กองทัพอากาศฟิลิปปินส์ (PAF) จัดซื้อเครื่องบินขนส่งทางทหาร รุ่นใหม่แบบซี-๒๙๕ (C-295) รวม ๓ เครื่อง จากประเทศสเปน เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๗ เพื่อจะเพิ่มขีดความ สามารถในการขนส่งทางอากาศ เนื่องจาก ประเทศฟิลิปปินส์เป็นประเทศเกาะมีเกาะ รวมทั้งสิ้น ๗,๑๐๗ เกาะ ชายฝั่งทะเลยาว ๓๖,๒๘๙ กิโลเมตร ที่ตั้งทางทหารสำคัญอยู่ ห่างไกลกันมากดังนั้นการขนส่งทางอากาศ จึงมีความส?าคัญยิ่ง เครื่องบินขนส่งขนาด กลางใช้เครื่องยนต์ใบพัดจะมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่า เครื่องยนต์แบบไอพ่น ทั้งค่าใช้จ่ายท?าการบิน ต่อชั่วโมงบินและค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง ตลอดห้วงระยะเวลาอายุการใช้งาน กองทัพ อากาศฟิลิปปินส์(PAF) จะได้รับเครื่องบินเครื่องแรก เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๘ จะรับ มอบเครื่องบินเครื่องที่สอง เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๙ และรับมอบเครื่องบินเครื่องที่สามหรือ เครื่องสุดท้าย เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๙ นำเข้าประจำการกองบิน ๒๒๐ ฐานทัพอากาศ เซบู

เครื่องบินขนส่งทางทหารขนาดกลางแบบ ซี-๒๙๕ (C-295) ทำการวิจัยพัฒนาจากประเทศสเปนขึ้นบินครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๐ ใช้ในภารกิจขนส่ง ทางทหาร ทำการผลิตในปี พ.ศ.๒๕๔๔ มี ข้อมูลที่สำคัญคือนักบิน ๒ นาย บรรทุกผู้โดยสารได้ ๗๑ ที่นั่ง (พลร่มพร้อมสัมภาระ ๔๘ นาย) ขนาดยาว ๒๔.๕๐ เมตร ช่วงปีก ๒๕.๘๑ เมตร พื้นที่ปีก ๕๙ ตารางเมตร สูง ๘.๖๐ เมตร น้ำหนกับนิขนึ้สงูสดุ ๒๓,๒๐๐ กิโลกรัม น้ำหนกั บรรทุก ๙,๒๕๐ กิโลกรัม เครื่องยนต์ เทอร์โบ พรอพ ขนาด ๒,๖๔๕ แรงม้า (รวม ๒ เครื่อง) ใบพัดชนิดหกกลีบ (เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด ๓.๘๙ เมตร) ความจุเชื้อเพลิง ๗,๗๐๐ ลิตร ความเร็วสูงสุด ๕๗๖ กิโลเมตรต่อชั่วโมง พิสัย บิน ๑,๓๐๐ กิโลเมตร (น้ำหนักบรรทุก ๙,๒๕๐ กิโลกรัม) เพดานบินสูง ๙,๑๐๐ เมตร ระยะ ทางบินขึ้นยาว ๖๗๐ เมตร และระยะทางบิน ลงยาว ๓๒๐ เมตร จึงมีความเหมาะสมที่จะ ใช้ปฏิบัติการ ที่สนามบินในเขตหน้าของพื้นที่ การรบ ประจำการกองทัพอากาศสเปนเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๔ รวม ๑๓ เครื่อง ปัจจุบันเป็นเครื่องบินขนส่งทางทหารขนาด กลางรุ่นใหม่ของโลก

เครื่องบินขนส่งทางทหารแบบซี-๒๙๕ (C-295) มีการผลิตรวม ๕ รุ่น ประกอบด้วย รุ่นซี-๒๙๕ เอ็ม (C-295M), รุ่นเอ็นซี-๒๙๕ (NC-295/CN-295) ซื้อลิขสิทธิ์ส?าหรับผลิต ในประเทศอินโดนีเซีย, รุ่นซี-๒๙๕เอ็มพี (C-295MP) ภารกิจตรวจการณ์ทางทะเลและ ปราบเรือดำน้ำติดตั้งอาวุธภายนอกลำตัวได้ หกจุด (ตอร์ปิโด, จรวดน?าวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำทุ่นระเบิด และระเบิดน้ำลึก), รุ่นซี-๒๙๕ เอ อีดับเบิ้ลยู (C-295 AEW) ภารกิจใช้เตือนภัย ทางอากาศ ในขณะนี้ยังเป็นเคร่ืองบินต้นแบบ และรุ่นซี-๒๙๕ ดับเบิ้ลยู (C-295W) ท?าการ ปรบัปรงุใหมท่างด้านเครอื่งยนตฺ์และระบบปกี ปี พ.ศ.๒๕๕๖ เครื่องบิน ซี-๒๙๕ (C-295) มี ยอดการผลิตรวม ๑๑๔ เครื่อง ขณะนี้ประจำ การรวม ๑๗ ประเทศ

กองทัพอากาศโปแลนด์น?าเครื่องบินขนส่ง ทางทหารแบบซี-๒๙๕ (C-295) ปฏิบัติการ สนับสนุนก?าลังทหารโปแลนด์ในกองกำลัง ไอซาฟ (ISAF) ประเทศอัฟกานิสถาน ที่จังหวัด กาซ์นี (Ghazni) มีก?าลังทหาร ๑,๑๓๐ คน ภารกิจขนส่งสัมภาระ ทิ้งสัมภาระทางอากาศ และส่งกลับสายแพทย์ เนื่องจากสนามรบใน อัฟกานิสถานส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายขนาด ใหญ่ที่แห้งแล้ง พร้อมทั้งที่ตั้งของประเทศสูง กว่าระดับน้ำทะเลกว่า ๔,๐๐๐ เมตร และ ไม่มีถนนสายหลักที่จะใช้ขนส่งได้ การขนส่ง ทางอากาศจึงมีความสำคัญยิ่ง กองทัพอากาศ โปแลนด์ประจำการด้วยเครื่องบินขนส่งทาง ทหารซี-๒๙๕ (C-295) ในปี พ.ศ.๒๕๔๖๒๕๕๑ รวม ๘ เครื่อง ต่อมาได้จัดซื้อเพิ่มเติม อีกและได้รับมอบเครื่องบินชุดสุดท้าย เมื่อวัน ที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๖ รวมประจ?าการ ทั้งสิ้น ๑๗ เครื่อง

กองทัพอากาศอินโดนีเซีย (TNI-AU) จัด ซื้อเครื่องบินขนส่งทางทหารรุ่นใหม่แบบ ซี-๒๙๕ (C-295) รวม ๙ เครื่อง ราคา ๓๒๕ ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ ทงี่านแสดงการบนิประเทศสงิคโปร์รับมอบเครื่องบินชุดแรกรวม ๒ เครื่อง เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๕ ต่อมาน?าเข้าประจ?า การฝูงบิน ๒ ฐานทัพอากาศฮาลิม (Halim Perdanakusuma International Airport) จังหวัดชวาตะวันออก เพื่อทดแทนเครื่องบินขนส่งทางทหารรุ่นเก่าที่ได้ประจำการมานาน รวม ๓๕ ปี ก?าลังจะหมดอายุการใช้งานแบบ เอฟ-๒๗ ฟอร์คเกอร์ (F-27 Fokker) ประจำการ ๖ เครื่อง เครื่องบินซี-๒๙๕ (C-295) ส่วน หนึ่งจะทำโการประกอบที่โรงงานผลิตเครื่อง บินในประเทศ (PT Dirgantara Indonesia) รวม ๓ เครื่อง ที่ตั้งโรงงานที่เมืองบันดุง (มีเจ้าหน้าที่ ๓,๗๒๐ คน ปี พ.ศ.๒๕๔๗) จังหวัดชวาตะวันตกเป็นโรงงานผลิตเครืองบินใหญ่ที่สุดของประเทศกลุ่มอาเซียน จะช่วยเพิ่ม ขีดความสามารถในการขนส่งทางอากาศให้มี ความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

เนื่องจากประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศ หมู่เกาะ มีเกาะรวม ๑๗,๕๐๘ เกาะ ชายฝั่ง ทะเลยาว ๕๔,๗๑๖ กิโลเมตร พื้นที่ขนาด ใหญ่ ๑,๘๙๐,๗๕๔ ตารางกิโลเมตร อาณาเขต จาก ตะวันออก-ตะวันตก มีความยาว ๕,๑๐๐ กิโลเมตร จาก เหนือ-ใต้ ขนาดยาว ๑,๘๐๐ กิโลเมตร แบ่งโซนเวลาเป็น ๓ โซน นับว่า ประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศขนาดใหญ่ ที่ตั้งทางทหารอยห่างไกลกันมากภายในประเทศ และอินโดนีเซียยังควบคุมจุดยุทธศาสตร์ ทางทหารที่สำคัญยิ่งของโลกคือช่องแคบ มะละกา ที่เรือสินค้าขนาดใหญ่จะต้องแล่น เลียบชายฝั่งทะเลของเกาะสุมาตราเป็นระยะ ทางยาว จึงจะผ่านช่องแคบมะละกาและเข้าสู่ ทะเลจีนใต้ และช่องแคบซุนดาที่เชื่อมระหว่าง เกาะชวากับเกาะสุมาตรา ที่เชื่อมทะเลชวา กับมหาสมุทรอินเดีย (ถ้าจำเป็นจะต้องเลี่ยง ช่องแคบมะละกา) ดังนั้นการขนส่งสัมภาระ ทางอากาศจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเทศอินโดนีเซีย

กองทัพอากาศเวียดนามจัดซื้อเครื่องบิน ขนส่งทางทหารรุ่นใหม่แบบซี-๒๙๕ (C-295) รวม ๓ เครื่อง ราคา ๑๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๖ กองทัพอากาศเวียดนาม จะรับมอบเครื่องบินชุดแรกในปี พ.ศ.๒๕๕๘ จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่ง ทางอากาศให้มีความรวดเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจาก เวียดนามมีชายฝั่งทะเลยาว ๓,๔๔๔ กิโลเมตร พร้อมทั้งใช้ในการขนส่งทางอากาศที่เชื่อมกับ เกาะในทะเลจีนใต้ของเวียดนาม

  • พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์