จากสภาวะสิ่งแวดล้อมโลกที่มีการ เปลี่ยนแปลงและผันผวนอย่างมาก จนส่งผลกระทบต่อการเกิด ภัย ธรรมชาติที่มีความถี่เพิ่มขึ้นและทวีความ รนุแรงมากขึ้น ซึ่งเห็นได้จากมหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๔ ที่ผ่านมา ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างมากให้กับประเทศไทย ทั้งในภาคการเกษตร อุตสาหกรรม เศรษฐกิจ และสังคม โดยมีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ โดยตรงจำนวน ๖๕ จังหวัด และประชาชน ประมาณ ๑๒ ล้านคน ซึ่งธนาคารโลกได้ ประเมินความเสียหายไว้ประมาณ ๑.๔๔ ล้านล้านบาท และจัดให้เป็นภัยพิบัติที่สร้าง ความเสียหายมากที่สุดเป็นอันดับที่สี่ของโลก สำหรับในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ นี้ ประเทศไทย ประสบกับปัญหาอุทกภัยในวงกว้างอีกครั้ง ซึ่งเป็นผลมาจากเกิดผลตกหนักตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกันยายน จนทำให้เกิดน้ำป่าไหล หลาก น้ำล้นตลิ่ง และ น้ำท่วมขัง ซึ่งส่งผลก ระทบต่อประชาชนในวงกว้างมากกว่า ๔๐ จังหวัดทั่วประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก รวมถึง ภาคกลางบางส่วน และมีสถานการณ์ต่อเนื่อง ยาวนานมากกว่า ๑ เดือน รวมทั้งในช่วงเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ในพื้นที่ภาคใต้ก็ได้ รับผลกระทบจากอุทกภัยซึ่งมีจังหวัดที่ได้รับ ผลกระทบประมาณ ๑๒ จังหวัด ดังนั้นจึง อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่าในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ นั้น ประเทศไทยประสบปญัหา ภยัพบิตัจิากอทุกภยั ในทุกภาคของประเทศ

นอกจากนี้จากรายงานทางวิชาการ ขององค์การระหว่างประเทศ อาทิ The United Nations Office for Disaster Risk Reduction (UNISDR) ระบุว่า ประเทศใน ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก มีความเสี่ยงสูงที่จะ ต้องเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติบ่อยครั้ง ขึ้นและมีความรุนแรงมากขึ้น และที่สำคัญมี โอกาสได้รับความสูญเสียจากภัยพิบัติสูงที่สุด เนื่องจากขาดกระบวนการบริหารจัดการภัย พิบัติที่มีประสิทธิภาพ จากเหตุผลดังกล่าว จึง ทำให้ประเทศไทยต้องประเมินความพร้อม และประสิทธิภาพในการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยของ ทุกภาคส่วน โดยผู้แทนจาก หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาค เอกชน และภาคประชาชน ที่ได้มีโอกาส แลกเปลี่ยนประสบการณ์และองค์ความรู้ใน หลาย ๆ เวทีเห็นพ้องกันว่าส่วนราชการต่างๆ ยังขาดการทำงานร่วมกันในเชิงบูรณาการ ขาดเอกภาพในการบังคับบัญชา ขาดการประสาน งานที่มีประสิทธิภาพ มองข้ามประเด็นในเรื่อง การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ และยังไม่ได้ ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการ แก้ไขปัญหา

ปัญหาภัยพิบัติไม่ใช่ปัญหาของชุมชนใดชุมชนหนึ่ง หรือประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้นอีกต่อไป เนื่องจากภัยพิบัติขนาดใหญ่ส่งผล กระทบในวงกว้างทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับ ประเทศ จนถึงระดับภูมิภาค ซึ่งประชาคมโลก ได้มองว่า ภัยพิบัติเป็นปัญหาของโลกที่ต้อง เผชิญมาอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่จะทวี ความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น โดยเป็นผลมาจาก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) สำหรับประเทศในภูมิภาคเอเชียได้ มีการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเชียว่าด้วยการ ลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (Asian Ministerial Conference on Disaster Risk Reduction: AMCDRR) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารือถึง ผลการดำเนินงานภายใต้กรอบการดำเนิน งานเฮียวโกะ พ.ศ.๒๕๔๘ – ๒๕๕๘ (Hyogo Framework for Action 2005 – 2015: HFA) ซึ่งเป็นเสมือนพิมพ์เขียวของโลกในการ ลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติที่มีเป้าหมายสูงสุด คือ “การลดความสูญเสียจากภัยพิบัติที่มีต่อ ชีวิต สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมของ ชุมชน และของประเทศ” ที่รัฐบาลของ ๑๖๘ ประเทศได้ตกลงรับรองแผนระยะเวลา ๑๐ ปี ฉบับนี้ ในการประชุมของโลกว่าด้วยการลดผล กระทบจากภัยพิบัติ (World Conference on Disaster Reduction) เมื่อมกราคม ๒๕๔๘ ณ เมืองโกเบ จ.เฮียวโกะ ประเทศญี่ปุ่น โดย มีแนวทางการปฏิบัติที่สำคัญ ๕ ประการ ได้แก่

๑) การกำหนดให้การลด ภัยพิบัติมีความ สำคัญในลำดับแรกของการบริหารจัดการของ ประเทศทั้งระดับชาติและท้องถิ่น
๒) การ ระบุ ประเมิน และติดตามความเสี่ยง และ การพัฒนาการเตือนภัยล่วงหน้า
๓) การใช้ ความรู้ นวัตกรรม และการศึกษาในการสร้าง วัฒนธรรมความปลอดภัย และความเข้มแข็ง ให้กับสังคมทุกระดับ โดยเน้น การมีส่วนร่วม
๔) การลดปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง โดยเน้นที่ การวางแผนและการบังคับใช้กฎหมาย
๕) การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับการ เตรียมความพร้อมรับมือเหตุภัยพิบัติทุกระดับ

สำหรับประเทศไทยนั้น ได้รับประสบการณ์ และบทเรียนอย่างมากขณะเผชิญกับมหา อุทกภัยในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยกระทรวง กลาโหมในฐานะหน่วยงานสนับสนุนหลัก ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของ ประเทศตามแผนการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๓ – ๒๕๕๗ ซึ่ง มีแผนบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงกลาโหม ๒๕๕๔ เป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติ ได้ จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง บทเรียน การปฏิบัติการของทหารสนับสนุนศูนย์ บรรเทาภัยพิบัติของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา อุทกภัย ปี ๒๕๕๔ ระหว่างวันที่ ๒๐ – ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ณ เซอร์เจมส์ รีสอร์ท อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี นั้น โดยผลจากการสัม มนาฯ สรุปได้ว่า กระทรวงกลาโหมจำเป็นต้อง ปรับปรุงแผนบรรเทาสาธารณภัย กระทรวง กลาโหม ๒๕๕๔ ให้เข้ากับสถานการณ์ภัย พิบัติที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการแบ่งมอบพื้นที่ รับผิดชอบ และการประสานงานระหว่างส่วน ราชการต่างๆ ภาคเอกชน และองค์กรการกุศล ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย พิบัติเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ นั้น กรมป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยในฐานะหน่วยงาน กลางด้าน การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ของประเทศตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๐ และ แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่ง ชาติ พ.ศ. ๒๕๕๓ – ๒๕๕๗ ได้จัดการสัมมนา เชิงปฏิบัติการเพื่อวิพากษ์แผนการป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติฉบับปัจจุบัน เพื่อเตรียมการจัดทำแผนการป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติฉบับใหม่ ซึ่งผล จากการสัมมนาฯ ดังกล่าวทำให้ ทุกฝ่ายเห็น พ้องกันว่า ปัจจัยหลักที่สำคัญในการบริหาร จัดการสาธารณภัย คือ ความมีประสิทธิภาพ ในการทำงานร่วมกันในเชิงบูรณาการ ความมีเอกภาพในการบังคับบัญชา และการประสาน งานระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน รวมถึงภาค ประชาชน ซึ่งมีผลทำให้การจัดการภัยพิบัติ ขาดประสทิธภิาพ และการชว่ยเหลอืประชาชน ในพื้นที่ประสบภัยเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึงและ เกิดความซ้ำซ้อนกัน

 

อ่านต่อตอนที่ 2