“สงครามโลกครั้งที่สอง กำลังทางอากาศคือความต้องการของกำลังทางเรือ เมื่อสหรัฐฯ จมเรือบรรทุกเครื่องบินญี่ปุ่นลงสู่ก้นแปซิฟิคได้ถึงสี่ลำ”

หมู่เกาะมิดเวย์คือสมรภูมิกลางมหาสมุทรแปซิฟิคที่ประกาศชัยชนะของกองทัพเรือสหรัฐฯ ต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ.๑๙๔๒ ในสงครามโลกครั้งที่ ๑ เป็นหมู่เกาะที่ประกอบด้วยเกาะสองเกาะที่อยู่ห่างจากแคลิฟอร์เนีย ๓,๘๐๐ ไมล์และจากโตเกียว ๒,๕๐๐ ไมล์ และห่างจาก Oahu ของPearl Harbor ที่ตั้งซึ่งมีความสำคัญทางทหารของสหรัฐฯ ๑,๓๐๐ ไมล์ การเผชิญหน้ารบกันอย่างแตกหักของกองเรือทั้งสองประเทศกลางมหาสมุทรแปซิฟิค สถานการณ์ดูเหมือนว่าเรือประจัญบานจะมีบทบาทสำคัญมากกว่า แต่กลับกลายเป็นกำลังทางอากาศเท่านั้นที่ทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง

ในปี ๑๙๔๑ เรือบรรทุกเครื่องบิน Kido Butai เรือธงของกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีของญี่ปุ่นโดยมี พลเรือตรี Chuichi Nagomo เป็นผู้บัญชาการ สั่งการให้กองเรือบรรทุกเครื่องบินจำนวน ๖ ลำโจมตีถล่ม Pearl Harbor ด้วยกำลังทางอากาศถึง ๓๕๐ เครื่องและประกาศอย่างแข็งกร้าวถึงชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนือแปซิฟิคด้วยกำลังทางเรือที่เสริมเขี้ยวเล็บด้วยกำลังทางอากาศ

ในช่วงเริ่มต้นของสงครามสหรัฐฯ มีเรือบรรทุกเครื่องบินเพียงแค่ ๗ ลำและเครื่องบินประจำการอีก ๗๐ กว่าเครื่องเท่านั้นเองสำหรับในน่านน้ำแปซิฟิคสหรัฐฯ มีกองเรือบรรทุกเครื่องบินที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ พลเรือเอก Chester w.Nimitz อยู่ ๔ ลำคือ USS Lexington (CV-2), USS Sarogota (CV-3), USS Enterprise (CV-6) และ USS Yorktown CV-5 ซึ่งเดินทางมาสมทบในเวลาไม่นานนัก หลังจากนั้นมีเรือบรรทุกเครื่องบินลำใหม่ USS Hornet (CV-8) พร้อมฝูงบินทิ้งระเบิด B-25 เข้ามาร่วมอีกในภายหลัง

ต้นเดือนพฤษภาคม ๑๙๔๒ เกิดยุทธนาวีขึ้นในทะเลคอรัลเป็นเวลา ๒ วัน เมื่อเรือ USS Lexington และ USS Yorktown เปิดศึกทางทะเลโดยที่มองไม่เห็นกันกับเรือบรรทุกเครื่องบินญี่ปุ่น ๓ ลำ การประจัญบานกันเกิดจากกำลังทางอากาศทั้งหมด สหรัฐฯ สูญเสียเรือUSS Lexington ส่วน USS Yorktown เสียหายในขณะที่ญี่ปุ่นสูญเสียเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดเล็ก ๑ ลำ เรือบรรทุกเครื่องบิน Shokaku เสียหายและกำลังทางอากาศบนเรือบรรทุกเครื่องบิน Zuikaku ถูกทำลายทั้งหมด

พลเรือเอก Isoruku Yamamoto ผู้บัญชาการกองเรือผสมญี่ปุ่นคาดการณ์ว่ากองเรือญี่ปุ่นจะทำการรบอย่างดุเดือดต่อได้อีกถึง ๖ เดือน เขาจึงวางแผนปฏิบัติการยึดหมู่เกาะมิดเวย์ (Operation MI) เพื่อคุกคาม Pearl Harbor และบีบให้กองเรือของ พลเรือเอก Nimitz ที่เหลือเข้าสู่สมรภูมิแต่โชคร้ายของญี่ปุ่นที่แผนปฏิบัติการนี้ หน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ สามารถถอดรหัสและแปลความได้ก่อนและแจ้งให้ผู้บัญชาการของเขารับทราบทันที

ญี่ปุ่นระดมสรรพกำลังทางเรือทั้งหมดได้ถึง ๑๒๐ ลำจาก ๕ กองกำลังที่มีอยู่ รวมถึงกำลังทางเรือขนาดใหญ่ของ Yamamoto ซึ่งมีเรือบรรทุกเครื่องบิน Kido Butai เป็นเรือธงพร้อมเรือคุ้มกันอีก ๑๗ ลำ

หลังยุทธนาวีที่ทะเลคอรัล พลเรือตรีNagumo นำเรือบรรทุกเครื่องบินที่เคยผ่านศึกสงครามจำนวน ๔ ลำคือ Akagi, Kaga, Soryu และ Hiryu ซึ่งเขาบัญชาการอยู่พร้อมทั้งเรือประจันบานคุ้มกันอีก ๑๕ ลำมุ่งหน้าสู่หมู่เกาะมิดเวย์ โดยที่ไม่รู้เลยว่าสหรัฐฯ ล่วงรู้ความลับหมดสิ้นแล้ว แม้ว่าจะสูญเสียเรือรบไปบ้างแต่ก็ยังเป็นกำลังทางเรือที่น่าเกรงขามยากจะเอาชนะได้ ในขณะที่กองเรือของ Nimitz ประกอบจากกองกำลังสองกองกำลัง มีเรือบรรทุกเครื่องบิน ๓ ลำที่พร้อมรบส่วนเรือUSS Yorktown อยู่ในระหว่างการซ่อมแซมออกเดินทางจาก Pearl Harbor พร้อมกับเรือคุ้มกันอีก ๒๓ ลำ มุ่งหน้าสู่มิดเวย์เช่นเดียวกันในตอนปลายของเดือนพฤษภาคม ปี ๑๙๔๒

เมื่อเปรียบเทียบความยิ่งใหญ่ของกำลังทางเรือแล้ว สหรัฐฯ ดูเหมือนจะสิ้นหวัง แต่เมื่อพิจารณากำลังทางอากาศบนเรือบรรทุกเครื่องบินแล้ว สหรัฐฯ ดูเหมือนจะได้เปรียบด้วยมีเครื่องบินบนเรือบรรทุกเครื่องบินอยู่ ๒๒๕ เครื่อง ที่เกาะมิดเวย์อีกมากกว่า ๑๒๕ เครื่องส่วนญี่ปุ่นมีเครื่องบินที่อยู่บนเรือบรรทุกเครื่องบินอย่างเดียว ๒๔๘ เครื่อง และเป็นเครื่องแบบมีเครื่องหน่วยความเร็วทั้งหมดรวมถึงFloatplane อีก ๑๖ ลำ เครื่องบินขับไล่ที่โดดเด่นของทั้งสองฝ่ายที่จะต้องเปิดยุทธเวหาเหนือแปซิฟิคคือ Grumman Wildcats และZero Fighters

Nimitz ระดมเครื่องบินทั้งหมดจากกองกำลังร่วมต่างๆ มาที่มิดเวย์ ซึ่งเป็นการประกอบกำลังร่วม (Joint Operation) ของสหรัฐฯ ครั้งแรกเพื่อการสงคราม PBY – Catalina เครื่องบินลาดตระเวนจำนวน ๓๒ ลำประจำการที่ Midway Seaplane Base บนเกาะ Sand ในขณะที่หน่วยทหารและกำลังทางอากาศของนาวิกโยธิน,กองทัพเรือและกองทับบกประจำการอยู่ที่เกาะมิดเวย์ตะวันออก

เช้าตรู่วันที่ ๓ มิถุนายน PBY – Catalina ตรวจพบกำลังทางเรือส่วนหน้าของญี่ปุ่นที่ระยะห่างออกไปจากมิดเวย์ ๔๕๐ ไมล์ ตกบ่าย9B-17s ก็อยู่เหนือเป้าหมาย พวกเขาทักทายกันด้วยการทิ้งระเบิดจากระยะสูงซึ่งคาดว่าน่าจะพลาด การโจมตีเรือที่กำลังเคลื่อนที่จากความสูง ๒๐,๐๐๐ ฟุต เป็นเรื่องที่นักบินทหารบกไม่มีความชำนาญ เนื่องจากไม่ได้รับการฝึกมาก่อน และเป็นครั้งแรกที่กำลังทางอากาศของกองทัพบกสหรัฐฯ กองทัพบกมีบทบาทในสงคราม

วันที่ ๔ มิถุนายน 3PBY – Catalinaตรวจพบและโจมตีเรือส่งกำลังบำรุงน้ำมัน ๑ ลำ แต่ไม่ปรากฏความเสียหายทั้งสองฝ่าย ดังนั้นก่อนรุ่งสางของวันถัดมา Catalina และ B-17 อีกหลายลำขึ้นบินลาดตระเวนเพื่อค้นหาอีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ไร้วี่แวว ที่น่าตื่นเต้นยิ่งกว่านั้นพวกเขาเจอสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า

Nagumo เปิดยุทธการทางอากาศด้วยเครื่องบินโจมตีหมู่ใหญ่จำนวน ๑๐๘ เครื่องมุ่งหน้าสู่มิดเวย์ แต่ก็หนีไม่พ้นการถูกตรวจจับที่สายไปแล้วของ Catalina เวลา ๖.๐๐ a.m. ทุกสิ่งทุกอย่างบนเกาะมิดเวย์ถูกทำลายยับเยินหมด เครื่องบินยิงตอร์ปิโดของกองทัพเรือและกองทัพบก ๑๐ ลำ เครื่องบินขับไล่นาวิกโยธิน๒๕ ลำ นักบินขับไล่นาวิกโยธินไม่สามารถทำอะไรได้เลย เป็นความร้าวรานและอับอายของนาวิกโยธินสหรัฐฯ สุดจะเปรียบปาน การบุกรุกถล่มแต่เช้ามืดครั้งนี้ ญี่ปุ่นเสียเครื่องบินไป ๑๒ เครื่องจากปืนต่อสู้อากาศยาน นอกเหนือจากกำลังทางอากาศที่พื้นดินของสหรัฐฯ ที่ราบเรียบไปแล้ว ยังทำลายโรงเก็บเครื่องบินโรงไฟฟ้า คลังน้ำมัน คลังสรรพาวุธและอาคารอื่นๆ อีกโดยทั่วถึง

Nagumo ตระหนักดีว่าหลังจากนี้เขาจะต้องเจอการตอบโต้อย่างหนัก ในเวลาที่มีค่าอันนี้เขาสั่งให้เปลี่ยนอาวุธทำลายของเครื่องบินในกองเรือทุกเครื่องจากลูกระเบิดเป็นตอร์ปิโดแทน ในขณะเดียวกันเครื่องบินขับไล่ของสหรัฐฯ กำลังเตรียมพร้อมวิ่งขึ้นจากเรือ USS Enterprise และ USS Hornet ทันทีที่อยู่ในระยะปฏิบัติการ ส่วน USS Yorktown เดินทางมาสมทบในอีกไม่นานหลังจากซ่อมเสร็จแล้วข้อเท็จจริงในสถานการณ์เช่นนี้ ไม่มีนายพลเรือผู้บัญชาการเรือบรรทุกเครื่องบินอเมริกันคนไหน เคยเป็นนักบินมาก่อนเลย

ด้วยอุปสรรคบางประการของกองกำลังร่วม ทำให้กำลังทางอากาศภายใต้การบังคับบัญชาของ นาวาโท C.Wade McClusky ของเรือบรรทุกเครื่องบิน USS Enterprise พร้อม
๒ ฝูงบินแบบ Douglas SBD-Dauntless จำนวน ๓๐ เครื่องต้องบินวนรอฝูงบินตอร์ปิโดจากเรือ USS Hornet เหนือจุดวนรออยู่เกือบชั่งโมง จนกระทั่งผู้ฝูง McClusky ตัดสินใจนำลูกฝูง 30 Dauntlesses เดินทางเข้าสู่พื้นที่สกัดกั้นตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายโดยปราศจากฝูงบินตอร์ปิโด Douglas TBD-1 Devastators ๒ ฝูงซึ่งพวกเขากำลังมุ่งมั่นถือเข็มบินไปทางทิศตะวันตกภายใต้การนำของCmdr.Stanhope C.Ring ฝูงบินตอร์ปิโดที่หกเป็นฝูงแรกและฝูงบินตอร์ปิโดที่แปดโดยผู้ฝูง Lt.Cmdr.John C.Waldron เป็นฝูงที่สอง และภายหลังถูกเรียกว่าเป็นภารกิจไปไหนไปกัน ไปไหนไปด้วยหรือ “A Flightto Nowhere” ฝูงบินตอร์ปิโดที่แปดของผู้ฝูงWaldron แยกตัวไปทางท่าเรือด้วยมั่นใจว่าเรือ Kido Butai ซึ่งเป็นเรือธงของ Yamamotoต้องอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนฝูงบินDauntless ของผู้ฝูง McClusky ยังคงบินต่อไปยังจุดนัดหมายตามแผนด้วยน้ำมันที่สามารถกลับไปลงที่เรือ USS Hornet หรือที่มิดเวย์ได้มีการสูญเสีย 10 Devastators ที่บินจนน้ำมันหมดโดยนักบินที่อ่อนประสบการณ์บินเองหรือความบกพร่องของเจ้าหน้าที่ภาคพื้น นักบินสูญหาย ๒ คน

๙.๓๐ a.m.อากาศที่แจ่มใสของวันที่๕ มิถุนายน ฝูงของ Waldron พบกองเรือ Kido Butai ซึ่งเตรียมพร้อมรออยู่แล้ว15 Devastators ที่ปราศจากการคุ้มกันของ30 Dauntlesses ต้องต่อกรกับ 40Zeros ของญี่ปุ่น อย่างอาภัพผลก็คือ 15Devastators ถูกยิงตกทะเลหมดนักบินรอดชีวิต ๑ คน

กองเรือ Kido Butai รอดพ้นจากการถูกโจมตีและไม่มีความเสียหาย ส่วน14Devastators ของฝูงบินตอร์ปิโดที่หกประจำเรือ USS Enterprise ที่เหลืออยู่นั้นก็บอบช้ำพอๆ กัน มีเพียง 4Devastators เท่านั้นที่รอดกลับมาได้และนักบินถูกยิงเสียชีวิต ๑ คน ส่วน 12Devastators ซึ่งวิ่งขึ้นจากเรือ USS Yorktown ที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้อยู่แล้ว เป็นฝูงบินตอร์ปิโดที่สามและฝูงสุดท้าย บินเข้าสมทบในช่วงหลังของยุทธเวหาต่อกรกับ 40Zeros ด้วยกันนั้น ก็ถูกยิงตกทั้งหมดเช่นเดียวกัน

ในช่วงเวลาเดียวกัน ทางด้าน30Dauntlesses ของผู้ฝูง McClusky ที่บินไปถึงจุดนัดหมาย แต่ไม่พบ 25Devastators แม้แต่เครื่องเดียว มีเพียงทะเลที่เวิ้งว้าง เขาคิดว่า Nagomo ต้องอยู่ทางตอนเหนือ เขาเริ่มบินค้นหาเป็นรูปสี่เหลี่ยม แต่แท้จริงแล้วNagomo เคลื่อนกองเรือไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ผู้ฝูง McClusky ยังคงตามล่าต่อไปโชคดีโดยไม่ได้ตั้งใจเขาเจอฝูงบินทิ้งระเบิดจากเรือ USS Yorktown ในขณะที่เรือประจัญบานของญี่ปุ่นพยายามไล่ล่าเรือดำน้ำ Nautilus อยู่ด้านล่าง ด้วยไหวพริบของเขา McClusky ถือเข็มบินเข้าหาทันที ภาพที่ปรากฏคือกองเรือบรรทุกเครื่องบินของสมเด็จพระจักรพรรดิ์

มหาสมรภูมิขนาดใหญ่ได้เกิดขึ้นที่นี่ภายในเวลาเพียงแค่เป็นนาที กำลังทางอากาศของสหรัฐฯ จากเรือ USS Enterprise และ USS Yorktown สามารถส่งเรือบรรทุกเครื่องบินของญี่ปุ่นจมดิ่งสู่เบื้องลึกก้นมหาสมุทรถึง๔ ลำคือ Kaga, Akagi, Soryu และสุดท้ายคือHiryu ซึ่งเป็นการทำหน้าที่ครั้งสุดท้ายด้วยเกียรติยศของทหารแห่งสมเด็จพระจักรพรรดิ์ของ พลเรือตรี Nagomo

พลเรือเอก Yamamoto รันทดอดสูใจเป็นยิ่งนักและตระหนักดีว่า ถ้าสูญสิ้นกำลังทางอากาศไปหมดแล้ว การรบต่อไปจะเผชิญแต่ความพ่ายแพ้ และการสูญเสียกองเรืออีกเป็นจำนวนมาก เขาสั่งยกเลิก Operation Mi แต่กระนั้นสงครามมิดเวย์ยังยึดเยื้อต่อไปอีก ๒ วัน จนถึงวันที่ ๗ หลังการสั่งยกเลิกOperation Mi ของ Yamamoto ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดของสมรภูมิมิดเวย์ พร้อมกับเป็นการนอนพักผ่อนตลอดกาลใต้ก้นมหาสมุทรแปซิฟิคของ USS Yorktown ที่แสนจะบอบช้ำ แต่ก็เป็นชัยชนะของสหรัฐฯ

หลังสงครามคือสถิติอันเป็นเศษซากของความเสียหายและคราบน้ำตาของครอบครัวทหารกล้าทั้งสองฝ่าย ญี่ปุ่นสูญเสียเรือบรรทุกเครื่องบินไป ๔ ลำ เรือประจัญบาน ๑ ลำ เป็นนักบินและกำลังทหารอีกประมาณ ๓,๐๐๐ คน สหรัฐฯ สูญเสียเรือบรรทุกเครื่องบินไป ๑ ลำ เรือโจมตี ๑ ลำ เป็นนักบินและกลาสีจำนวน๓๐๗ คน ทหารสหรัฐฯ เรียกศึกมิดเวย์ว่า“Midway was revenge, sweet revenge for Pearl Harbor”