ในปัจจุบัน เรื่องลิขสิทธิ์เป็นเรื่องใกล้ตัวทุกคนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งลิขสิทธิ์ในสังคม Online ในลำดับแรก เรามาทำความเข้าใจกับคำว่าลิขสิทธิ์เสียก่อน คำว่า “ลิขสิทธิ์” คืองานสร้างสรรค์ที่กฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองโดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์ โดยไม่ต้องจดทะเบียนการที่ประเทศไทยถูกสหรัฐอเมริกาจัดให้อยู่ในบัญชีจับตาว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยเฉพาะการละเมิดลิขสิทธิ์ทาง Online ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการตัดสิทธิทางการค้าได้ รัฐบาลจึงได้ออกพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ๒)พ.ศ.๒๕๕๘ ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่วันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๘ พระราชบัญญัติฉบับนี้สร้างความสับสนอย่างมากแก่ผู้ที่อยู่ใน Social media ไม่ว่าจะเป็น Twitter, Facebook, Line หรือ Instargram เนื่องจากถ้อยคำในบทมาตราต่าง ๆ มีความไม่ชัดเจน ก่อให้เกิดปัญหาในข้อกฎหมายและปัญหาในทางปฏิบัติพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ๒)พ.ศ.๒๕๕๘ มีหลักการที่สำคัญคือ ให้ความคุ้มครองผู้ที่สร้างสรรค์ผลงานที่เผยแพร่งานทาง Internet ดังนั้น หากผู้ใช้ Social Mediaนำข้อมูลของผู้อื่นที่เป็นงานลิขสิทธิ์มาเผยแพร่ หรือนำไปใช้เพื่อประโยชน์ในทางการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก็อาจเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ อย่างไรก็ตามกฎหมายกำหนดให้ความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์เป็นความผิดอันยอมความกันได้สำหรับโทษของผู้ที่กระทำละเมิดลิขสิทธิ์ใน Social Media นั้น พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์(ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๘ กำหนดให้ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ หนึ่งหมื่นบาท ถึง หนึ่งแสนบาท แต่หากการกระทำละเมิดนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ในทางการค้าแล้ว ผู้กระทำก็ต้องระวางโทษหนักขึ้น คือจำคุกตั้งแต่ สามเดือนถึง สองปี หรือปรับตั้งแต่ ห้าหมื่นบาท ถึง สี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากโทษจำคุกและปรับดังกล่าวแล้ว

 

สิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ กฎหมายกำหนดให้ริบเสียทั้งสิ้น หรือในกรณีที่ศาลเห็นสมควร ศาลก็อาจสั่งให้ทำลายสิ่งนั้นด้วยก็ได้โดยผู้กระทำละเมิดต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการนั้น จะเห็นได้ว่า โทษตามพระราชบัญญัติฉบับนี้มีระวางโทษค่อนข้างสูงพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ๒)พ.ศ.๒๕๕๘ มีทั้งข้อดีและข้อน่าเป็นห่วงสำหรับข้อดีของพระราชบัญญัติฉบับนี้ ก็คือมีมาตรการที่เป็นประโยชน์ในการคุ้มครองลิขสิทธิ์ทาง Internet มากขึ้น โดยมีบทบัญญัติให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งไปยังผู้ให้บริการที่กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นผู้ให้บริการ Internet,ผู้ให้บริการมือถือ หรือองค์กรใดๆ เพื่อให้ลบข้อมูลการละเมิดลิขสิทธิ์นั้นออกได้ ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ในระบบ Computer ของกรมพระธรรมนูญซึ่งเป็นผู้ให้บริการ เช่นเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ Website ของกรมพระธรรมนูญ ได้ Post Clip ลงใน Website แล้วเจ้าของลิขสิทธิ์เห็นเข้าจึงไปร้องขอต่อศาลเพื่อขอให้มีคำสั่งระงับการละเมิดลิขสิทธิ์นั้น หากศาลเห็นสมควร ศาลก็จะสั่งให้กรมพระธรรมนูญถอด Clip นั้นออกจาก Website ได้ตามระยะเวลาที่ศาลกำหนด และเมื่อทำตามที่ศาลสั่งแล้ว กรมพระธรรมนูญก็จะไม่ต้องรับผิดเกี่ยวกับการกระทำที่อ้างว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์นั้น ข้อสำคัญ กรมพระธรรมนูญจะต้องไม่ใช่ผู้ควบคุม ริเริ่ม หรือสั่งการให้มีการละเมิดลิขสิทธิ์นั้นในระบบ Computer ของกรมพระธรรมนูญด้วย ส่วนผู้ Post Clip ยังคงต้องถูกดำเนินคดีต่อไปส่วนข้อที่น่าเป็นห่วงที่มีต่อพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๘มี ๒ ประการ ซึ่งถือเป็นข้อที่น่าเป็นห่วงอย่างมากคือ

 

ประการที่ ๑ ในส่วนที่เป็นข้อมูลการบริหารสิทธิหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “การให้ Credit แก่เจ้าของลิขสิทธิ์” เมื่อมีการสร้างสรรค์ผลงานอันเป็นลิขสิทธิ์ขึ้นมา เจ้าของผลงานอาจทำตำหนิในงานลิขสิทธิ์นั้น เช่นการใส่ลายน้ำในภาพถ่าย หรือเขียนระบุชื่อผู้ถ่ายภาพไว้ให้ปรากฏ หรือใน Instargramก็จะมีการเขียนว่าเป็น Instargram ของผู้ใดอย่างนี้ ถ้าหากมีการไปลบข้อมูลที่แสดงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ดังกล่าว ก็เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ ตัวอย่างเช่น ภาพถ่ายน้ำตกที่เขาใหญ่ มีการระบุชื่อผู้ถ่ายภาพไว้ แล้วทางราชการหรือบุคคลเห็นแล้วนำเอาภาพน้ำตกนั้นไปใช้ประโยชน์ หากไปลบชื่อผู้ถ่ายภาพออกก็เท่ากับไม่ให้ Credit แก่เจ้าของลิขสิทธิ์ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ส่วนการ Post Clip Video ก็เช่นเดียวกันคือนอกจากจะต้องบอกแหล่งที่มาของ ClipVideo นั้นแล้ว ยังจะต้องให้ Credit แก่เจ้าของ Clip นั้นด้วย ตัวอย่างเช่น การเสนอสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสื่อในการบรรยายสรุปสื่อการรายงาน สื่อการเสนอข้อมูลต่าง ๆ รวมตลอดถึงการทำ Power point ซึ่งโดยทั่วไปมักจะมีการนำ Clip Video จาก Youtubeมาประกอบด้วย ถึงแม้ว่าจะได้เขียนขอบคุณYoutube ไว้ในสื่อที่นำเสนอแล้วก็ตาม ก็ยังไม่เพียงพอ จะต้องเขียนระบุไว้ด้วยว่าข้อมูลจากYoutube นั้นเป็นของผู้ใดด้วย หากละเลยก็จะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในส่วนการให้ Creditแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ได้ข้อน่าเป็นห่วง

 

ประการที่ ๒ เป็นเรื่องการตัดทอนแก้ไขงานลิขสิทธิ์ จะเห็นได้ว่าพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๘ ออกมาเพื่อป้องกันการตัดทอนแก้ไขแล้วนำไปใช้สิ่งที่เป็นปัญหาก็คือ ในกรณีที่ผู้ใช้งาน Internet ทั่วไปไม่ได้เป็นผู้ลบหรือเปลี่ยนแปลงงานลิขสิทธิ์ แต่รู้อยู่แล้วว่างานลิขสิทธิ์นั้นมีการลบหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลการบริหารสิทธิหรือ Credit ของเจ้าของลิขสิทธิ์ แล้วผู้นั้นยังนำงานลิขสิทธิ์นั้นไป Share ต่อ หรือนำไปใช้ก็ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ตัวอย่างเช่น ภาพดอกกุหลาบ เจ้าของงานลิขสิทธิ์กำหนดให้มีคำว่า “Good Morning” ไว้ในภาพนั้น แล้วมีผู้ไปลบคำๆ นั้นออกทั้งหมด หรือแก้ไขเป็น“Goodnight” หรือ Happy Monday” ซึ่งผิดไปจากที่เจ้าของลิขสิทธิ์กำหนดไว้ หากมีการส่งต่อๆ กันมาจนถึงผู้ใช้ แล้วผู้ใช้ก็รู้อยู่แล้วว่ามีการลบหรือเปลี่ยนแปลงคำในภาพดอกกุหลาบนั้น แต่ก็ยังนำไปใช้ประกอบ Powerpoint เพื่อเสนองานในที่ประชุม หรือ Share รูปภาพนั้นใน Line ต่อไปยังผู้อื่นอีก อย่างนี้ก็เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
กระผมขอเรียนเพิ่มเติมว่า การนำงานลิขสิทธิ์ของผู้อื่นไป Share นั้น ถึงแม้ว่าจะให้ Credit แก่เจ้าของงานลิขสิทธิ์แล้วก็ตามแต่การ Share นั้นต้องไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ รวมทั้งต้องไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควรด้วยอย่างไรก็ตาม หากนำงานลิขสิทธิ์ไปใช้เพื่อประโยชน์ในทางการค้า แม้จะมีการให้ Credit แก่เจ้าของลิขสิทธิ์และไม่ได้ตัดทอนหรือแก้ไขใดๆ เลยก็ตาม แต่ถ้าไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์แล้วก็ย่อมเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้

 

สุดท้าย กระผมขอสรุปการกระทำที่อาจเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๘ซึ่งกระผมรวบรวมได้ ๔ ประการ ทั้งนี้ ทางส่วนราชการและบุคคลทั่วไปพึงระมัดระวังดังต่อไปนี้

 

ประการที่ ๑ การลบลายน้ำ Digital ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ใส่ไว้ หรือลบชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ออก เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

 

ประการที่ ๒ การปรับแต่งรูปภาพของผู้อื่น แล้ว Post ไว้บน Website โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

 

ประการที่ ๓ การ Download ภาพยนตร์หรือเพลงจาก Internet มาฟังแล้ว Share ต่อให้ผู้อื่น กระผมขอเรียนว่า การ Downloadเป็นการทำซ้ำที่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์เสียก่อน ดังนั้น กรณี Website ลิขสิทธิ์ที่เจ้าของลิขสิทธิ์อนุญาตให้ Download ได้ฟรีก็สามารถ Download ได้ แต่ไม่สามารถ Share ต่อได้ ส่วนกรณี Website ที่ให้บริการโดยเก็บค่าใช้จ่ายในการ Download เมื่อผู้ใช้เสียค่าบริการแล้วก็สามารถ Download มาเพื่อรับชมหรือรับฟังได้ แต่ไม่สามารถ Share ต่อได้เช่นกันและประการสุดท้าย การทำ Block แล้ว embed Clip ของ Youtube มาไว้ที่ Blockถือว่าเป็นการทำซ้ำงานลิขสิทธิ์และเผยแพร่ต่อสาธารณชน เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่การ Share Link เพื่อแนะนำและบอกที่มาของ Website ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เพราะฉะนั้น สิ่งที่ทำได้ คือการใส่ภาพนิ่งเป็นตัวอย่างภาพ Video พร้อมทำ Link ไปยังVideo เจ้าของ Clip อย่างนี้ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
สำหรับการขายสินค้าลิขสิทธิ์มือสองประเภท รองเท้า เสื้อผ้า กระเป๋า Brandnameโดยโฆษณาขายใน Website หรือ Facebookซึ่งข้าราชการและบุคคลทั่วไปมักชอบกระทำกันอยู่นั้น มีผู้สงสัยกันมากว่าจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ กระผมขอเรียนว่า ผู้ผลิตสินค้าซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ได้จำหน่ายสินค้าของตนในครั้งแรก ได้รับประโยชน์จากราคาสินค้าที่จำหน่ายไปเสร็จสิ้นแล้ว จึงไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้ผู้ซื้อสินค้านำสินค้านั้นออกจำหน่ายเป็นสินค้ามือสอง และการโฆษณาขายสินค้าดังกล่าวก็ไม่ใช่การทำซ้ำหรือดัดแปลงสินค้าลิขสิทธิ์ จึงไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ครับ