284-35ในปี ๒๐๐๓ เกิดสงครามอิรักเพื่อโค่นล้มรัฐบาล ประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซ็น โดยการนำของสหรัฐฯ และสหรัฐฯ ได้ถอนตัวออกไปในปี ๒๐๑๑ เมื่อคิดว่าได้จัดระเบียบประเทศนี้ค่อนข้างเรียบร้อยแล้ว เหตุผลของการบุกอิรักนั้น ก็เพื่อตัดต้นตอของแหล่งเพาะพันธุ์การก่อการร้ายและทำลายหรือขัดขวางที่ตะวันตกคาดการณ์ว่า อิรักกำลังผลิตและพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ลำพังสังคมในตะวันออกกลางที่ไม่มีนิวเคลียร์ก็สร้างความปั่นป่วนได้ทั่วโลกอยู่แล้ว ถ้าพวกเขาได้ครอบครองอาวุธมหาประลัยทำลายล้างสูงอีก ก็ยิ่งเพิ่มความกังวลให้กับตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐฯ มากขึ้นนับหมื่นนับแสนเท่า

การโค่นซัดดัมนั้น ก็เป็นแค่การโค่น ข้อขัดแย้งจากปัญหาดั่งเดิมของพวกเขาก็ยังคงอยู่ และกำลังเดินหน้าต่อไป ปัญหาดั่งเดิมในตะวันออกกลางนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะแก้ไขด้วยวิธีการง่าย ๆ คือการปลุกปั่นเปลี่ยนผู้นำแล้วก็จบกันไป เหมือนประเทศในอเมริกาใต้ หากแต่รากเหง้าปัญหาของประเทศในตะวันออกกลาง เป็นเรื่องของความแตกแยกในความเชื่อในศาสนาเดียวกันคืออิสลาม โดยรวมแล้วชาวมุสลิมมีความศรัทธาในศาสนาสูงมาก พร้อมพลีชีพเพื่อปกป้องพระเจ้าของเขา (Jihad) ได้อย่างสบาย ๆ ไม่ต้องคิดอะไรมาก และเชื่อว่าเป็นทางลัดที่จะได้เข้าเฝ้าพระเจ้าเร็วขึ้น อิสลามมีการแบ่งแยกอย่างน้อยก็สองความเชื่อที่เป็นศัตรูกันอย่างชัดเจนในตะวันออกกลาง เป็นการเผชิญหน้าของสองกลุ่มนิกายในศาสนาอิสลามคือ มุสลิมซุนนี่ (Sunni) โดยมีซาอุดิอาระเบีย มิตรที่เหนียวแน่นในตะวันออกกลางของสหรัฐฯเป็นผู้นำ และมุสลิมชีอะห์ (Shia) มีอิหร่านมหาอำนาจเก่าเปอร์เซียอยู่หัวแถวหลังจากการสิ้นยุคของซัดดัม ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ในอดีตของอิรัก แต่ต้องจบบทบาทอย่างแสนอัปยศ ก่อนถูกพิพากษาให้ประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ ผู้นำท่านนี้หนีการไล่ล่าอย่างสุดชีวิต มีชีวิตที่เหลืออยู่ด้วยความยากกลุ่มต่าง ๆ ในประเทศไม่ได้เลย ความวุ่นวายและรุนแรงถึงขั้นจลาจลและฆ่าล้างแค้นกันเกิดขึ้นแทบจะทุกวันของกลุ่มซุนนี่และชีอะห์กลุ่มชีอะห์ได้เปรียบค่อนข้างมาก เนื่องจากผู้นำของอิรักคือนายกรัฐมนตรี นูรี อัลมาลิกี(Nouri Al-Maliki) เป็นชีอะห์ ซึ่งคนนี้ขึ้นเป็นผู้นำอิรักมาตั้งแต่ปี ๒๐๐๗ ยาวนานมากกับประเทศที่เปราะบางอย่างอิรักเวลานี้ ซึ่งการเป็นชนชั้นที่ถูกปกครองจากกลุ่มศาสนาที่เป็นศัตรูนั้น ชาวซุนนี่เองรู้สึกถึงการถูกกดขี่ทางสังคม จึงเกิดการรวมตัวกันขึ้นทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศและแผ่อิทธิพลลึกเข้าไปทางเหนือของซีเรีย เพราะที่นั่นก็มีซุนนี่อยู่มาก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต่อต้านการเข้ามามีอิทธิพลของชาติตะวันตกหรือง่ายขึ้นมาอีกคือ การขับไล่รัฐบาลที่ได้รับการสนับสนุนจากตะวันตก เหตุผลอีกประการหนึ่งอันเป็นรากเหง้าของปัญหาคือ ความต้องการแยกตัวเป็นอิสระปกครองตนเองโดยใช้กฎหมายอิสลามบริสุทธิ์ (Sharia) เป็นเครื่องมือในการบริหารประเทศ ซึ่งเหตุผลประการหลังนี้ไปสอดคล้องกับความต้องการของชาวเคิร์ด (Kurds) ที่เป็นมุสลิมซุนนี่ด้วยเหมือนกันและมีความพยายามมานานมากที่จะแยกตัวออกจากอิรักเพื่อปกครองตนเอง เพราะในเรื่องเชื้อชาตินั้นพวกเขาแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับชาวอิรัก นักรัฐศาสตร์ต่างคาดการณ์กันว่า ในอนาคตอิรักอาจต้องแตกเป็นสามส่วนคือ เขตปกครองของซุนนี่,เขตปกครองของชาวเคริ์ด และเขตปกครองของชาวชีอะห์

284-39

ปฐมบทการรวมตัวกันเพื่อต่อต้านตะวันตกจากหลาย ๆ กลุ่มของมุสลิมสุดโต่งซุนนี่ ได้รับการสนับสนุนจากขาใหญ่อัลกออิดะห์ พวกเขาได้สร้างสมความเข้มแข็งและความโหดขึ้นมาเรื่อย ๆ จนมาโด่งดังขึ้นมามากในปลายปี๒๐๑๓ เมื่อกองกำลังพวกเขาได้บุกยึดเมืองต่าง ๆ ทางตอนเหนือของอิรักและข่มขู่ว่าจะบุกยึดแบกแดดเลยทีเดียว เมื่อแข็งแกร่งพวกเขาจึงเรียกกลุ่มตนเองอย่างเป็นทางการว่า ISIL (The Islamic State in Iraq and the Levant : Levant หมายถึงดินแดน เลบานอนอิสราเอล และ จอร์แดน) หรือ ISIS (Islamic State in Iraq and Syria, Islamic State inIraq and Al-Sham : Al-Sham เป็นชื่อซีเรียในภาษาอาหรับ) ซึ่งก็คือกลุ่มเดียวกัน โดยมีผู้นำคือนาย Abu Baker Al Baghadadi รัฐบาลอิรักได้ประมาณการว่านักรบของ ISIS ที่ปฏิบัติการอยู่ทั้งในอิรักและซีเรียมีมากกว่า๑๒,๐๐๐ คน และจะมีเพิ่มขึ้นเรื่อยจากนักรบอาสามุสลิมที่มาจากทั่วโลก

284-38

ด้วยความสุดโต่งที่มากเกินควบคุมของนักรบ ISIS กลุ่มอัลกออิดะห์ที่เคยให้การสนับสนุนอยู่เดิมนั้น ถึงกับประกาศตัดขาดความสัมพันธ์กับ ISIS ใน ก.พ.๒๐๑๔ แต่ก็คงไม่มีผลต่อสถานะของพวกเขาเท่าไรนักเนื่องจากในทางลับๆแล้วแหล่งรายได้ที่กลุ่มนี้มีอย่างมหาศาลคือการขายนำมันเถื่อนในตลาดมืดจากแหล่งนำมันที่ยึดได้ทั้งในซีเรียและอิรัก

284-37ความฮึกเหิมของ ISIS เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเพิ่มมากขึ้น ISIS ได้บุกโจมตียึดเมืองสำคัญทางตะวันตกเฉียงเหนือของอิรัก รวมถึงมีอิทธิพลเข้าไปทางตอนเหนือของซีเรียด้วย จนทำให้เขตนี้กลายเป็นเขตสูญญากาศของอำนาจการปกครองของรัฐบาลอิรักและซีเรีย ต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของ ISIS ไปเลย อีกทั้งระดับความรุนแรงร้ายกาจก็มาก34 นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถมขึ้นอยู่ในขั้นอำมหิต ถึงขนาดออนไลน์การฆ่าเชือดคอให้ขาดของสองนักข่าวอเมริกันถึงสองคนในเวลาห่างกันไม่นานนักในช่วงเดือนส.ค.-ก.ย. ๒๐๑๔ เป็นการประกาศท้ารบและต้องการดึงสหรัฐฯ เข้ามาแบบเต็มตัวอย่างชัดเจน เพื่อยกปัญหาของตนเองให้มีมูลค่าต่อชาวโลกมากยิ่งขึ้น สิ่งที่ตามมาคือการจะได้รับการสนับสนุนจากโลกอิสลามแก่ ISIS มากขึ้นนั่นเอง แต่สหรัฐฯ ยังไม่แสดงที่ท่าในการส่งกำลังทหารเข้าไปในอิรัก เนื่องจากยังคงขยาดกับแผลเก่าที่เพิ่งเสร็จสิ้นไปในสงครามอิรักรวมถึงการเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายในปากีสถานและอาฟกานิสถานรวมถึงบ่วงอีกหลายอย่างที่สหรัฐฯ เกี่ยวข้องอยู่ในภูมิภาคนี้

ISIS เปิดศึกภายในทั้งในซีเรียและอิรัก หากแต่ศึกในซีเรียเท่านั้นที่เพลี่ยงพลำไม่สามารถกดดัน นายบาร์ซา อัล อัสซาด ประธานาธิบดีซีเรีย ให้ลาออกได้ ซึ่งผู้นำซีเรียท่านนี้ได้รับการสนับสนุนจากรัสเซียและจีน ในการวีโต้ของการใช้กำลังทหารในนามสหประชาชาติโดยการนำของสหรัฐฯ เข้ามาแก้ไขปัญหาการฆ่าล้างผลาญศัตรูทางการเมืองของเขา ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดจากการติดเชื้อ Arab Spring ในปี ๒๐๑๑ ข้อต่างที่แปลกไปอีกของประเทศนี้คือ มีการปกครองจากชนชั้นปกครองที่มาจากชนกลุ่มน้อย ที่มีประมาณ ๑๒ % ของประชากร ชนกลุ่มนี้นับถือลัทธิ Alawite ไม่เกี่ยวกับอิสลาม แต่มีอำนาจปกครองชนกลุ่มใหญ่ซึ่งเป็นมุสลิมซุนนี่

284-40ศึกในอิรักนั้น ISIS อยู่ในสถานการณ์ที่ได้เปรียบ ได้รับการสนับสนุนจากซาอุดิอาระเบียมุสลิมชุนนี่ ส่วนสหรัฐฯนั้น เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกันอยู่หลายฝ่ายมาก ในสถานการณ์เช่นนี้ จึงต้องระมัดระวังในการแสดงบทบาทถึงแม้ว่าจะเป็นมหามิตรกับซาอุดิอาระเบียก็ตาม หากต้องช่วยรัฐบาลอิรักปราบปรามISIS ก็ต้องเกรงใจซาอุดิอาระเบีย และจะทำให้ความพยายามโค่นรัฐบาลอัสซาดของซีเรียยากขึ้นไปอีก เพราะ ISIS ก็ถือเป็นเครื่องมืออันหนึ่งในซีเรียที่จะช่วยสหรัฐฯโค่นรัฐบาลอัสซาดและในขณะเดียวกันก็ยังห่วงชาวคริสต์ที่อยู่ในเขตยึดครองของ ISIS จะถูกข่มเหงรังแกด้วยอีกเหตุผลหนึ่งที่สหรัฐฯ ยังกังวลอยู่มากคือการที่เพิ่งถอนตัวจากสงครามอิรักตั้งปี ๒๐๑๑ พร้อมกับบาดแผลทางเศรษฐกิจที่สาหัส หรืออีกนัยยะซ่อนเร้นอันหนึ่งคือ ตราบใดที่ธุรกิจนำมันของสหรัฐฯ ยังไม่ถูกคุกคามจาก ISIS สหรัฐฯ ก็จะยังไม่เต็มที่ต่อกรณี ISIS

สหรัฐฯต้องอยู่ในสถานะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก รักพี่เสียดายน้อง ในกรณีของ ISIS ทั้งในอิรักและซีเรีย สิ่งที่ทำได้ดีที่สุดของสหรัฐฯ ในเวลานี้ต่อ ISIS ในทางทหารคือการใช้ Drone บ.ไล่ล่าสังหารไร้นักบินเท่านั้น

ปัญหาของประเทศในตะวันออกกลาง เป็นเรื่องที่มีความโยงใยเกี่ยวข้องมากมายจนยากที่จะเข้าใจ ถึงจะเป็นผู้ที่เกิดและโตในประเทศเหล่านี้ ก็ยากที่จะทำความเข้าใจในเรื่องราวมี่ซับซ้อนนี้ได้ แต่อย่างไรก็ตามนักรัฐศาสตร์หรือนักการทหาร หรือนักอะไรก็แล้วแต่ ที่พอจะเกี่ยวข้อง ต้องติดตามสถานการณ์ให้ทันต่อเหตุการณ์อย่างสมำเสมอ เนื่องจากทุกเรื่องราวที่เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ มีผลต่อความเป็นไปของประชาคมโลกเป็นอย่างมาก ข้อเท็จจริงของการบริหารข้อขัดแย้งในยุคนี้คือความเข้าใจซึ่งกันและกัน เชื่อมกันด้วยวิถีทางการทูต เป็นเครื่องมือที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนทางดีที่สุดในการระงับข้อขัดแย้งใด ๆ “Deplomatic by Designed”

  • นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม