COVID-19 (ตอนที่2)
วันที่ 11 มกราคม 2563 ประเทศจีน ได้ทำการแยกสายพันธุกรรมของเชื้อไวรัส และรายงานสู่ธนาคารสาย พันธุกรรมเชื้อโรค ต่อมาวันที่ 13 มกราคม ประเทศไทยได้รายงานผู้ติดเชื้อนอกประเทศจีนเป็นรายแรกของโลก เป็นผู้ป่วยชาวจีนที่มาเที่ยวประเทศไทย และในวันที่ 15 มกราคม ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อชาวไทยรายแรก โดย ผู้ป่วยมีประวัติเดินทางกลับจากประเทศจีน
ช่วงปลายเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 การระบาดของ COVID-19 เป็นไปอย่างรวดเร็วจำนวนผู้ติด เชื้อในประเทศจีนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับในหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไต้หวัน ช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์มีผู้ติดเชื้อกระจายอยู่ในยุโรป ได้แก่เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี รวมทั้งที่ สหรัฐอเมริกา
วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 ประเทศไทยได้ส่งเครื่องบินไปรับคนไทยที่เมืองอู่ฮั่นจำนวน 138 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็น นักศึกษากลับมาลงที่สนามบินอู่ตะเภา เข้าสู่สถานที่กักตัวเพื่อสังเกตอาการ เมื่อครบระยะฟักตัวของโรค 14 วัน แล้วจึงปล่อยกลับบ้าน ไม่มีปัญหาเรื่องการควบคุมโรคแต่อย่างใด
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 ประเทศไทยได้ประกาศเป็นโรคติดต่ออันตราย ตามพ.ร.บ. โรคติดต่อพ.ศ. 2558 เนื่องจากยังมีการระบาดอย่างต่อเนื่องไปในหลายประเทศทั่วโลก และมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในประเทศเกาหลีใต้ อิหร่านและอิตาลี
วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563 พบผู้ติดเชื้อเสียชีวิตรายแรกในประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา
ได้มีการประมวลอาการในผู้ติดเชื้อในช่วงที่ผ่านมา พบว่าอาการที่สำคัญคือไข้ ไอ เหนื่อย มีน้ำมูก เจ็บคอ ใน รายที่รุนแรงมีการอักเสบของปอดทั้งสองข้าง บางรายต้องให้การรักษาด้วยการช่วยการหายใจและรักษาโรค แทรกต่างๆที่พบ โดยรวมพบว่าอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 1-3% ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และผู้มีโรค ประจำตัว อย่างไรก็ตาม มีรายงานชัดเจนว่าผู้ป่วยหลายรายไม่มีอาการดังกล่าว หรือมีเพียงไข้ต่ำๆ ไอเล็กน้อย ทำให้สามารถแพร่กระจายเชื้อไวรัสได้โดยไม่รู้ตัว
องค์การอนามัยโลกได้ยกระดับความเสี่ยงของการระบาดของ COVID-19 แพร่กระจายไปทั่วโลกเป็นระดับ สูงสุด นักวิชาการหลายสำนักเชื่อว่าจะมีการระบาดเป็นวงกว้างทั่วโลก (pandemic) ในอนาคตอันใกล้ สาธารณสุขไทยขอความร่วมมือประชาชนในการป้องกันตนเอง หลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการติดต่อ เช่นการไปใน ประเทศที่มีการระบาด การเข้าไปในพื้นที่ที่มีคนแออัด ทั้งนี้เพื่อป้องกันหรือชะลอการกระจายของโรคซึ่ง ปัจจุบันถือว่าอยู่ระยะที่ 2 เป็นระยะที่ 3 คือมีการกระจายจากคนสู่คนเป็นวงกว้าง ควบคุมไม่ได้
เนื่องจาก COVID-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ ไม่มียารักษาและวัคซีนโดยตรง การป้องกันในปัจจุบันหลักๆจึงเป็นเรื่อง ของการป้องกันเชื้อเข้าสู่ร่างกาย นอกเหนือจากการหลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงแล้ว มาตรการป้องกันที่ แนะนำคือการล้างมือและการใส่หน้ากากอนามัย การล้างมือมีส่วนสำคัญในการป้องกันโรคอย่างมาก เนื่องจาก การติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสเชื้อโรคที่เปื้อนอยู่ตามสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่นโทรศัพท์สาธารณะ ลูกบิด ประตู ก๊อกน้ำ ราวบันได ปุ่มกดในลิฟท์ การทำความสะอาดสิ่งต่างเหล่านี้บ่อยๆจึงเป็นการลดการปนเปื้อนสู่มือ ของผู้ที่มาสัมผัส การทำความสะอาดทำได้โดยใช้น้ำสบู่ ผงซักฟอก หรือน้ำยาทำความสะอาดพื้นผิวชนิดต่างๆ เช็ดทำความสะอาด ส่วนการล้างมือมีความสำคัญมาก การล้างมือด้วยน้ำและสบู่เป็นวิธีการที่ได้ผลดีมากในการ กำจัดเชื้อ แต่ถ้าไม่สะดวกสามารถใช้อัลกอฮอล์หรือเจลล้างมือแทนได้ ข้อสำคัญที่ควรคำนึงถึงคือประสิทธิภาพ ของเจลล้างมือที่ใช้ ควรเป็นเจลล้างมือที่ได้มาตรฐาน มีส่วนผสมของอัลกอฮอล์อยู่ในระดับที่สามารถทำลาย เชื้อไวรัสได้ ยังไม่หมดอายุ ถ้าหากมีฝุ่นผง แป้ง คราบสิ่งสกปรก เปื้อนมือจะมีผลให้ประสิทธิภาพของเจลล้างมือ ลดลง อีกอย่างการล้างมือด้วยน้ำสบู่หรือเจลล้างมือก็ตาม ต้องฟอกล้างให้ทั่วถึง บริเวณที่มักจะล้างไม่หมดคือ ง่ามนิ้วมือ นิ้วหัวแม่มือ หลังมือ ปลายนิ้ว และข้อมือ ตามคำแนะนำทางการแพทย์ การล้างมือแต่ละครั้งควรใช้ เวลาอย่างน้อย 15-20 วินาที
เรื่องที่เป็นปัญหาปัจจุบันคือหน้ากากอนามัย การที่คนมีความตื่นตัวใช้หน้ากากอนามัยกันมากทำให้หน้ากาก อนามัยขาดตลาด ความสามารถในการผลิตของประเทศไทยในแต่ละวันมากกว่า 1 ล้านชิ้น แต่เนื่องความ ต้องการมีมากจึงอาจไม่พอเพียง
หน้ากากชนิดต่างๆมีประสิทธิภาพไม่เท่ากัน หน้ากากป้องกันเชื้อโรคที่ดีที่สุดคือหน้ากากอนามัย N-95 หรือ N99 แต่เนื่องจากราคาแพงและใส่แล้วอึดอัดจึงไม่เป็นที่นิยม การป้องกันไวรัส COVID-19 ซึ่งมีการแพร่กระจาย โดยละอองฝอยจากสิ่งคัดหลั่งซึ่งมีขนาดค่อนข้างใหญ่สามารถป้องกันได้โดยหน้ากากอนามัยที่มีขายทั่วไป ทั้งนี้ ต้องเป็นหน้ากากที่ผลิตจากวัสดุที่ได้มาตรฐานและผ่านการเคลือบชั้นนอกด้วยสารกันน้ำ การใส่หน้ากาก จะต้องเอาด้านที่มีสีออกข้างนอกเสมอ ส่วนด้านในจะเป็นวัสดุนุ่มที่ซึมซับสารคัดหลั่ง น้ำมูก น้ำลายได้ดี
หน้ากากที่ทำจากวัสดุอื่นเช่นฟองน้ำ หรือผ้า จะมีคุณสมบัติในการป้องกันไวรัสไม่ดีเท่าหรืออาจป้องกันไม่ได้ เลย ที่สำคัญอีกอย่างคือหลีกเลี่ยงการสัมผัสด้านนอกของหน้ากากซึ่งอาจจะปนเปื้อนเชื้อโรค การใส่หรือถอด หน้ากากอนามัยควรล้างมือให้สะอาดก่อนเสมอ ควรฉีกหรือตัดทำลายหน้ากากให้หมดสภาพก่อนนำไปทิ้งในที่ ที่เหมาะสม เนื่องจากมีข่าวการนำหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วนำมาขายซ้ำ
การใส่หน้ากากอนามัยแทบไม่มีประโยชน์ในการป้องกันไวรัส ถ้าไม่ได้อยู่ในที่แออัดซึ่งอาจถูกละอองฝอย กระเด็นมาโดนหน้า ดังนั้นการล้างมือบ่อยๆและการหลีกเลี่ยงไปในสถานที่เสี่ยงหรือคนแออัด รวมถึงพยายาม หลีกเลี่ยงการเอามือมาขยี้หรือเกาที่ใบหน้า จมูก ปากจึงมีประโยชน์ในการป้องกันการติดเชื้อได้ดีกว่า

S__4497543