COVID-19 (ตอนที่7)
ในที่สุดองค์การอนามัยโลกก็ได้ประกาศให้ COVID-19 เป็นโรคระบาดใหญ่ทั่วโลก (Pandemic) เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2563 จากการที่มีการกระจายไปมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก มีผู้ติดเชื้อจำนวนมากและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมีผู้ติดเชื้อที่อาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตมากกว่า 4,000 รายทั่วโลก
ประเทศจีนได้แสดงให้เห็นถึงการควบคุมโรคให้ลดลงในช่วงเวลาไม่นานโดยใช้มาตรการ social distancing หรือการจำกัดการเดินทางของประชาชน รวมถึงการแยกผู้ติดเชื้อ ในขณะที่องค์การอนามัยโลกได้แถลงการณ์ ตำหนิการดำเนินการที่ล่าช้าในบางประเทศ ส่งผลให้การติดเชื้อในประเทศเพิ่มสูงอย่างรวดเร็วและมีผู้ติดเชื้อ กระจายออกนอกประเทศอีกจำนวนมาก ตัวอย่างจากประเทศจีนถูกนำไปใช้ในหลายพื้นที่ ร่วมกับการรณรงค์ ลดการสัมผัสโรคที่ติดต่อได้อย่างง่ายจากการสัมผัสสิ่งที่ปนเปื้อน ทั้งสิ่งของ พื้นผิวต่างๆ รวมทั้งตัวผู้ที่มีเชื้อไวรัส อยู่โดยที่ยังไม่มีอาการ
มาตรการการจำกัดการเดินทางออกนอกบ้านถูกนำไปใช้ในอิตาลี แม้ว่าจะถูกมองว่าล่าช้าเกินไปก็ตาม ในยุโรป หลายประเทศมีมาตรการในการหลีกเลี่ยงการจับมือทักทายตามปกติ สื่อท้องถิ่นของสหราชอาณาจักรได้ เผยแพร่ภาพเจ้าชายชาร์ลส์แห่งเวลส์ มกุฎราชกุมารแห่งราชวงศ์อังกฤษทรงไหว้ทักทายแทนการจับมือขณะ ร่วมงานสำคัญของเครือจักรภพที่จัดขึ้น ณ โบสถ์เวสมินสเตอร์ในกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 9 มีนาคม ที่ผ่านมา ในขณะที่สหรัฐอเมริกาประกาศห้ามผู้ที่เดินทางจากยุโรปเข้าประเทศ หลังจากสถานการณ์โรคในสหรัฐอเมริกา ยังคงน่าเป็นห่วง มีผู้ติดเชื้อ 1,388 ราย เสียชีวิต 38 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 12 มีนาคม 2563 ตามเวลาประเทศ ไทย) ซึ่งในจำนวนผู้ติดเชื้อนี้มีนักการเมืองระดับสูง นักกีฬาชื่อดังและดาราฮอลลีวูดร่วมอยู่ด้วย ทั้งนี้การติดเชื้อ ดังกล่าวเกิดจากการเดินทางทางเครื่องบินและการร่วมกิจกรรมในที่มีผู้คนแออัด
การกระจายของโรคติดเชื้อมี 4 ระดับคือ
1. Endemic หรือโรคประจำถิ่น คือโรคที่เกิดขึ้นประจำในพื้นที่นั้น มีอัตราป่วยคงที่ในแต่ละปีและสามารถ คาดการณ์ได้ในแต่ละปี และช่วงฤดูกาล โดยขอบเขตของพื้นที่อาจเป็นเมือง ภาค ประเทศ หรือทวีป ยกตัวอย่างเช่นไข้เลือดออกในประเทศไทย ไข้มาลาเรียในทวีปแอฟริกา
2. Outbreak หรือการระบาด คือเหตุการณ์ที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นผิดปกติ เช่นการระบาดของไข้เลือดออกในปี 2562 หรือในกรณีโรคอุบัติใหม่ ถึงแม้จะมีผู้ป่วยเพียงรายเดียว เช่นโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในเมืองอู่ฮั่น
3. Epidemic หรือโรคระบาด คือการระบาดที่แพร่กระจายกว้างขึ้นในเชิงภูมิศาสตร์ เช่น โรคอีโบลาที่ระบาด ในทวีปแอฟริกาตะวันตกในปี 2557-2559 การระบาดของ COVID-19 ที่เริ่มต้นในประเทศจีน และต่อมามีการ ระบาดมายังประเทศอื่นในทวีปเอเชีย
4. Pandemic หรือการระบาดใหญ่ทั่วโลก เช่นการระบาดของไข้หวัดใหญ่ในสเปนปี 2461 การระบาดของ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และล่าสุดการระบาดของ COVID-19 ในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก
ปัจจัยที่มีผลต่อการระบาดเป็นวงกว้างมากน้อยขึ้นอยู่กับความสามารถในการติดต่อของเชื้อ โรคที่ติดต่อได้ง่าย โดยกระจายเป็นฝอยละอองขนาดเล็กในอากาศ (airborne) เช่น หัด ไข้สุกใส สามารถเกิดการติดต่อเป็นวง กว้างได้อย่างรวดเร็ว ปัจจัยอีกอย่างคือการเดินทางโดยทางเครื่องบิน ซึ่งทำให้ปัจจุบันการติดต่อขยายวงข้าม ทวีปเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว การระบาดของ COVID-19 เป็นการติดต่อโดยทางละอองฝอยขนาดใหญ่ (droplet) และทางการสัมผัส (contact) เชื้อที่ออกมากับน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ สารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อปนเปื้อนอยู่ตาม พื้นผิว วัสดุต่างๆ เมื่อมีคนไปสัมผัสเชื้อเปื้อนมือและขยี้ตา จมูก หรือทางปาก เป็นช่องทางให้เชื้อเข้าสู่ร่างกาย ได้ ปัจจัยเพิ่มเติมอีกอย่างของ COVID-19 คือผู้ติดเชื้อหลายรายมีอาการไม่รุนแรง หลังการติดเชื้อผู้ติดเชื้อบาง รายมีแค่อาการไอเพียงเล็กน้อยโดยที่อาจไม่มีอาการไข้ โดยเฉพาะในการติดเชื้อระยะแรก การที่อาการไม่ เด่นชัดอาจทำให้ไม่ทราบว่าติดเชื้อและสามารถแพร่สู่ผู้อื่นได้
วันนี้ (12 มีนาคม 2563) สาธารณสุขไทยได้แถลงว่าพบผู้ติดเชื้อเพิ่มอีก 11 ราย โดยผู้ปว่ยทั้งหมดเป็นชาวไทย ติดเชื้อจากการไปสังสรรค์กับเพื่อนที่เดินทางมาจากฮ่องกง โดยเป็นการสังสรรค์ที่สถานบันเทิงแห่งหนึ่ง มีการ กินดื่มร่วมกัน ดื่มน้ำแก้วเดียวกัน สูบบุหรี่มวนเดียวกัน และอยู่ในสถานที่จำกัด จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ยืนยันว่า ผู้ที่ติดเชื้อไม่จำเป็นต้องมีไข้สูง อาการรุนแรง เหนื่อยหอบ เหมือนกันทุกราย ผู้ที่ร่างกายแข็งแรงอาจมีอาการ เพียงเล็กน้อยแต่สามารถแพร่เชื้อได้ และเป็นการยืนยันมาตรการของสาธารณสุขในการขอความร่วมมือ หลีกเลี่ยงการเข้าไปในที่ผู้คนแออัด หลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มีผู้คนเข้าร่วมจำนวนมาก อีกทั้งเป็นการเน้นย้ำ ว่าผู้ติดเชื้อที่มีอาการสงสัยเนื่องจากมีประวัติเสี่ยง หากรีบเข้ารับการตรวจรักษาในโรงพยาบาลและให้ประวัติ ตามความเป็นจริง ประเทศไทยสามารถจะยืนยันการติดเชื้อและแยกผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จากการที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มเติมอีก 11 รายในวันนี้ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อสะสมในประเทศไทยวันที่ 12 มีนาคม 2563 รวม 70 ราย รักษาหาย 35 ราย เสียชีวิต 1 ราย และอาการรุนแรงยังคงรักษาตัวในโรงพยาบาล 1 ราย
ตัวเลขที่เป็นทางการนี้ ถือว่าประเทศไทยยังคงอยู่ในระยะที่สองของการระบาด มีผู้ป่วยในวงจำกัด ส่วนใหญ่ ได้รับเชื้อจากต่างประเทศ หรือใกล้ชิดกับผู้ที่เดินทางมาจากประเทศพื้นที่เสี่ยง มีการควบคุมติดตามผู้ติดเชื้อได้ อย่างไรก็ตาม ข่าวที่มีผู้ติดเชื้อในที่สาธารณะเพิ่มมากขึ้นอาจเป็นสัญญาณที่บอกว่า COVID-19 อยู่ใกล้ตวั มากกว่าที่เราคิด แนวโน้มการยกระดับเข้าสู่ระยะที่สามของการระบาดเป็นเรื่องที่มีความเป็นไปได้สูง การให้ ร่วมมือกันในการช่วยควบคุม ปฏิบัติตามคำแนะนำของสาธารณสุขเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการหยุดยั้งหรือ ชะลอการระบาดวงกว้างดังกล่าวแล้ว
13
มี.ค.