การประชุมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อระดับภูมิภาค
“Maintaining Credibility and Trust in Journalism: A Collaborative Workshop for Addressing Fake News in ASEAN”
วันที่ 21 – 22 มีนาคม 2562
ณ โรงแรม อมารี วอเตอร์เกต ถนนเพชรบุรี กรุงเทพฯ

​กรมประชาสัมพันธ์จับมือกับสำนักงานยูเนสโกประจำประเทศไทย จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อระดับภูมิภาค “Maintaining Credibility and Trust in Journalism : A Collaborative Workshop for Addressing Fake News in ASEAN” โดยมีสื่อมวลชนจากอาเซียน สื่อมวลชนและภาคีเครือข่ายในประเทศไทยรวมพลังขับเคลื่อนการลดผลกระทบกับข่าวลวง

​กรมประชาสัมพันธ์ ในฐานะองค์การด้านการประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนมีภารกิจในการสร้างการรับรู้ สร้างความใจ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องน่าเชื่อถือสู่ประชาชนให้ความสำคัญต่อการขับเคลื่อนให้เกิดความตระหนักรู้และการรับมือกับข่าวลวง จึงได้ร่วมมือกับสำนักงานยูเนสโกประจำประเทศไทย มูลนิธิฟรีดริช เนามันน์ประจำประเทศไทย และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการรับมือกับข่าวลวงและการรู้เท่าทันสื่อ  จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อระดับภูมิภาค “Maintaining Credibility and Trust in Journalism: A Collaborative Workshop for Addressing Fake News in ASEAN” ระหว่างวันที่ 21-22 มีนาคม 2562 ณ โรงแรมอมารี วอเตอร์เกต กรุงเทพ ฯ โดยเชิญสื่อมวลชนจากภูมิภาคอาเซียน และภาคีเครือข่ายในประเทศไทย มาแลกเปลี่ยนข้อมูล มาตรการ ประสบการณ์การรับมือกับข่าวลวง (Fake News)               แนวปฏิบัติการรณรงค์การใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ และเพิ่มพูนความรู้จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ตลอดจนสร้างเครือข่ายเพื่อเป็นพลังในการลดผลกระทบจากข่าวลวงและเป็นกลไกสำคัญของภูมิภาคในการสร้างความรู้ให้กับประชาชน
​​​​​​​
​ดร.จรูญ ไชยศร รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กล่าวว่า ดิจิทัลถือเป็นโอกาสและความท้าทายของวงการข้อมูลข่าวสารเนื่องจากความสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทั้งข้อมูลจริงและข่าวลวง หรือข้อมูลบิดเบือนได้ทุกที่ทุกเวลา  ประเด็น Fake News จึงเป็นปัญหาที่ทุกระดับให้ความสนใจ รวมถึงระดับภูมิภาคและระดับโลก ซึ่งกรมประชาสัมพันธ์ได้ให้ความสำคัญและดำเนินการทั้งการรับมือกับข่าวลวงและการส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อ กิจกรรมในครั้งนี้ จึงมีความหมายและจุดประกายให้สื่อมวลชนให้ความสำคัญต่อการทำงานด้วยความเข้าใจและความมุ่งมั่นเพื่อลดผลกระทบข่าวลวง
​ด้านนายชิเงรุ เอโอยางิ ผู้อำนวยการสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ ได้ยกตัวอย่างปัญหาที่เกิดขึ้นในระดับภูมิภาค เช่น เมื่อปี ๒๐๑๘ มีการแชร์ภาพปลอมในประเทศอินโดนีเซียกว่า ๗๐๐ ล้านครั้ง และในประเทศมาเลเซีย กว่าร้อยละ ๙๘ ของจำนวนผู้ใช้ทวิตเตอร์ มีการแชร์ข่าวปลอมในช่วงการเลือกตั้งภายในประเทศ และย้ำว่าข่าวลวงหรือการบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ไม่ใช่ข่าว แต่มีความตั้งใจผลิตและส่งต่อให้เหมือนเป็นข่าว เพื่อผลประโยชน์ของผู้สร้างข่าวลวง ทำให้เกิดความสับสน และการที่ผู้คนละเลยที่จะสืบหาข้อเท็จจริง ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือในวงการสื่อสารมวลชน ผู้สื่อข่าวจึงมีบทบาทสำคัญในการเป็นตัวเชื่อม ทำหน้าที่ช่วยกลั่นกรอง เสาะหาข้อมูลที่ถูกต้องนำเสนอแก่ประชาชน สื่อมวลชนที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ จะได้เรียนรู้จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนวทางปฏิบัติ โดยขณะนี้ ยูเนสโก ได้จัดทำคู่มือ เพื่อฝึกอบรมผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับการรับมือข่าวลวง และการบิดเบือนข้อมูลข่าวสารเผยแพร่บนเว็บไซต์ของยูเนสโกแล้ว โดยกำลังมีการแปลเป็นภาษาไทย และในการประชุมครั้งนี้ ผู้สื่อข่าวและนักสื่อสารมวลชนอาเซียนที่เข้าร่วมจะได้เรียนรู้จากความท้าทายของการแก้ไขปัญหาข่าวลวง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กลับคืนมาของสื่อสารมวลชนอาเซียน

S__16605202 S__16605201 S__16605200 S__16605216 S__16605199 S__16605215 S__16605198 S__16605214