รัสเซียเป็นประเทศที่มีบทบาทโดดเด่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มานับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองต่อเนื่องจนถึงโลกยุคสงครามเย็น ซึ่งขณะนั้นรัสเซียยังคงเป็น “สหภาพโซเวียต” หนึ่งในสองขั้วมหาอำนาจของโลก แต่เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลายลงในปี พ.ศ.๒๕๓๔ พร้อม ๆ กับการเคลื่อนตัวของสังคมโลกจากยุคหลังสงครามเย็นเข้าสู่ยุคแห่งการก่อการร้าย ทำให้บทบาทของรัสเซียในภูมิภาคแห่งนี้ลดลงอย่างเห็นได้ชัด อิทธิพลทางการเมืองและการทหารที่ยิ่งใหญ่ในอดีต ถูกแปรเปลี่ยนมาเป็น “พ่อค้าอาวุธสงคราม” ที่ขายอาวุธยุทโธปกรณ์ให้กับประเทศต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางทหารอย่างขนานใหญ่

เวียดนามเป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รัสเซียหรือสหภาพโซเวียตเคยมีอิทธิพลครอบงำทางการเมืองและการทหารอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงสงครามเวียดนาม และช่วงสงคราม “ตัวแทน” อันเนื่องมาจากความขัดแย้งระหว่างโลกเสรีและโลกคอมมิวนิสต์ในอินโดจีนอันยืดเยื้อยาวนานจนเมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลายลง พร้อม ๆ กับการผละออกจาก “ปลักตมสงคราม” ของเวียดนาม เพื่อหันไปพัฒนาเศรษฐกิจตามนโยบาย “โด๋ย เหม่ย” ก็ยิ่งทำให้บทบาทในการชี้นำด้านความมั่นคงของรัสเซียลดลงเรื่อย ๆ

อย่างไรก็ตามในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมาจีนได้แผ่ขยายอ?ำนาจเข้าสู่พื้นที่ทะเลจีนใต้อันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยก๊าซธรรมชาติและนำมันดิบจำนวนมหาศาล เพื่อแสวงหาแหล่งพลังงานใหม่ในการพัฒนาประเทศ ส่งผลให้เวียดนามกลายเป็นคู่ขัดแย้งกับจีนในพื้นที่ที่มีการอ้างกรรมสิทธิทับซ้อนหลายแห่งเช่น หมู่เกาะพาราเซลและหมู่เกาะสแปรตลีเป็นต้น เวียดนามจึงจำต้องมีการสะสมอาวุธยุทโธปกรณ์อย่างขนานใหญ่เพื่อมุ่งถ่วงดุลย์อำนาจกับจีน สถานการณ์ดังกล่าวทำให้รัสเซียกลายเป็นแหล่งจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ชั้นดีที่มีราคาสมเหตุสมผลแก่เวียดนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่เวียดนามสั่งซื้อเรือดำนำพลังงานดีเซลชั้น “กิโล” (Kilo) จำนวนถึง ๖ ลำ มูลค่ากว่า ๑,๘๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากรัสเซียเรือดำนำดังกล่าวนับเป็นเรือดำนำที่ทันสมัยที่สุดชนิดหนึ่งของรัสเซีย ถูกออกแบบให้มีภารกิจในการครองน่านนำ โดยมีขีดความสามารถ “ล่าเรือดำนำ” และ “ทำลายเรือผิวนำ” ของข้าศึกได้อย่างมีประสิทธิภาพเรือดำนำชุดแรกแรกคือ เรือ “ฮานอย” และ“โฮจิมินห์ซิตี้” มีการส่งมอบให้กับกองทัพเรือเวียดนามเมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๕๖ และต้นปีพ.ศ.๒๕๕๗ ที่ผ่านมาตามลำดับ รวมทั้งจะส่งมอบเรือดำนำลำที่สามคือ เรือ “ไฮ ฟอง” ในปลายปี พ.ศ.๒๕๕๗ นี้ ส่วนเรือดำนำที่เหลือคือ “ดา นัง”, “คานห์ หัว” และ “บา เรีย-วังเทา” จะทำการส่งมอบต่อไปภายใน ๒ ปีข้างหน้า อีกทั้งเวียดนามยังร่วมกับรัสเซียพัฒนาฐานทัพเรือที่อ่าวคัมรานห์ของตน เพื่อใช้เป็นฐานทัพสำหรับเรือดำนำทั้ง ๖ ลำอีกด้วยภายใต้เงื่อนไขที่กองเรือของรัสเซียสามารถใช้ฐานทัพเรือดังกล่าวได้ตลอดเวลา

นอกจากการจัดซื้อเรือดำนำและการพัฒนาฐานทัพเรือร่วมกับรัสเซียแล้ว ในด้านอาวุธอื่น ๆ กองทัพเวียดนามยังจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ประสิทธิภาพสูง ๒ ที่นั่งและ ๒ เครื่องยนต์ของรัสเซียแบบ ซุคคอย ซู-๓๐ เอ็มเค ๒ เพิ่มขึ้นอีกจ?ำนวน ๑๒ ล?ำคิดเป็นมูลค่า ๖๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ หลังจากที่เวียดนามเคยสั่งซื้อเครื่องบินรุ่นนี้มาแล้ว ๒ ครั้ง จำนวน ๒๐ ลำในปี พ.ศ.๒๕๕๒ และ พ.ศ.๒๕๕๓ ซึ่งทำให้ปัจจุบันเวียดนามมีฝูงบิน ซู-๓๐ เป็นจำนวนถึง ๓ ฝูง รวมทั้งรัสเซียยังให้เวียดนามกู้ยืมเงินจำนวน ๘ พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อพัฒนาโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แห่งแรกของประเทศอีกด้วย

นอกจากนี้เวียดนามยังนำรัสเซียเข้ามาเป็นคู่ขัดแย้งโดยตรงกับจีน โดยเฉพาะการลงนามในสัญญาโครงการพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติในทะเลจีนใต้นอกชายฝั่งเวียดนามจ?ำนวน ๒ โครงการกับบริษัท “แกซพรอม” (Gazprom) ของรัฐบาลรัสเซีย พื้นที่สัมปทานนั้นเป็นพื้นที่ใกล้เคียงกับพื้นที่พิพาทกับจีน ข้อตกลงดังกล่าวทำให้รัสเซียได้รับสัมปทานก๊าซธรรมชาติจำนวนร้อยละ ๔๙ ของพลังงานที่มีอยู่ในพื้นที่สัมปทานและก๊าซอัดแน่นอีกกว่า๒๕ ล้านตัน อาจกล่าวได้ว่าเวียดนามได้ทำการเสนอผลประโยชน์ทางทะเลจำนวนมหาศาลให้กับรัสเซีย เพื่อมุ่งหวังให้รัสเซียเข้ามาร่วมปกป้องดินแดนข้อพิพาทและเผชิญหน้ากับจีนแทนตนเอง

ความร่วมมือระหว่างเวียดนามและรัสเซียดังกล่าวกลายเป็นสิ่งที่น่าวิตกกังวลสำหรับจีนจนกระทั่งบทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์“โกลบอล เดย์ลี่” ซึ่งเป็นสื่อของรัฐบาลจีนได้วิจารณ์ความร่วมมือครั้งนี้สรุปได้ว่า “.. ความร่วมมือทั้งหมดก้าวหน้าไปไกลเกินกว่าขอบเขตของความร่วมมือทางเศรษฐกิจ มันก้าวล่วงเข้าไปสู่ขอบเขตของการเมืองและความมั่นคงอย่างเห็นได้ชัด .. รัสเซียต้องการพัฒนาความสัมพันธ์ด้านยุทธศาสตร์กับเวียดนาม ความสำคัญของทะเลจีนใต้สำหรับรัสเซียนั้น มิได้มีเพียงแต่ทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์เท่านั้น แต่ยังเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่ทำให้รัสเซียหวนกลับมายังภูมิภาคตะวันออก
แห่งนี้ ..”

อย่างไรก็ตามจีนตระหนักดีว่า ณ เวลานี้ ตนยังไม่มีความพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับรัสเซีย จึงพยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นด้วยการหันไปกระชับความสัมพันธ์กับรัสเซียโดยอาศัย “อำนาจทางเศรษฐกิจ” ของจีนที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ ๒ ของโลกเป็นเครื่องมือส่งผลให้มีการลงนามในข้อตกลงความร่วมมือด้านก๊าซธรรมชาติมูลค่ากว่า ๔๐๐,๐๐๐ ล้านดอลล่าห์สหรัฐฯ กับบริษัท “แกซพรอม” ของรัสเซีย ข้อตกลงดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงนัยสำคัญทางการเมืองและทางยุทธศาสตร์ด้านพลังงานของทั้งสองประเทศ ที่แปรสภาพเป็นคู่ค้าทางพลังงานที่สำคัญต่อกัน เนื่องจากในสัญญาฉบับนี้รัสเซียมีพันธะที่จะต้องส่งก๊าซธรรมชาติให้จีน ปีละ ๓๘,๐๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นเวลายาวนานถึง ๓๐ ปี และที่สำคัญคือการซื้อขายครั้งนี้ ทั้งจีนและรัสเซียได้ร่วมกันท้าทายมหาอำนาจสหรัฐฯ ด้วยการยกเลิกการใช้เงินสกุลดอลล่าห์สหรัฐฯ และหันมาใช้เงินสกุลหยวนของจีน เงินสกุลยูโรและเงินรูเบิลของรัสเซียแทน

ไม่เพียงแต่จีนได้สร้างพันธะทางด้านพลังงานกับรัสเซียเท่านั้น จีนยังหันมาพัฒนาความสัมพันธ์ด้านการทหารกับรัสเซียอีกด้วยโดยเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๗ ที่ผ่านมา กองทัพเรือจีนได้ท?ำการฝึกซ้อมทางทะเลกับกองทัพเรือรัสเซียบริเวณทะเลเหลืองของเมืองชานตงในทะเลจีนตะวันออกเป็นเวลา ๑ สัปดาห์ ภายใต้ชื่อรหัส “Joint Sea 2014” โดยในการฝึกครั้งนี้ยุทโธปกรณ์ของจีนประกอบด้วย เรือรบจำนวน ๖ ลำ เรือดำนำ ๒ ลำ เครื่องบิน ๙ ลำ และเฮลิคอปเตอร์อีก ๖ ลำ ส่วนยุทโธปกรณ์ของรัสเซียนั้นนำโดย เรือลาดตระเวน “วาร์ยัค” ซึ่งเป็นเรือธงติดขีปนาวุธข้ามทวีปของกองเรือรัสเซียภาคพื้นแปซิฟิค และเรือพิฆาต “บริสตรี” พร้อมด้วยเรือต่อต้่านเรือดำนำขนาดใหญ่, เรือยกพลขึ้นบกและเรือสนับสนุนรวมทั้งหมด ๖ ลำ เฮลิคอปเตอร์ ๒ ลำและชุดคอมมานโดของหน่วยนาวิกโยธินรัสเซียอีกจำนวนหนึ่ง จะเห็นได้ว่าการฝึกดังกล่าวเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ของรัสเซียและจีนในระดับที่ส?ำคัญ แม้ทั้งจีนและรัสเซียจะปฏิเสธว่าตนไม่ได้เป็นพันธมิตรทางทหารกันก็ตาม จึงอาจกล่าวได้ว่าการ “เดินหมาก” ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของจีนและเวียดนามในการดึงรัสเซียเข้ามาเป็นคู่กรณีในพื้นที่พิพาทในทะเลจีนใต้นั้น เป็นไปอย่างเข้มข้นจนต้องจับตามองกันอย่างใกล้ชิดเลยทีเดียว

ส?ำหรับความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียและมาเลเซียนั้นจัดได้ว่าอยู่ในระดับที่น่าสนใจเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะการที่ทั้งสองประเทศต่างมีแนวความคิดในลักษณะ “คู่ขนาน” กับสหรัฐฯ และโลกตะวันตกอยู่เสมอ ส่งผลให้ทั้งมาเลเซียและรัสเซียกลายเป็น “พันธมิตรทางความคิด” ไปโดยปริยาย โดยเฉพาะเหตุการณ์เครื่องบินสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่เอ็มเอช-๑๗ ถูกยิงตกในยูเครนเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๗ ที่ผ่านมา ซึ่งสื่อมวลชนในมาเลเซีย เช่น หนังสือพิมพ์“นิวสเตรทส์ ไทม์” มีการเสนอข่าวว่าผู้โจมตีเครื่องบินโดยสารลำดังกล่าวคือเครื่องบินรบของ “กองทัพยูเครน” ที่เป็นผู้ยิงอาวุธปล่อยนำวิถีแบบอากาศสู่อากาศใส่เครื่องบินของมาเลเซีย และกล่าวหาว่าสหรัฐฯ และยุโรปตะวันตกคือผู้สนับสนุนกองทัพยูเครนมาโดยตลอด ซึ่งสอดคล้องกับสื่อของรัสเซียที่ประโคมข่าวว่าองค์กรข่าวกรองกลางของสหรัฐฯ หรือซีไอเอ เป็นผู้อยู่เบื้องหลังโศกนาฏกรรมครั้งนี้แม้กระแสข่าวอีกด้านหนึ่งจากสหรัฐฯ และตะวันตกจะระบุว่าผู้ลงมือยิงคือ “กลุ่มกบฏ” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัสเซียก็ตาม

 

อ่านต่อ ตอนที่ 2 ….

 

 

  • พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ