กองทัพบกอินโดนีเซียจัดซื้อปืนใหญ่ สนามอัตตาจรชนิดล้อยางแบบซีซาร์ (Caesar) จำนวน ๓๗ หนว่ยยงิ เป็นเงิน ๒๔๐ ล้านเหรียญสหรัฐ จากประเทศ ฝรงั่เศส ไดร้บัมอบปนืใหญส่นามชดุแรกรวม ๒ หน่วยยิง เมื่อกลางเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ จะได้รับมอบปืนใหญ่สนามครบตามโครงการ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ จึงเป็นการปรับปรุงปืนใหญ่ สนามขนาดกลางของกองทัพบกอินโดนีเซียให้ มีขีดความสามารถในการยิงให้สูงยิ่งขึ้น

ปืนใหญ่สนามอัตตาจรแบบซีซาร์ (Caesar) ทำการพัฒนาขึ้นโดยประเทศฝรั่งเศสเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๓๓ นำออกเผยแพร่ให้ทราบเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ข้อมูลที่สำคัญคือกว้างปาก ลำกล้อง ๑๕๕/๕๒ มิลลิเมตร น้ำหนัก ๑๗.๗ ตัน ขนาดยาว ๑๐.๐ เมตร กว้าง ๒.๕๕ เมตร สูง ๓.๗ เมตร อัตราการยิง ๖ นัดต่อนาที พล ประจำปืน ๕ นาย (ยามฉุกเฉินใช้พลประจำ ปืน ๓ นาย) ติดตั้งบนรถยนต์ชนิด ๖x๖ ล้อ (รถยนต์แบบ Unimog U2450L เครื่องยนต์ ดีเซล) ความเร็วบนถนน ๑๐๐ กิโลเมตรต่อ ชั่วโมง ความเร็วในภูมิประเทศ ๕๐ กิโลเมตร ต่อชั่วโมง ระยะปฏิบัติการไกล ๖๐๐ กิโลเมตร และลูกกระสุนมีระยะยิงไกลสุด ๔๒ กิโลเมตร (ใช้ลูกกระสุนพิเศษมีระยะยิงไกลสุด ๕๐ กิโลเมตร) เนื่องจากมีน้ำาหนักเบาเมื่อเปรียบ เทียบกับปืนใหญ่อัตตาจรประเภทสายพาน มีขนาดกว้างปากลำกล้องเท่ากัน จึงใช้การ เคลื่อนย้ายทางอากาศด้วยเครื่องบินขนส่ง ทางทหารแบบ ซี-๑๓๐ เฮอร์คิวลิส (C-130 Hercules) ทำการบินไปยังสนามบินทางทหาร ในเขตหน้าของพื้นที่การรบ และเคลื่อนที่สู่ พื้นที่ตั้งยิงอย่างรวดเร็ว ปัจจัยเวลาจะมีความ สำคัญยิ่งต่อปฏิบัติการทางทหารในสงคราม สมัยใหม่ เครื่องบินขนส่งทางทหาร ซี-๑๓๐ (C-130 Hercules) ซึ่งประจำการอย่างแพร่ หลายในกองทัพอากาศพันธมิตรนาโต้

กองทัพบกฝรั่งเศสนำเข้าประจำการครั้ง แรก ๕ หน่วยยิง เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้รับมอบปืนใหญ่สนามแบบซีซาร์ (Caesar) เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ต่อมากองทัพบก ฝรั่งเศสจัดซื้อเพิ่มเติมอีก ๗๒ หน่วยยิง เพื่อนำเข้าประจำการทดแทนปืนใหญ่สนามอัตตาจร ชนิดรถสายพานรุ่นเก่าแบบเอยูเอฟ-๑ (AUF1) ขนาด ๑๕๕ มิลลิเมตรที่หมดอายุการใช้งาน ประจำการที่หน่วยกรมปืนใหญ่นาวิกโยธิน ที่ ๑, กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๖๘, กรมทหารปืน ใหญ่นาวิกโยธินที่ ๓, กรมทหารปืนใหญ่นาวิก โยธินที่ ๑๑, กรมทหารปืนใหญ่พลร่มที่ ๓๕ และกรมทหารปืนใหญ่ภูเขาที่ ๙๓

กองทัพบกฝรั่งเศสเข้าร่วมปฏิบัติการกับ กองกำลังรักษาความปลอดภัยนานาชาติใน อัฟกานิสถาน (ISAF) เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ พื้นทีปฏิบัติการจังหวัดปาปิชา (Kapisa) ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ กำลังทหาร ๔๕๕ คน (ต่อมาเพิ่มกำลังทหาร เปน็ ๒,๔๕๓ คน) กองบัญชาการที่กรุงคาบลู กองบัญชาการภาคเมืองหลวงกองทัพบก ฝรั่งเศสนำปืนใหญ่อัตตาจรแบบซีซาร์ (Caesar) ปฏิบัติการจำนวน ๘ หน่วยยิง (กรมทหารปืน ใหญ่นาวิกโยธินที่ ๓) เป็นปฏิบัติการทางทหาร ขนาดใหญ่อีกครั้งหนึ่งของกองทัพฝรั่งเศส โดย มีกำลังทหารเข้าปฏิบัติการรวมทั้ง ๓ เหล่าทัพ พื้นที่ปฏิบัติการในอัฟกานิสถานเป็นปฏิบัติ การทางทหารขนาดใหญ่ของกำลังนานาชาติ (ISAF) มีกำลังทหารประมาณ ๑๑๒,๕๗๙ คน (พ.ศ. ๒๕๕๕) สนามรบส่วนใหญ่เป็น ทะเลทรายที่แห้งแล้งร้อนระอุและมีฝุ่นทราย เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นอุปสรรคอย่างมากต่อปฏิบัติภารกิจทั้งกำลังทหารและยุทโธปกรณ์

กองทัพบกฝรั่งเศสเข้าร่วมปฏิบัติการ สันติภาพในประเทศเลบานอน (UNIFIL) ทางตอนใต้ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ร่วมกับกองกำลัง นานาชาติ มีกำลังประมาณ ๑๑,๐๐๐ คน กองทัพบกฝรั่งเศสส่งปืนใหญ่สนามอัตตาจร แบบซีซาร์ (Caesar) จากประเทศฝรั่งเศสมา ทางเรือสู่พื้นที่ปฏิบัติการประเทศเลบานอน จัดปืนใหญ่ระดับหน่วยขนาดหนึ่งกองร้อยปืน ใหญ่สนาม

กองทัพบกฝรั่งเศสเข้าร่วมปฏิบัติการ สันติภาพในประเทศมาลี ทวีปแอฟริกา ปฏิบัติการสันติภาพกับกำลังนานาชาติ ๑๐ ประเทศ ส่วนใหญ่จากกองกำลังนาโต้ที่มี ประเทศฝรั่งเศสเป็นแกนนำ มีกำลังทหาร รวม ๑๒,๖๐๐ คน ตั้งกองบัญชาการอยู่ที่กรุงบามาโก (Bamako) กำลังทหารบกจัดมา จากกองทัพบกฝรั่งเศสมีปืนใหญ่สนามแบบ ซีซาร์ (Caesar) หนึ่งกองร้อย (กรมทหารปืน ใหญ่ที่ ๖๘) เนื่องจากมาลีเคยเป็นเมืองขึ้น เก่าของประเทศฝรั่งเศส มีพื้นที่ ๑.๒๔ ล้าน ตารางกิโลเมตร ทางตอนเหนือเป็นทะเลทราย ซาฮาร่า มีประชากร ๑๔.๕ ล้านคน ประชาชน ส่วนใหญ่ของประเทศมีฐานะยากจนมีปัญหา ความขดัแยง้อยา่งรนุแรงเกดิขนึ้ทางตอนเหนอื ของประเทศกำลังทหารที่เข้าร่วมปฏิบัติการ เป็นทหารราบยานยนต์ ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลมีกำลังกองโจรหรือฝ่ายต่อต้านรัฐบาลประมาณ ๑๑,๐๐๐ คน มีปฏิบัติการทางทหารที่สำคัญ คือการรบที่กัว (Goa) ระหว่างวันที่ ๒๖ – ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ และมียุทธการเซอร์ วอล (Serval) เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

ปืนใหญ่สนามอัตตาจรล้อยางแบบซีซาร์ (Caesar) ขนาด ๑๕๕ มิลลิเมตร นำเข้า ประจำการ ๔ ประเทศ คือ ฝรั่งเศส (๗๗), ซาอดุอิาระเบยี (กองกำลงัรกัษาดนิแดน หนว่ย ขนาดกองทัพน้อย ประจำการ ๔ กองพัน ทหารปืนใหญ่รวม ๗๖ หน่วยยิง), อินโดนีเซีย (ประจำการ ๒ กองพันทหารปืนใหญ่ รวม ๓๗ หน่วยยิง) และไทย (รวม ๖ หน่วยยิง)

กองทัพบกไทยนำปืนใหญ่สนามอัตตาจร ล้อยางแบบซีซาร์ (Caesar) ขนาด ๑๕๕ มิลลิเมตร ประจำการที่กองพันทหารปืนใหญี่ที่ ๗๒๑ กองพลทหารปืนใหญ่ ค่ายพิบูลสงคราม จังหวัดลพบุรี ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ นำออกปฏิบัติ การทางทหารตามแนวชายแดนด้านตะวันออก เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔