ข้อความอันเป็นมิ่งมหามงคล ที่ได้อัญเชิญมาข้างต้นนี้ คือ พระราชดำรัสพระราชทานขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๓๓ เนื่อง ในโอกาสวันทหารผ่านศึก ณ พระตำหนัก จิตรลดารโหฐาน โดยถ้อยความของพระราชดำรัสสามารถอรรถาธิบายได้ใน ๒ ประเด็น หลัก กล่าวคือ

ประเด็นแรก บ่งบอกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อบรรดาทหารผ่านศึก โดยเฉพาะในการยกย่องทหารผ่านศึกว่าเป็นบุคคลที่มีเกียรติอันสืบเนื่องมาจากการทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อประเทศชาติและสังคมส่วนรวม ทั้งนี้ทหารผ่านศึกยังเป็นผู้ที่ยอมอุทิศตนและ เสียสละเลือดเนื้อ ชีวิต และความสุขส่วนตัว ในการปฏิบัติในหน้าที่ของตนเพื่อเป้าหมายอันสูงสุดคือเพื่อพิทักษ์รักษาเอกราชอธิปไตยของประเทศและรักษาความมั่นคงของชาติ รวมถึงรักษาผลประโยชน์ของชาติเพื่อให้คนส่วนใหญ่ ในประเทศได้สามารถดำเนินชีวิตอย่างมีปกติ สุขเสมอมา นอกจากนี้

ประเด็นที่สอง ถือเป็นพระบรมราโชวาท ที่ทรงย้ำเตือนให้บรรดาทหารผ่านศึกมีความ ภาคภูมิในเกียรติ ในศักดิ์ศรี และวีรกรรมใน อดีตของตน ตลอดจน มีความตระหนักใน การรักษาเกียรติและศักดิ์ศรีของตนไว้ตลอด เวลา ซึ่งจะเป็นเสมือนกระจกเงาบานใหญ่ ที่ส่องสะท้อนให้สังคมได้ตระหนักรู้และมอง เห็นความดี ความงดงามในวีรกรรมและความ เสียสละของทหารผ่านศึกในทุก ๆ โอกาส ซึ่ง จะนำไปสู่การสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาในตัวทหารผ่านศึกเองและองค์กรของทหารผ่านศึก ทุกแห่ง

นอกจาก พระราชดำรัสพระราชทาน อันเป็นการยกย่องความดี ความสง่างาม และกระตุ้นเตือนความตระหนักรู้ของ บรรดาทหารผ่านศึกแล้ว พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวยังพระราชทานความเมตตาและ ยังทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อทหารผ่านศึก และกิจการทหารผ่านศึกอย่างเป็นรูปธรรม และต่อเนื่อง ซึ่งพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับ ทหารผ่านศึกมีเป็นจำนวนมากมายเหลือ คณานับ โดยในโอกาสนี้ผู้เขียนใคร่ขออัญเชิญ พระมหากรุณาธิคุณที่สำคัญมานำเสนอต่อ สาธารณชนพอสังเขป ดังนี้

๑. ทรงรับองค์การสงเคราะห์ ทหารผ่านศึกเข้าอยู่ในพระบรม ราชูปถัมภ์

เดิมทีองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก หรือ อผศ. (The War Veterans Organization of Thailand) จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พุทธศักราช ๒๔๙๑ ซึ่งในปีเดียวกันนี้เอง พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชวินิจฉัย ในเรื่องความสำคัญของการให้ความช่วย เหลือและสงเคราะห์บรรดาทหารผ่านศึก ที่เป็นกำลังพลอันสูงค่าของสังคมไทย จึง มีพระมหากรุณาธิคุณโดยทรงรับองค์การ สงเคราะห์ทหารผ่านศึก เข้าอยู่ในพระบรม ราชปูถมัภ์ เมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๔๙๑ และ ทรงมีพระราชดำรัสพระราชทานอีกหลาย วาระ ซึ่งถือเป็นการพระราชทานแนวทางใน การดำเนินงานสงเคราะห์ ช่วยเหลือทหาร ผ่านศึกและครอบครัว เพื่อให้เขาเหล่านั้น มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี โดยทรงมีพระ เมตตาและห่วงใยต่อบรรดาทหารหาญและ ทหารผ่านศึกนี้ ซึ่งพระองค์ทรงมีพระราชวินิจฉัยว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณและเป็นมิ่งมหาสิริ มงคลที่ทหารผ่านศึกและทหารหาญทุกนาย ต่างอัญเชิญไว้เหนือเกล้าเหนือกระหม่อมและ น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณมาโดยตลอด ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๐ ได้มีการแก้ไข ปรับปรุงหน่วยครั้งสำคัญอีกครั้ง กล่าวคือ มี การตรา พระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ ทหารผ่านศึก พุทธศักราช ๒๕๑๐ ยกระดับ อผศ. ให้มีฐานะเป็นองค์การของรัฐเพื่อการ กุศล เป็นองค์การเพื่อให้การสงเคราะห์แก่ ทหารผ่านศึก ครอบครัวทหารผ่านศึก ทหาร นอกประจำการ และผู้ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ในการรบ รวมทั้งเชิดชูเกียรติแก่ทหารผ่านศึก ทั้งนี้ มีการดำเนินงานให้การสงเคราะห์รวม ๖ ด้าน คือ ด้านสวัสดิการ ด้านอาชีพ ด้านนิคม เกษตรกรรม ด้านการให้สินเชื่อ ด้านรักษา พยาบาล และ ด้านการส่งเสริมสิทธิและเกียรติ

๒. ทรงมีพระราชอุปถัมภ์โรงพยาบาล ทหารผ่านศึก

โรงพยาบาลทหารผ่านศึก นับว่าเป็น โรงพยาบาลที่ก่อตั้งโดยพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยแรกเริ่ม นั้นได้ถือกำเนิดจาก สถานปฐมพยาบาล มี ฐานะเป็นเพียงแผนกหนึ่งในกองสวัสดิการ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ตามมติ สภาทหารผ่านศึก ครั้งที่ ๒/๒๔๙๑ เมื่อ วันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๔๙๑ ต่อมาในวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๔๙๑ ได้ขยายหน่วยงาน โดยจัดตั้งขึ้นเป็นหน่วยปฏิบัติการด้านการ รักษาพยาบาลแก่ทหารผ่านศึกนอกประจำการ เพื่อให้การสงเคราะห์ และให้บริการแก่ ประชาชนในด้านการรักษาพยาบาลจ่ายค่า รักษาพยาบาลโดยคิดค่ารักษาพยาบาลตาม ความสมควร โดยมีสถานที่ตั้งแต่แรกเริ่ม ณ ห้องทำงานชั้นล่างที่ท?าการ อผศ.เก่า บริเวณ ศาลหลักเมือง ต่อมาได้ย้ายที่ทำการอีกหลาย ครั้ง จนในที่สุดได้ย้ายมาอยู่ที่ถนนวิภาวดี (ใน ที่ดินที่รับมอบจากกองทัพบก) ซึ่งเป็นที่ตั้งใน ปัจจุบัน

โดยที่สถานพยาบาล ถนนวิภาวดีนี้ ได้ จัดตั้งขึ้นเป็น กองแพทย์ ซึ่งได้ถือกำเนิด โดยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงมีพระราชดำริให้ มีการดูแลทหารผ่านศึกพิการทุพพลภาพใน ด้านการฟื้นฟู บำบัด และการฝึกหัดอาชีพ ทั้งยังได้เสด็จพระราชด?าเนินเปิดอาคารด้วย พระองค์เอง เมื่อวันศุกร์ที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๑๓ เวลา ๑๖.๐๐ น. ซึ่งมีภารกิจรักษาพยาบาล การฟื้นฟูบำบัด และการฝึกอาชีพทหารผ่านศึก ทุพพลภาพไว้ด้วยกัน และได้ยกระดับเป็น โรงพยาบาลในเวลาต่อมา

ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ โรงพยาบาล ทหารผ่านศกึ ได้ก่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นอาคาร ๑๒ ชั้น และขยายจาก โรงพยาบาล ๓๐๐ เตียงเป็นโรงพยาบาล ๕๐๐ เตียง แล้วเสร็จเมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๕๔ โดยได้รับพระราชทานชื่ออาคาร ว่า “อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบ พระชนมพรรษา” พร้อมทั้ง ได้รับพระบรม ราชานุญาตให้เชิญตราสัญลักษณ์งาน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิม พระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ประดิษฐานบนอาคารดังกล่าว ตลอดจนได้ รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จมา เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอาคารในวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๕ เวลา ๑๐.๐๐ น. เพื่อเป็นการ เติมเต็มกระบวนการให้บริการทางการแพทย์ ของโรงพยาบาลอย่างครบวงจร และบังเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษาพยาบาล ฟื้นฟู ดูแลชีวิตของผู้ป่วยทุกเพศ ทุกวัย ในทุกสาขา อาชีพ

๓. พระมหากรุณาธิคุณต่อ ทหารผ่านศึกและกิจการ

๓.๑ เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ยังทรงมีพระพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์ พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรง เยี่ยมเยียนเหล่าทหารหาญในพื้นที่อันตราย ไม่เว้นแม้แต่ที่ฐานปฏิบัติการ โดยได้ทรงนำ สิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคไปพระราชทาน ถึงที่ฐานปฏิบัติการ

๓.๒ ในยามที่ทหารเหล่านั้นเหล่านั้นได้ รับบาดเจ็บ พระองค์ก็ยังทรงให้ความห่วงใย เสดจ็ไปเยี่ยมปลอบขวัญถึงโรงพยาบาล โดยมีพระดำรัสพระราชทานกำลังใจแก่ทหารที่ได้รับบาดเจ็บพิการ พิการทุพพลภาพ เพื่อมิให้เกิดความย่อท้อ เพราะพระองค์ทรงมีความ เชื่อมั่นในศักยภาพของมนุษย์ว่า แม้จะสูญเสีย อวัยวะไป แต่ก็ยังสามารถใช้ความคิด และ ความสามารถทางสติปัญญาที่มีดำเนินชีวิต ในทางที่ถูกที่ควร ทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อ ประเทศชาติได้ นับเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ ให้กับทหารผ่านศึกอย่างหาที่สุดมิได้

๓.๓ เมื่อบรรดาทหารหาญเสร็จสิ้น จากภารกิจหน้าที่ในสนาม ทรงมีพระมหา กรณุาธคิณุพระราชทานเครอื่งราชอสิรยิาภรณ์ ชั้นต่าง ๆ ให้ตามควรแก่การปฏิบัติหน้าที่เพื่อ เป็นการยกย่อง สำหรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจน พิการหรือพิการทุพพลภาพ ก็ยังทรงให้การ ดูแลอย่างต่อเนื่องผ่านองค์การสงเคราะห์ ทหารผ่านศึก

๓.๔ เสด็จพระราชดำเนินไปในกิจการของ อผศ. โอกาสต่าง ๆ อาทิ เสด็จพระราชด?าเนิน เยี่ยมชมนิคมเกษตรกรรมคลองน้ำใส วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๑๔ และ เสด็จ พระราชดำเนินวางพวงมาลาอนุสาวรีย์ ชัยสมรภูมิ วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๕

๓.๕ พระราชทานแนวนโยบายขององคก์าร สงเคราะห์ทหารผ่านศึก โดยทรงเน้นย้ำให้ ดำเนินการ พัฒนาการสงเคราะห์ให้เป็นไป อย่างครบวงจรต่อเนื่อง และเป็นระบบ โดย พระราชทานแนวพระราชดำรัสที่ส?าคัญ เพื่อ ให้ผู้บริหารองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก อัญเชิญไปปฏิบัติให้บังเกิดผล ความว่า

“…จงช่วยทหารผ่านศึก เพื่อให้เขาช่วย เหลือตัวเองให้ได้…”

“…การสงเคราะห์นั้น ให้สงเคราะห์เพื่อให้ เขาช่วยเหลือตนเองได้ ไม่ใช่ให้เขาตลอด…”

“…การให้ความช่วยเหลือขององค์การ สงเคราะห์ทหารผ่านศึก นอกจากจะทำให้ เขาเหล่านั้น ซึ่งเป็นผู้เคยประกอบคุณความดี เพื่อชาติและประชาชน ได้มีที่อยู่อาศัย มี อาชพี มรีายไดเ้ลยี้งตนเองและครอบครวัแลว้ ยังเป็นการเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ทหาร หาญของชาติที่ก?าลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ในขณะ นี้และในอนาคต ได้ประจักษ์ว่า หากชีวิตต้อง สิ้นไป ทางราชการก็จะเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดู ครอบครัวให้มีความสุขตลอดไป หรือหากไม่ เสียชีวิตแต่ต้องพิการทุพพลภาพ หรือแม้ไม่ เป็นอะไรเลย ทางราชการก็ไม่ทอดทิ้ง แต่ จะให้การสนับสนุนค้ำจุน และช่วยเหลือดูแล ทุกข์สุขตามสมควรต่อไป…”

พระมหากรุณาธิคุณที่ผู้เขียนอัญเชิญมา ถ่ายทอดนี้เป็นเพียงส่วนเล็กน้อยในประมวญ พระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อทหารผ่านศึก และ อผศ. มานานกว่า ๖๕ ปี พร้อม ๆ กับ พัฒนาการที่ก้าวหน้าในพระบรมราชูปถัมภ์ จนปัจจุบันนี้ อผศ. ได้เจริญรุ่งเรืองจนเป็น ที่ประจักษ์ต่อสังคมไทยและสังคมโลกว่า อผศ. คือ กลไกหลักที่ขับเคลื่อนทิศทางและ กระบวนการสงเคราะห์ทหารผ่านศึกของชาติ ไทยให้ได้รับคุณภาพชีวิตที่สมบูรณ์ เพียงพอ ต่อการดำรงชีวิตในสังคมไทยได้อย่างมีเกียรติ และมีศักดิ์ศรีของวีรชนที่อุทิศตนและเสียสละ ตนเองเพื่อความเป็นเอกราช ความผาสุก และเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศให้เจริญ รุ่งเรืองเทียบเทียมได้ในเวทีสากล

ผู้เขียนใคร่ขอเรียนให้ทุกท่านทราบว่า เมื่อ มีโอกาสรำลึกถึงพระราชดำรัสของพระบาทสมเดจ็พระเจ้าอยู่หัว ความว่า “…จงชว่ยทหาร ผ่านศึก เพื่อให้เขาช่วยเหลือตัวเองให้ได้…” คราวใด เลือดทุกอณูในร่างกายได้สูบฉีดจน ร่างกายพองโตทกุครงั้ และทำให้สำนึกเสมอว่าพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านไม่ แตกต่างไปจากหยาดน้ำมฤตจากฟ้าที่โปรยปรายลงมายังความชุ่มชื้นในจิตใจ ตลอดเวลาที่ยังมีลมหายใจอยู่

และในวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ นี้ จะเป็นวันทหารผ่านศึกผู้เขียนใคร่ขอเรียน เชิญทุกท่านได้กรุณาร่วมระลึกในพระมหากรุณาธิคุณขององค์จอมทัพไทย และร่วมภาคภูมิใจในวีรกรรมของทหารผ่านศึกทุกท่านที่มีคุณูปการต่อสังคมไทยโดยพร้อมเพรียงกันครับ