ข่าวน้องโมจิ หรือเด็กหญิงพลอยชมภู ศรีวิกุล เด็กน้อยวัย ๖ เดือน ๒๑ วัน ที่ป่วยเป็นโรคพันธุกรรมเมตา บอลิซึม ทำให้มีภาวะกรดแลคติกในเลือดสูงกว่าคนปกติถึง ๖ เท่า จนเสียชีวิต ได้สร้าง ความเสียใจให้แก่ครอบครัว และผู้ที่ได้รับ ทราบข่าวนี้ โดยเฉพาะบรรดาคุณพ่อคุณแม่ ที่ยังมีลูกเล็ก ๆ คงจะรู้สึกตระหนกไม่น้อย เพราะหวั่นเกรงว่า โรคพันธุกรรมเมตาบอลิก จะมีโอกาสเกิดกับลูกของเราไหม แล้วโรคนี้ คือโรคอะไรกันแน่

โรคพันธุกรรมเมตาบอลิก คืออะไร

โรคพันธุกรรมเมตาบอลิก หรือที่เรียก ว่า Inherited Metabolic Disorders หรือ Inborn Errors of Metabolism (IBEM) เป็น โรคพนัธกุรรมกลุ่มหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติ ของยีนเดี่ยว ทำให้การเรียงลำดับของสาย DNA บกพร่อง ก่อให้เกิดความผิดปกติของ การสร้างโปรตีน เช่น เอนไซม์ โปรตีนตัวรับ ขนส่ง โปรตีนโครงสร้าง หรือส่วนประกอบอื่น ของเซลล์ แล้วส่งผลให้กระบวนการย่อยสลาย (Catabolism) หรือขบวนการสังเคราะห์สาร อาหารในร่างกาย (Anabolism) ผิดปกติไป อย่างที่รู้กันว่า การเผาผลาญอาหารใน ร่างกายเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้มนุษย์มี พลังงานในการดำรงชีวิต แต่หากยีนตัวนี้มี ความบกพร่องจนไปทำให้เซลล์ไม่สามารถย่อยสารอาหารได้ เปลี่ยนสารอาหารเป็นพลังงานไม่ได้ นาน ๆ เข้า สารอาหารที่ถูกสะสมไว้ ในตัวจะตกค้างจนกลายเป็นพิษ และในที่สุด เซลล์ก็จะตาย นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วย เสียชีวิตได้นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม โรคในกลุ่มพันธุกรรมเมตา บอลิกนี้มีมากมายหลายร้อยโรค ตัวอย่างเช่น

๑. โรคพันธุกรรมเมตาบอลิกที่มีความ บกพร่องของกรดอะมิโน (Amino Acid Disorders) เช่น โรคปัสสาวะหอม (Maple Syrup Urine Disease), โรคฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria), โรคโฮโมซีสเทอีน (Homocysteinuria) ฯลฯ

๒. โรคพันธุกรรมเมตาบอลิกที่มีความ บกพร่องของวงจรยูเรีย (Urea Cycle Disorders) เช่น โรคทรานสคาร์บามิลเลส (Ornithine Transcarbamylase Deficiency : OTC) ฯลฯ

๓. โรคพันธุกรรมเมตาบอลิกที่มีความ บกพร่องของกรดอินทรีย์ (Organic acid disorders) เช่น ภาวะมีกรดไอโซวาลิริกใน เลือด (Isovaleric Acidemia), โรคอัลแคป โทนยูเรีย (Alkaptonuria) ฯลฯ

๔. โรคพันธุกรรมเมตาบอลิกที่มีความ บกพร่องของการสะสมไกลโคเจน (Glycogen Storage Disorders) เช่น โรคพอมเพ (Pompe’s Disease) หรอืโรคไกลโคเจนสะสม ชนิดที่ ๒, โรค Von Gierke’s Disease ฯลฯ

๕. โรคพันธุกรรมเมตาบอลิกที่มีความ บกพร่องของเพอรอกซิโซม (Peroxisomal
Disorders) ซึ่งเป็นออร์แกเนลล์ขนาดเล็กใน รา่งกาย เชน่ โรค Zellweger, โรค Rhizomelic Chondrodysplasia Punctata ฯลฯ

๖. โรคพันธุกรรมเมตาบอลิกที่มีความ บกพร่องของการสังเคราะห์กรดไขมัน (Mitochondrial Fatty Acid Oxidation Disorders) เช่น โรค Systemic Carnitine Deficiency ฯลฯ

๗. โรคพันธุกรรมเมตาบอลิกที่มีความ บกพร่องของการสะสมไลโซโซม (Lysosomal Storage Disorders) เช่น โรคพันธุกรรม LSD ชนิด MPS ฯลฯ

๘. โรคพันธุกรรมเมตาบอลิกที่มีความ บกพร่องของพิวรีน (Disorders of Purine Metabolism) ได้แก่ โรค Lesch-Nyhan Syndrome

๙. โรคพันธุกรรมเมตาบอลิกที่มีความ บกพร่องของเซลล์ประสาทในสมอง (Neurodegenerative Disorders) เช่น โรค Neuronal Ceroid Lipofuscinosis, โรค Krabbe Disease ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังมีโรคพันธุกรรมเมตาบอลิก ที่มีความบกพร่องของการขนส่งสารทองแดง, โรคพันธุกรรมเมตาบอลิกที่มีความบกพร่อง ขอกลุ่ม Leucodystrophines, โรคพันธุกรรมเมตาบอลิกที่มีความบกพร่องของไขมัน, โรค พันธุกรรมเมตาบอลิกที่มีความบกพร่องของมิวโคโพลีแซคคาไรด์, โรคพนัธกุรรมเมตาบอลกิ ที่มีความบกพร่องของโอลิโกแซคคาไรด์ ฯลฯ

ทำไมลูกถึงเป็นโรคพันธุกรรมเมตาบอลิก

โรคนี้เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม แบบ Autosomal Recessive หรือเกิดจาก ยีนด้อยของพ่อและแม่ ดังนั้น จึงมักเกิดจากการแต่งงานกันเองในเครือญาติ หรืออาจเป็น เครือญาติที่เคยเกี่ยวดองกันก็เป็นได้ ทำให้ ยีนด้อยที่มีความบกพร่องเหมือนกันมาเจอกัน เมื่อคลอดลูกออกมาจึงป่วยด้วยโรคนี้

อาการของโรคพันธุกรรมเมตาบอลิก

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กที่ป่วยโรคนี้มักเสียชีวิต เพราะแพทย์ไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างรวดเร็วนัก เนื่องจากอาการที่เกิดนั้น สามารถเลียนแบบโรคในเด็กได้เกือบทุกโรค โดยทำให้เกิดอาการในระบบเดียวหรือหลาย ระบบก็ได้

อาการที่พบบ่อยจะเป็นอาการทางระบบ ประสาท, ทางเดินอาหาร และหัวใจ ผู้ป่วยใน กลุ่มโรคพันธุกรรมเมตาบอลิกจะเริ่มมีอาการ ครั้งแรกเมื่ออายุเท่าใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับระดับ เอนไซม์ที่เหลือและปัจจัยส่งเสริม ถ้าการ กลายพันธุ์ (Mutation) ทำให้ไม่เหลือเอนไซม์ ที่ปกติเลย ผู้ป่วยอาจเกิดอาการเร็วภายใน ไม่กี่ชั่วโมงหลังคลอด แต่ถ้าการกลายพันธุ์ เพียงแค่ทำให้ระดับเอนไซม์ลดลง แต่ยังมีอยู่บ้าง ผู้ป่วยอาจไม่แสดงอาการเลยจนกว่าจะมี ปัจจัยมาส่งเสริม

อย่างไรก็ตาม อาการและอาการแสดงทาง คลินิกในผู้ป่วยพันธุกรรมเมตาบอลิก มีดังนี้

๑. อาการป่วยเฉียบพลัน แพทย์ควร วินิจฉัยแยกโรคกลุ่มพันธุกรรมเมตาบอลิก ในกรณีที่ผู้ป่วยมีลักษณะทางคลินิกดังต่อไปนี้ มอีาการคลา้ยภาวะพษิเหตตุดิเชอื้ (Sepsis) โดยอาการเกิดขึ้นหลังคลอดไม่นาน มักเป็น ชั่วโมงหรือวัน และมีช่วงเวลาที่ปกติมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผลการเพาะเชื้อ ไม่พบเชื้อใด ๆ ทั้งนี้ การที่ผู้ป่วยไม่มีอาการ ก่อนคลอดและระยะแรกหลังคลอดนั้น เนื่องจากสาร intermediates เหล่านี้มักมี โมเลกุลเล็กสามารถผ่านรกไปสู่มารดาและถูก กำจัดไปได้

การเจ็บป่วยเกิดในช่วงอายุอื่น แต่ความ รุนแรงของการเจ็บป่วยและผลทางห้องปฏิบัติ การไม่สัมพันธ์กับสาเหตุ เช่น ผู้ป่วยเป็นไข้ หวัด แต่หอบมาก ซึม ผู้ป่วยมีอาการหอบ ซึม หรืออาเจียนซ้ำ ๆ โดยเฉพาะเมื่อมีประวัติ เป็นไข้หวัดหรือได้ทานอาหารโปรตีนสูงก่อน เกิดอาการ ในช่วงที่ผู้ป่วยมีอาการเจ็บป่วยจะ เป็นช่วงที่ผู้ป่วยได้รับสารอาหารจากการรับ ประทานไม่เพียงพอ เนื่องจากเบื่ออาหาร หรือ อาเจียน แต่ร่างกายกลับต้องการพลังงานเพิ่ม ขึ้นเพื่อกำจัดเชื้อโรค จึงทำให้ร่างกายต้องย่อย สลายเนื้อเยื่อของตนเองเพื่อใช้เป็นพลังงาน เนื้อเยื่อที่น?ามาใช้นี้มีทั้งคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ดังนั้น เอนไซม์ที่เหลืออยู่ซึ่งทำหน้าที่ได้เพียงพอในภาวะปกติ จึงไม่สามารถ สลายสารอาหารเหล่านี้ได้หมดในภาวะวิกฤติทำให้เกิดสารพิษสะสมและเกิดอาการทาง คลินิกขึ้น

ในขณะเจ็บป่วยผู้ป่วยมีกลิ่นตัวและกลิ่น ปัสสาวะผิดปกติ ทั้งนี้เนื่องจากสารที่คั่งใน Organic Acidopathies หลายโรคระเหย ได้ง่าย เช่น ภาวะมีกรดไอโซวาลิริกในเลือด (Isovaleric Acidemia) หรือโรคปัสสาวะน้ำเชื่อมเมเพิล (โรคปสัสาวะหอม : Maple Syrup Urine Disease) เป็นโรคในกลุ่มกรดอะมิโน ที่พบมากในประเทศไทย มีคนในครอบครัว หรือญาติพี่น้อง มีอาการคล้ายผู้ป่วย หรือบิดา มารดาเป็นญาติกัน

๒. อาการทางระบบประสาท หากผู้ป่วย มีอาการทางระบบประสาท แล้วแพทย์ ตรวจไม่พบว่าติดเชื้อจากความผิดปกติทาง โครงสร้าง (เช่น เนื้องอก) หรือภาวะสมองขาด ออกซิเจน แพทย์ควรวินิจฉัยแยกโรคในกลุ่ม พันธุกรรมเมตาบอลิก ซึ่งอาการทางประสาท จะแสดงออกได้หลายอย่าง เช่น มีอาการ ซึมลง ชักหลังคลอด หรือชักภายใน ๑ – ๒ เดือน มีพัฒนาการช้า มีระดับความรู้สึกตัวผิด ปกติ มีระดับทรานซามิเนส (Transaminase) และแอมโมเนีย (Ammonia) สูงขึ้น มีการ ถดถอยของพัฒนาการในช่วงอายุประมาณ ๑ ปี มีการเคลื่อนไหวที่นอกเหนือความควบคุม (Involuntary Movement) และมีพฤติกรรม ทำร้ายตัวเอง ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม ทุกอาการที่ว่ามานี้อาจแสดง ไดถ้งึหลายโรค ดังนั้น ต้องเข้ารับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อวินิจฉัยอย่างชัดเจน

๓. อาการทางระบบทางเดนิอาหาร ผู้ป่วยโรคนี้มักจะมีอาการตัวเหลือง ตับโตในขวบปี แรก หรืออาจอาเจียนเป็น ๆ หาย ๆ เริ่มมีตับ และม้ามโตไม่ว่าลักษณะใดหลังอายุ ๔ ปีซึ่ง จะต้องตรวจค่าต่าง ๆ ในร่างกายอย่างละเอียด จึงจะระบุแน่ชัดว่าเป็นโรคนี้หรือไม่

๔. อาการที่เกิดกับหัวใจ บางกลุ่มของ โรคนี้จะท?าให้ผู้ป่วยหัวใจโต จากการหนาตัว ขึ้นของผนังหัวใจด้านซ้าย และยังมีอาการ ทางกล้ามเนื้อลายด้วย (กล้ามเนื้อที่ยึดติดกับ กระดูก ทำหน้าที่ในการเคลื่อนที่ของร่างกาย) รวมทั้งอาจมีอาการลิ่มเลือดอุดตัน เกิดอาการ หัวใจวายตามมา

การวินิจฉัยโรคพันธุกรรมเมตาบอลิก

ถ้าพูดถึงชื่อ “โรคพันธุกรรมเมตาบอลิก” ชื่อนี้ไม่เพียงแต่ไม่คุ้นหูคนเป็นพ่อเป็นแม่แล้ว แม้แต่บรรดาแพทย์ทั่วไปก็รู้จักโรคนี้ค่อน ข้างน้อย ทำให้การวินิจฉัยไม่ถูกต้อง สาเหตุ ก็เพราะ…

๑. การวินิจฉัยทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจาก แต่ละโรคพบได้น้อยมาก จัดเป็นโรคหายาก ในต่างประเทศประเมินอุบัติการณ์ไว้ราว ๑ ต่อ ๕,๐๐๐ คน ทำให้แพทย์ไม่ค่อยนึกถึงเมื่อพบ ผู้ป่วยมีอาการลักษณะนี้ กว่าจะแยกโรคได้ก็มี อาการค่อนข้างมากแล้ว ส่วนในประเทศไทยยังไม่พบอุบัติการณ์ที่แน่นอน

๒. การตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยเฉพาะ การตรวจเลือดและปัสสาวะเบื้องต้น มักไม่ ค่อยบอกโรคชัดเจน ยกเว้นส่งตรวจพิเศษบาง อย่างเช่นการวิเคราะห์ Plasma Amino Acid หรือ Urine Organic Acid

๓. ในทารกแรกเกิดซึ่งมีโอกาสพบโรคกลุ่ม นี้ได้บ่อย มักจะมีการตอบสนองต่อความเจ็บ ป่วยรุนแรงอย่างมีขีดจำกัด หรือแสดงอาการ อย่างไม่จำเพาะเจาะจง เช่น “Poor Feeding” อย่างไม่ดูดนม ท้องอืด สำรอกนม หรืออาการ ในลักษณะเซื่องซึม เป็นต้น ซึ่งยากแก่การ วินิจฉัยในเบื้องต้น

๔. กุมารแพทย์มักจะคิดถึงโรคกลุ่มนี้ในบางภาวะเท่านั้น เช่น ภาวะปัญญาอ่อน หรือชักที่ คุมได้ยาก และมองข้ามอาการแสดงบางอย่าง ที่อาจเป็นเงื่อนงำสำคัญในการวินิจฉัยโรค

อย่างไรก็ตามหากต้องสงสัยว่าเด็กเป็นโรคนี้สามารถวินิจฉัยได้ในหลายวิธี คือ

๑. การตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้น โดยแพทย์จะตรวจภาวะหลาย ๆ อย่าง เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือด ตรวจค่าตับ ฯลฯ เพื่อ แยกโรค
๒. การตรวจทางห้องปฏิบัติการพิเศษ หาก ผลการตรวจเบื้องต้นพบความผิดปกติ แพทย์ จะส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการพิเศษ เพื่อแยก โรคให้ชัดเจนขึ้น
๓. การตรวจปัสสาวะ
๔. การตรวจเลือด

การป้องกันโรคพันธุกรรมเมตาบอลิก

๑. ผู้ที่วางแผนแต่งงาน ควรเข้ารับการ ปรึกษาทางพันธุศาสตร์จากแพทย์ก่อน เพราะ โรคที่เกิดจากการถ่ายทอดยีนด้อยนี้ จะทำให้ การตั้งครรภ์แต่ละครั้งมีโอกาสได้ทารกผิดปกติถึงร้อยละ ๒๕

๒. ตรวจวินิจฉัยก่อนคลอด (Prenatal Diagnosis) เพื่อบอกได้ว่าทารกในครรภ์ เป็นโรคพันธุกรรมนั้น ๆ หรือไม่ เพื่อให้คู่ สามีภรรยาพิจารณาเลือกยุติการตั้งครรภ์ (Elective Abortion)