ทุกวันนี้คนพูดถึงแต่การเตรียมตัวเข้าเป็น AEC ก่อนหน้านี้ก็พูดกันทุกหน่วยงานแม้แต่หน่วยงานความมั่นคงผู้เขียนเกิดความสงสัยจึงหาคำแปลแล้วก็คิดได้ว่า ไม่น่าจะเกี่ยวกันเลย ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC นี้เป็นเรื่องเศรษฐกิจ ไม่เกี่ยวกับหน่วยงานที่ไม่ได้ทำงานทางเศรษฐกิจเลย

แต่เมื่อลองหาคำตอบแล้วก็ได้รู้ว่า มันเกี่ยวข้องกันอย่างไร ก่อนจะอธิบายความเกี่ยวข้อง ยกตัวอย่างง่ายๆ สมมติว่าเรามีบ้านหลังใหญ่ อยู่รวมกันหลายครอบครัวสิ่งแรกที่เราจะต้องทำคือความสุขสงบ ไม่มีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งทำร้ายกันแล้วส่งภาพลงใน IG แก่งแย่งสิ่งของส่วนรวม ไม่นินทาว่าร้ายกันแบบว่าไม่มีการเมืองภายในครอบครัว อันนี้เรียก การเมือง
จากนั้นสิ่งที่สองก็คือทุกครอบครัวมีข้าวกินไม่อดอยาก ลำบาก ต้องขอแบ่งหรือเบียดเบียนครอบครัวอื่น มีคุณภาพชีวิตที่ดีเรียกว่า อยู่ดีกินดี อันที่สองนี้คือ เศรษฐกิจ

สุดท้ายคือคนในครอบครัว ทุกคนเป็นคนที่มีคุณภาพ มีความรู้ มีคุณธรรมรักษาขนบธรรมเนียมอันดีตามศีลธรรมและความเชื่อทางวัฒนธรรมและศาสนาอันสุดท้ายนี้คือ สังคม

ผมเปรียบเทียบให้พอเห็นภาพนะครับบ้านหลังใหญ่นั้นก็คือ อาเซียนครับ บ้านที่มีคนอยู่เกือบ ๖๐๐ ล้านคน มีประเทศรวมอยู่ ๑๐ ประเทศ รวมถึงมีทรัพยากรธรรมชาติปริมาณมหาศาล

หลักของบ้านหลังใหญ่มีสามหลัก คือการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมการเมืองเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า ASEAN Political Security Community (ASC) เศรษฐกิจหรือ ASEAN Economic Community (AEC) และสังคมก็คือ ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC)

นี่แหละครับที่มาของ AEC ซึ่งที่ประชุมอาเซียนกำหนดว่าในปลายปี พ.ศ.๒๕๕๘ หรือค.ศ.๒๐๑๕ เราจะรวมเศรษฐกิจเป็นหนึ่งเดียวสาระอย่างเป็นทางการของ AEC คือการมีเป้าหมายของการรวมกลุ่มเศรษฐกิจเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (Single Market and Production Base) โดยให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุนและแรงงานฝีมือภายในอาเซียนอย่างเสรีและการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีมากขึ้น

อาเซียนตกลงกันให้เคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือได้อย่างเสรีในประชาคมอาเซียน มีวิชาชีพ ๗สาขา คือ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกรสถาปนิก นักบัญชี และนักสำรวจจบไปหนึ่ง

เสาหลัก หรืออีกสองเสาหลักครับ แล้วถ้าไทยเข้าเป็น AEC แล้วมันดีหรือเสียอย่างไร? ใครได้ประโยชน์ ใครเสียประโยชน์และจะอย่างไรมันเกี่ยวอะไรกับฉันด้วยล่ะ? ผมจะเล่าให้ฟังต่อถึงความเป็นมา เป็นอยู่ และจะเป็นไปของอาเซียน

เขียนคำที่ผู้อ่านอาจจะงง สรุปง่ายๆ ก็คือเรื่องของอดีต ปัจจุบัน และเรื่องอนาคตของอาเซียนครับผมขอวิเคราะห์ประวัติศาสตร์เป็น ๓ ยุค ดังนี้ครับยุคที่หนึ่ง ยุคโบราณ ตั้งแต่ดินแดนแถบนี้ยังเป็นอาณาจักร ไม่มีการแบ่งเขตแดนประเทศ มีเจ้าผู้ครองนครหรือกษัตริย์และยังปกครองในระบอบกษัตริย์อยู่ยุคที่สอง ยุคอาณานิคม ในช่วงที่ฝรั่งล่าเมืองขึ้น มีการแบ่งเขตแดนประเทศยุคที่สาม ยุคประกาศเอกราช เป็นยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง หลังจากญี่ปุ่นเข้าบุกยึดเอเซียอาคเนย์ ขับไล่ฝรั่งออกไปจากดินแดน

เริ่มจากยุคโบราณก่อนนะครับ ยุคนี้เป็นประวัติศาสตร์ของอาณาจักรต่าง ๆ ในแถบนี้ตั้งแต่พุกาม หงสาวดี สุโขทัย อยุธยา ล้านนาล้านช้าง จาม ขอม และศรีวิชัย ในยุคนี้ไม่มีเขตแดนกำหนดอย่างแน่ชัด อาณาจักรใดมีอำนาจหรือมีความเข้มแข็งก็จะครองความเป็นเจ้าเหนือดินแดนใกล้เคียง ในยุคนั้นเป็นการปกครองแบบเจ้าเมืองและกษัตริย์ การสืบต่อการปกครองทางสายเลือด ความสัมพันธ์ในดินแดนที่เป็นคาบสมุทร เป็นการแย่งชิงดินแดน ทรัพยากร โดยเฉพาะทรัพยากรบุคคลแน่นอนการดำเนินการดังกล่าวทำให้เกิดการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมประเพณี และภาษามาด้วย ในยุคนั้นทางศาสนาและความเชื่อได้รับมาจากจีนและอินเดีย เห็นได้จากสิ่งก่อสร้างจากศาสนาฮินดูในอาณาจักรขอมและหลักฐานที่ปรากฏในบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย นาฏศิลป์ในเรื่องโขนจากมหากาพย์รามายะนะ หรือเรื่องรามเกียรติ์

มีปรากฏให้เห็นในเกือบทุกประเทศ เว้นก็แต่เวียดนามซึ่งได้รับอิทธิพลอย่างมากจากจีน แต่ก็ยังมีความเชื่อมโยงทางศาสนาพุทธคล้ายกัน ไม่นานจากการที่เป็นเมืองท่าในตอนใต้ของคาบสมุทร และหมู่เกาะ ศาสนาอิสลามอิทธิพลมาจากการค้าขายกับประเทศทางตะวันออกกลาง มีการเรียกเจ้าผู้ครองนครว่า สุลต่าน และอิทธิพลด้านนี้ยังคงอยู่จนปัจจุบัน ยุคแห่งความเป็นโบราณสิ้นสุดลงเมื่อฝรั่งเข้ามา
ยุคที่สอง ยุคอาณานิคม หลังจากฝรั่งปฏิวัติอุตสาหกรรมทั้งการผลิตสินค้า การศึกษารวมถึงการผลิตอาวุธ การล่าอาณานิคมก็เริ่มขึ้นในทุกทวีปทั่วโลกรวมถึงในอาเซียนด้วยเริ่มจากเนเธอร์แลนด์ยึดอินโดนีเซีย อังกฤษ

ยึดสิงคโปร์ มาเลเซีย ฝรั่งเศสยึดเวียดนาม สเปนยึดฟิลิปปินส์ จากนั้นอังกฤษยึดพม่า ฝรั่งเศสบีบสยามยึดกัมพูชาและลาว ประเทศเดียวที่รอดพ้นจากภัยครั้งนี้คือ ประเทศสยามยุคนี้การแบ่งเขตแดนเป็นประเทศอย่างชัดเจนในบางพื้นที่และคลุมเครือในบางพื้นที่ ทำให้เกิดความขัดแย้งเรื่องดินแดนจนปัจจุบัน ทุกประเทศอยู่ภายใต้การกดขี่จากฝรั่งเป็นเวลายาวนาน ในขณะเดียวกันก็รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมและภาษาจากฝรั่งเข้ามา เห็นได้จากตัวอักษรของเวียดนามที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสตัวอักษรบาซาร์ใช้ภาษาอังกฤษ การนับถือศาสนาคริสต์ในเวียดนามและฟิลิปปินส์ ยุคนี้สิ้นสุดลงเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มปะทุขึ้น

ยุคเอกราช ภายหลังจากญี่ปุ่นประกาศสงครามเอเชียมหาบูรพา เข้ายึดประเทศต่าง ๆ ในแถบอินโดจีน ขับไล่ฝรั่งออกจากดินแดนนี้ ประเทศในแถบนี้เห็นว่าฝรั่งที่มายึดครองดินแดนต่าง ๆ ก็ไม่ได้เก่งไปกว่าชาติในเอเชีย

ในช่วงนี้เองถือว่าเป็นยุคแห่งวีรบุรุษและบิดาของประเทศต่าง ๆ เพราะหลังญี่ปุ่นแพ้สงคราม ฝรั่งจะเข้ายึดประเทศเหล่านี้เช่นเดิมแต่วีรบุรุษและบิดาของประเทศต่าง ๆ เป็นผู้นำไม่ยินยอมมีการเรียกร้องเอกราชและได้รับอิสระในที่สุด

ทุกประเทศต่างปรับตัวที่จะปกครองตนเองแต่ละประเทศล้มลุกคลุกคลานเหมือนเด็กเพิ่งหัดเดิน จึงหันเข้าหาประเทศมหาอำนาจในยุคนั้น ที่มีการปกครองที่แตกต่างกัน เกิดความขัดแย้งทางลัทธิการเมืองการปกครอง และนำไปสู่ความไม่วางใจกันของแต่ละประเทศ จนเกิดสงครามระหว่างคนในชาติเดียวกัน เพื่อยึดครองอำนาจในการปกครองประเทศ เช่นในเวียดนาม ในลาว และในกัมพูชา นับเป็นบทเรียนอันแสนเจ็บปวดของคนในอาเซียนและความบาดหมางไม่วางใจกัน จนปัจจุบันยุคปัจจุบันอาเซียนเป็นกลุ่มประเทศที่หอมหวานสำหรับชาติต่าง ๆ เหมือนสาวน้อย

284-22

วัยแรกแย้ม ที่หนุ่ม ๆ ต่างหมายปอง ด้วยจำนวนประชากรเกือบ ๖๐๐ ล้านคน รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมหาศาลอาเซียนไม่แทรกแซงกิจการภายในของกันและกัน ไม่ว่าพม่าจะปกครองโดยทหารหรือเวียดนามจะปกครองด้วยคอมมิวนิสต์จากยุคเอกราช ก็ไม่เกี่ยวกับการเป็นอาเซียนเขตแดนในยุคอาณานิคมก็ไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป อาเซียนมองย้อนกลับไปถึงการมีความเป็นจุดร่วมในอดีตเช่นเดียวกับในยุคโบราณ เรียกเป็นภาษาง่าย ๆ ว่า แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่างนั่นแหละครับ

ทั้งนี้ มีบทวิเคราะห์อนาคตหลังจากที่ไทยเข้าร่วม AEC มีข้อดีดังนี้เรื่องแรก คือ การขนส่งและการท่องเที่ยวไทยได้เปรียบเรื่องการขนส่งและท่องเที่ยวเพราะอยู่ในทำเลที่เป็นศูนย์กลางของอาเซียน

เรื่องที่สอง คือ เศรษฐกิจ เศรษฐกิจของไทยขยายตัว เพราะการเปิดเสรีด้านการค้า และประชากรอาเซียน ๑๐ ประเทศ รวมทั้งการรวมกลุ่ม อาเซียน +๓ คือเกาหลีใต้ จีน ญี่ปุ่นและการรวมกลุ่มอาเซียน +๖ คือเกาหลีใต้ จีนญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ รวมอยู่ในตลาดเดียวกัน

เรื่องที่สาม เรื่องความรู้และเทคโนโลยีประเทศในอาเซียนต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีระหว่างกัน

เรื่องที่สี่ คือ ความเจริญครอบคลุมมากขึ้นจากการพัฒนาถนนเชื่อมต่อภูมิภาค

284-23เรื่องที่ห้า คือ ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคถูกลง จากการนำเข้าวัตถุดิบปลอดภาษี และการนำเข้าสินค้าเกษตรราคาถูกจากประเทศสมาชิก

เรื่องที่หก ผู้ประกอบการไทยสามารถย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศสมาชิกทีมีค่าแรงถูกกว่าได้เพื่อลดต้นทุน

เหรียญมีสองด้านเสมอ คราวนี้เรามาดู ข้อเสียบ้างดีกว่า เรื่องที่หนึ่งคือพลเมืองไทยที่อ่อนด้วยภาษาอังกฤษ จะหางานทำยากขึ้นเรื่องที่สอง คือ แรงงานต่างด้าวแย่งใช้บริการพื้นฐานต่างๆ กับคนไทย เช่น โรงพยาบาล ไฟฟ้า ประปา

และเรื่องที่สาม คือ มีปัญหายาเสพติดอาชญากรรม ปัญหาสังคม และสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น จากการเปิดด่านชายแดนที่เดินเข้าออกสะดวก และประชากรไม่รู้ธรรมเนียมและกฎหมายไทย ของพลเมืองอาเซียนชาติอื่นข้อดีหกข้อ กับข้อเสียสามข้อ ลบกันได้ข้อดีสามข้อ แสดงว่าเราได้เปรียบเมื่อเข้าร่วมอาเซียน

ผิดครับ ไม่ใช่หลักคณิตศาสตร์หรอกครับเราไม่รู้ว่ามูลค่าที่วัดได้เป็นตัวเงินจากข้อดี กับรายจ่ายที่เราต้องใช้ในการดูแลในข้อเสียมีมากแค่ไหน คงยังตอบไม่ได้อย่างชัดเจนเราถอยไปไม่ได้ ต้องเรียนรู้และยอมรับมันเพื่อให้สามารถดำรงตนอยู่ในอาเซียนให้ได้อย่างมีความสุข และปลอดภัยครับ

 

  • พันเอก อภิสิทธิ์ บุศยารัศมี