กองทัพอากาศสิงคโปร์ (RSAF) มีโครงการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่เอฟ-๑๖ซี/ดีบลอค ๕๒(F-16C/DBlock 52) จำนวน ๖๐ เครื่องเป็นเงิน ๒.๔๓ พันล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อวันที่๑๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๗ ตามโครงการ เอฟเอ็มเอส (FMS) การปรับปรุงที่สำคัญคือระบบเรดาร์ (AESA), ระบบพิสูจน์ฝ่าย (IFF), ระบบหาพิกัด (LN-260) และหมวกนักบิน (JHMCS)ระบบชุดอุปกรณ์เหล่านี้จัดซื้อรวม ๗๐ ชุด(อะไหล่ ๑๐ ชุด) การปรับปรุงตามโครงการเสร็จเรียบร้อยแล้วจะเป็นเครื่องบินขับไล่เอฟ-๑๖ซี/ดี ทันสมัยที่สุด เครื่องบินขับไล่เอฟ-๑๖ซี/ดี บลอค ๕๒ ประจำการระหว่างปีพ.ศ.๒๕๔๑-๒๕๔๖ รวม ๗๔ เครื่อง ประจำการ ๓ ฝูงบิน คือ ฝูงบิน ๑๔๐ (Osprey), ฝูงบิน๑๔๓ (Phoenix) และฝูงบิน ๑๔๕ (Hornet) ฝูงบินขับไล่ เอฟ-๑๖ซี/ดี จะมีความพร้อมรบมากที่สุดฝูงหนึ่งของโลกนักบินขับไล่ได้รับการฝึกที่สหรัฐอเมริกาโดยการจัดซื้อหลักสูตรการฝึกเป็นเงิน ๒๕๑ ล้านเหรียญสหรัฐ (ได้รับอนุมัติเมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๗เวลา ๕ ปีใช้เครื่องบินขับไล่ เอฟ-๑๖ซี/ดี รวม๑๔ เครื่องจากฝูงบิน ๔๒๕ ฐานทัพอากาศลุค)มีประสบการณ์จริงในการใช้อาวุธทางอากาศทุกแบบในทุกภารกิจบินรวมทั้งปฏิบัติการร่วมกับเครื่องบินเติมน้ำมันทางอากาศเคซี-๑๓๕อาร์ (ฝูงบิน ๑๑๒) และเครื่องบินเตือนภัยทางอากาศแบบจี-๕๕๐เออีดับเบิ้ลยู(ฝูงบิน ๑๑๑) เครื่องบินทั้งสองแบบเป็นเครื่องบินที่มีความสำคัญในปฏิบัติการทางอากาศสมัยใหม่เข้าร่วมทำการฝึกในรหัสเรดแฟลกซ์(Red Flag) รัฐอลาสกาเป็นการฝึกปฏิบัติการทางอากาศขนาดใหญ่ที่สุดภารกิจทางอากาศที่ใกล้เคียงกับปฏิบัติการจริงมากที่สุด (ปฏิบัติการฝึกต่อเนื่องนาน ๑๐ วัน) ของประเทศกลุ่มพันธมิตรสหรัฐอเมริกานักบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยวแบบเอฟ-๑๖ซี ภารกิจขับไล่และนักบินขับไล่ชนิดที่นั่งคู่แบบเอฟ-๑๖ดี ภารกิจโจมตีพิสัยไกล มีประสบการณ์ในปฏิบัติการทางอากาศอย่างมากพร้อมด้วยจรวดนำวิถีพิสัยกลางก้าวหน้าแบบ เอไอเอ็ม-๑๒๐ซี๕/๗ รวม ๓๐๐นัด, จรวดนำวิถีพิสัยใกล้ เอไอเอ็ม-๙เอ็กซ์ รวม๒๒๐ นัด, จรวดนำวิถีโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดิน เอจีเอ็ม-๖๕บี/ดี/จี (Maverick) รวม ๒๔๘ลูกและลูกระเบิดนำวิถีแบบ เจแดม (JDAM มีความแม่นยำสูงเนื่องจากนำวิถีด้วย GPS) รวม๑,๕๘๓ ลูก

284-42สหรัฐอเมริกาช่วยเหลือกองทัพอากาศอินโดนีเซีย (TNI-AU) ให้เครื่องบินขับไล่แบบเอฟ-๑๖ บลอค ๒๕ (F-16 Block 25) จำนวน๒๔ เครื่อง (รุ่นที่นั่งเดี่ยว ๑๙ เครื่อง และรุ่นฝึกสองที่นั่ง ๕ เครื่อง) เป็นส่วนเกินของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา กองทัพอากาศอากาศอินโดนีเซีย (TNI-AU) จะต้องทำการปรับปรุงใหม่ให้มีความทันสมัยตามโครงการเอฟเอ็มเอส (FMS) เป็นเงิน ๗๕๐ ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๔ กองทัพอากาศอินโดนีเซีย (TNI-AU) ประจำการเครื่องบินขับไล่ เอฟ-๑๖ บลอค ๑๕ โอซียู (F-16A/BBlock 15 OCU) จำนวน ๑๐ เครื่อง ฐานทัพอากาศอิสวาฮ์ยูดิ (Iswahyudi AFB) จังหวัดชวาตะวันออก นำเข้าประจำการเดือนธันวาคมพ.ศ.๒๕๓๒ จ?ำนวน ๑๒ เครื่อง แต่ได้ประสบอุบัติเหตุตก ๒ เครื่อง เมื่อได้รับมอบครบตามโครงการกองทัพอากาศอินโดนีเซีย (TNI-AU)ประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่แบบ เอฟ-๑๖รวมทั้งสิ้น ๓๔ เครื่องกองทัพอากาศอินโดนีเซีย(TNI-AU) รับมอบเครื่องบินขับไล่เอฟ-๑๖ ซี/ดีบลอค ๕๒ ชุดแรก (รุ่นมาตรฐานในปัจจุบัน)เมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๗ ฐานทัพอากาศฮิล (Hill Air Force Base) รัฐยูท่าฮ์สหรัฐอเมริกา รวม ๓ เครื่องจะได้รับมอบครบตามโครงการในปี พ.ศ.๒๕๕๘

284-43

เครื่องบินขับไล่เบาเอฟ-๑๖ พัฒนาขึ้นตามความต้องการของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาท?ำการบินครั้งแรก เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคมพ.ศ.๒๕๑๗ ข้อมูลสำคัญประกอบด้วยนักบิน๑ นาย ขนาดยาว ๑๕.๐๖ เมตร ช่วงปีก๙.๙๖ เมตร สูง ๔.๘๘ เมตร นำหนักปกติ๘,๕๗๐ กิโลกรัม (๑๘,๙๐๐ ปอนด์) นำหนักบินขึ้นสูงสุด ๑๙,๒๐๐ กิโลกรัม (๔๒,๓๐๐ปอนด์) เครื่องยนต์เทอร์โบแฟน แรงขับขนาด๒๘,๖๐๐ ปอนด์ ความเร็วสูงสุด ๒.๐ มัครัศมีทำการรบ ๕๕๐ กิโลเมตรเพดานบินสูง๑๕,๒๔๐ เมตร (๕๐,๐๐๐ ฟุต) ติดตั้งอาวุธภายนอกลำตัวได้ ๘ จุด (บรรทุกอาวุธหนัก๑๗,๐๐๐ ปอนด์ หรือ ๗,๗๐๐ กิโลกรัม) ปืนกลอากาศขนาด ๒๐ มิลลิเมตร (M-61A1 พร้อมลูกกระสุนปืน ๕๑๑ นัด) ภารกิจต่อสู้ทางอากาศโดยติดตั้งจรวดนำวิถีพิสัยใกล้ (AIM-9/IRIS-T) หรือพิสัยกลาง (AIM-7/AIM-120)ภารกิจโจมตีภาคพื้นดินติดตั้งลูกระเบิดนำวิถีแบบเจแดม (JDAM) ได้ ๔ ลูก และจรวดนำวิถีโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดินได้ ๖ ลูก (AGM-65 Maverick) ผลิตมาแล้ว ๓ รุ่นหลัก (แยกเป็นรุ่นย่อยได้ ๙ รุ่น) ยอดการผลิตกว่า ๔,๕๔๐เครื่อง กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกานำเข้าปฏิบัติการทางทหารใน ๖ สมรภูมิ, กองทัพอากาศอิสราเอล ๕ สมรภูมิ, เนเธอร์แลนด์ ๓ สมรภูมิ และปากีสถาน ๓ สมรภูมิ

กองทัพอากาศไทย (RTAF) ปรับปรุงเครื่องบินขับไล่เอฟ-๑๖ เอ/บีบลอค ๑๕ โอซียูจำนวน ๑๘ เครื่อง จากฝูงบิน ๔๐๓ ฐานทัพอากาศตาคลี สหรัฐอเมริกาเสนอต่อสภาคองเกรส เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๓เป็นการปรับปรุงครึ่งทางของการใช้งาน (MLU:Mid-Life Upgrade) แบ่งการดำเนินงานออกเป็น ๓ ระยะ (ดำเนินการครั้งละ ๖ เครื่องระหว่างปี พ.ศ.๒๕๕๔-๒๕๖๐ งบประมาณจะซ้อนกันหนึ่งปี) เป็นเครื่องบินขับไล่ เอฟ-๑๖ซี/ดี รุ่นมาตรฐานในปัจจุบัน อุปกรณ์สำคัญคือเรดาร์ เอพีจี-๖๘ (วี) ๙ ระบบเชื่อมข้อมูลทางยุทธวิธี (Tactical Data Link) กองทัพอากาศไทยได้รับมอบเครื่องบินชุดแรกเมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๗ จะมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น เมื่อปฏิบัติการทางอากาศร่วมกับเครื่องบินเตือนภัยทางอากาศแบบซ๊าบ ๓๔๐ เออีดับเบิ้ลยู (Saab 340 AEW) จากฝูงบิน๗๐๒ จะทราบข้อมูลทางยุทธวิธีอย่างรวดเร็วทันต่อสถานการณ์