สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Associationof Southeast Asian Nationsหรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพ เมื่อ ๘ ส.ค.๒๕๑๐ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ นับถึงปัจจุบันถ้าเปรียบเทียบกับอายุคนอาจจะกล่าวได้ว่าอาเซียนได้ย่างเข้าสู่วัยกลางคนคือมีอายุได้ ๔๗ ปี ซึ่งในช่วงการพัฒนาเกือบครึ่งศตวรรษนี้ อาเซียนกำลังเริ่มเข้าสู่ช่วงสำคัญในการรวมกลุ่มประเทศกันเป็นประชาคมเดียวกันตามที่ผู้นำประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ลงนามร่วมกันในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนที่เรียกว่าปฏิญญาบาหลี ๒ (Bali Concord II) ซึ่งได้กำหนดให้ในปี ๕๘ ทุกชาติในกลุ่มอาเซียน ๑๐ ประเทศจะรวมกลุ่มกันเป็นประชาคม (ASEAN Community)ตามกฎบัตรสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ “วิสัยทัศน์เดียวอัตลักษณ์เดียว ประชาคมเดียว”(OneVision, One Identity, One Community) โดยได้กำหนดเสาหลัก (Pillar) เพื่อค้ำยันความเป็น “ครอบครัวเดียวกัน” ไว้ ๓ ด้าน คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมวัฒนธรรมอาเซียน ทั้งนี้เสาหลักประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ซึ่งทหารเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักนั้นดูเหมือนจะมีบทบาทสำคัญในสภาวะที่ภูมิภาคอาเซียนตกอยู่ในพื้นที่อิทธิพลและแสวงหาผลประโยชน์ของประเทศมหาอำนาจ ทำให้กองทัพของประเทศอาเซียนต้องรวมกลุ่มกันเพื่อรักษาสภาวะแวดล้อมความมั่นคงให้เอื้อต่อระบบการค้าระหว่างประเทศซึ่งจะช่วยกระตุ้นระบบเศรษฐกิจและเพิ่มความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนในประชาคมอาเซียน จึงสรุปได้ว่าเสาหลักประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน คือ “หลักประกันการรักษาผลประโยชน์ของชาติอาเซียนร่วมกัน” ทั้งนี้การประเมินสภาวะแวดล้อมความมั่นคงสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อเสาหลักประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนได้แก่
๑. กำลังอำนาจทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) เนื่องจากภูมิภาคอาเซียนตั้งอยู่บนจุดยุทธศาสตร์โลกและเป็นตำบลที่กึ่งกลางของประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์(อินเดีย ปากีสถาน เกาหลีเหนือ จีน) จึงเป็นที่รวมผลประโยชน์ของประเทศมหาอำนาจซึ่งจะเห็นได้จากประวัติศาสตร์ของชาติในอาเซียนยกเว้นประเทศไทยได้เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก ปัจจุบันภูมิภาคอาเซียนยังคงมีความสำคัญโดยเฉพาะหลังจากที่สหรัฐได้นำนโยบาย “การปรับสมดุล” (Rebalancing Policy) มาใช้กับประเทศในอาเซียนและภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อการปิดล้อมจีนและการกลับเข้ามาสู่การมีอิทธิพลในภูมิภาค ทำให้ทุกชาติในอาเซียนต้องปรับนโยบายการเมืองระหว่างประเทศให้สมดุลกับสหรัฐและจีน โดยใช้กลไกของความร่วมมือประชาคมอาเซียน
๒. ปัญหาภัยพิบัติของอาเซียน รายงานสถานการณ์ภัยพิบัติประจำปีโครงการ International Strategy for Disaster Reduction ขององค์การสหประชาชาติ ระบุว่าทวีปเอเชียเป็นภูมิภาคที่ประชากรได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติมากที่สุดโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น เหตุการณ์สึนามิ ปี ๔๗ พายุไซโคลนนาร์กิสในพม่า มหาอุทกภัยในประเทศไทยปี ๕๔ และพายุไต้ฝุ่นไห่เหยียนในฟิลิปปินส์ จากสภาวะโลกร้อนได้ยิ่งทำให้ภัยพิบัติมีความรุนแรงและความถี่มากขึ้น อีกทั้งการเติบโตของเมืองในอาเซียนมีการขยายพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่อุตสาหกรรมเข้าไปในเขตพื้นที่เสี่ยงต่อภัยพิบัติจึงทำให้ความสูญเสียและ การรับมือกับภัยพิบัติของอาเซียนมีความซับซ้อนและรุนแรงมากยิ่งขึ้นส่งผลเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน ระบบเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมคิดเป็นมูลค่ามหาศาล ทั้งนี้หากการจัดการภัยพิบัติของรัฐบาลแต่ละประเทศไม่มีประสิทธิภาพและไม่ตอบสนองต่อความคาดหวังของประชาชนแล้วจะส่งผลให้เสถียรภาพความมั่นคงของประเทศและประชาคมอาเซียนส่วนรวมกระทบกระเทือนไปด้วย
๓. ปัญหาความมั่นคงภายในประเทศอาเซียน ได้แก่ ปัญหาการขัดแย้งในเรื่องเขตแดนทางทะเลปัญหาทะเลจีนใต้ และปัญหาที่จะเกิดขึ้น คู่เจรจา” หรือ ADMM – Plus (สหรัฐฯ จีนรัสเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย)
ทั้งนี้ผลการประชุม ADMM – Plus ล่าสุดได้เห็นชอบการเป็นประธานร่วมของคณะทำงาน ADMM – Plus ในวงรอบปี ๕๗ – ๕๙ ได้แก่
๑) ความมั่นคงทางทะเล (บรูไน, นิวซีแลนด์)
๒) การแพทย์ทางทหาร (ไทย, รัสเซีย)
๓) การปฏิบัติการรักษาสันติภาพ (กัมพูชา, เกาหลี)
๔) การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ (ลาว, ญี่ปุ่น)
๕) การต่อต้านการก่อการร้าย (สิงคโปร์, ออสเตรเลีย)
๖) ด้านการปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม(เวียดนาม, อินเดีย)
สำหรับภารกิจด้านการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ (Humanitarian Assistance and Disaster Relief: HA/DR) กรณีภัยพิบัติในประเทศกองทัพเรือจะปฏิบัติตามแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติและแผนของกระทรวงกลาโหม สำหรับกรณีภัยพิบัตินอกประเทศกองทัพเรือจะปฏิบัติเมื่อรัฐบาลสั่งการโดยดำเนินการภายใต้กรอบข้อตกลงของรัฐบาลไทยกับประเทศที่ประสบภัยพิบัติ ทั้งนี้เมื่อเกิดภัยพิบัติในภูมิภาคอาเซียน ประเทศสมาชิกอาเซียนจะปฏิบัติตามพันธกรณีตามข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน (ASEAN Agreement on Disaster Management and Emergency Response: AADMER) ทั้งนี้จากความรุนแรงและผลกระทบของปัญหาภัยพิบัติที่ทุกชาติในอาเซียนเผชิญอยู่หลังการรวมกลุ่มประชาคมอาเซียน ได้แก่ แรงงานอพยพ การค้ามนุษย์ การก่อการร้าย ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะไม่ใช่ปัญหาเฉพาะประเทศหนึ่งอีกต่อไปแต่ยังจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงภายในของประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกันด้วย จึงจำเป็นที่ทุกชาติในอาเซียนต้องร่วมมือกันเพื่อจัดการปัญหาด้านความมั่นคงเหล่านี้ โดยอาเซียนได้ใช้กลไกความร่วมมือทางทหารในเสาหลักประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ในเวทีการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน” หรือ ADMM (ASEAN Defense Ministers Meeting) และ“การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับประเทศ
กองทัพเรือในเสาหลักประชาคมการเมือง และความมั่นคงอาเซียน
กระทรวงกลาโหมกำหนดให้กองทัพเรือรับผิดชอบกลุ่มงานด้านความมั่นคงทางทะเลในการประชุม ADMM Plus ซึ่งการประเมินสภาวะแวดล้อมความมั่นคงทางทะเลหลังการเกิดของประชาคมอาเซียนในปี ๕๘ จะทำให้ปัญหาภัยความมั่นคงทางทะเลมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นโดยจะเป็นปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ และข้ามเขตแดน (Cross Border) ที่มีผลกระทบต่อสองประเทศขึ้นไป มักจะเกิดขึ้นในเขตพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล เขตเศรษฐกิจได้ทำให้กองทัพของประเทศในอาเซียนได้ปรับบทบาทจากการเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการพิทักษ์รักษาอำนาจอธิปไตยมาสู่ความเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ในการพิทักษ์รักษาชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจากภัยธรรมชาติ ดังจะเห็นได้จากการฝึกช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ และการแพทย์ทหารในกรอบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอาเซียนกับคู่เจรจา ณ ประเทศบรูไน และการฝึกบรรเทาสาธารณภัยของอาเซียน (ASEAN HADR Multilateral Exercise : AHEX14) ณ ประเทศไทย ซึ่งจะเป็นการพัฒนาไปสู่การรวมกลุ่มกันเป็นกองกำลังอาเซียนในอนาคต
การเตรียมความพร้อมของกองทัพเรือหลังการรวมกล่มุ ประชาคมอาเซียนในปี ๕๘
๑. ภารกิจการรักษาความมั่นคงทางทะเลในภูมิภาคอาเซียน ก่อนอื่นคงจะต้องนิยามให้ชัดเจนก่อนว่าผลประโยชน์ทางทะเลร่วมกันของประชาคมอาเซียนคืออะไร สภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการแสวงหาและรักษาผลประโยชน์ร่วมกันนั้นเป็นอย่างไร? ซึ่งจะช่วยกำหนดขอบเขตงานรับผิดชอบได้ว่าพื้นที่ที่กองเรือของอาเซียนต้องช่วยกันดูแลนั้นอยู่ที่ไหน ใคร/อะไรคือภัยคุกคาม? และต้องใช้กำลังทางเรือร่วมกันในลักษณะอย่างไร? ทั้งนี้หากจะนำนิยามความมั่นคงแห่งชาติทางทะเลของไทย๑ มาอ้างอิงโดยเปลี่ยนจาก “ชาติ” เป็น “ประชาคมอาเซียน” ว่าความมั่นคงแห่งชาติทางทะเลของอาเซียน หมายถึง “การที่ประชาคมอาเซียนมีสภาวะแวดล้อมทางทะเลที่เอื้อให้สามารถดำเนินกิจกรรมทางทะเลได้อย่างเสรี ปลอดภัย และเหมาะสมบรรลุผลประโยชน์ร่วมของชาติในอาเซียน”คงจะตอบได้ว่าจากการที่ประชาคมอาเซียนตั้งอยู่บนจุดยุทธศาสตร์และเส้นทางขนส่งทางทะเลที่สำ คัญของโลก ภัยคกุ คามหลักของประชาคมอาเซียน ได้แก่ การแสวงหาผลประโยชน์และสร้างอิทธิพลของชาติมหาอำนาจ ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น โจรสลัด อาชญากรรมข้ามชาติ การลักลอบค้าอาวุธและสิ่งของผิดกฎหมาย ปัญหาผู้ลี้ภัย ปัญหาก่อการร้ายทางทะเล และปัญหาขัดแย้งภายในของอาเซียนได้แก่ปัญหาเขตแดนทับซ้อนและการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติในทะเล สำหรับหากจะหาว่าอะไรคือผลประโยชน์ร่วมกันของประชาคมอาเซียนควรต้องพิจารณาที่สมุททานุภาพของอาเซียน
จากหลักฐานจากประวัติศาสตร์อาจจะกล่าวว่าประชาคมอาเซียน คือ Maritime Nation ณ ปัจจุบันอาเซียนยังคงเป็นเส้นทางการค้าทางทะเลที่สำคัญของโลก ที่ตั้งทุกประเทศยกเว้นลาว มีเขตแดนติดทะเลและมีขอบฝั่งยาวมีท่าเรือขนาดใหญ่หลายแห่ง โดยเฉพาะท่าเรือทวายของพม่า (เปรียบได้กับเป็น “โครงการคลองกระยุคใหม่” ซึ่งจะเชื่อมต่อระบบการขนส่งทางทะเล – บนบก – ทะเลของทุกประเทศ) รวมทั้งมีระบบเศรษฐกิจพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับทะเล เช่น ท่าเรือ อู่ซ่อม/ต่อเรือ การประมง และการท่องเที่ยวที่สร้างรายได้ให้กับทุกประเทศ จึงสรุปได้ว่าผลประโยชน์ทางทะเลร่วมกันของประชาคมอาเซียน ได้แก่
๑. เส้นทางเดินเรือสากลพร้อมระบบสนับสนุน ได้แก่ ระบบการจราจรทางทะเล ระบบศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ระบบข้อมูลการเดินเรือ ระบบสื่อสาร ระบบการข่าวทางทะเล และการขนส่งทางทะเลมีความปลอดภัยและสามารถใช้ได้ตลอดเวลา
๒. ทรัพยากรทางทะเลมีการเชื่อมโยงผลประโยชน์ร่วมกัน เช่น ระบบขนส่งท่อน้ำมันและแก๊สธรรมชาติในทะเลระหว่างประเทศ เกาะและเมืองท่าชายทะเลท่องเที่ยว และทรัพยากรในทะเล ดังนั้นภารกิจการรักษาความมั่นคงทางทะเลเพื่อผลประโยชน์ร่วมของประชาคมอาเซียน คือ การสร้างเสถียรภาพความมั่นคงและสร้างความปลอดภัยทางทะเลในภูมิภาค ซึ่งหลักการแก้ไขปัญหาของประชาคมอาเซียนจะเริ่มจากการเจรจากันในกรอบทวิภาคี กลไกของอาเซียนเช่น กรณีการขัดแย้งในทะเลจีนใต้ และกลไกของสหประชาชาติและองค์กรระหว่างประเทศเช่น การแก้ไขปัญหาเขตแดนทางทะเลของสิงคโปร์กับมาเลเซีย ทั้งนี้กำลังทางเรือจะเป็นทางเลือกสุดท้ายในการใช้กำลังทหารในการแก้ปัญหาโดยเป็นเครื่องมือสนับสนุนนโยบายรัฐ ทั้งนี้หากนำกำลังกองทัพเรือทุกชาติในอาเซียนมารวมกันเป็นกองทัพเรืออาเซียนตามแนวคิดการพัฒนาสมุททานุภาพเพื่อรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมของประชาคมอาเซียนแล้วจะพบว่ากองทัพเรืออาเซียนมีขีดความสามารถสูงทุกมิติ ทั้งเรือดำน้ำ เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เรือฟริเกตสมรรถนะสูง เรือยกพลขึ้นบก และอากาศยานซึ่งเพียงพอกับพื้นที่ปฏิบัติการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการต่อรองกับประเทศมหาอำนาจและการป้องปรามและต่อต้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่ได้เป็นอย่างดี
๒. ภารกิจช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติในภูมิภาคอาเซียน เป็นการส่งกำลังทหารออกนอกประเทศจึงต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลและประเทศประสบภัย ซึ่งเมื่อประเมินความพร้อมของกำลังพลและยุทโธปกรณ์ของกองทัพเรือในภารกิจด้าน HA/DR พบว่าปัจจุบันกองทัพเรือมีเรือขนาดใหญ่ที่สามารถใช้เป็นฐานบัญชาการในการควบคุมบังคับบัญชาและการสื่อสาร มีขีดความสามารถการเป็นเรือพยาบาลการอพยพและช่วยเหลือผู้ประสบภัย การเป็นฐานบินเฮลิคอปเตอร์ และเป็นเรือขนส่งยุทโธปกรณ์ อาหารและเวชภัณฑ์สนับสนุนหน่วยบรรเทาภัยพิบัติที่ไปปฏิบัติการบนบกได้ และการที่เรือสามารถปฏิบัติการในทะเลได้นานทำให้กองทัพเรือมีขีดความสามารถในการดำรงอยู่ในสภาวะแวดล้อมในพื้นที่ปฏิบัติการที่ประสบภัยพิบัติในห้วงวิกฤติหลังภัยพิบัติซึ่งจะมีโรคระบาดและผลกระทบต่อเนื่องของภัยพิบัติ เช่น แผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม ฝนตกหนักพายุถล่มได้ดี จึงเป็นเครื่องยืนยันขีดความสามารถของกองทัพเรือในภารกิจด้านการบรรเทาสาธารณภัยนอกประเทศในภูมิภาคอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นแนวคิดเดียวกับยุทธศาสตร์ทางเรือของสหรัฐ จีนรวมไปถึงหลายชาติในอาเซียนซึ่งเห็นได้จากการที่สหรัฐ จีน สิงคโปร์ และมาเลเซียได้นำเรือเข้าร่วมการฝึกทางทหารอาเซียนด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติของอาเซียนที่ประเทศบรูไนในปี ๕๗ “ก้าวแรกกองทัพเรือกับบทบาทนำในเวทีการประชุมผู้บัญชาการทหารเรืออาเซียน”การประชุมผู้บัญชาการทหารเรืออาเซียนครั้งที่ ๘ มี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ร.น. ผบ.ทร.เป็นประธานฯ และมีผู้บัญชาการทหารเรือ ๘ ประเทศเข้าร่วมการประชุมฯ ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย กัมพูชา มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม ผลการประชุมที่สำ คัญได้แก่ ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาโจรสลัด การลักลอบค้ามนุษย์ทางทะเลและการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล ซึ่งจะเสริมสร้างความมั่นคงทางทะเลในภูมิภาค และ ทร. ได้เสนอตัวขอเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้บัญชาการทหารเรืออาเซียนในปี ๖๐ ในโอกาสครบรอบ ๕๐ ปีของการก่อตั้งอาเซียน โดยจะมีกิจกรรมสวนสนามทางเรือและการฝึกร่วมทางทะเลแบบพหุพาคีของอาเซียนเป็นครั้งแรก ซึ่งทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทนำกองทัพเรือในการริเริ่มนโยบายการรวมกลุ่ม“กองทัพเรืออาเซียนให้เป็นหนึ่ง”หรือ Naval Forces ASEAN as One ตามแนวคิดกฎบัตรอาเซียน อันจะนำไปสู่แนวคิดกองกำลังทางเรือของอาเซียนในอนาคต ๔ ซึ่งจะทำให้ทุกชาติในอาเซียนหันมาร่วมมือกันแก้ไขปัญหาและปกป้องผลประโยชน์ร่วมทางทะเลในภูมิภาคร่วมกันอันจะนำไปสู่การกินดีอยู่ดีของประชาชนในประชาคมอาเซียนจึงนับว่าเป็น “ก้าวแรกที่มั่นคงในบทบาทนำของกองทัพเรือไทยในเวทีกองทัพเรืออาเซียนอย่างแท้จริง” “ก้าวต่อไปของกองทัพเรือในประชาคมอาเซียน”
จากวิสัยทัศน์กองทัพเรือในการเป็นหน่วยงานความมั่นคงทางทะเลที่มีบทบาทนำในภูมิภาคและเป็นเลิศในการบริหารจัดการจึงตอบได้ว่าก้าวต่อไปของกองทัพเรือในประชาคมอาเซียนคือ “การก้าวด้วยการเป็นกองทัพเรือชั้นนำที่มีบทบาทนำในภูมิภาคอาเซียน” ดังนั้น Road Map ที่จะนำกองทัพเรือไปสู่จุดหมายนั้น คือการมีบทบาทนำทั้งระดับนโยบายและระดับการปฏิบัติการทางเรือเพื่อให้เป็นที่เชื่อมั่นแก่ประชาชนและกองทัพในประชาคมอาเซียน โดยบทบาทนำด้านนโยบาย ได้แก่ การริเริ่มเสนอมาตรการในการแก้ปัญหาสำคัญของประชาคมอาเซียนในการพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ทางทะเลร่วมกันของทุกชาติผ่านการประชุม รมว.กห.อาเซียน และการประชุม ผบ.ทร.อาเซียน เป็นนโยบายลงสู่การประชุมระดับเสนาธิการ ได้แก่ การประชุมNavy to Navy Talks จนเป็นแผนประจำปีกองทัพเรือประชาคมอาเซียน (ASEAN Navy Year Plans) ที่ชัดเจนทั้งเรื่องแผนการฝึกร่วมและผสม การเยือนของผู้บังคับบัญชาและการเยี่ยมเมืองท่าของหมู่เรือ การแลกเปลี่ยนการศึกษา ความร่วมมือด้านการข่าวทางทะเลการพัฒนาบรรณสารการปฏิบัติงานร่วมกันของกองทัพเรืออาเซียนหรือ SOP และที่สำคัญคือแผนงานการปฏิบัติการทางเรือร่วมกันในลักษณะกองทัพเรืออาเซียน สำหรับบทบาทนำในระดับการปฏิบัติการทางเรือ คือ กองทัพเรือมีความพร้อมและขีดความสามารถของกำลังพลและยุทโธปกรณ์ในการปฏิบัติการทางเรือร่วมกับกองทัพในชาติอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือความเป็นมืออาชีพ
โดยหน่วยเตรียมกำลังรบ ไม่ว่ากองเรือยุทธการ นาวิกโยธิน หน่วยต่อสู้อากาศยาน
และรักษาฝั่ง ต้องสร้าง “นักรบทางเรือ” ให้มีความเชี่ยวชาญทั้งการวางแผนยุทธการไปถึงการปฏิบัติงานจริงในระดับยุทธวิธีร่วมกับชาติในอาเซียนและพันธมิตร ดังนั้นการพัฒนาองค์ความรู้และการจัดหายุทโธปกรณ์จึงต้องทำควบคู่ไปกับ “การฝึกอย่างไร รบอย่างนั้น” จึงจะได้ความชำนาญและความเป็นทหารมืออาชีพรวมทั้งการปลูกฝังค่านิยมกองทัพเรือ (Sail) เพื่อสร้างความภูมิใจในอาชีพในการเป็นทหารเรือไทย ซึ่งจะทำให้เกิดความมั่นใจในการปฏิบัติงานจริงกับชาติในอาเซียนซึ่งจะนำไปสู่ความเป็นผู้นำทางทหารและสร้างให้กองทัพเรือมีบทบาทนำในกองทัพเรือชาติอาเซียนซึ่งถือว่าเป็นมาตรการป้องปรามประเทศที่อาจจะเป็นภัยต่อประเทศตามแผนป้องกันประเทศได้อีกด้วย ทั้งนี้ประเด็นสำคัญคือการแปลงนโยบายไปสู่ระดับผู้ปฏิบัติต้องชัดเจนในการทำแผนประจำปีของกองทัพเรือในอาเซียน ความร่วมมือจึงจะเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพในการรักษาผลประโยชน์ทางทะเลของอาเซียนร่วมกัน ซึ่งจะทำให้ประชาชนในอาเซียนเกิดความมั่นใจในคุณค่าของกองทัพเรืออาเซียน คือ “กองทัพเรืออาเซียนที่ประชาคมอาเซียนเชื่อมั่นและภาคภูมิใจ”