แนะนำอาวุธเพื่อนบ้าน จรวดนำวิถีต่อสู้อากาศยานทางดิ่งแบบไมกา
พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์
กองทัพเรือมาเลเซีย (RMN) มีโครงการต่อเรือฟรีเกตจรวดนำวิถีชั้นโกวินด์ (Gowind) จำนวน ๖ ลำ เป็นเงิน ๒.๘ พันล้านเหรียญสหรัฐ (ราคาต่อลำเป็นเงิน ๔๖๖ ล้านเหรียญสหรัฐ) เป็นเทคโนโลยีจากประเทศฝรั่งเศส โดยต่อจากอู่ต่อเรือประเทศมาเลเซีย (ลูมุท รัฐเปรัค) ข้อมูลที่สำคัญคือ ขนาด ๓,๑๐๐ ตัน ยาว ๑๑๑ เมตร เครื่องยนต์ (CODAD) ความเร็ว ๒๘ นอต ระยะปฏิบัติการ ๙,๓๐๐ กิโลเมตร ปืนหลักขนาด ๕๗ มิลลิเมตร ปืนกล ขนาด ๓๐ มิลลิเมตร (๒ กระบอก) จรวดนำวิถีต่อสู้อากาศยานแท่นยิงทางดิ่งไมกา (VL MICA) จำนวน ๑๖ ท่อยิง ตอร์ปิโดชิดสามท่อยิง (๒ แท่นยิง) ปฏิบัติการนาน ๒๑ วัน ลูกเรือ ๑๓๘ นาย และเฮลิคอปเตอร์ทางนาวีแบบซูเปอร์ลิงซ์ (Super Lynx) รวม ๑ เครื่อง พร้อมด้วยอากาศยานไร้นักบิน (UAV) จำนวน ๑ เครื่อง (Scan Eagle) เรือลำแรกชื่อ มหาราชา ลีลา (Maharaja Lela No.2501) ปล่อยลงน้ำ เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๐ ต่อเรือรบอีก ๕ ลำ คือเรือลำที่สอง (Syarif Masahor No.2502) เรือลำที่สาม (Raja Mahadi No.2503) เรือลำที่สี่ (Mat Salleh,No.2504) เรือลำที่ห้า (Tok Janggut, No.2505) และ เรือลำที่หก (Mat Kilau, No.2506) เป็นเรือรบประเภทเรือล่องหน
จรวดนำวิถีต่อสู้อากาศยานทางดิ่งไมกา (VL MICA) พัฒนามาจากจรวดนำวิถีพิสัยกางอากาศสู่อากาศ แบบไมกา (MICA) สำหรับติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่แบบมิราจ ๒๐๐๐ (Mirage 2000) และเครื่องบินขับไล่แบบ ราฟาล (Rafale) ข้อมูลที่สำคัญคือ น้ำหนัก ๑๑๒ กิโลกรัม ยาว ๓.๑ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๖๐ มิลลิเมตร หัวรบหนัก 12 กิโลกรัม ความเร็ว ๓.๐ มัค ระยะยิงอากาศสู่อากาศ ๕๐๐ – ๘๐,๐๐๐ เมตร (ติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่) ระยะยิงทาง ๒๐,๐๐๐ เมตร และระยะยิงทางดิ่งสูง ๙,๐๐๐ เมตร กองทัพอากาศฝรั่งเศส ประจำการปี พ.ศ.๒๕๓๙ มิตรประเทศฝรั่งเศสประจำการ (รุ่นแท่นยิงทางดิ่ง/VL) รวม ๙ ประเทศ กลุ่มประเทศอาเซียนประจำการคือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และไทย ผลิตรุ่นหลักที่สำคัญรวม ๒ รุ่น คือ รุ่นนำวิถีด้วยอินฟราเรด (MICA IR) และรุ่นนำวิถีด้วยเรดาร์ (MICA RF) ต่อมาได้พัฒนาติดตั้งกับเรือรบเป็นแท่นยิงทางดิ่ง (VL MICA-M) ในภารกิจป้องกันภัยทางอากาศให้กับเรือรบ (เรือคอร์เวตจรวดนำวิถี และเรือ ฟรีเกตจรวดนำวิถี) ทำการยิงทดสอบต่อเป้าหมายทางอากาศประสบความสำเร็จ เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๑ ต่อมาทำการยิงทดสอบอีก ๑๔ ครั้ง มีความแม่นยำสูงมาก ได้พัฒนารุ่นติดตั้งกับยานยนต์ชนิดล้อสำหรับภารกิจป้องกันภัยทางอากาศในพื้นที่การรบ มีส่วนประกอบคือ ระบบควบคุมการยิงระบบเรดาร์ และแท่นยิงลูกจรวด (มี ๔ ท่อยิง) เป็นจรวดนำวิถีต่อสู้อากาศยานชนิดอัตตาจรมีความคล่องตัวทางยุทธวิธีอย่างมาก
กองทัพเรือสิงคโปร์ประจำการด้วยเรือปฏิบัติการใกล้ฝั่ง (LMV: Littoral Mission Vessel) เรือในชั้นอินดิเพนเดนซ์ (Independence) เป็นเทคโนโลยีจากประเทศสวีเดนจากอู่ต่อประเทศสิงคโปร์ (ST. Marine) ข้อมูลที่สำคัญคือ ขนาด ๑,๒๐๐ ตัน เรือยาว 80 เมตร เครื่องยนต์ (CODAD) ปืนหลักขนาด 76 มิลลิเมตร(Super Rapid) ปืนกลขนาด มิลลิเมตร ปืนกลขนาด ๑๒.๗ มิลลิเมตร (รวม ๒ กระบอก) จรวดนำวิถีต่อสู้อากาศยานแท่นยิงทางดิ่งไมกา (VL MICA) จำนวน ๑๒ ท่อยิง ความเร็ว ๒๗ นอต และเจ้าหน้าที่ประจำเรือ ๒๓ นาย ประจำการรวม ๘ ลำ ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๖๓ เป็นเรือรบประเภทล่องหนประจำการทดแทน
เรือตรวจการณ์จรวดนำวิถีชั้นเฟียเลส (Fearless) เป็นเรือรบเก่า ขนาด ๕๐๐ ตัน ประจำการ จำนวน ๑๒ ลำ เรือรบลำแรกประจำการปี พ.ศ.๒๕๓๙ ประจำการมานานกำลังจะล้าสมัย ได้ทยอยปลดประจำการ โดยเรือรบชุดสุดท้ายปลดประจำการรวม ๓ ลำ เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๒
กองทัพเรืออินโดนีเซีย (TNI – AL) ประจำการด้วยเรือฟรีเกตจรวดนำวิถีชั้นซิ๊กม่า (Sigma – 10514) เป็นเทคโนโลยีจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ข้อมูลที่สำคัญคือ ขนาด ๒,๓๖๕ ตัน ยาว ๑๐๕.๑ เมตร เครื่องยนต์(CODOE) ปืนหลักขนาด ๗๖ มิลลิเมตร (Super Rapid) ปืนกลขนาด ๒๐ มิลลิเมตร (รวม ๒ กระบอก) จรวดนำวิถีต่อสู้อากาศยานแท่นยิงทางดิ่งไมกา (VL MICA รวม ๑๒ ท่อยิง) ตอร์ปิโดชนิดสามท่อยิง (๒ แท่นยิง) แบบเอ – เอส (A244-S Mod.3) จรวดนำวิถีเรือสู่เรือแบบเอ็กโซเซต์ (Exocet MM – 40 Blk – III รวม ๘ ท่อยิง) ความเร็ว ๒๘ นอต ระยะปฏิบัติการ ๖,๗๐๐ กิโลเมตร ปฏิบัติการนาน ๒๐ วัน เฮลิคอปเตอร์ทางนาวี (AS – 565 Panther จำนวน ๑ เครื่อง) และเจ้าหน้าที่ประจำเรือ ๑๒๒ นาย ประจำการรวม ๒ ลำ คือเรือ ลำแรก (KRI Raden Eddy Martadinata, No.331) ประจำการวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๐ และเรือลำที่สอง(KRI. I Gusti Ngurah Rai, No.332) ประจำการวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๑ เป็นเรือฟรีเกตล่องหนต่อจากอู่ต่อเรือที่เมืองสุราบายา (PT PAL) เกาะชวา
กองทัพบกไทย (RTA) ประจำการด้วยจรวดไมกาทางดิ่ง (VL MICA) ชนิดติดตั้งกับยานยนต์ชนิดล้อ สำหรับป้องกันภัยภาคพื้นดินประจำการที่หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบกเมื่อปลาย ปี พ.ศ.2562
………………………………………………………..
บรรณานุกรม
- https://en.wikipedia.org/wiki/MICA_(missile)
- https://en.wikipedia.org/wiki/Maharaja_Lela-class_frigate
- https://en.wikipedia.org/wiki/Malaysian_Navy
- https://en.wikipedia.org/wiki/Indonesian_Navy
- https://en.wikipedia.org/wiki/Republic_of_Singapore_Navy
- https://en.wikipedia.org/wiki/Martadinata-class_frigate
- https://en.wikipedia.org/wiki/Royal_Thai_Army
- THE WORLD DEFENCE ALMANAC 2015.
…………………………………………………
จรวดนำวิถีต่อสู้อากาศยานแบบไมกา (MICA) ติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่แบบมิราจ ๒๐๐๐ (Mirage 2000) ข้อมูลที่สำคัญ น้ำหนัก ๑๑๒ กิโลกรัม ยาว ๓.๑ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลูกจรวด ๑๖๐ มิลลิเมตร ความเร็ว ๓.๐ มัค นำวิถีด้วยเรดาร์ และระยะยิง ๕๐๐ – ๘๐,๐๐๐ เมตร
แท่นยิงจรวดนำวิถีต่อสู้อากาศยานแบบไมกา (MICA) แท่นยิงทางดิ่ง ติดตั้งกับเรือรบ
ภาพกราฟฟิกจรวดนำวิถีต่อสู้อากาศยานแบบไมกา (MICA) แท่นยิงทางดิ่ง ติดตั้งกับเรือรบใช้ต่อต้านเครื่องบินรบของฝ่ายข้าศึกในหลายระดับความสูง
เรือฟรีเกตจรวดนำวิถีราเดน เอ็ดดี มาร์ทาดินาต้า (KRI Raden Eddy Martadinata, No.331) กองทัพเรืออินโดนีเซีย ประจำการวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ มีระวางขับน้ำขนาด ๒,๓๖๕ ตัน ปืนหลัก ๗๖มิลลิเมตร (Super Rapid) จรวดนำวิถีต่อสู้อากาศยานแท่นยิงทางดิ่งไมกา (VL MICA รวม ๑๒ ท่อยิง) เป็นเรือรบประเภทล่องหน
จรวดนำวิถีต่อสู้อากาศยานแบบไมกาทางดิ่ง (VL MICA) ตั้งกับยานยนต์ชนิดล้อ สำหรับป้องกันภัยภาคพื้นดิน ประจำการที่หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก เมื่อปลาย ปี พ.ศ.๒๕๖๒