ตลอดระยะเวลา ๒๓ ปีที่นับตั้งแต่ วันจัดตั้ง สำนักงานวิจัยและ พัฒนาการทหารกลาโหม (สวพ.กห.) ในวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “กรมวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีกลาโหม” ในปัจจุบัน จะเห็น ได้ว่าบทบาทของกระทรวงกลาโหมทางด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีเพื่อการป้องกัน ประเทศ ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาทางด้าน การทหารมีความก้าวหน้าอย่างเป็นลำดับ จากอดีตที่มุ่งเน้นงานหลักด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการทหาร มาเป็นการส่งเสริมการพัฒนาขีดความสามารถ ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการป้องกันประเทศ รวมทั้งงานวิจัยและพัฒนา ทางการทหารที่เป็นการพึ่งพาตนเอง และ เพื่อให้สอดคล้องความต้องการของหน่วยผู้ใช้ สถานการณ์ทางด้านความมั่นคงของประเทศ ชาติต่อไป ภายใต้การกำกับดูแลโดย พลโท ถเกิงกานต์ ศรีอำไพ เป็นเจ้ากรมวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีกลาโหม คนปัจจุบัน

โดยงานบริหารจัดการและการส่งเสริม การวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีของกระทรวงกลาโหมที่กรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม ได้ยึดถือ ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของกระทรวงกลาโหม พทุธศกัราช ๒๕๕๕ ถงึ ๒๕๕๙ นั้นเป็นดการวิจัยและพัฒนาที่เน้นในเรื่อง การพัฒนาบุคลากร ทางการวิจัย การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การถ่ายทอดองค์ความรู้ และการมาตรฐานทาง ทหาร นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นที่จะสนับสนุนให้ มีการวิจัยและพัฒนาที่สอดรับกับภัยคุกคาม ที่ประเทศเผชิญอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะ ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การบรรเทาสาธารณภัยและและโครงการวิจัย และพัฒนาที่สอดรับกับความต้องการที่แท้ จริงของกองทัพ โดยมีผลงานที่สำคัญในแต่ละ ด้านดังนี้

๑. ด้านการวิจัยและพัฒนา
การกลั่นกรอง จัดทำคำขอโครงการวิจัยและ พัฒนาการทหาร ติดตามประเมินผลโครงการ วิจัย การเข้าร่วมสังเกตการณ์ การทดสอบ ผลงานวิจัย การติดตามความก้าวหน้าโครงการ การส่งเสริมและการสนับสนุนการวิจัย การ บำรุงขวัญนักวิจัย และการดำเนินโครงการ วิจัยและพัฒนาทางด้านยุทโธปกรณ์และด้าน หลักการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาการก่อ ความไม่สงบในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตัวอย่าง โครงการวิจัยภายใต้การกำกับดูแลที่ สำคัญได้แก่ โครงการพัฒนารูปแบบรายงานความพร้อมรบของกองทัพไทย โครงการ วิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้นักบิน ขึ้น-ลง ทางดิ่ง (UAV) แบบปีกนิ่งและปีกหนุน โครงการพัฒนาการติดตั้งกล้องบันทึกภาพ กับเฮลิปคอปเตอร์ โครงการศึกษารูปแบบ การเสริมสร้างความพร้อมด้านจิตใจในการ รับราชการทหารเพื่อตอบสนองต่อแนวคิด ทางยุทธศาสตร์การผนึกกำลังป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหม โครงการการศึกษาความ พึงพอใจต่อหน่วยงานภาครัฐของประชาชน ในการแก้ปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ และโครงการวิจัยอื่นๆ อีกมากมาย

๒. ด้านการพัฒนากำลังพล
มีการส่งเสริม ความรู้ทางด้านวิจัยและพัฒนาให้แก่บุคลากร ทางด้านการวิจัยของกระทรวงกลาโหมใน รูปแบบของการบรรยายพิเศษ การประชุม สัมมนา และการศึกษาเพื่อสร้างองค์ความรู้ และความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง เช่น การ บรรยายพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีกับนวัตกรรม การบริหารจัดการ งานวจิยัและพฒันาวทิยาศาสตรก์ารทหารของ กระทรวงกลาโหม การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา กลยุทธ์พร้อมรับการจัดตั้งประชาคม อาเซียน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริม ทักษะการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โดยกรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม ได้จัดตั้ง ศูนย์ภาษาต่างประเทศ (อัตราเพื่อพลาง) เพื่อ จัดอบรมความรู้ทางด้านภาษาต่างประเทศ ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียนเพื่อรองรับ การเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน เช่น หลักสูตรภาษาเขมร ภาษามาเลย์ ภาษาจีน เป็นต้น โดยในปีพุทธศักราช ๒๕๕๗ จะเปิด หลักสูตรภาษาเวียดนามและภาษาอินโดนีเซีย เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนการ ศึกษาภาษาในอาเซียนเบื้องต้น อันจะเป็น ผลดีต่อการติดต่อประสานงานกับกลุ่มสมาชิกอาเซียนต่อไป ผลงานที่สำคัญของศูนย์ภาษา ต่างประเทศอีกอย่างหนึ่งคือ การจัดการ ทดสอบภาษาอังกฤษทั้งแบบออสเตรเลีย และแบบอเมริกันเพื่อคัดเลือกบุคลากรของ กระทรวงกลาโหมเพื่อรับทุนการศึกษาในการ ศึกษาหลักสูตระยะสั้นและหลักสูตรปริญญา โท ปริญญาเอกในต่างประเทศ และยังจัดให้ มีหลักสูตรภาคฤดูร้อนสำหรับบุตรหลานของ ข้าราชการอีกด้วย

๓. ด้านการถ่ายทอดองค์ความรู้
เพื่อให้บุคลากรทางด้านการวิจัยและพัฒนา ของกระทรวงกลาโหมได้ติดตามองค์ความรู้ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยทั้งในประเทศและ ต่างประเทศจึงได้จัดให้มีการติดตามและ สังเกตการณ์กิจกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และการวิจัย ในสาขาต่าง ๆ เช่น การสังเกตการณ์การ ฝึกคอบร้าโกลด์ (Cobra Gold 2013) การ ประชุมสัมมนาการปฏิบัติการภาคพื้นแปซิฟิก (Pacific Science and Technology ) ร่วมกับกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา การสาธิต และทดลองเทคโนโลยีทางทหาร (Crimson Viper 2013)เพื่อศึกษาและเรียนรู้การใช้อาวุธ ยุทโธปกรณ์ ยุทธวิธี และเทคโนโลยีทางการ ทหารที่จะเป็นหระโยชน์ต่อการวิจัยและพัฒนาทางการทหารต่อไป เช่น การเฝ้าตรวจและ รายงานทางทะเล เทคโนโลยีการตรวจการณ์ ในพื้นที่ปฏิบัติการ การต่อต้านระเบิดแสวง เครื่อง พลังงานหมุนเวียน เป็นต้น

๔. ด้านการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
ได้ร่วมจัดนิทรรศการร่วมกับสถาบันทางการ ศึกษาและองค์กรภาครัฐ เช่น นิทรรศการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า งานวันนัก ประดิษฐ์เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงเป็น พระบิดาแห่ง การประดิษฐ์ไทย งานมหกรรมวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติร่วมกับกระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยได้นำผลงานวิจัยทางการทหารของกระทรวงกลาโหมทั้ง สามเหล่าทัพนำมาแสดงและให้ความรู้แก่ เยาวชน เช่น ชุดลดอันตรายจากสะเก็ดระเบิด กล้องตรวจค้นวัตถุระเบิดใต้ยานพาหนะ การ ทำบาดแผลสมมุติ เครื่องวาดรูปคลื่นแบบ ทางกลศาสตร์ หุ่นตรวจครรภ์ และกิจกรรม การสาธิตสุนัขทหารและอื่น ๆ ซึ่งสร้างความสนใจให้แก่เยาวชนเป็นอย่างมาก งานดีเฟ้นส์ ซิคิวรีตี้ หรือ งานจัดนิทรรศการเทคโนโลยี ป้องกันประเทศ Defence Security ซึ่ง เป็นงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ แห่งภูมิภาค อาเซียน กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลาโหม ได้จัดให้มีบูธประชาสัมพันธ์และ การจัดการสัมมนาทางวิชาการเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรทางด้านการวิจัยทางทหารได้มี โอกาสแลกเปลี่ยนและเรียนรู้จากผู้ชำนาญ การทางด้านการทหารทั่วโลก ที่ได้มาร่วมจัด นทิรรศการ Defence Security อย่างล้นหลาม

นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม ยังรับ ผิดชอบกิ่งงานอื่น ๆ ที่สำคัญเช่น การพัฒนา โครงการสร้างพื้นฐาน งานด้านการมาตรฐาน ทางทหาร ด้านการพัฒนาระบบราชการ โดยมี ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร กรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม เป็น หน่วยงานปฏิบัติงานวิจัยภายใต้การกำกับดูแลของกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม

ที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า การบริหารจัดการ การดำเนินงานทางด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีทางการทหาร การวิจัยและพัฒนา เพื่อตอบสนองต่อการต้องการของหน่วยใช้ และนำมาซึ่งผลประโยชน์สูงสุดของกระทรวง กลาโหม ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้ กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม เร่ง พัฒนาและเสริมสร้างองค์กรให้ก้าวทันต่อ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดังกล่าวและ ตลอดจนส่งเสริมให้บุคลากรทางด้านการวิจัย และพัฒนาของกระทรวงกลาโหมให้เป็นผลิต โครงการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ และพัฒนา ทรัพยากรบุคคลที่มีค่าให้แก่กระทรวงกลาโหม ต่อไป