เนื่องจากปีนี้เป็นปีที่ครบรอบ ๑๐๐ ปีมหาสงคราม หรือสงครามโลกครั้งที่ ๑ย้อนดูว่าสงครามโลกครั้งที่ ๑ นั้นเกิดขึ้นและเปลี่ยนโฉมหน้าประวัติศาสตร์โลกอย่างไร…

 
เมื่อย้อนกลับไปก่อนปี ๒๔๕๗ ที่ยุโรปยังคงไร้เสถียรภาพทางการเมืองนั้น เยอรมันนีเพิ่งประกาศรวมชาติ และทำสงครามต่อเนื่องกับฝรั่งเศส จักรวรรดิออตโตมันเริ่มเสื่อมอำนาจลงจากเดิม จักรวรรดิออสเตรีย – ฮังการี วุ่นวายจากปัญหากลุ่มชาตินิยมชาวสลาฟที่ต้องการแยกตัวออกเป็นเอกราช และรัสเซียที่สนับสนุนชาวสลาฟเหล่านั้นก็กำลังเผชิญกับแรงต้านจากกลุ่มสังคมนิยมตลอดต้นศตวรรษที่ ๒๐ ด้วยเหตุผลทั้งหมดทั้งมวลนี้จึงเป็นปัจจัยที่นำไปสู่จุดเริ่มต้นของมหาสงครามโลกในที่สุด

วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๔๕๗ อาร์คดยุคฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ องค์รัชทายาทแห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และพระชายาถูกลอบปลงพระชนม์บนรถเปิดประทุนระหว่างการเดินทางเยือนกรุงซาราเยโว ในบอสเนียกระสุนสังหาร ๒ นัด ออกจากกระบอกปืนของนายกัลป์ริโล ปรินซิป นักศึกษาหัวรุนแรงชาวเซอร์เบีย ซึ่งเขาผู้นี้คือหนึ่งในสมาชิกขบวนการ “ยังก์บอสเนีย” ที่ต้องการประกาศเอกราช และจัดตั้งรัฐชาวสลาฟในยุโรปใต้ โดยแยกตัวออกจากจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีที่ผนวกรวมอาณาจักรของพวกเขาเข้าไปอยู่ภายใต้การปกครองเมื่อศตวรรษก่อนและแล้วสงครามโลกครั้งที่ ๑ หรือเกรทวอร์ ก็เริ่มต้นขึ้น และนี่คือสงครามโลกที่เปลี่ยนโฉมหน้าการรบแบบเดิมแทบจะทุกอย่าง โดยเป็นสงครามที่มีเทคโนโลยีเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก อันเป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมอีกทั้งยังเป็นสงครามที่ถือให้เกิดองค์การระหว่างประเทศเป็นครั้งแรก จนนำไปสู่การขึ้นสู่อำนาจทางการเมืองของเผด็จการอำนาจนิยมในยุโรปในเวลาต่อมา

ความหวาดระแวงทางการเมืองทำให้เกิดการจับมือกันระหว่างชาติมหาอำนาจรัสเซียและฝรั่งเศส ทนไม่ได้ที่เห็นออสเตรีย-ฮังการีเดินหน้าถล่มเซอร์เบีย ซึ่งต่อมามีอังกฤษและสหรัฐฯ เข้าร่วมด้วยจนได้รวมตัวกันเป็น“เดออองกองต์” หรือกลุ่มสัมพันธมิตร ขณะที่เยอรมันนีก็ได้ให้สัญญากับออสเตรีย-ฮังการีไว้ว่าจะสนับสนุนการรบกับเซอร์เบีย และออตโตมัน ก็รวมตัวกันเป็น “มหาอำนาจกลาง”วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๔๕๗ เยอรมันนีเข้ารุกรานเบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์กและฝรั่งเศส ก่อนจะเข้ายึด กรุงปารีส โดยแนวรบด้านตะวันตกเป็นการรบที่สูญเสียมากที่สุด ส่วนทางตะวันออก แม้ว่ากองทัพรัสเซียสามารถเอาชนะกองทัพออสเตรีย-ฮังการี ได้ในช่วงเวลาหนึ่งก็ตาม แต่ต่อมาก็ถูกกองทัพเยอรมันนีบีบให้ล่าถอยออกจากโปแลนด์ในที่สุด

ขณะที่แนวรบทางใต้เกิดขึ้นเมื่อจักรวรรดิออตโตมัน เข้าสู่สงครามในเดือนสิงหาคม ซึ่งท?ำให้อังกฤษและฝรั่งเศส ส่งทหารอาณานิคมเข้าร่วมรบด้วยในบริเวณนี้ จนกระทั่งอาณาจักรออตโตมันล่มสลาย และนำไปสู่การจัดตั้งสาธารณรัฐตุรกีของมุสดาฟา เคมเล อตาเติร์ก

รัสเซียถอนตัวจากสงครามในเดือนตุลาคมปี ๒๔๖๐ และหลังจากการรุกคืบตามแนวรบด้านตะวันตกของเยอรมันนีในปี ๒๔๖๑ กองทัพสหรัฐฯ ก็ประกาศเข้าร่วมสงครามด้วย ซึ่งกองทัพสัมพันธมิตรที่มีสหรัฐฯ เป็นแรงหนุนก็สามารถผลักดันกองทัพเยอรมันนีกลับไปเป็นผลส?ำเร็จ หลังได้รับชัยชนะติดต่อกันหลายครั้งทำให้เยอรมันนีตกลงหยุดยิงเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๖๑ จนกลายเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “วันสงบศึก” และชัยชนะเป็นของฝ่ายสัมพันธมิตร

การรบรูปแบบใหม่ถูกนำมาใช้ในการสงคราม ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีการบิน การใช้อาวุธเคมีเป็นครั้งแรก ในยุทธการอีแปร์ครั้งที่ ๒ เยอรมันนีใช้แก๊สคลอรีน ยิงในอากาศใส่ฝ่ายตรงข้าม ทำให้มีทหารเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก การใช้เรือดำนำทำลายเรือส่งเสบียงของฝ่ายตรงกันข้าม หรือแม้กระทั่งการที่อังกฤษได้นำรถถังมาใช้ในการวิ่งฝ่าสนามเพลาะของข้าศึก เป็นต้น

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๑ สิ้นสุดลงมีการลงนามในสัญญาแวร์ซายส์ โดยเยอรมันนีต้องถูกปลดอาวุธเป็น ผู้จ่ายค่าปฏิกรรมสงครามแต่เพียงผู้เดียวเพราะเป็นผู้ก่อสงคราม ต้องยกเลิกการมีกองทัพตลอดจนต้องมีการจัดการพรมแดนยุโรปใหม่ ส่วนนายวูดโรว์ วิลสันประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในสมัยนั้น ได้มีการเสนอหลัก ๑๔ ประการ ก่อนที่สงครามจะยุติโดยสมบูรณ์ ซึ่งนับเป็นการกรุยทางสู่สันติภาพระหว่าง ๒ ฝ่าย จนน?ำไปสู่การจัดตั้งสันนิบาตขึ้นในปี ๒๔๖๒ ซึ่งถือว่ามีองค์การระหว่างประเทศองค์การแรกของโลก

สำหรับประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระปรีชาสามารถพิจารณาเหตุการณ์อย่างละเอียดรอบคอบ ทรงน?ำประเทศเข้าร่วมสงครามในวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๔๖๐ โดยประกาศเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร อันมี ฝรั่งเศส อังกฤษและอเมริกา เป็นการแสดงให้เห็นว่าไทยไม่เข้าข้างฝ่ายผิดถึงแม้ว่าฝรั่งเศสกับอังกฤษจะเคยเอาเปรียบไทยในการบีบบังคับให้ไทยยกดินแดนให้ในอดีต

284-19

เรื่องนี้ย่อมเกิดจากพระปรีชาสามารถแสดงให้เห็นความชาญฉลาด รอบคอบขององค์พระประมุข ที่ทรงคาดการณ์ล่วงหน้าได้ถูกต้อง และตัดสินพระทัยเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรรบกับเยอรมันนี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศสงครามกับประเทศเยอรมันนี และออสเตรีย-ฮังการีณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท การประกาศสงครามครั้งนี้ กระทำเพื่อรักษาความศักดิ์สิทธิ์แห่งสัญญานานาประเทศ ซึ่งทำไว้โดยไม่ต้องการที่จะกระท?ำศึก ต่อทางการค้าขายหรือต่อมนุษยชาติ หรือต่อความสงบเรียบร้อยของโลกโดยทั่วไป

หลังจากประเทศไทยได้ตัดสินใจเข้าร่วมสงครามแล้ว กระทรวงกลาโหมได้ประกาศรับสมัครทหารอาสา ในขั้นต้นได้คัดเลือกไว้จ?ำนวน ๑,๓๘๕ นาย จากนั้นมีการอบรมและทดสอบจนเหลือกำลังปฏิบัติการ ๑,๒๘๔ นายจัดตั้งเป็นกองทหารอาสา ประเทศไทยได้นำกองทหารที่ส่งไปร่วมรบในครั้งนี้ แบ่งเป็น ๒ กอง และ ๑ หมวดพยาบาล คือ กองบินทหารบก (ปัจจุบัน คือ กองทัพอากาศ) มี พันตรีหลวงทยานพิฆาต (ทิพย์ เกตุทัต) เป็นผู้บังคับบัญชา กองทหารบกรถยนต์ (ปัจจุบัน คือ กรมการขนส่งทหารบก) มี ร้อยเอก หลวงรามฤทธิรงค์ (ต๋อย หัสดิเสวี) เป็นผู้บังคับบัญชา หมวดพยาบาล มี ร้อยตรีชุ่ม จิตต์เมตตา เป็นผู้บังคับหมวด กองทหารดังกล่าว อยู่ในบังคับบัญชาของพันเอก พระเฉลิมอากาศ (สุณี สุวรรณประทีป) ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บังคับกอง กองทหารในสงครามครั้งนี้แบ่งเป็น ๓ หน่วย คือกองทหารบกรถยนต์ กองบินทหารบก และกองพยาบาล ทหารอาสาทั้งหมดได้กระทำพิธีสาบานตนต่อธงไชยเฉลิมพล ณ บริเวณหน้าวังสราญรมย์ และในวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๔๖๑ กองทหารอาสาได้ออกเดินทางจากท่าราชวรดิฐโดยเรือกล้าทะเล และเรือศรีสมุทร ไปขึ้นเรือเอมไพร์ ซึ่งฝรั่งเศสส่งมารับที่เกาะสีชังเพื่อเดินทางต่อไปยังสิงคโปร์ ลังกา สุเอช ถึงเมืองมาร์แชลล์ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๔๖๑ และเดินทางไปเข้าที่ตั้งรับการฝึกก่อนส่งเข้าปฏิบัติการรบ

๔ ปี จนกระทั่งในวันที่ ๖ พฤศจิกายน๒๔๖๑ เยอรมันนี ได้ติดต่อฝ่ายสัมพันธมิตรขอเจรจาสงบศึก จากนั้นในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน๒๔๖๑ ฝ่ายสัมพันธมิตร และฝ่ายเยอรมันนีจึงได้ลงนามในสัญญาสงบศึกบนรถไฟ ณ เมืองคอนเปียน ประเทศฝรั่งเศส ถึงแม้ว่ากองทหารอาสาของไทยจะเดินทางไปถึงประเทศฝรั่งเศสได้ไม่นาน สงครามยุติลง แต่ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ก็ได้สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศเช่น เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๔๖๑ กองทหารบกรถยนต์ ได้ยกพลไปสู่เขตหน้าแห่งยุทธบริเวณ ได้ทำการลำเลียงกำลังพลแก่กองทัพบกฝรั่งเศสภายในย่านกระสุนตกด้วยความกล้าหาญ รัฐบาลฝรั่งเศสจึงได้มอบเหรียญตราครัวซ์เดอแกร์ (Croix de guerre) ประดับธงไชยเฉลิมพลของกองทหารบกรถยนต์เพื่อเป็นเกียรติยศ

สำหรับทหารอาสาของไทย การกลับมาสู่มาตุภูมิเป็นไปอย่างอบอุ่นและสมเกียรติ กองทหารบกรถยนต์เดินทางถึงท่าราชวรดิฐ เมื่อวันที่ ๒๑ กนั ยายน ๒๔๖๒ โดยพระบาทสมเดจ็พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวต้อนรับกองทหารอาสา เสร็จแล้วทรงผูกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีศักดิ์รามาธิบดีพระราชทานแก่ธงไชยเฉลิมพล และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ทหารอาสา

นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอนุสาวรีย์ – ทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ ๑ เป็นอนุสรณ์สถานที่ระลึกถึงเกียรติประวัติทหารของไทยที่อาสาเดินทางไปร่วมปฏิบัติการรบในทวีปยุโรป ซึ่งอนุสาวรีย์แห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณสามเหลี่ยมทางมุมตะวันตกเฉียงเหนือของท้องสนามหลวง ฝั่งตรงข้ามโรงละครแห่งชาติ เพื่อบรรจุอัฐิทหารหาญที่เสียชีวิตลงในขณะปฏิบัติการรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑ จำนวน ๑๙ นาย มีพิธีบรรจุอัฐิเมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๔๖๒ และได้จารึกนามของผู้เสียชีวิตในสงครามไว้ทั้งหมด ตลอดจนกระทั่งวันเกิด วันถึงแก่กรรม และสถานที่ ถึงแก่กรรมของทุกคน นับว่าล้วนเป็นผู้ซึ่งได้สละชีวิตถวายเป็นชาติพลี เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณของชาติไทยและกรุงสยาม รวมทั้งเพื่อรักษาความศักดิ์สิทธิ์แห่งธรรมระหว่างประเทศให้บรรดาคนไทยทั้งหลายได้ระลึกถึงและเป็นแบบอย่างอันดีงามสืบไป

จากการตัดสินใจเข้าร่วมในฝ่ายสัมพันธมิตรของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศหลายประการ การเข้าร่วมรบในสงครามครั้งนั้น ทำให้ประเทศต่างๆ ในโลกโดยเฉพาะชาติสัมพันธมิตร ยุโรป และอเมริกา ได้รู้จักประเทศไทย เนื่องจากทหารอาสาของไทยที่ไปร่วมรบได้สร้างชื่อเสียงด้วยความมีระเบียบวินัยที่ดี มีความกล้าหาญและเด็ดเดี่ยว ตลอดจนความมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีสามารถสร้างความประทับใจให้เกิดแก่บรรดาสัมพันธมิตร ทำให้เกิดความชื่นชมประเทศไทยและทหารไทยเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังส่งผลให้ชาติต่าง ๆ ในยุโรป ๑๓ ประเทศ ที่เคยท?ำสัญญาผูกมัดประเทศไทย ยอมแก้ไขสัญญาที่ท?ำไว้เดิมโดยเฉพาะการยกเลิกอำนาจศาลกงสุล ให้ชาวต่างชาติที่กระทำผิดในประเทศมาขึ้นศาลไทยและยังได้อิสรภาพในการกำหนดพิกัดอัตราภาษีศุลกากร ได้มีการเปลี่ยนธงชาติจากธงรูปช้างมาเป็นธงไตรรงค์ ด้านกองทหารอาสาไทยได้น?ำความรู้จากการฝึกและการปฏิบัติทางยุทธวิธีมาปรับปรุงใช้ในกองทัพ ส่วนกองบินทหารบกได้จัดตั้งเป็นกรมอากาศยานขึ้นเป็นครั้งแรก และต่อมาได้วิวัฒนาการเป็นกองทัพอากาศในปัจจุบันสำหรับกองทหารบกรถยนต์ได้พัฒนาเป็นกรมการขนส่งทหารบก

วันที่ระลึกทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่๑ ในปี ๒๕๕๗ นี้ เป็นปีครบรอบ ๑๐๐ ปี ของการเกิดสงครามโลก องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นโอกาสสำคัญในการที่จะทำให้ประชาชนและอนุชนรุ่นหลัง ได้ร?ำลึกถึงวีรกรรมของทหารไทยในสมรภูมิ ต่างแดนด้วยการจัดให้มีพิธี และกิจกรรมต่าง ๆ ในวันอังคารที่๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ในช่วงเช้าจัดพิธีบ?ำเพ็ญกุศลทางศาสนาพุทธ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณของทหารอาสาผู้ล่วงลับ และพิธีวางพวงมาลา ณ อนุสาวรีย์ทหารอาสา บริเวณท้องสนามหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลเรือเอกชุมพล ปัจจุสานนท์ เป็นผู้แทนพระองค์วางพวงมาลา นอกจากนี้ ยังมีผู้แทนจากส่วนราชการ หน่วยงาน สมาคมมูลนิธิ ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารต่างประเทศ ตลอดจนทายาททหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ ๑ มาร่วมวางพวงมาลา

 

  • องประชาสัมพันธ์ ฝ่ายนโยบายและแผน องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์