บนคาบสมุทรบอลข่าน ประเทศใน แถบทะเลดำ ที่เต็มไปด้วยปัญหา สารพัดทั้งเรื่องศาสนา ดินแดน ลัทธิทางการเมืองและเชื้อชาติ เรื่องราวเหล่านี้ ล้วนแต่เขย่าความมั่นคงของสังคมโลก มาแล้วทั้งสิ้น เอาแค่ใกล้ตัวในเรื่องราวที่พอ จะจำกันได้ ในช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในปี ๑๙๑๔ นั้น ความน่ากลัวและโหดร้าย ของเหตุการณ์ที่มีชนวนมาจากประเทศใน คาบสมุทรนี้ ก็สร้างความพินาศต่อระบบสังคมไปทั่วทั้งโลก รวมถึงการสูญเสียชีวิตพลเรือน และทหารทั้งสองฝ่ายอีกนับล้าน

การสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ก็เป็น เพียงการสิ้นสุดเนื่องจากอ่อนเปลี้ยกำลังกัน เท่านั้น แต่ความแค้นจากรอยแผลเดิม ๆ สาเหตุเดิม ๆ ก็ยังอยู่ในใจของชาติที่เป็นอริกัน อยู่ พร้อมกับสร้างเสริมกำลังกันอย่างเงียบ ๆ ไปพร้อมกับการฟื้นฟูประเทศ จนกระทั่งมา แตกหักรบกันอีกรอบในสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเริ่มในปี ๑๙๓๙ และสงครามโลกคร้ังที่สองนี้ น่าจะจบบทบาทของสงครามโลก อย่างชัดเจน ไม่น่าจะเกิดขึ้นเป็นครั้งที่สามอีก แล้ว เนื่องจากทุกประเทศซาบซึ้งถึงหายนะ หลังสงครามที่ร้ายกาจกันอย่างเจ็บปวด อีก ทั้งประชาคมโลกก็มีความเข้มแข็งขึ้นในรูป ขององค์การสหประชาชาติ อันเป็นองค์กรที่ เกิดขึ้นหลังสงครามสงบ คอยประคับประคอง ประชาชาติไปในทางที่เป็นมิตรและสร้างสรรค์ สงครามโลกครั้งที่สองปิดฉากลง จากการ เกิดขึ้นของระเบิดนิวเคลียร์ ชาติที่ช้ำใจที่สุดก็คือญี่ปุ่น ซึ่งรับไปเต็ม ๆ ถึงสองลูกในเดือน สิงหาคม ๑๙๔๕ คือ Little Boy และ Fat Man จักวรรดิ์ญี่ปุ่นถึงกับจุกเสียดแน่นไปหมด จักรพรรดิญี่ปุ่นต้องประกาศยอมแพ้ ก่อนที่ ชาติจะยับเยินมากกว่านี้

เมื่อโลกสงบจากสงครามโลกครั้งที่สอง ประมาณปี ๑๙๔๕ มีประเทศเกิดใหม่และ ประเทศที่ถูกผนวกเข้าไปเป็นสาธารณรัฐอยู่ มากโดยเฉพาะในยุโรปและบริเวณคาบสมุทร บอลข่าน ความขัดแย้งตรงหน้าได้ลดระดับลง ไปใต้ดินเป็นสงครามเย็นที่เผชิญหน้ากันของ สองค่ายลัทธิการปกครองคือประชาธิปไตย อันมีประเทศสหรัฐฯ เป็นหัวเรือใหญ่ และฝ่าย ลทัธคิอมมวินสิตท์มี่สีหภาพโซเวยีตเปน็แกนนำ กาลเวลาผ่านไปพร้อมกับแนวความคิดในการ เผชิญหน้าก็ลดลงไป ต่างฝ่ายต่างหันมามอง ความผาสุกและความเป็นอยู่ในทางเศรษฐกิจ ของตนเองมากขึ้น

สิ่งบอกเหตุอันแรกของการสิ้นสุดสงครามเย็นคือ ในปี ๑๙๘๙ เกิดการทลายกำแพง เบอร์ลิน เพื่อการรวมกันอย่างสันติของคนเชื้อ ชาติเดียวกันคือเยอรมันตะวันออกและตะวันตก จนกระทั่งถึงปี ๑๙๙๑ ซึ่งถือว่าเป็นปีที่สิ้น สุดสงครามเย็นอย่างแท้จริง สหภาพโซเวียตที่ยิ่งใหญ่โดยผู้นำชื่อ มคิาอลิ กอรบ์าชอฟ ภายใต้ นโยบายปฎิรูปการเมืองและเศรษฐกิจ ได้ ปล่อยให้ชาติดั่งเดิมในการผนวกภายใต้การ ปกครองเป็นอิสระ ส่วนใหญ่จะเป็นประเทศใน ยุโรปตะวันออก ซึ่งหนึ่งในนั้นคือยูเครน เมือง หลวงคือกรุงเคียฟ (Kieve)และสาธารณรัฐ ปกครองตนเองไครเมีย (Crimea) เมืองหลวง คือกรุงซิมฟัสโตปอล (Savastopol) หากแต่ ในขณะนั้นไครเมียอยู่ภายใต้ร่มธงของยูเครน เนื่องจากมีการปกครองแบบสาธารณรัฐ ผู้คน ส่วนใหญ่ในไครเมียเป็นคนรัสเซีย ส่วนใน ยูเครนก็เป็นคนยูเครน และยังมีพวกไครเมียตาตาร์ เป็นชาวมุสลิมซุนหนี่ ชื่อดูแปลก ๆ เจือปนอยู่บ้าง

สรุปแล้วในดินแดนแถบนี้พวกเขามีความ แตกต่างกันในเรื่องเชื้อชาติกันอยู่แล้ว ซึ่ง เป็นที่แน่นอนทางด้านภูมิศาสตร์และเชื้อชาติ คนยูเครนก็ต้องการที่จะเป็นแบบยุโรปตะวัน ตก คือมีแนวคิดการปกครองและสถานะทาง เศรษฐกิจที่ไปในทางที่เจริญกว่า และมีความ พยายามที่จะผูกตนเองเข้ากับกลุ่มเศรษฐกิจ EU สำหรับไครเมียและบางส่วนของยูเครน ตะวันออก ที่ผู้คนส่วนใหญ่เป็นคนรัสเซีย ก็ยังมีความต้องการลึกๆที่จะอยู่กับรัสเซีย ก็เพื่อความมั่นคงของพวกเขานั่นเอง ขืนอยู่ใน ยูเครนต่อไป สถานะตนเองจะเป็นแค่ชนกลุ่ม น้อยไปโดยปริยาย

ในที่สุดแรงแค้นภายในยูเครนและไคร เมียก็เดินทางมาถึงจุดจบหรือจุดที่ควรจะ เป็น ความตึงเครียดถึงขั้นแตกหักเกิดขึ้นใน ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๔ ซึ่งเป็นวันสุดท้าย ที่รัฐบาลแห่งกรุงเคียฟของยูเครน โดยนาย วิคเตอร์ ยูโนโควิช ประธานาธิบดีจะต้อง ลงนามกับ EU (Europian Union) ตาม ข้อตกลงที่ให้ไว้กับประชาชน ที่จะนำพา ประเทศเข้าร่วมในกลุ่มประเทศ EU แต่ผู้นำ รัฐบาลยูเครนกลับไม่ใส่ใจเอาดื้อ ๆ โดยได้ แสดงที่ท่าอย่างชัดเจนไม่ลงนามในการเข้า ร่วมเป็นกลุ่มสมาชิก EU ตามความต้องการ ของคนยูเครนส่วนใหญ่ รวมถึงไม่ใส่ใจในข้อ เรียกร้องของประชาชนที่ต้องการให้รัฐบาล ยูเครนปฏิรูปรัฐธรรมนูญพร้อมกับจัดให้มีการ เลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ เมื่อผิดคำมั่น สัญญาและเสียงเรียกร้องที่ไม่ได้รับการตอบ สนอง กระแสความไม่พอใจถูกปลุกเร้าขึ้น เรื่อย ๆ ประชาชนแห่กันออกมาประท้วงสร้าง ความวุ่นวายและเกิดความเสียหายต่อชีวิตและ ทรัพย์สินทั้งของรัฐและของเอกชนอย่างหนัก ความวุ่นวายในระดับที่น่ากลัวเหล่านี้กระจาย ไปทั่วทุกหนแห่งในเคียฟรวมไปถึงเมืองใหญ่ ๆ อีกหลายเมืองที่นิยมยุโรปตะวันตก

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีความต่อเนื่องและ จะเลวร้ายลงทุกที นายวิกเตอร์ ยานูโควิช ประธานาธิบดียูเครน ผู้นำที่อยู่ในคาถาของ รัสเซียต้องหนีไปตั้งหลักในรัสเซีย พร้อมกับ ขอความช่วยเหลือทางทหารให้เข้าไปช่วย รักษาความสงบหรือทวงคืนอำนาจของเขา กลับมา รัสเซียซึ่งรอทีท่าอยู่แล้วได้ส่งกำลัง ทหารนับหมื่นนายเข้าไปในแหลมไครเมีย โดย อ้างแบบหรู ๆ ตามเชิงทางการทูตว่า เพื่อการ ปกป้องคนรัสเซียไม่ถูกกดขี่ข่มเหง อีกทั้งยัง เสริมกำลังทหารจ่อประชิดชายแดนด้านติด กับยูเครน พร้อมบุกเมื่อสั่ง และเพื่อเป็นการ ข่มขู่ด้วย และในขณะเดียวกันนั้นยูเครนได้ตั้งรัฐบาลรักษาการณ์ซึ่งนิยมยุโรปตะวันตกขึ้น บริหารประเทศ

แต่อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ที่หลายฝ่าย หวาดวิตกกันมากว่า สถานการณ์จะไปถึง ขั้นนองเลือดรบกันแตกหักนั้น ก็ไม่ได้เกิดขึ้น เนื่องจากผู้นำมหาอำนาจทั้งอเมริกาและยุโรป เข้าช่วยไกล่เกลี่ยกับนายปูติน ประธานาธิบดี รัสเซีย แต่ในที่สุดเรื่องของการคับที่อยู่คับใจอยู่ยากก็เกิดขึ้นของชาวไครเมีย

สาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมียได้จัด ทำประชามติในเดือนมีนาคมให้ประชาชนใน แหลมไครเมียเลือกที่จะเป็นอิสระจากยูเครน และเข้าไปอยู่กับรัสเซีย ผลก็เป็นไปตามคาด หมายคือ ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการที่จะไป อยู่กับรัสเซียยิ่งตรงใจรัสเซียมาก เพราะรัสเซียเองมีความต้องการที่จะรื้อฟื้นสหภาพยูเรเซีย (Eurosia Union) หรือโซเวียต II ให้กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งเมื่อผลออกมาเป็นเช่นนี้รัฐสภาดูมาของรัสเซียถึงกับรีบประกาศผนวกแหลม ไครเมียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียทันที

จากข้อมลูตามประวัติศาสตรข์องแหลมไคร เมียนั้น แหลมทองของบอลข่านแห่งทะเลดำนี้ เคยเป็นของรัสเซียในยุคของนิกิต้า ครุสชอฟ ผู้นำสหภาพโซเวียต ได้ยกเป็นรางวัลให้ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน ในปี ค.ศ. ๑๙๕๔ ด้วยความผูกพันซื่อสัตย์กันดี ที่ยูเครน ยอมอยู่ใต้ธงรัสเซียมายาวนานถึงสามร้อยปี

การได้แหลมไครเมียอยู่ในการปกครองของรัสเซีย ทำให้รัสเซียมีความมั่นใจในยทุธศาสตร์ ตนเองมากขึ้น เนื่องจากรัสเซียมีกองเรือขนาดใหญ่ในทะเลดำ มีฐานปฏิบัติการที่เมืองซิมฟัส โตปอล (Savastopol) ทำให้ไม่ต้องกังวล การปิดล้อมของนาโตในภูมิภาคนี้ รัสเซีย สามารถที่จะครอบครองความเป็นเจ้าอากาศและเจ้าทะเลเหนือคาบสมุทรบอลข่านได้อย่างสบายๆ

อย่างไรก็ตามทั้งรัสเซียและยุโรปก็ซดกัน ได้ไม่เต็มที่นัก เนื่องจากผลประโยชน์ที่เอื้้อกัน มหาศาลของท่อก๊าซจากรัสเซียผ่านดินแดน ยูเครนไปยังยุโรป สำหรับศักดิ์ทางด้าน เศรษฐกิจของแหลมไครเมียนั้น ไครเมียเป็น แหล่งเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมขนาด ใหญ่ รวมถึงผลิตกระแสไฟฟ้าเลี้ยงรัสเซียด้วย และที่สำคัญในเรื่องของเชื้อชาติ รัสเซียเชื่อมั่น ว่าการผนวกดินแดนครั้งนี้ คงไม่สร้างปัญหา ภายในรบกวนรัสเซียอย่างแน่นอน เนื่องจาก เป็นประชามติของประชาชนชาวไครเมียที่ผู้คนส่วนใหญ่เป็นชาวรัสเซีย

เรื่องน่าเศร้าของความขัดแย้งที่สร้างความ หดหู่ให้กับชาวโลกคือ ในวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ตามเวลาท้องถิ่น ๑๒๑๕ เครื่องบินแบบ Boeing 777-200ER ของ Malaysia Airline พร้อมโดยสารและลูกเรือรวมกัน ๒๘๕ คน เดินทางจากกรุงอัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์

ไปกรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย ถูกขีปนาวุธ แบบ BUK ผลิตโดยรัสเซีย ยิงตกขณะบิน เหนือน่านฟ้าบนแผ่นดินที่เป็นกรณีพิพาท ของรัฐบาลยูเครนและกลุ่มแบ่งแยกดินแดน โดยเครื่องบินอยู่สูงถึง ๓๓,๐๐๐ ฟุต หรือ ๑๐ กิโลเมตรซึ่งเป็นระยะสูงที่สายการบิน พลเรือนทำการบินเป็นปกติ ผู้โดยสารและ ลูกเรือทั้งหมดต้องพลัดพรากจากผู้เป็นเป็น ที่รัก ทั้งที่ยังไม่ได้สั่งเสีย

เศษซากของเครื่องบินกระจายเป็นบริเวณ กว้างถึง ๑๕ กิโลเมตรในเขต โดเนตสค์ ทางภาคตะวันออกของยูเครน ติดพรมแดน รัสเซีย และนิยมรัสเซีย สาเหตุที่แท้จริง กำลังสอบสวน แต่ที่แท้จริงยิ่งกว่าคือ ไม่มี ฝ่ายใดออกมาแสดงความรับผิดชอบ ซึ่ง ก่อนหน้านี้ในวันที่ ๑๔ กรกฎาคม เครื่องบิน ของกองทัพยูเครนแบบ แอนโตนอฟ-๒๖ ก็ถูก ฝ่ายแบ่งแยกดินแดนยิงตกมาแล้ว ผล ความผิดพลาดต่อเป้าหมายพลเรือนครั้งนนี้ ทำให้สายการบินพานิชย์หลายสัญชาติ ทบทวนหรือหลีกเลี่ยงการบินผ่านน่านฟ้า มหาภัยนี้ทันที

Ukrain Crisis 2014 คงเป็นเรื่องที่ต้องใช้ เวลาในการเจรจากันอีกยาวนาน เนื่องจาก ความซับซ้อนของปัญหาไปพัวพันกันไว้มาก เช่น เชื้อชาติ, ศาสนา, ดินแดน, ผลประโยชน์ และทรัพยากร โดยมีคู่เจรจาหลัก ๆ ตอนนี้ คือ สหรัฐฯ ซึ่งมีลูกคู่คือ EU แต่ออกตัวแรงไม่ ได้มากนัก เนื่องจากมีผลประโยชน์แฝงอยู่มาก หรืออีกนัยยะหนึ่งกลุ่มแรกนี้สามารถเรียกได้ ว่าเป็นกลุ่ม องค์สนธิสัญญาแอตแลนติคเหนือ หรือนาโต (NATO) ก็ได้ อีกสองชาติคือรัสเซีย และยูเครน ซึ่งประเทศหลังนี้ต้องเข้าข้าง EU แน่นอนอยู่แล้ว อีกทั้งผู้น?ารัฐบาลรักษาการณ์ ของยูเครนเองก็ประกาศชัดเจนว่า ยินดีเจรจา ทุกเรื่องราวแต่จะอยู่บนพื้นฐานที่ไม่ยอมรับ การผนวกดินแดนแหลมไครเมีย ซึ่งย่อมทำให้ ปัญหายุ่งยากเข้าไปอีก

อย่างไรก็ตามพวกเขาก็ให้สัญญากันว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นข้อขัดแย้งกัน จะใช้ วิถีทางเจรจาทางการทูตเป็นหลัก แม้ว่า ขณะนี้ยังมีการสู้รบในเขตยูเครนตะวัน ออกของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่ได้รับ การสนับสนุนจากรัสเซียอย่างไม่เปิดเผย ก็ตาม สำหรับการต่อสู้ในระดับรัฐสภาราดา (RADA) ของยูเครนนั้น ประธานาธิบดี เปโตร โปโรเซนโก ได้ประกาศยุบสภาและ เรียกร้องให้จัดการเลือกตั้งใหม่ ในวันที่ ๒๖ ตลุาคม เพอื่ใหส้อดคลอ้งกบัความตอ้งการของ ประชาชน และเพื่อสกัดออกสมาชิกรัฐสภาอีก จ?านวนมากที่เห็นดีเห็นงามกับกลุ่มกบฏแบ่ง แยกดินแดน ส่วนเรื่องการ Sanstions ของ สหรัฐฯ และ EU ต่อรัสเซียนั้น ก็เป็นเพียงแค่ยาอ่อนๆ เท่านั้น และต้องระมัดระวังการตอบ กลับของรัสเซียด้วยเช่นเดียวกัน “หยิกเล็บ ก็เจ็บเนื้อ”

การต่อสู้ของทั้งสองฝ่ายคือรัฐบาลยูเครน และกลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดน ที่มีฐานที่มั่นคง อยู่ที่เมืองโดเนตสก์และลูฮานสก์ ทางตะวัน ออก ยังเหลือเป้าหมายสำคัญที่ยังเผด็จไม่ได้ คือเมืองมาริอูโปลเมืองยุทธศาสตร์สำคัญทาง ทะเลอาซอฟ การต่อสู้ของพวกเขาทั้งสอง ฝ่ายน้ัน ยังไม่ใส่กันเต็มที่นักเพราะว่ายังห่วง ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนและ อยู่ข้อตกลงทางการทูตกันอยู่ ในระหว่างที่ คุมเชิงกันนี้ ตามภาพข่าวต่างประเทศจะเห็นรถถังยานเกราะรัสเซียกระจายอยู่ทั่วไปใกล้ แนวชายแดนทงั้ MD-BTR,T-42 BM และ T-80

กลุ่มนาโตเองก็ไม่ได้เพิกเฉยต่อพันธะ สัญญาที่มีต่อกัน ประกาศเสริมความแข็งแกร่ง ของกองกำลังเพื่อช่วยยูเครน แต่ก็ท?าได้เพียง แค่ขีดจำกัดอันหนึ่งคือ ไม่สามารถตั้งทัพถาวร ตามแนวชายแดนได้ตามข้อตกลง NATORUSSIA FOUUDING ACT 1997 ก่อนหน้า นี้นาโตก็เผชิญหน้ากับรัสเซียมาหมาด ๆ คือ ศึกโคโซโวปี ๑๙๘๘ และสงครามจอร์เจีย ปี ๒๐๐๘

คร้ันเมื่อการต่อสู้ยืดเยื้อกันมาห้าเดือน มี ประชาชนทั้งสองฝ่ายต้องอยู่ในสถานการณ์พลัดถิ่นเป็นล้านคน ทั้งคนยูเครนเองที่หนีเข้ามาตอน ในและคนยูเครนเชื้อสายรัสเซียที่หนีเข้าไปในรัสเซีย ยอดผู้เสียชีวิตรวมกันสูงถึง ๒.๖ พันรายเข้าไปแล้ว ก่อนจะสาหัสไปกว่านี้ ข้อตกลงหยุดยิงอย่างเป็นทางการครั้งแรกก็เกิดขึ้นเมื่อ ๕ กันยายน ๑๕๐๐ ตามเวลา UTC ที่กรุงมินสก์ ประเทศเบลารุส โดยมีสักขีพยานคือ องค์กร สนบัสนนุความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (OSCE), EU และรัสเซีย แต่ฝ่ายกบฏยังรักษา จุดยืนเดิมคือ จะต้องปลดปล่อยพื้นที่ตะวัน ออกของยูเครนให้เป็นอิสระให้ได้ ในระหว่างนี้ EU ยังห้ามผู้นำกบฏเดินทางเข้าออก EU ส่วน การ Sanction รัสเซียแบบหยอก ๆ ของ EU และสหรัฐฯ ก็ยังมีผลอยู่ และรัสเซียเองก็ โต้ตอบด้วยขนาดท่ีพอ ๆ กัน คือสั่งห้ามสินค้า หลายประเภทของ EU เข้ารัสเซีย

การประกาศหยุดยิงครั้งนี้นั้น มีผลมา จากการประชุมกลุ่มประเทศนาโตเมื่อ ๔-๕ กันยายน ท่ีเวลส์ ประเทศสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) ซึ่งนาโตมีข้อเรียกร้องต่อรัสเซีย ด้วยว่า ให้ถอนก?าลังออกจากภาคตะวันออก ของยูเครนและยุติการครอบครองไครเมีย ซึ่งประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย คงไม่ยินดียินร้ายมากนัก

– นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม