เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ถึง ๑ มีนาคม ๒๕๖๒ สำนักนโยบายและแผนกลาโหม ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะทำงานเจ้าหน้าที่อาวุโสกลาโหมอาเซียน(ASEAN Defence Senior Officials’ Meeting Working Group: ADSOM WG) และการประชุมคณะทำงานเจ้าหน้าที่อาวุโสกลาโหมอาเซียนกับเจ้าหน้าที่อาวุโสกลาโหมประเทศคู่เจรจา(ASEAN Defence Senior Officials’ Meeting – Plus Working Group: ADSOM – Plus WG)-ณ โรงแรมดุสิตธานี ลากูน่า ภูเก็ต มีผู้เข้าร่วมการประชุมจากกระทรวงกลาโหมประเทศสมาชิกอาเซียน ๑๐ ประเทศ และประเทศคู่เจรจา ๘ ประเทศ รวมทั้งผู้แทนสำนักเลขาธิการอาเซียน จำนวน๘๕ นาย โดยมี พลเอกรักศักดิ์ โรจน์พิมพ์พันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม เป็นประธานการประชุมฯ
การประชุม-ADSOM-WG-และ-ADSOM—Plus-WG-เป็นการหารือความร่วมมือด้านความมั่นคงของภูมิภาค และเตรียมการสำหรับการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกลาโหมอาเซียน-(ASEAN Defence Senior Officials’ Meeting :-ADSOM)-และการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกลาโหมอาเซียนกับเจ้าหน้าที่อาวุโสกลาโหมประเทศคู่เจรจา-(ASEAN Defence Senior Officials’ Meeting—Plus-:-ADSOM—Plus)-ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒ ถึง ๕ เมษายน ๒๕๖๒ ณ โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
ไทยในฐานะประเทศเจ้าภาพ ได้เสนอแนวความคิดในการขับเคลื่อนความร่วมมือด้วยความมั่นคงระหว่างกระทรวงกลาโหมอาเซียน ในปี ๖๒ ภายใต้แนวความคิดหลัก“ความมั่นคงที่ยั่งยืน”-รวมทั้งได้ริเริ่มความร่วมมือด้านความมั่นคงต่อที่ประชุมฯได้แก่ ร่างเอกสารความร่วมมือในกรอบการประชุม รมว.กห.อาเซียน ที่เสนอโดย กห. ๑) เอกสารแนวความคิดว่าด้วยการประเมินผลการปฏิบัติของความริเริ่มในเชิงปฏิบัติในกรอบ การประชุม ADMM ๒) เอกสารแนวความคิดว่าด้วยบทบาทของฝ่ายทหารอาเซียนในการบริหารจัดการชายแดน ๓) เอกสารเพื่อการหารือว่าด้วยการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม : ผลกระทบด้านความมั่นคง และบทบาทของฝ่ายทหาร ๔) ปฏิญญาร่วมของ รมว.กห.อาเซียน ว่าด้วยความมั่นคงที่ยั่งยืน และ ๕) แถลงการณ์ร่วมของ รมว.กห.อาเซียน กับ รมว.กห.ประเทศคู่เจรจาว่าด้วยการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนเพื่อความมั่นคงที่ยั่งยืนโดยประเทศสมาชิกได้ให้การสนับสนุนตามที่ฝ่ายไทยเสนอ และมีการพิจารณาเอกสารแนวคิดของประเทศสมาชิกที่นำเสนอที่ประชุมซึ่งบางประเด็นที่ยังไม่ได้ข้อสรุปร่วมกันจะดำเนินการปรับแก้และส่งให้ประเทศสมาชิกพิจารณาก่อนนำมาหารือร่วมกันอีกครั้งใน เมษายน ๒๕๖๒
ทั้งนี้ การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ ตลอดห้วงการประชุมฯ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและราบรื่น ได้แก่ ๑) ด้านพิธีการและสันทนาการ ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นตลอดห้วงเวลาการประชุมฯ ตั้งแต่ท่าอากาศยานการเลี้ยงอาหารค่ำและกิจกรรมสันทนาการ ณ สยามนิรมิต ตลอดจนการดูแลรับ-ส่งผู้เข้าร่วมประชุม ๒) ด้านการรักษาความปลอดภัย ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานและส่วนราชการในพื้นที่ ทั้งตำรวจ หน่วยเก็บกู้วัตถุระเบิด (Explosive Ordnance Disposal : EOD)-กรมสารวัตรทหารเรือ และกองร้อยรักษาความสงบเรียบร้อย ได้ดูแลความเรียบร้อยสถานที่และบริเวณโดยรอบโรงแรมที่พัก เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้เข้าร่วมการประชุมและ ๓) ด้านการประชาสัมพันธ์ ได้จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ ณ บริเวณท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตพื้นที่โดยรอบ ทั้งนี้ สื่อท้องถิ่น สื่อทั่วไปทั้งไทยและต่างประเทศ ได้ให้ความสนใจกับการประชุมฯ โดยสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง ๕ได้นำเสนอข่าวในห้วงการประชุมฯ ทุกวันนอกจากนั้นสื่อหลายสำนักได้เข้าบันทึกภาพและสัมภาษณ์ผู้บังคับบัญชาเพื่อนำไปออกข่าวเสนอผลการประชุมฯบรรยากาศการประชุมเป็นไปด้วยมิตรภาพและไมตรีจิต สะท้อนถึงความสัมพันธ์อันดีและความร่วมมือที่ใกล้ชิด ระหว่างกระทรวงกลาโหมประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งประเทศคู่เจรจา ซึ่งจะส่งผลดีต่อความมั่นคงที่ยั่งยืนในภูมิภาคต่อไป