หลายคนคงไม่ปฏิเสธว่าในระดับโลกแล้ว ประเทศเราถือว่าเล็กมาก และไม่เป็นที่รู้จักมากนัก เรื่องที่ผมประสบเองในการเดินทางไปเรียน หรือไปดูงานในต่างประเทศเมื่อไปต่างประเทศ คนในหลายประเทศคิดว่าเรามาจากไต้หวันหรือกับคำถามที่ว่า “ในบ้านเมืองของคุณยังขี่ช้างไปไหนมาไหนกันใช่ไหม?” อีกเรื่องที่สำคัญคือชื่อเสียง (เสีย) ในด้านการท่องเที่ยวของไทย คือแหล่งค้าผู้หญิง
เป็นเอกราชมาช้านานมากกว่าเจ็ดร้อยปีไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตก ไม่ใช่ชาติที่ชื่อไต้หวัน ประเทศของผมคือไทยไทที่แปลว่า อิสระ” ผมบอกต่ออีกว่า “ในวันนี้ที่ประเทศของคุณมีอะไรใหม่ ไม่ว่าจะเป็นรถเรือ หรือเครื่องบิน หรือสิ่งใดก็ตาม ประเทศผมก็มีเหมือนกัน” สุดท้ายคือเรื่องแหล่งค้าผู้หญิง ผมบอกว่า “เรื่องบางเรื่อง เป็นเรื่องที่ไม่น่าถาม เป็นเรื่องที่ไม่ควรเปิดเผย เป็นสิ่งที่น่าอาย ซึ่งทุกประเทศก็มี แม้แต่ประเทศของคุณเอง” ก็เป็นการตอบคำถามแบบค่อนข้างแข็งกร้าวไปเหมือนกัน
แต่ก็มีสิ่งที่น่าดีใจในหลายๆ ครั้งที่เจอชาวต่างประเทศ ทักทายเราเมื่อรู้ว่าเรามาจากประเทศไทย คือ ประเทศของเรายังมีแหล่งท่องเที่ยวที่ต่างชาติรู้จัก เช่น กรุงเทพฯ เชียงใหม่ พัทยา ภูเก็ต สมุย หรือเกาะเต่า
ทั้งหมดข้างต้น นั่นคือมุมมองของต่างชาติบางส่วนต่อไทย และคนไทย ที่ผมได้ประสบครับ
สำหรับวันนี้ผมได้รวบรวมเรียบเรียง เรื่องราวของไทยในสายตาคนต่างชาติ เพื่อให้เราได้รู้ว่า เขาคิดอย่างไร และเราจะปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาหรือปล่อยตัวของเราให้เป็นแบบเดิม ท่ามกลางกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงของโลกในขณะนี้ครับ เรื่องที่ผมเรียบเรียงเริ่มมุมมองจากประเทศรอบบ้านเพื่อนบ้านใกล้ชิด ไปยังประเทศรอบบ้านห่างๆ และไปต่อยังประเทศที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ร่วมกับความคิดเห็นในมุมมองของผม ซึ่งประกอบด้วย
อาเซียนมองไทยอย่างไร?
พันธมิตรนอกอาเซียนมองไทยอย่างไร?
ฝรั่งมองไทยอย่างไร?
สรุปภาพรวมเราต้องปรับปรุงอย่างไรให้ยืนอยู่ได้ในเวทีนานาชาติ?
อาเซียนมองเราอย่างไร?
ประเทศอาเซียน เป็นกลุ่มประเทศรอบบ้านใกล้ชิดกับเรา มีอิทธิพลและบทบาทร่วมสมัยอย่างต่อเนื่อง เรากำลังจะกลายเป็นหนึ่งเดียวบนความหลากหลายทางด้านต่างๆ กลุ่มประเทศรอบบ้านนี้มองเราอย่างไร?
ต่อไปนี้คือการเรียบเรียงจากบทวิเคราะห์ของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เรื่องไทยในสายตาอาเซียน
กลุ่มแรกคือกลุ่มที่พัฒนาทางเศรษฐกิจได้มากกว่าเรา เช่น สิงคโปร์ เป็นต้น
ประเทศแรกคือประเทศสิงคโปร์ ประเทศอย่างสิงคโปร์ แน่นอนถือว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ก็จะมองบ้านเราในสองมุม มุมที่เหนือกว่า จะมองว่าประเทศเราล้าหลังเขาเพราะถือว่าประเทศเขาเป็นผู้นำในภูมิภาคนี้ เป็นศูนย์กลางในทุกๆ สิ่ง ถ้าจะลงทุนอะไรต้องเริ่มต้นที่ประเทศเขา มองประเทศอื่นในภูมิภาคนี้ ด้อยกว่าเชื่อว่าประเทศของเขาเป็นที่หนึ่งในทุกๆ เรื่อง อีกมุมหนึ่งคือ คนสิงคโปร์แอบอิจฉาคนไทย ถ้าได้อยู่ประเทศไทย สบายกว่าอยู่ในประเทศของเขา ด้วยค่าครองชีพผู้คนที่สนุก ความสะดวกสบายก็มีไม่ต่างกันมาก และเขามองเราว่า เราเป็นประเทศที่มีศิลปวัฒนธรรมเป็นของตนเอง สถานที่ท่องเที่ยวดีกว่าประเทศเขา
กลุ่มที่สองคือกลุ่มที่พัฒนาทางเศรษฐกิจเท่าๆ กับบ้านเรา ตัวอย่าง เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มีมุมมองไทยในหลากหลายมุมจะนับว่าเราเก่งกว่าก็ไม่ขนาดนั้น แต่ในช่วง ๑๐ กว่าปีที่ผ่านมาคนฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มองว่าเราพัฒนาไปได้ไกลกว่าเขาเยอะมาก ถ้าย้อนเวลาไปสัก ๒๐-๓๐ กว่าปีที่แล้ว ชื่อชั้นประเทศเราสู้ฟิลิปปินส์ไม่ได้ด้วยซ้ำ ทุกวันนี้เราพัฒนาไปไกลกว่าในหลายๆ ด้าน อย่างเรื่องท่องเที่ยวเราเป็นประเทศชั้นนำของโลก นำเงินตราเข้าประเทศปีละมหาศาล มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาไทยเกือบ ๓๐ ล้านคน ในขณะที่มีนักท่องเที่ยวไปเที่ยวฟิลิปปินส์เพียงปีละ ๔ ล้านคนขณะที่อินโดนีเซียเพียง ๗ ล้านคน ซึ่งอันที่จริงเขามีทรัพยากรสำหรับการท่องเที่ยวไม่แพ้เราคนอินโดนีเซียเองก็ยอมรับว่าประเทศเขาล้าหลังในการพัฒนาไปมาก นั่นก็เป็นเพราะทั้ง ๒ ประเทศมีปัญหาคอร์รัปชั่นอย่างสูงทำให้ประเทศล้าหลัง
กลุ่มที่สามคือกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจด้อยกว่าเรา
ประเทศกลุ่มที่ด้อยกว่าเรา ส่วนใหญ่มองเราเป็นต้นแบบอยากพัฒนาให้เจริญเหมือนเมืองไทย ประเทศก็อยู่ติดๆ กัน ยิ่งเมียนมาร์กัมพูชา ลาว อยากให้ประเทศของเขาพัฒนาให้ได้เหมือนๆ เรา ยิ่งมองเรื่องการท่องเที่ยว คนของเขาอยากให้ประเทศของเขามีนักท่องเที่ยวจำนวนมากเช่นเดียวกับไทย เพื่อจะได้นำเอาเงินเข้าประเทศ ซึ่งน่าจะทำได้ง่ายกว่าทำอย่างอื่น เพราะเขาเชื่อว่าเป็นสิ่งเดียวที่เลียนแบบได้โดยง่าย วัฒนธรรมก็ไม่ต่างกันมาก ระบบราชการของเขาเองกลับเป็นตัวปัญหาในการพัฒนาการท่องเที่ยวของเขาเอง และที่สำคัญระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ก็ยังล้าหลังกว่าประเทศเรามาก
ประเทศพันธมิตรนอกอาเซียนมองเราอย่างไร?
ประเทศรอบบ้านห่างๆ เรา เช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น และอินเดีย เป็นต้น ประเทศเหล่านี้แม้จะห่างไกลจากประเทศเราพอควรแต่เป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อ ศาสนาวัฒนธรรม ประเพณี รวมถึงด้านแฟชั่น และเทคโนโลยีในอดีตจนถึงปัจจุบัน
ต่อไปนี้คือการเรียบเรียงจากบทวิเคราะห์ของ https://studenteexchangebuysary.wordpress.com
ประเทศแรกคือ เกาหลี คนเกาหลีคิดว่ากระแส K-POP รวมถึงกระแสซีรีส์เกาหลีที่โด่งดังในไทย ทำให้คนไทยจำนวนไม่น้อยชอบคนเกาหลี บางคนนั้นถึงกับพูดภาษาเกาหลีอย่างคำทักทายเบื้องต้นได้ เช่น อันยองฮาเซโยอีกด้วยหากเทียบกับประเทศอื่นๆ ในโลกแล้วเมืองไทยถือเป้นประเทศที่ปลอดภัยเลยทีเดียวแต่สิ่งที่ต้องระวังมากที่สุดคือการถูกจี้หรือถูกกระชากของโดยโจรที่ขี่รถมอเตอร์ไซค์ ซึ่งตามที่ต่างๆ มักมีป้ายเตือนนักท่องเที่ยวอยู่ คนไทยถือว่าเป็นชาติที่เป็นมิตรกับนักท่องเที่ยวและยินดีช่วยเหลือหากมีปัญหา
ธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร กรุงเทพฯ) เป็นมุมมองในแง่ของจุดอ่อนของไทยซึ่งอ่านดูแล้วน่าจะจริงแต่เหมือนกระจกที่สะท้อนเราให้เห็นตัวเราชัดเจนเกินไป แบบว่าเห็นสิ่งที่น่าเกลียดในตัวเรา หลายคนอาจจะไม่ชอบ เช่นคนไทยรู้จักหน้าที่ของตัวเองต่ำมาก โดยเฉพาะหน้าที่ต่อสังคมคนไทยมองอนาคตไม่เป็น แบบไร้อนาคต แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปวันๆ ไม่จริงจังในความรับผิดชอบต่อหน้าที่การกระจายความเจริญยังไม่เต็มที่ ประชากรส่วนใหญ่ที่อยู่ห่างไกลขาดโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตัวเอง การบังคับใช้กฎหมายไม่เข้มแข็งและดำเนินการไม่ต่อเนื่อง ปราบปรามไม่จริงจังไม่มีมาตรฐาน ยกย่องคนมีอำนาจมีเงิน โดยไม่สนใจภูมิหลัง และยังไม่พร้อมในเวทีโลก
ประเทศต่อไปคือจีนครับ จีนถือว่าไทยคือลูกรัก เพราะเนื่องจากความสัมพันธ์อันดีที่มีต่อกันมาเป็นเวลานาน ในด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถ้าจีนจะแผ่ขยายอำนาจลงมา ทำเลที่จีนมองก็คือประเทศไทย เพราะจีนจะใช้ไทยเป็น Hub ในภูมิภาคย่านนี้ เหตุผลง่ายๆ เลย เพราะประเทศไทยไม่มีปัญหาเรื่องศาสนา และเชื้อชาติเดี๋ยวนี้เกือบ ร้อยละ ๕๐ ของคนไทยมีเชื้อสายจีน เป็นประเทศประชาธิปไตย และมีเสรีในการประกอบธุรกิจและดำรงชีวิต อีกจุดหนึ่งก็คือ ประเทศไทยมีชัยภูมิที่เหมาะสมในการเป็นแหล่งกระจายสินค้าหรือทำธุรกิจ
แล้วจีนรู้จักไทยแค่ไหน ถ้าคุณไปถามคนจีน เขาจะบอกได้ ๓ สิ่งที่ขึ้นชื่อของเมืองไทย
หนึ่ง คือ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวต่างประเทศที่สวยและราคาถูก ประเทศไทยจะเป็นต่างประเทศประเทศแรกที่คนจีนจะไปถ้ามีเงินไปเที่ยวต่างประเทศ
สอง คือ กะเทยเมืองไทยสวยที่สุดในโลก เพราะทัวร์ชอบพาคนจีนไปดูทิฟฟานี่โชว์ที่พัทยา
สาม คือ เป็น สวรรค์ของผู้ชาย ที่หาได้ในโลกในราคาถูก เพราะไกด์ทัวร์เมืองไทยเหมือนกันที่ตอนกลางคืนมักพาไปสถานเริงรมย์ต่างๆ รวมทั้งอาบ อบ นวด ซึ่งไม่มีไกด์ประเทศไหนที่เขามีการศึกษาแล้วเขาทำกัน
ประเทศฝรั่งมองไทยอย่างไร?
ที่เรียกรวมๆ ว่าฝรั่งก็คือคนผิวขาว ทั้งในยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย ประเทศเหล่านี้มองเราในแง่ของความแตกต่างทางวัฒนธรรมเป็นหลัก อาจเป็นเพราะภูมิหลัง ประวัติศาสตร์และความเชื่อ รวมทั้งศาสนาที่แตกต่างกันเช่น ทำไมเราต้องไหว้อะไรกันที่หน้าบ้าน ? นั่นก็หมายถึงศาลพระภูมิเอง ฝรั่งบางคนได้เห็นแล้วต้องเป็นงงว่า “นี่คืออะไร บ้านนกเหรอ?” แล้วทำไมต้องจุดธูปกับเอาของกินมาถวายบ้านนกด้วยล่ะ ? สิ่งที่ฝรั่งเห็นนั่นคือศาลพระภูมิที่เชื่อกันว่าเป็นที่สิงสถิตของเจ้าที่ที่คอยคุ้มครองบ้าน หรือเรื่องความจงรักภักดี ร้อยทั้งร้อยของชาวต่างชาติที่มีโอกาสได้เข้าไปในโรงหนังของบ้านเรา ต้องสงสัยทุกรายว่าทำไมต้องยืนตรงก่อนหนังฉาย ก็ต้องอธิบายว่าเพื่อเป็นการแสดงความเคารพถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของปวงชนชาวไทยนั่นเอง รวมถึงเรื่องทำไมคนไทยต้องติดรูปพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้บนฝาบ้าน? ซึ่งเป็นรูปที่คนไทยต้องมีกันทุกบ้านไม่ว่าจะอยู่ที่มุมไหนของประเทศไทย
เรื่องที่ผมได้เรียบเรียงเพิ่มเติมอีกเรื่องเกี่ยวกับฝรั่งมองไทยของอาจารย์ท่านหนึ่งที่ได้สัมภาษณ์ฝรั่งดังนี้ครับ
นักท่องเที่ยวสองสามีภรรยาชาวอเมริกันจากสหรัฐอเมริกาเขาได้คุยว่าก่อนที่เขาจะเดินทางไปเชียงใหม่เขาได้เดินทางไปท่องเที่ยวในเวียดนามนานหลายเดือน ซึ่งเขาได้อธิบายถึงความเป็นอยู่ระหว่างคนจนของไทยและของเวียดนามว่ามีความแตกต่างกันอย่างมากเขาเล่าว่าความเป็นอยู่ของคนยากจนในประเทศเวียดนามนั้น อยู่กันอย่างแร้นแค้นมากกว่าคนจนในเมืองไทยและเนื่องจากเขาชอบเมืองไทยมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งเชียงใหม่เขาจึงตั้งใจที่จะท่องเที่ยวอยู่ในไทยต่ออีกสามสัปดาห์อยากมีทรัพยากร และแหล่งท่องเที่ยวแบบบ้านเรา ในขณะที่หลายชาติมองเราอย่างไม่เข้าใจ ยิ่งความห่างไกลทางระยะทางและความแตกต่างทางวัฒนธรรมทำ ให้มองเราอย่างแตกต่างเช่นกัน แต่สิ่งที่หลายชาติชื่นชมเป็นอย่างมากก็คือ แหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม และความมีน้ำใจของคนไทยครับ
เราต้องปรับปรุงอย่างไร ให้ยืนอยู่ได้ในเวทีนานาชาติ?
แน่นอนครับ ในสังคมไทยมีทั้งแง่ดีและแง่ร้าย
ในแง่ของนักอนุรักษ์นิยมด้านการรักษาวัฒนธรรมประเพณี ด้านความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยว และการอนุรักษ์ความเป็นไทยซึ่งหมายรวมถึงรอยยิ้ม น้ำใจและมิตรภาพของคนไทย
ในแง่มุมของนักพัฒนาการพัฒนาด้านความเท่าเทียมกันในด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานให้กับประชาชนทั้งประเทศ การดูแลด้านระเบียบ กฎหมายให้เกิดความเป็นธรรมและเท่าเทียม การขจัดปัญหาคอร์รัปชั่น และปัญหาสิทธิมนุษยชน รวมถึงการพัฒนาด้านการศึกษาเพื่อก้าวให้ทันต่อความเจริญและทันสมัยของกระแสโลก
อีกแง่มุมสำคัญอีกมุมหนึ่งก็คือ การปรับตัวให้เข้ากับกระแสโลก ผมเชื่อว่า ไทยเราเป็นชาติที่ฉลาดรู้จักการเอาตัวรอดท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก และการเล่นบนเวทีในระดับนานาชาติรู้จักการนำสิ่งที่ดีของชาติอื่นมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชาติของเรา
สิ่งเหล่านี้หาใช่เป็นภาระความรับผิดชอบของผู้นำ หรือผู้บริหารประเทศเท่านั้น แต่เป็นความรับผิดชอบของคนไทยทุกคนที่จะร่วมมือกันให้คนไทยและประเทศไทย สามารถดำรงอยู่ในสังคมโลกได้อย่างมั่งคั่ง มีความสุขและยั่งยืนตลอดไป