ด้านศิลปะ
ในรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นช่วงเวลาที่งานด้านศิลปกรรมแขนงต่าง ๆมีการพัฒนาอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงส่งเสริมและทำนุบำรุงอย่างยิ่งใหญ่แล้วที่โดดเด่นคือการเกิดรูปแบบของศิลปะที่เรียกว่า “สถาปัตยกรรมแบบพระราชนิยม” ขึ้นคือเป็นศิลปะหรือสถาปัตยกรรมที่ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นำศิลปะแบบจีนมาผสมผสานกับศิลปะแบบไทยอย่างกลมกลืน ซึ่งส่วนใหญ่จะปรากฏในอาคารที่เป็นพระอุโบสถและพระวิหารเป็นสำคัญ เช่น วัดเทพธิดารามวรวิหาร วัดราชโอรสาราม วัดพิชัยญาติการามวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร เป็นต้นโดยเหตุที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญกับการสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามงานศิลปกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาจึงได้รับการส่งเสริมเนื่องกัน เช่น การประดับกระจกสีในรัชกาลนี้มีการตั้งกรมช่างกระจก ผลิตกระจกเพื่องานประดับ มีการประดิษฐ์กระจกรูปแบบใหม่ๆ คือ ประดับกระจกเป็นพื้นลายแทนเขียนลวดลายปิดทองรดน้ำ ประดับกระจกลายลงยา ประดับกระจกหน้าบันเครื่องช่อฟ้าใบระกา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงงานทำกระจกสีอยู่ท้ายวัดสังข์กระจายติดกับวัดราชสิทธารามอยู่ภายใต้การดูแลของเจ้ากรมช่างกระจกนอกจากนี้ ยังโปรดให้ตั้งโรงทำเครื่องกระเบื้องเคลือบและกรมช่างเคลือบขึ้นอีกด้วย กล่าวได้ว่า ในรัชกาลนี้มีการส่งเสริมและอุปถัมภ์ช่างทั้งชาวจีน ชาวไทยอย่างเหมาะสมกับความสามารถและหน้าที่การงานดังปรากฏในเพลงยาวสรรเสริญพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวของนายมี มหาดเล็ก ที่ว่า
“…พวกช่างจีนสินจ้างรางวัลเพิ่มช่างไทย
เดิมเบี้ยหวัดล้วนจัดสรรบ้างเลื่อนที่มีนาม
ขึ้นตามกันทั้งช่างปั้นเขียนถากสลักกลึง…”
การทำนุบำรุงเศรษฐกิจ
การว่าราชการกรมท่า กรมท่าคือหน่วยงานสำคัญในระบบราชการช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น และมีความสำคัญต่อโครงสร้างเศรษฐกิจของไทยในยุคนั้น เจ้ากรมมีอำนาจหน้าที่ดูแลกิจการคลัง ดูแลหัวเมืองชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก หัวเมืองชายฝั่งทะเลภาคใต้ การต่างประเทศทั้งการพาณิชย์ในตลาดต่างประเทศ ผู้มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบคือเจ้าพระยาพระคลัง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงแต่งตั้งเจ้านายทรงกรมกำกับราชการกรมสำคัญๆ ควบคู่ไปกับเสนาบดีเดิม เฉพาะกรมท่า ทรงมอบหมายให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อทรงดำรงพระอิสริยยศกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ทรงดูแลกำกับ เป็นผลให้กรมท่ามีความเจริญมาก ประสบผลสำเร็จมีรายได้หลักจากการค้ากับต่างประเทศมาบำรุงประเทศ คาดว่าการค้าในประเทศจะต้องมีความเคลื่อนไหวตามกันไปด้วยประสบการณ์ครั้งที่ทรงกำกับราชการกรมท่าจึงน่าจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระราชหฤทัยในหลักการค้าขายการแสวงหากำไรและการหารายได้ให้แก่รัฐอย่างเพียงพอและในรัชสมัยของพระองค์อาจกล่าวได้ว่าการค้าขายกับต่างประเทศมีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

 

การทำนุบำรุงการเกษตรและการอุตสาหกรรม

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสนพระทัยในเรื่องของการปลูกข้าวมาก เพราะนอกจากจะเป็นอาหารหลักของพลเมืองทั้งประเทศแล้วยังเป็นสินค้าออกที่สำคัญ ทรงส่งเสริมการปลูกข้าวด้วยวิธีการหลายอย่าง เช่น ให้เจ้าเมืองรายงานปริมาณน้ำฝนและสภาพการปลูกพืชผลในแต่ละเมืองมายังส่วนกลางอย่างสม่ำเสมอเพื่อทรงรับทราบจำนวนผลผลิตและปัญหาที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณน้ำว่ามากหรือน้อยในแต่ละปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดฯ ให้สร้างเสาหินวัดระดับน้ำประจำปีที่แม่น้ำเจ้าพระยาเมืองกรุงเก่า เมื่อพุทธศักราช ๒๓๗๔ มีการวัดระดับน้ำเพื่อเก็บสถิติ จนถึงพุทธศักราช ๒๔๙๖ จึงได้เลิกไปนโยบายการเร่งรัดผลผลิตนี้ รัฐส่งเสริมให้ชาวนาทำนาปีละ ๒ ครั้ง เพื่อให้ได้ผลผลิตมากถ้าพื้นที่ใดยังรกร้างว่างเปล่าก็ให้เจ้าเมืองกรมการเมืองคิดหาทางเพาะปลูกให้เกิดประโยชน์ ทรงใช้วิธีการสร้างกำลังผลิตให้เพิ่มมากขึ้นโดยอาศัยครัวเชลยที่กวาดต้อนมา เช่นชาวลาวที่เข้ามาอยู่ในไทยภายหลังการปราบปรามกบฏเจ้าอนุวงศ์มาเป็นแรงงานปลูกข้าวและพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ไม่เพียงแต่รัฐจะส่งเสริมการปลูกข้าว แต่ยังส่งเสริมการปลูกอ้อยและพริกไทย ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยในเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงมีแนวพระราชดำริเรื่องการปลูกพืชทดแทนหรือส่งเสริมการเพาะปลูกพืชผลที่จะเป็นรายได้ให้แก่เกษตรกร ท้องที่ใดที่มีภูมิอากาศที่เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชผลใดก็จะส่งเสริมให้ปลูกพืชผลนั้น เช่นการปลูกทุเรียนที่นครนายก การปลูกดีปลีที่ลพบุรี เป็นต้นผลผลิตที่ได้จะขายเพื่อนำเงินเข้าท้องพระคลังหลวงส่วนการส่งเสริมการอุตสาหกรรมในรัชกาลนี้ที่มีการผลิตอย่างเป็นล่ำเป็นสันและทำรายได้ให้แก่รัฐอย่างเป็นกอบเป็นกำมี ๓ประเภท คือ อุตสาหกรรมการทำน้ำตาลทรายมีโรงงาตั้งอยู่มากมายริมแม่น้ำบางปะกงและท่าจีนอุตสาหกรรมการต่อเรือ มีอู่ต่อเรือสำเภาขนาดใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะบริเวณปากคลองผดุงกรุงเกษมจนถึงบางคอแหลมและบริเวณชายฝั่งทะเลทั้งทางตะวันออกและทางใต้และอุตสาหกรรมการทำเหมืองแร่อุตสาหกรรมทั้ง ๓ ประเภทนี้ เป็นผลจากการส่งเสริมการเกษตรและการค้าขายกับต่างประเทศกล่าวคือ การส่งเสริมการปลูกอ้อยการปลูกทุเรียนที่นครนายก การปลูกดีปลีที่ลพบุรี เป็นต้น ผลผลิตที่ได้จะขายเพื่อนำเงินเข้าท้องพระคลังหลวงส่วนการส่งเสริมการอุตสาหกรรมในรัชกาลนี้ที่มีการผลิตอย่างเป็นล่ำเป็นสันและทำรายได้ให้แก่รัฐอย่างเป็นกอบเป็นกำมี ๓ ประเภท คือ อุตสาหกรรมการทำน้ำตาลทรายมีโรงงานตั้งอยู่มากมายริมแม่น้ำบางปะกงและท่าจีนอุตสาหกรรมการต่อเรือ มีอู่ต่อเรือสำเภาขนาดใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะบริเวณปากคลองผดุงกรุงเกษมจนถึงบางคอแหลมและบริเวณชายฝั่งทะเลทั้งทางตะวันออกและทางใต้และอุตสาหกรรมการทำเหมืองแร่อุตสาหกรรมทั้ง ๓ ประเภทนี้ เป็นผลจากการส่งเสริมการเกษตรและการค้าขายกับต่างประเทศกล่าวคือ การส่งเสริมการปลูกอ้อยทั้งทางด้านการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม ทั้งนี้ก็ด้วยพระบารมีปกเกล้าด้วยพระปรีชาสามารถและพระวิจารณญาณที่กว้างไกล พระราชภารกิจที่ทรงมีทำให้บ้านเมืองเปรียบเสมือนฐานแห่งความมั่นคงและความเจริญของประเทศที่ได้รับการบูรณาการโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในอีกหลายรัชกาลต่อมา จากการที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพระราชกรณียกิจเพื่อบ้านเมืองอย่างเต็มพระสติกำลังตลอดเวลาแห่งรัชกาล การที่ทรงได้รับการถวายพระราชสดุดีจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “ท่านเป็นหัวใจแผ่นดิน จึงเป็นเรื่องที่สมควรแก่การยอมรับอย่างยิ่ง