COVID-19 (ตอนที่6)
ขณะที่สถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID-19 แพร่กระจายไปในหลายประเทศทั่วโลก สถานการณ์ในจีน เริ่มคลี่คลายลง โรงพยาบาลชั่วคราวที่รับผู้ป่วยที่ติดเชื้อปิดตัวลงหมดแล้วทั้ง 14 แห่ง
หลังการระบาดอย่างรวดเร็วของไวรัส COVID-19 ทั่วแผ่นดนิจีน รวมไปถึงฮ่องกงและมาเก๊าในช่วงเดือน มกราคมและกุมภาพันธ์ 2563 จีนได้ใช้มาตรการต่างๆในการควบคุมการระบาด จนในเดือนมีนาคม ยอดผู้ติด เชื้อรายใหม่ของจีนลดลงเหลือวันละประมาณร้อยกว่าคน จากที่เคยมีการติดต่อสูงถึง 2,500 คนในวันเดียว มาตรการของจีนหลักๆเริ่มจากการจำกัดการเดินทางของชาวจีนหลายร้อยล้านคนในพื้นที่มีการระบาด จีน ประกาศปิดเมืองอู่ฮั่นเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2563 มีการสร้างโรงพยาบาลชั่วคราวเพื่อใช้เฉพาะในการควบคุม โรค การติดตามเฝ้าระวังผู้ที่มีประวัติใกล้ชิดผู้ป่วย การกักบริเวณ และการดูแลสุขอนามัยพื้นฐาน เช่นการล้าง มือ การสวมหน้ากากอนามัย ที่สำคัญอีกอย่างคือมาตรการระยะห่างทางสังคม (Social distancing) โดยการ จำกัดคนหลายร้อยล้านคนให้อยู่กับบ้าน ซึ่งอาจไม่สามารถทำได้โดยง่ายในประเทศอื่น นอกจากนี้จีนได้ใช้ เทคโนโลยีช่วยโดยการพัฒนาโปรแกรมบนสมาร์ทโฟน ที่พัฒนาโดย Alibaba ในการตรวจสอบภาวะสุขภาพ ของประชาชน โดยโปรแกรมนี้ช่วยรัฐบาลในการติดตามการเคลื่อนไหวของคนในแต่ละพื้นที่ ระบุสีของคนที่อยู่ ในพื้นที่ปลอดภัยแยกจากคนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง การแยกผู้ป่วยเข้ารับการรักษาทันที มาตรการต่างๆเหล่านี้ย่อม สำเร็จได้ด้วยความเด็ดขาด รวดเร็ว และการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ
ในขณะเดียวกัน ในเดือนมีนาคม 2563 การระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ยุโรปดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ยอด ผู้ป่วยสะสมทั่วโลกนอกประเทศจีน 10 อันดับแรกเป็นประเทศในยุโรป 5 ประเทศ เนื่องจากเป็นพื้นที่หลาย ประเทศอยู่ติดกัน ผู้ติดเชื้อในอิตาลีมีมากกว่า 10,000 ราย ยอดผู้ติดเชื้อในเยอรมนี ฝรั่งเศส และสเปนเพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว แม้แต่รัฐมนตรีด้านสาธารณสุขของอังกฤษก็ติดเชื้อไวรัสนี้ บุคคลระดับสูงหลายคนติดเชื้อจากการ ร่วมประชุม ส่วนในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประกาศภาวะฉุกเฉินในหลายรัฐ มียอดผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเพิ่ม อย่างรวดเร็ว แม้กระทั่งประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ก็ถูกจับตาว่าติดเชื้อนี้หรือไม่ หลังจากพบว่าได้มีการสัมผัส มือกับสส.รายหนึ่งในการประชุมร่วมกัน และสส.คนดังกล่าวขณะนี้ตรวจพบการติดเชื้อ
ยอดผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลกขณะนี้รวม 121,487 ราย เสียชีวิตแล้วกว่า 4,000 ราย ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อที่ยืนยัน แล้ว 59 ราย รักษาหายแล้ว 34 ราย เสียชีวิต 1 ราย อาการรุนแรง 1 ราย
ผู้ป่วยยืนยันในประเทศไทยที่เพิ่มขึ้นอีก 6 รายจากเมื่อวานนี้ โดยเป็นคนไทย 5 ราย ทำงานที่สนามบินสุวรรณ ภูมิ 2 ราย มีประวัติเดินทางกลับจากญี่ปุ่น 1 ราย เดินทางกลับจากเกาหลีใต้ 1 ราย อีก 1 ไม่มีประวัติการ เดินทาง รายสุดท้ายเป็นชาวสิงคโปร์ จากรายละเอียดของผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั้ง 6 ราย ถึงแม้จะไม่ได้ทำให้ยอดผู้ ติดเชื้อในประเทศไทยเพิ่มสูงเหมือนในยุโรป แต่ก็แสดงให้เห็นว่ามีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ระยะที่ 3 รัฐบาลจึงมีความ
พยายามอย่างมากในการที่จะหยุดหรือชะลอไว้ให้นานที่สุด อย่างน้อยเมื่อมีข้อมูลเกี่ยวกับโรคอุบัติใหม่นี้ เพิ่มขึ้น มีแนวทางการรักษาที่ชัดเจนขึ้น มียาหรือวัคซีนที่ใช้ได้ผลดี ก็จะลดความสูญเสียได้
ผู้ที่เกี่ยวข้องทางสาธารณสุขและหลายภาคส่วนให้ความร่วมมือ เข้มงวดในแนวทางการปฏิบัติมากขึ้น โดยเน้น ไปที่การเดินทางผ่านเข้าออกที่สนามบินและการควบคุมโรคผู้ที่มีความเสี่ยงหรือสงสัยว่าติดเชื้อ วันนี้รัฐบาลได้ ประกาศยกเลิกผ่อนผันการทำวีซ่าก่อนเข้าประเทศ (Visa on arrival) ใน 18 ประเทศที่มีความเสี่ยง ยกเลิกการ ผ่านเข้าออกโดยไม่ต้องใช้วีซ่า (Visa free) โดยเฉพาะจีน เกาหลี ฮ่องกง จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ปกติ ชาวต่างชาติจากประเทศเสี่ยงเข้าประเทศไทยจะต้องผ่านการตรวจเช็คทุกรายและให้สังเกตอาการที่โรงแรมโน โวเทล สุวรรณภูมิจนกว่าแน่ใจว่าไม่ติดเชื้อ และเนื่องจากผู้ติดเชื้อใหม่ที่พบเป็นผู้ทำงานที่สนามบินจึงให้มีการ พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อในทุกพื้นที่ของสนามบินสุวรรณภูมิ การเข้มงวดในการผ่านเข้าออกของผู้เดินทางย่อมส่งผลต่อ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างมหาศาล แต่ทั้งนี้รัฐบาลได้มองเห็นถึงความจำเป็นในการควบคุมโรคเพื่อให้ สถานการณ์สงบลงโดยเร็วที่สุด มิฉะนั้นอาจเกิดความเสียหายรุนแรงและใช้กินเวลานานได้
ที่ศูนย์สัตหีบ สถานที่ควบคุมดูอาการให้ยกเลิกไปเนื่องจากเกรงว่าจะมีการระบาดเป็นวงกว้างจากการอยู่ รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ โดยเปลี่ยนเป็นการให้สังเกตอาการที่ที่พักได้ ทั้งนี้ได้ให้ทางมหาดไทยช่วยเหลือในการ ดูแลผู้ที่มีความเสี่ยงให้อยู่ในพื้นที่ มีการกำหนดโทษตามกฎหมายหากฝ่าฝืน โดยได้กำชับแนวทางการปฏิบ้ติ สำหรับผู้ที่สังเกตอาการและเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ติดตามดูแลอย่างชัดเจน โดยมาตรการสำคัญที่เน้น ในบุคคลที่ผ่านเข้าประเทศ รวมถึงคนไทย ได้แก่การแจ้งข้อมูลเดินทาง ข้อมูลอาการป่วย จากนั้นเข้าสู่การคัด กรอง ในกรณีไม่มีอาการจะให้สังเกตอาการที่บ้านเป็นเวลา 14 วันโดยมีเจ้าที่ที่ได้รับมอบหมายในแต่ละพื้นที่ ดูแลและให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด ให้อยู่ห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 2 เมตร ไมใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น ให้ล้างมือบ่อย เพื่อระวังไม่ให้เชื้อปนเปื้อนตามที่ต่างๆ เน้นการล้างมือที่ถูกต้อง 7 ขั้นตอนเป็นเวลานานอย่างน้อย 20 นาที หากมีอาการไอ จาม ให้ใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง ให้รายงานตัวและแจ้งข้อมูลสุขภาพ ประจำวันแก่เจ้าหน้าที่ อสม.หรือเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ในพื้นที่ หากมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อเข้า สู่ระบบการตรวจรักษาต่อไป
มาตรการต่างๆของประเทศไทยอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ของโรค เนื่องจากขณะนี้การ แพร่กระจายของเชื้อยังไม่หยุดนิ่ง และยังมีข้อมูลใหม่ๆเกี่ยวกับไวรัสอุบัติใหม่นี้เพิ่มเติมมาเรื่อยๆ รัฐบาลได้มี การติดตามสถานการณ์โดยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน เพื่อเฝ้าระวังการแพร่กระจายของเชื้ออย่างใกล้ชิด สถานการณ์ปัจจุบันยังคงต้องเฝ้าระวังป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ตัวอย่างเช่นในเวียดนามที่มี การเกิด Super spreader จากผู้ติดเชื้อที่เดินทางไปในหลายพื้นที่เสี่ยงและกลับมาทำให้เกิดการติดเชื้อเพิ่ม หลายราย ทั้งนี้ความร่วมมือของภาคประชาชนในการปฏิบัติตามคำแนะนำของสาธารณสุขไทยดูจะเป็นปัจจัยที่ สำคัญที่สุดในการผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้

S__4497553