จากสภาวการณ์ปัจจุบันที่งบประมาณด้านความมั่นคงมีจำกัด ดาวเทียมขนาดเล็กจึงกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับดาวเทียมเพื่อความมั่นคง ด้วยคุณสมบัติที่นอกจากจะมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าแล้ว ยังสามารถสร้างขึ้นได้ง่ายกว่า รวดเร็วกว่า และการนำส่งสู่วงโคจรสามารถทำได้ง่ายกว่า แต่โจทย์สำหรับการวิจัยและพัฒนาคือการทำให้ดาวเทียมขนาดเล็กมีประสิทธิภาพ(Performance) ความเชื่อถือได้ (Reliability)และอายุการใช้งาน (Longevity) ในระดับที่สามารถท?ำงานทดแทนดาวเทียมขนาดใหญ่ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันได้ ดาวเทียมขนาดเล็กสามารถแบ่งประเภทย่อยได้ตามนำหนักดังนี้Minisatellite (น้ำหนัก ๑๐๐ ถึง ๕๐๐ กก.) Microsatelite (นำหนัก ๑๐ ถึง ๑๐๐ กก.)Nanosatelite (นำหนัก ๑ ถึง ๑๐ กก.) และPicosatellite (นำหนัก ๐.๑ ถึง ๑ กก.) และFemosatellite (นำหนักน้อยกว่า ๑๐๐ ก.)
หน่วยงานวิจัยและพัฒนาของกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา (The Defense Advanced Research Projects Agency,DARPA) ได้ริเริ่มโครงการวิจัยและพัฒนาดาวเทียมขนาดเล็กหลายโครงการโดยวัตถุประสงค์หลักอยู่ที่การพัฒนาขีดความสามารถด้านอวกาศของกลาโหมทั้งด้านดาวเทียม การนำส่ง และสถานีภาคพื้น และการพัฒนาระบบดาวเทียมขนาดเล็กและระบบนำส่งดาวเทียมขนาดเล็กสู่วงโคจรให้สามารถตอบสนองต่อภารกิจทางทหารได้ตามกรอบเวลาที่กำหนด
โครงการ MiTEx (The MicrosatelliteTechnology Experiment) เป็นโครงการที่มุ่งทดสอบระบบต่าง ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงจากหลายภาคส่วน ตั้งแต่ระบบพลังงานและระบบขับดันนำหนักเบา ระบบระบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการควบคุมอากาศยานและการสื่อสาร(Avionic) ระบบโครงสร้างดาวเทียม และชิ้นส่วนประกอบแบบสำเร็จรูป (Commercialoff-the Shelf, COTS) โครงการนี้แสดงเห็นความเป็นไปได้ของการสร้างดาวเทียมขนาดเล็กต้นทุนตำ ที่สามารถสร้างให้พร้อมนำส่งสู่วงโคจรได้ในห้องปฏิบัติการ ใช้เวลาสร้างน้อยภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรมและรัฐบาล
โครงการ TacSat-2๓ เป็นโครงการวิจัยของAir Force Research Laboratory (AFRL)ด้วยความช่วยเหลือจาก Naval ResearchLaboratory (NRL) TacSat-2 เป็นงานวิจัยต่อยอดจาก TacSat-1 ซึ่งล้มเหลวในขั้นตอนการนำส่งสู่วงโคจร เป้าประสงค์ของโครงการคือการทดสอบข้อจำกัดของการพัฒนาดาวเทียมขนาดเล็กพร้อมอุปกรณ์บรรทุก (Payload) เพื่อการใช้งานด้านยุทธการ ความสำเร็จในการนำส่ง TacSat-2 สู่วงโคจรของโครงการสามารถยืนยันแนวความคิด Joint Warfighters Space (JWS) ได้ ซึ่งหลังจากประสบความส?ำเร็จของโครงการนี้จึงมีโครงการ TacSat-3 TacSat-4 และ TacSat-5 ตามมา
โครงการ The Space and MissileDefense Command: OperationalNanosatellite Effect (SMDC-ONE) เป็นอีกหนึ่งโครงการดาวเทียมขนาดเล็ก แต่เป็นโครงการที่ดำเนินการตามความต้องการของกองทัพบกสหรัฐ ดาวเทียมที่วิจัยและพัฒนานี้เป็น Nanosatellite เพื่อใช้สนับสนุนการติดต่อสื่อสารในสนามรบ วัตถุประสงค์ของโครงการคือการสร้างดาวเทียมขนาดเล็กและนำส่งสู่วงโคจรระดับตำ (Low Earth Orbit,LEO) เป็นจำนวนหลายดวงตามความจำเป็นได้ในเวลาอันรวดเร็ว เพื่อสนับสนุนการติดต่อสื่อสารในระดับยุทธวิธี คุณสมบัติเด่นของโครงการคือ ต้นทุนตำ สร้างและนำส่งสู่วงโคจรได้ง่าย สามารถสับเปลี่ยนทดแทนดาวเทียมได้บ่อยตามความจำเป็นทำให้สามารถปรับปรุงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ (upgrade) ได้ตลอดมีความอ่อนตัวสามารถครอบคลุมพื้นที่ปฏิบัติได้ไม่จำกัดขนาดพื้นที่ ที่สำคัญคือสามารถใช้ได้ในทุกภารกิจทั้งภารกิจทางด้านการรบและที่มิใช่การรบ
ประเทศไทยใช้ประโยชน์จากดาวเทียมในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการสื่อสารโทรคมนาคม การวิเคราะห์ วิจัยทางวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ การใช้ข้อมูลภาพจากดาวเทียมเพื่อวางแผนพัฒนาประเทศการใช้งานด้านความมั่นคงและการป้องกันประเทศ การอุตุนิยมวิทยาและการเฝ้าระวังภัยธรรมชาติ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของประชาชนและความมั่นคงของประเทศโดยตรงและความต้องการใช้งานดาวเทียมของไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี แม้ว่าประเทศจะมีดาวเทียมของตัวเองเช่น ไทพัฒ หรือ THEOS แต่การดำเนินการส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งพาการสนับสนุนจากต่างชาติ กล่าวได้ว่าการพัฒนากิจการด้านอวกาศของประเทศไทยยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น ซึ่งการดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จจะต้องมีการดำเนินการในหลาย ๆ ด้าน ตั้งแต่การวิจัยและพัฒนาดาวเทียม อุปกรณ์บรรทุก (payload)จรวดนำส่งดาวเทียม สถานีส่งจรวด และสถานีควบคุม เป็นต้น ซึ่งการด?ำเนินการในแต่ละส่วนต้องอาศัยแต่ละภาคส่วนที่มีขีดความสามารถเฉพาะด้าน สำหรับประเทศไทยมี สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) หรือ สทอภ. เป็นหน่วยงานหลักซึ่งนอกจากจะด?ำเนินการวิจัยและพัฒนากิจการด้านอวกาศแล้วยังเป็นหน่วยงานที่ให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศ บริการวิชาการต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ที่ผ่านมาสทอภ. ได้มีผลงานการดำเนินการเกี่ยวกับอวกาศหลายโครงการ โครงการส่งดาวเทียมขนาดเล็กขึ้นสู่วงโคจรระดับตำ เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ สทอภ. วางแผนที่จะดำเนินการโดยแสวงหาความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นที่มีศักยภาพ
สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทป. เป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนาของกระทรวงกลาโหม ซึ่งมีขีดความสามารถในการวิจัยและพัฒนาจรวดหลายลำกล้องที่มีระยะยิงไกลสูงสุด ๑๘๐ กม. จึงจัดเป็นหน่วยงานที่ความชำนาญพิเศษเฉพาะในเรื่องของจรวดเชื้อเพลิงแข็ง (Solid Rocket Motor) จากองค์ความรู้ ประสบการณ์ดังกล่าว สทป. จึงเป็นหน่วยงานที่เหมาะสมในการสนับสนุน โครงการส่งดาวเทียมขนาดเล็กของ สทอภ. ในด้านการวิจัยและพัฒนาจรวดนำส่งดาวเทียม (Launching Vehicle) ฐานส่งจรวด (Launching Platform) และสถานีส่งจรวด (Launching Site) เพื่อเป็นการประยุกต์และต่อยอดองค์ความรู้ด้านการออกแบบ วิจัยและพัฒนาจรวด อย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์โดยรวมของประเทศ