ต่อจากตอนที่แล้ว…

นอกจากการมีแนวคิดที่ตรงกันเกี่ยวกับสหรัฐฯ และโลกตะวันตกแล้ว มาเลเซียยังมองรัสเซียว่าเป็นแหล่งจำหน่ายอาวุธยุทโธปกรณ์ให้กับกองทัพของตนเองมาโดยตลอด เมื่อปีพ.ศ.๒๕๓๘ กองทัพอากาศมาเลเซียได้สั่งซื้อเครื่องบินขับไล่ที่มีสมรรถนะสูงชนิดหนึ่งของโลกในขณะนั้นคือ มิก-๒๙ เอ็น/เอ็นยูบี จากรัสเซียจำนวน ๑๘ ล?ำ แบ่งเป็นแบบที่นั่งเดียวจำนวน ๑๖ ลำและแบบสองที่นั่งอีก ๒ ลำ เพื่อแสดงความเป็นเจ้าอากาศเหนือน่านฟ้าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากเครื่องบินชนิดนี้พัฒนาขึ้นมาเพื่อต่อต้านเครื่องบินขับไล่แบบเอฟ-๑๕ อีเกิลและแบบเอฟ-๑๖ ฟอลคอนของสหรัฐฯ ที่ประจำการอยู่ในกองทัพอากาศของประเทศเพื่อนบ้าน

แต่ในปัจจุบันเครื่องบินรบรุ่นนี้ของมาเลเซียประสบปัญหาพอสมควร และยังคงเหลือประจำการอยู่เพียง ๑๐ ลำ โดยประจำการที่ฝูงบินขับไล่ที่ ๑๙ ณ ฐานทัพอากาศกวนตัน สุลต่าน อาเหม็ด ชาห์ ในรัฐปะหัง เนื่องจากประสบอุบัติเหตุตกไป ๒ ลำคือหมายเลข เอ็ม๔๓-๑๗ ตกเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๑ ส่วนอีกลำคือหมายเลข เอ็ม ๔๓-๐๗ ตกเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๗ นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านเครื่องยนต์จนถูกปลดประจำการไปอีก ๖ ลำ สำหรับเครื่องบินที่เหลือนั้นคาดว่าจะปลดประจำการในปี พ.ศ.๒๕๕๘ปัจจุบันกองทัพอากาศมาเลเซียยังมีโครงการที่จะจัดซื้อเครื่องบินแบบ ซุคคอย ซู-๓๐ เอ็มเคเอ็มจากรัสเซียเข้ามาทดแทนเครื่องบินรุ่นดังกล่าวอีกด้วย

นอกจากมาเลเซียจะมองรัสเซียในฐานะ“พ่อค้าอาวุธสงคราม” แล้ว ยังมองว่ารัสเซียเป็นประเทศที่มีศักยภาพและเทคโนโลยีขั้นสูงสามารถเป็นผู้ให้การสนับสนุนวิทยาการสาขาต่าง ๆ แก่ตนได้โดยไม่ต้องพึ่งพาวิทยาการของสหรัฐฯ และโลกตะวันตก ดังเช่นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๐ องค์การด้านอวกาศแห่งชาติของมาเลเซียได้ส่งนักบินอวกาศคนแรกของประเทศคือ ชีค มุสซาฟาร์ ชูคอร์ เดินทางไปรับการฝึกด้านอวกาศที่กรุงมอสโคว์ เมืองหลวงของรัสเซีย ในโครงการ “อังกาซาวัน”(Angkasawan) ร่วมกับองค์กรสหพันธ์อวกาศแห่งรัสเซีย ก่อนที่จะประสบความสำเร็จในการนำเซลล์มะเร็ง เชื้อแบคทีเรียและโปรตีนขึ้นไปท?ำการศึกษาในอวกาศในที่สุด

ในส่วนความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับอินโดนีเซียนั้นถือได้ว่าแนบแน่นพอสมควรโดยเฉพาะในช่วงที่อินโดนีเซียถูกสหรัฐฯควำบาตรทางการค้าและการจำหน่ายอาวุธยุทโธปกรณ์ สืบเนื่องมาจากกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในติมอร์ตะวันออกในช่วงปีพ.ศ.๒๕๔๒ ทำให้อินโดนีเซียต้องหันมาสั่งซื้ออาวุธจากรัสเซีย แม้ปัจจุบันสหรัฐฯ จะหันมากระชับความสัมพันธ์กับอินโดนีเซียจนอาจกล่าวได้ว่า อินโดนีเซียกลายเป็น “ที่รักของอเมริกัน” (American darling) ไปแล้วในยุคของประธานาธิบดี บารัก โอบาม่า ก็ตาม

แต่จากประสบการณ์ดังกล่าวทำให้อินโดนีเซียตระหนักดีว่า การฝากชะตากรรมไว้กับมหาอำนาจเพียงชาติเดียวนั้น เป็นสิ่งที่ไม่สมควรกระท?ำเป็นอย่างยิ่ง อินโดนีเซียจึงยังคงพัฒนาความสัมพันธ์กับรัสเซียอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านการทหาร ซึ่งในงาน“อินโด ดีเฟนซ์ เอ็กซ์โป & ฟอรั่ม” ที่จัดขึ้นในอินโดนีเซียช่วงปี พ.ศ.๒๕๕๕ นายเปอร์โนโมยุสเกียนโตโร รัฐมนตรีกลาโหมอินโดนีเซียในขณะนั้น ได้เชื้อเชิญให้รัสเซียเข้ามามีส่วนร่วมโดยตรงในการพัฒนากองทัพอินโดนีเซียซึ่งท?ำให้แผนการพัฒนากองทัพอินโดนีเซียในขณะนี้ประกอบไปด้วยการจัดซื้อยุทโธปกรณ์จากรัสเซียจำนวนมาก เช่น รถถัง เรือฟริเกตเรือคอร์เวต เรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถี เรือด?ำน้?ำ และเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงแบบ ซุคคอย ซู-๓๐ เป็นจำนวนถึง ๖๔ลำ เครื่องบินฝึกและโจมตีขนาดเบาแบบ ยัค-๓๐ อีก ๑๖ ลำ ภายหลังจากที่รัสเซียเคยขายเครื่องบินรบตระกูล ซู-๒๗ และ ซู-๓๐ ให้กับอินโดนีเซียมาแล้ว ๑๖ ลำ นอกจากนี้ยังมีการสั่งซื้อเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์แบบ เอ็มไอ ๓๕,เอ็มไอ ๑๗, รถทหารราบแบบ บีเอ็มพี-๓ เอฟ,รถสายพานล?ำเลียงพลแบบ บีทีอาร์-๘๐เอและปืนไรเฟิลแบบ เอเค-๑๐๒ จากรัสเซียอีกจำนวนหนึ่ง

ล่าสุดประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ซึ่งเพิ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ได้เปิดเผยว่าอินโดนีเซียกำลังพิจารณาที่จะจัดซื้อเรือดำนำชั้น “กิโล” รุ่นปรับปรุงใหม่จากโครงการ ๖๓๖ (Project 636) ของรัสเซีย ซึ่งเป็นโครงการเดียวกับเรือดำนำของเวียดนามที่สั่งซื้อจากรัสเซีย แต่เรือดำนำรุ่นที่อินโดนีเซียสนใจนั้น คาดว่าจะมีระบบโซน่าร์ที่ทันสมัยกว่าของเวียดนาม โดยจะพัฒนาจากแบบ เอ็มจีเค-๔๐๐ อี เป็นรุ่น เอ็มจีเค-๔๐๐ อีเอ็ม นอกจากนี้อินโดนีเซียยังได้รับความช่วยเหลือในการพัฒนาและจัดหาระบบขีปนาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระยะไกลจากรัสเซียเพื่อใช้ในระบบป้องกันภัยทางอากาศของอินโดนีเซียอีกด้วย

ทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับฟิลิปปินส์นั้น แม้จะไม่ได้เน้นความช่วยเหลือด้านการทหาร เนื่องจากฟิลิปปินิ ส์เป็นประเทศที่เป็นพันธมิตรใกล้ชิดกับสหรัฐฯ มาตั้งแต่อดีตและปัจจุบันได้รับความช่วยเหลือด้านอาวุธยุทโธปกรณ์จากสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่องอย่างไรก็ตามรัสเซียก็พยายามพัฒนาความสัมพันธ์กับฟิลิปปินส์ผ่านภารกิจการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ โดยเฉพาะเมื่อครั้งที่ฟิลิปปินส์ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากพายุไต้ฝุ่น “ไห่เยี่ยน” หรือที่ชาวฟิลิปปินส์เรียกว่าพายุ “โยลันดา” (Yolanda) เมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๕๖ รัสเซียได้ส่งเครื่องบินลำเลียงขนาดใหญ่แบบ อิลยูชิน-๗๖ จำนวน ๒ ลำ บรรทุกสิ่งของบรรเทาทุกข์ เช่น อาหารกระป๋อง นำตาลและยารักษาโรคจ?ำนวนกว่า ๕๖ ตันไปยังเมืองเซบู เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยอีกด้วย

ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับพม่านั้น ในช่วงที่พม่าถูกกล่าวหาจากสหรัฐฯ และโลกตะวันตกว่าเป็นหนึ่งในสามรัฐอักษะแห่งความชั่วร้าย คือ อิหร่าน เกาหลีเหนือและพม่า ส่งผลให้พม่าต้องหันไปใกล้ชิดกับจีนและรัสเซีย จนได้รับความช่วยเหลือจากทั้งสองประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพัฒนาระบบพลังงานนิวเคลียร์นั้น เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๓ มีกระแสข่าวว่ารัฐบาลทหารของพม่าได้ประกาศที่จะพัฒนาระบบพลังงานนิวเคลียร์ขึ้นในประเทศบริเวณเมือง “พิน อูวิน” (Pyin Oo Lwin) หรือเมือง “เมเมี้ยว” เดิม โดยได้รับความช่วยเหลือจากรัสเซียและเกาหลีเหนือ กระแสข่าวนี้ถูกยืนยันจากเหตุการณ์นายทหารนักเรียนทุนของกองทัพพม่าที่กำลังศึกษาด้านวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์และการพัฒนาขีปนาวุธติดหัวรบนิวเคลียร์จำนวน ๒ นาย ถูกไล่ออกจากมหาวิทยาลัยบาวแมน (Bauman University) ในกรุงมอสโคว์ เนื่องจากกระทำผิดกฎด้วยการดื่มสุราภายในหอพัก อย่างไรก็ตามภายหลังจากการเดินทางไปเยือนพม่าของประธานาธิบดีบารัก โอบาม่าแห่งสหรัฐฯ ธรรมชาติทางการเมืองและการทหารของพม่าก็เปลี่ยนแปลงไปมีการผ่อนปรนตามแนวทางของโลกตะวันตกมากขึ้น เพื่อให้ได้มาซึ่งการยอมรับและเพื่อหวนกลับเข้าสู่สังคมโลก โดยเฉพาะโครงการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ที่สหรัฐฯ กังวลใจเป็นอย่างมาก ทั้งนี้จากการประชุม “เสวนาแชงกรี-ลา” (Shangri-la Dialogue) ณ ประเทศสิงคโปร์เมื่อ วันที่ ๑-๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๕ พลเอก ลา มิน (Hla Min) รัฐมนตรีกลาโหมของพม่าในขณะนั้นได้เปิดเผยต่อที่ประชุมถึงโครงการพัฒนานิวเคลียร์ของพม่าว่าได้ยุติลงแล้ว อีกทั้งเมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายนของปีเดียวกัน ประธานาธิบดี เต็ง เส่ง แห่งพม่า ได้ลงนามข้อตกลงกับส?ำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศหรือ ไอเออีเอ (IAEA : International Atomic Energy Agency) ซึ่งจะส่งผลให้พม่าต้องเปิดเผยข้อมูลนิวเคลียร์ทั้งหมดต่อไอเออีเอ เพื่อแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลพม่าไม่มีโครงการที่จะผลิตอาวุธนิวเคลียร์ โดยความช่วยเหลือจากรัสเซียและเกาหลีเหนือตามที่สหรัฐฯ และโลกตะวันตกวิตกกังวล

นอกจากนี้ในช่วงต้นทศวรรษที่ ๒๕๔๐ รัสเซียได้สนับสนุนการก่อสร้างระบบป้องภัยทางอากาศแบบรวมการ (Myanmar Integrated Air Defense System (MIADS)) โดยเฉพาะการวางระบบโครงข่ายไฟเบอร์ออพติคทั่วประเทศ เพื่อเชื่อมโยงการสื่อสารจากศูนย์บัญชาการทางทหารในนครเนปิดอว์ไปยังฐานทัพอากาศต่าง ๆ ตลอดจนสถานีเรดาร์เตือนภัยล่วงหน้า, หน่วยยิงขีปนาวุธน?ำวิถีต่อต้านอากาศยานเคลื่อนที่ และหน่วยปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานต่าง ๆ ด้วยการช่วยเหลือจากรัสเซียในครั้งนี้ ท?ำให้คาดว่าระบบป้องกันภัยทางอากาศของพม่าเป็นระบบที่สมบูรณ์ที่สุดประเทศหนึ่งในภูมิภาคนี้จากที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างบทบาทด้านความมั่นคงของรัสเซียในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่นับวันจากเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และจะกลายเป็นตัวแปรสำคัญส?ำหรับยุทธศาสตร์ “การแสวงหาพลังงาน” ของจีนและยุทธศาสตร์ “การปรับสมดุล” ของสหรัฐฯ ในอนาคตอันใกล้นี้อย่างไม่มีทาง
หลีกเลี่ยงได้

 

  • พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ