เนื่องจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ได้เล็งเห็นว่ากระบวนการปรองดองสมานฉันท์ และการปฏิรูปในเรื่องต่างๆ เป็นเรื่องที่มีความจำเป็นเร่งด่วนจึงได้มีคำสั่งจัดตั้งศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป เมื่อ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๗ โดยมอบให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นหน่วยรับผิดชอบด?ำเนินการ ต่อมา คสช. ได้พิจารณาเห็นว่า เพื่อให้กระบวนการปรองดองสมานฉันท์ และการปฏิรูปในเรื่องต่าง ๆ เป็นที่ยอมรับของทุกกลุ่มทุกฝ่าย และมีความสำคัญต่อการดำเนินงานใน Road Map ระยะที่ ๑ ของ คสช. จึงได้มีคำสั่งจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการปรองดองและการปฏิรูป และให้จัดตั้งคณะทำงานเตรียมการปฏิรูปเพื่อคืนความสุขให้คนในชาติ โดยมอบให้สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นหน่วยรับผิดชอบดำเนินการ เมื่อ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๗

การทำงานของคณะทำงานเตรียมการปฏิรูป ฯ ในห้วง ๔ เดือน ตั้งแต่มิถุนายน ถึงกันยายน ๒๕๕๗ มีการดำเนินงานที่สำคัญได้แก่ การรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นผ่านช่องทางโทรศัพท์ จดหมายและไปรษณียบัตรE-mail ข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัยและข้อมูลจากหน่วยงานราชการ ความเห็นและข้อเสนอในงานมหกรรมปรองดองสมานฉันท์คืนความสุขให้คนในชาติ การจัดการสัมภาษณ์เชิงลึก(In-depth Interview) การจัดการประชุมกลุ่มย่อยผู้ร่วมให้ความคิดเห็น (Focus Group)และการจัดเสวนาร่วมกับสถาบันพระปกเกล้าซึ่งคณะทำงานเตรียมการปฏิรูปฯ ได้นำข้อมูลดังกล่าวข้างต้นจัดทำเป็นเอกสารกรอบความเห็นร่วม ในการปฏิรูป ๑๑ ด้าน จำนวน ๑๑ เล่ม และได้นำเสนอให้ หน.คสช.เพื่อพิจารณาใช้ประโยชน์ เมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๗

ในระหว่างที่รอการแต่งตั้งสมาชิก สปช.นั้นคสช.ได้มอบภารกิจให้สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมดำเนินการในห้วงต่อไป โดยมีการปรับหน้าที่ของคณะทำงานฯ ให้สอดคล้องกับการทำงานของ สปช. ในลักษณะการทำงานคู่ขนานกัน เป็นเสมือนกระจกสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน ในประเด็นการปฏิรูปที่ สปช. จะได้ประชุมหารือกัน คณะทำงานเตรียมการปฏิรูปฯ จึงได้หารือกับเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรซึ่งทำหน้าที่ เลขา สปช.เพื่อกำหนดแนวทางการทำงานร่วมกันโดยในชั้นต้นคณะทำงานเตรียมการปฏิรูปฯ ได้ส่งไฟล์ข้อมูลกรอบความเห็นร่วมการปฏิรูปประเทศไทยทั้ง ๑๑ ด้าน เพื่อนำไปจัดทำเอกสารแจกจ่ายให้ สปช. และได้จัดทำฐานข้อมูล on line ให้ สปช. สามารถนำข้อมูลที่รวบรวมไว้ทั้งหมดไปใช้ประโยชน์ ซึ่งสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้ดำเนินการสร้างบัญชีผู้ใช้งานและรหัสผ่านเข้าสู่ระบบ แจกจ่ายให้กับ สปช. เรียบร้อยแล้ว และคณะทำงานเตรียมการปฏิรูปฯ จะได้รวบรวมข้อมูลและข้อคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ตามช่องทางที่กล่าวแล้วในข้างต้นส่งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ทาง E – mail สัปดาห์ละ๑ ครั้ง ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ เป็นต้นไป

ในด้านการประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆคณะทำงานเตรียมการปฏิรูปฯ ได้เชิญผู้แทนศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป(ศปป.) เข้าร่วมประชุม เพื่อประสานการปฏิบัติทุกสัปดาห์ โดยเฉพาะการเสนอประเด็นหรือข้อมูลสำหรับการปฏิรูป เพื่อให้ ศปป. นำไปสอบถาม หรือใช้เป็นหัวข้อในการเสวนาหรือกิจกรรมอื่นๆ ในส่วนภูมิภาคต่อไป

นอกจากนี้ หน.คณะทำงานเตรียมการปฏิรูปฯ ยังได้นำคณะทำงานฯ เข้าพบเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เพื่อหารือแนวทางในการดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลการปฏิรูปที่ได้รับจากการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั้งในส่วนที่ดำเนินการโดยคณะทำงานเตรียมการปฏิรูป ฯ และในส่วนของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและนำมาใช้ประโยชน์ต่อไป

สำหรับช่องทางการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ทั้งที่อาศัยในประเทศไทยและในต่างประเทศ คณะทำงาน ฯ ได้เปิดเว็บไซต์เพื่อน?ำประเด็นที่กำลังอยู่ในความสนใจ หรือกำลังอยู่ในการพิจารณาของ สปช. มาจัดทำเป็นแบบสอบถาม ซึ่งประชาชนสามารถเข้ามาแสดงความคิดเห็นได้ โดยกรอกในแบบสอบถามซึ่งจะสะดวกและไม่ยุ่งยากนอกจากนี้ ยังมีช่องทางการติดต่อและส่งข้อมูลของคณะทำงานเตรียมการปฏิรูปเพื่อคืนความสุขให้คนในชาติ อีกหลายช่องทาง ได้แก่

  • โทรศัพท์ จำนวน ๕ เลขหมาย คือ๐ ๒๒๒๔ ๘๙๔๔ – ๔๘
  • โทรสาร (FAX) ที่หมายเลข : ๐ ๒๖๒๒๒๒๘๒
  • E – mail : rfm@mod.go.th
  • Website : http://rfm.mod.go.th
  • ไปรษณีย์ สามารถส่งได้ที่คณะทำงานเตรียมการปฏิรูปฯ ตู้ ปณ.๙๙ ไปรษณีย์ สาขามหาดไทย
    กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๖ (ไม่เสียค่าใช้จ่าย)