิ่งใหญ่ได้ ต่อมาก็พ่ายแพ้ในการรบ และใน ที่สุดอาณาจักรได้ล่มสลายในปี พ.ศ.๑๘๓๐ อาณาจักรพม่าในยุคที่หนึ่งมีอายุยืนนานถึง ๒๔๓ ปี

บทความนี้ กล่าวถึงอาณาจักร พม่าแห่งกรุงหงสาวดีในยุคที่สองได้ก้าวขึ้น สู่จุดสูงสุดของอำนาจของพระเจ้าบุเรงนอง (Bayinnaung)

๑. สถานการณ์ทั่วไป

ราชวงศ์ตองอู (Toungoo Dynasty) แห่งกรุงหงสาวดีเป็นอาณาจักรพม่าในยุคที่สอง จึงเริ่มต้นการขยายดินแดนไปยังอาณาจักร ของเพื่อนบ้านที่อ่อนแอกว่าทีละอาณาจักร จนอาณาจักรเริ่มมีอาณาเขตกว้างใหญ่ขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในอดีตที่ผ่านมา จาก อาณาจักรต่าง ๆ มีที่ตั้งตามแนวของลุ่มแม่น้ำอิระวดี ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และลุ่มแม่น้ำโขง ประกอบด้วยเมืองที่สำคัญคือพุกาม ไทใหญ่ ล้านนา อยุธยา ล้านช้าง และมณีปุระ จึงเป็น มหาอ?านาจทางทหารแห่งอุษาคเนย์

๒. ราชวงศ์ตองอูก้าวขึ้นสู่ จุดสูงสุดของอำนาจ

๒.๑ อาณาจักรตองอู
ราชวงศ์ตองอูก่อตั้งขึ้นโดยพระเจ้าเมงจีโย (Mingyinyo) เมืองตองอู พระองค์ทรงครอง ราชย์ระหว่างปี พ.ศ.๒๐๕๓ – ๒๐๗๓ เป็นเวลา นาน ๒๐ ปี พระราชโอรสคือพระเจ้าตะเบ็ง ชะเวตี้ (Tabishwehti) ทรงดำรงความมุ่งหมาย จะรวมอาณาจักรพม่าให้เป็นหนึ่งเดียว แม่ทัพ ใหญ่คู่พระทัยคือแม่ทัพบุเรงนองที่ได้สร้างชื่อ จากศึกนองโย (Nauagyo Battle) ปัจจุบัน อยู่บริเวณที่ราบลุ่มปากแม่น้ำอิระวดีก่อนจะถึงเมืองแปร แต่ความมุ่งหมายของพระองค์ไม่สำเร็จ โดยพระองค์ทรงสวรรคตเสียก่อน พระเจ้าบุเรงนองทรงขนึ้ครองราชย์ปี พ.ศ.๒๐๙๔ โดยการปราบดาภิเษก เป็นกษัตริย์ลำดับที่ สามแห่งราชวงศ์ตองอู มีชื่อว่าบะยิ่นหน่าว ความหมายว่าพระเชษฐาธิราช มีพระนามเต็มว่า บะยิ่นหน่าวจ่อถิ่นหน่อยะถ่า ชาวสยาม จะเรียกว่าบุเรงนองกะยอดินนรธา โดยมีความ หมายว่าพระเชษฐาธิราชผู้ทรงกฤษดาภินิหาร แต่ชาวยุโรปจะรู้จักพระองค์ในนามชื่อ บราจิ โนโค (Braginoco) พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ ในวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๑๒๔ ขณะ พระองค์ทรงยกกองทัพพม่าแห่งหงสาวดีไปตี เมอืงทางด้านตะวันตกคือเมืองยะไข่ (อาระกัน)

๒.๒ พระราชวังกัมโพชธานี (Kamboza Thadi Palace)
พระเจ้าบุเรงนองทรงสร้างพระราชวัง กัมโพชธานีขึ้นในปี พ.ศ.๒๑๐๙ ตั้งอยู่ทางตอน ใต้ของพระมหาธาตุเจดีย์ชเวมอดอ (พระธาตุ มุเตา) หลงัจากทรงขนึ้ครองราชยส์มบตัมิานาน ๑๕ ปี เป็นห้วงที่พระองค์ก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุด ของอำนาจ โดยใช้แรงงานมาจากประเทศราช ต่าง ๆ ที่ขึ้นกับอาณาจักรตองอูแห่งหงสาวดี พระองค์ทรงใช้ชื่อประตูเมืองตามชื่อของ แรงงานของเมืองที่สร้างขึ้น เป็นพระราชวัง ที่มีขนาดใหญ่โตสมพระเกียรติ หลังจากที่ พระเจ้าบุเรงนองสวรรคตลงในปี พ.ศ.๒๑๒๔ ขณะที่พระองค์มีพระชนมายุได้ ๖๕ พรรษา (ครองราชย์ พ.ศ.๒๐๙๔ – ๒๑๒๔ ขณะที่ทรง มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา) อาณาจักรตองอู แห่งหงสาวดีก็เริ่มอ่อนแอลงเพราะขาดความเข้มแข็ง ประกอบกับเมืองขึ้นหลายเมืองไม่ ยอมรับอำนาจจากศูนย์กลางคือกรุงหงสาวดี การรบใหญ่จึงเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต่อมาถูกกองทัพเมืองยะไข่เข้าโจมตีกรุง หงสาวดีและพระราชวังกัมโพชธานีก็ถูกเผา ทำลายในปี พ.ศ.๒๑๔๒

พ.ศ.๒๕๓๓ รัฐบาลประเทศพม่าได้สร้าง พระราชวังกัมโพชธานีจำลองขึ้นใหม่ โดย พระราชวังของเดิมคงเหลือเพียงตอไม้ที่อยู่ บริเวณแนวพื้นดิน บริเวณพระราชวังเดิมมี การขุดพบโบราณวัตถุมากมายและซากไม้ที่ ใช้สร้างพระราชวังในอดีต ไม้แต่ละท่อนมีตัว อักษรจารึกอยู่ว่าเป็นไม้ที่มาจากเมืองใด และ ส่วนที่สองคือบัลลังก์หรือเป็นพระราชฐาน ชั้นใน

๒.๓ ราชวงศ์ตองอู
พระเจ้าบุเรงนอง ทรงมีพระราชโอรส และพระราชธิดารวม ๖๘ พระองค์ ประกอบ ด้วยพระราชโอรส ๓๓ พระองค์ และพระราช ธิดา ๓๕ พระองค์ พระมเหสีประกอบด้วย พระอัครมเหสีต?าหนักใต้ (พระนามเดิมตะขิ่นจี พระพี่นางในพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้), พระ อัครมเหสีต?าหนักเหนือ (พระนามเดิมสิริโพง ทุต พระธิดาพระเจ้ากรุงอังวะ), พระอัครมเหสี ตำหนักกลาง (พระนามเดิมฉิ่นเทวละหรือเซง ทะเว พระธิดาพระเจ้ากรุงพะโค) และพระ มเหสีเล็ก (พระสุพรรณกัลยา พระธิดาพระ มหาธรรมราชา กรุงศรีอยุธยา ที่ชาวพม่าเรียก ว่าอะเมี้ยวโยง) พร้อมทั้งทรงมีพระสนมรวม ๓๐ พระองค์ พระราชโอรสและพระราชธิดา ที่สำคัญคือ

– เจ้าชายงาสู่ด่ายะก่ามิน (เจ้าวังหน้า) หรือ เจ้าชายนันทบุเรง พระราชโอรสองค์โต ของ พระนางตะขิ่นจี ต่อมาได้ขึ้นครองราชสมบัติ สืบต่อจากพระราชบิดาคือพระเจ้าบุเรงนอง มีพระนามว่าพระเจ้านันทบุเรง (โนนเตี๊ยะ บาเยง)

– พระนางเมงกอสอ พระราชธิดาพระองค์ ใหญ่ของพระนางตะเกงจี ต่อมาทรงอภิเษก กับพระเจ้าตองอู เป็นพระราชมารดาของนัด จินหน่อง (Natshinnaung) หรือพระสังขทัต (ชาวสยามจะรู้จักในชื่อนี้) มีความรอบรู้ทาง ด้านบทกวีและพระไตรปิฎก

– เจ้าชายมังนรธาสอ พระโอรสของพระมเหสี ราชเทวี พระตำหนักกลาง ต่อมาพระเจ้า บุเรงนองส่งมาปกครองอาณาจักรล้านนา ปี พ.ศ.๒๑๒๑ รู้จักในชื่ออโนรธาเมงสอ และเป็นแม่ทัพที่ยกกองทัพพม่าแห่งล้านนา ลงมาตีอยุธยา พ.ศ.๒๑๒๘ หลังจากที่อยุธยา ได้ประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง พ.ศ.๒๑๒๗

๓. บทสรุป

อาณาจักรพม่าแห่งตองอูเริ่มต้นการขยาย อ?านาจจากอาณาจักรขนาดเล็กสู่อาณาจักร ใกล้เคียง เนื่องจากมีอาวุธใหม่คือปืนคาบศิลา และปืนใหญ่จากโปรตุเกส พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์นักรบที่มีความเชี่ยวชาญในกลศึก และท?าการรบเข้มแข็ง พร้อมทั้งทรงเป็นนัก ปกครองและนักบริหาร ทรงนำกองทัพพม่า ในการเข้าตีเมืองต่าง ๆ ที่ไม่ยอมสวามิภักดิ์ อาณาจักรพม่าแห่งกรุงหงสาวดีจึงเป็นจุดเริ่ม ต้นของอาณาจักรพม่าในยุคที่สองเริ่มต้นสู่ ความยิ่งใหญ่

 

  • พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์