ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรค COVID-19 (ตอนที่1)

โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูลโคโรนาไวรัส ซึ่งเดิมเป็นไวรัสที่ก่อโรคในคนเป็นประจำอยู่แล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ มีไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว และ สามารถหายได้เอง อาการไม่รุนแรงในผู้ที่สุขภาพแขง็แรงและพักผ่อนเพียงพอ
ไวรัสในตระกูลโคโรนาเฉพาะที่ก่อโรคในคน เดิมมี 6 สายพันธุ์ รวมถึงไวรัสซาร์ส (SARS) ซึ่งมีการ ระบาดที่ประเทศจีนในปี ค.ศ. 2003 และไวรัสเมอร์สที่ระบาดที่ซาอุดิอาระเบียในปี ค.ศ. 2012 (MERS) ไวรัส COVID-19 นับเป็นสายพันธุ์ที่ 7
การเกิดของไวรัส COVID-19 ถือว่าเป็นโรคอุบัติใหม่และจัดเป็นการติดเชื้อจากสัตว์สู่คน โดยเชื่อว่า เกิดจากการกลายพันธุ์ของไวรัสที่พบในค้างคาวร่วมกับสัตว์อื่น การสอบสวนโรคเกิดขึ้นหลังจากมี ผู้ป่วยปอดอักเสบติดเชื้อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูหนาน สาธารณรัฐ ประชาชนจีนในเวลาใกล้เคียงกันกว่า 40 ราย สันนิษฐานว่าเกิดจากตลาดหัวหนานในเมืองอู่ฮั่น ซึ่ง เป็นตลาดค้าอาหารทะเล และสัตว์ที่หายากหลายชนิดรวมทั้งค้างคาว งู ฯลฯ เชื่อว่าไวรัสจากสัตว์ เหล่านี้มีการกลายพันธุ์และแพร่เข้าสู่คน
การติดต่อของโรค
ติดต่อโดยผ่านละอองฝอย (droplet) จากสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจของผู้ติดเชื้อเป็น หลัก นอกจากนี้การที่สารคัดหลั่งปนเปื้อนตามวัตถุสิ่งของต่างๆ เมื่อไปสัมผัสเชื้อไวรัสก็จะเปื้อนที่ มือโดยส่วนใหญ่ผู้ที่ได้รับเชื้อทางนี้จะไม่ทราบ เชื้อเข้าสู่ร่างกายได้ทางเยื่อบุได้แก่ตา จมูก ปาก เมื่อ เอามือขยี้ตา จมูก เชื้อก็จะเข้าสู่ร่างกายไปตามระบบทางเดินหายใจ
ระยะฟักตัว
แล้วแต่สภาพร่างกายของคนไข้และปริมาณเชื้อที่ไดร้ับ มีอาการได้ตั้งแต่ 2 วันขึ้นไปหลังรับเชื้อ ส่วนใหญ่จะมีอาการที่ 3-7 วันหลังรับเชื้อ และส่วนน้อยมีอาการหลังรับเชื้อ 10 วันไปแล้ว

อาการของโรค
มีอาการแสดงได้หลายแบบ โดยทั่วไปจะมีอาการไข้ อาการระบบทางเดินหายใจเช่น ไอ น้ำมูก เจ็บ คอ เหนื่อย ในผู้ติดเชื้อบางรายมีอาการน้อยเช่น ไม่มีไข้หรือมีไข้ต่ำๆ ไอเล็กน้อย ซึ่งอาจทำให้ไม่ ทราบว่าติดเชื้อไวรัสนี้ ปัจจุบันสาธารณสุขประเทศไทยมีแนวทางในการพิจารณาสงสัยว่าผู้ป่วยติด เชื้อนี้คือ มีไข้ 37.5o เซลเซียสขึ้นไป มีอาการระบบทางเดินหายใจดังกล่าว ร่วมกับประวัติสัมผัสโรค ได้แก่การเดินทางไปในพื้นที่มีการระบาด การคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ที่มาจากพื้นที่มีการระบาด
การรักษา
ไม่มียารักษาการติดเชื้อนี้โดยตรง การใช้ยาต้านไวรัสชนิดอื่นในการรักษาได้ผลการรักษาที่ไม่ แน่นอนและยังไม่มีคำแนะนำให้ใช้ในผู้ติดเชื้อนี้ การรักษาหลักคือการรักษาตามอาการ ได้แก่ยาลด ไข้แก้ปวด ช่วยเรื่องการหายใจ และคอยเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนเช่นไตวาย ตับอักเสบ
การป้องกัน
หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค รวมทั้งหลีกเลี่ยงการไปในที่ชุมชนแออัดซึ่ง อาจมีผู้ติดเชื้อ หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการไอ จาม น้ำมูก
ล้างมือบ่อยๆด้วยน้ำสบู่ หรืออัลกอฮอล์หรือเจลล้างมือ
หมั่นทำความสะอาดพื้นผิวอุปกรณ์ สิ่งของเครื่องใช้สาธารณะซึ่งอาจมีการปนเปื้อนเชื้อ
สวมหน้ากากอนามัยหากมีความจำเป็นต้องเข้าไปในที่ชุมชนแออัด
พยายามหลีกเลี่ยงการขยี้ตา จมูก ปาก ถ้ายังไม่ได้ล้างมือให้สะอาด

S__4497539