การปกครองระบอบประชาธิปไตย มิใช่ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ประเทศใดประเทศหนึ่งจะสถาปนาขึ้นมาได้ภายในระยะเวลาอันสั้น หรือเป็นสิ่งที่จะ หยิบยกเอารูปแบบจากประเทศอื่นมาใช้ แต่ ต้องเป็นกระบวนการที่พัฒนามายาวนาน เพราะนอกจากปัจจัยในการพัฒนาสถาบัน การเมอืงอนัเปน็เรอื่งทมี่ปีญัหาในการพจิารณา อยู่มิใช่น้อย แล้วประชาชนซึ่งเป็นรากฐาน ของการปกครองระบอบนี้จะต้องได้รับการ ศึกษา และมีความส?านึกทางการเมืองอัน เป็นประชาธิปไตยด้วย มิฉะนั้นหลักการของ ประชาธปิไตยที่ว่าด้วยอำนาจอธปิไตยเป็นของปวงชนก็จะเป็นเพียงในนามเป็นประชาธปิไตยแบบไทยมาจน ๘๐ กว่าปีแล้ว
ด้วยเหตุที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงความยากลำบากใน การหยั่งรากของประชาธิปไตยให้ฝังลึกลงไป อย่างมั่นคง จึงได้มีพระบรมราโชบายเตรียม การที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบ ประชาธิปไตยอย่างค่อยเป็นค่อยไปเป็นลำดับ โดยเริ่มจากสร้างความสำนึกทางการเมือง ให้กับประชาชนผ่านกระบวนการของการ ปกครองท้องถิ่น ก่อนที่จะเข้าไปมีส่วนร่วม
ในการปกครองระดับชาติ เพื่อเป็นการฝึกหัด ให้องคมนตรีรู้จักวิธีการประชุมปรึกษาแบบรัฐสภา มีดำริให้ปรับปรุงสภาองคมนตรีใหม่ เรียกว่า กรรมการสภาองคมนตรี ให้ยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาพิจารณาถึง ๒ ฉบับในตอน ต้นรัชกาลฉบับหนึ่ง และก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ เล็กน้อยอีกฉบับ
ทรงมีพระราชดำริว่า “ถ้ามีการยอมรับกันว่า วันใดวันหนึ่งเราอาจจะต้องถูกบังคับให้มีประชาธิปไตยแบบใดแบบหนึ่งในประเทศสยามเราจะต้องเตรียมตัวของเราเองอย่าง ค่อยเป็นค่อยไป เราจะต้องเรียนรู้และจะต้องให้การศึกษาแก่ตัวของเราเอง เราจะต้องเรียนและทดลอง เพื่อที่จะได้รู้ว่า ระบอบการปกครองแบบรัฐสภาจะดำเนินไปได้อย่างไรในประเทศสยาม เราตอ้งพยายามใหก้ารศกึษาแก่ ประชาชนเพื่อที่จะให้ประชาชนมีความสำนึก ทางการเมือง ที่จะตระหนักถึงผลประโยชน์ ที่แท้จริงเหล่านี้ เพ่ือที่ประชาชนจะได้ไม่ถูก ชักนำไปโดยพวกนักปลุกระดมหรือพวกนักฝัน หวานถึงพระศรีอารย์ ถ้าเราจะต้องมีรัฐสภา เราจะต้องสอนประชาชนว่าจะออกเสียง อย่างไร และจะเลือกผู้แทนที่จะมีจิตใจฝักใฝ่ กบัประโยชนข์องพวกเขาอย่างแท้จริงอย่างไร
แนวความคิดที่จะให้มีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครองประเทศได้มีขึ้นเป็นครั้งแรก ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ดังจะเห็นได้จากคำกราบ บังคมทูลความเห็นของเจ้านายและข้าราชการ เมื่อ ร.ศ.๑๐๓ แต่เนื่องจากพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า สิ่งที่จำเป็นจะต้องทำก่อนอื่นมีอยู่ ๒ ประการ คอื การปฎิรูปการบริหาร เพื่อที่จะให้ข้าราชการทุกกรมมีงานทำอย่างเต็มที่ มีความรับผิดชอบ ในหน้าที่การงานของตน และมีการประสาน งานระหว่างกัน อีกประการก็คือ ทรงเห็นว่า จำเป็นจะต้องมีผู้ร่างกฎหมาย ซึ่งจะต้องเป็น ผู้ตริตรอง ตรวจการทุกสิ่งทุกอย่าง รวมทั้งเป็น ผู้พิจารณาแก้ไขข้อขัดข้องด้วย โดยทรงพระ ราชดำริว่า ถ้าการเรื่องนี้ยังไม่เป็นที่เรียบร้อย การอื่น ๆ ยากนักที่จะตลอดไปได้ ดังนั้น คำกราบบังคมทูลความเห็นของเจ้านายและ ข้าราชการเมื่อ ร.ศ.๑๐๓ จึงยังไม่ได้รับการ สนองตอบ
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คณะผู้ก่อการ ร.ศ.๑๓๐ ได้คิด ทำการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงระบอบการ ปกครอง และสถาปนาให้มีรัฐธรรมนูญเป็น หลักในการปกครองประเทศ แต่คณะผู้ก่อการ ได้ถูกจับกุมเสียก่อน สำหรับพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริที่ จะพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่พสกนิกรของ พระองคต์งั้แตต่น้รชักาลแต่ทรงเห็นว่าคนไทย เราโดยทั่วไปพร้อมอยู่หรือยังที่จะใช้อำนาจ เลือกผู้แทนของตัวเองทำการปกครอง มีความ เสียใจที่ยังแลไม่เห็นว่าจะทำการเช่นน้ันส?าเร็จ ได้ เพราะแม้แต่การเลือกกรรมการสุขาภิบาล ประจำตำบลซึ่งเป็นขั้นแรกแห่งการเลือกผู้ ปกครองตนเองก็ยังทำไม่ได้จริงจัง เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทศาภิบาลต้องคอยเสี้ยมสอนอยู่ทุกแห่งไป การเลือกกำนันผู้ใหญ่บ้านซึ่งต่ำลงไป กว่านั้น และทำได้ง่ายกว่าก็ยังท?ากันเหมือน เล่นละครตลก ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงระงับพระ ราชดำริที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญไว้ก่อน
ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยก ร่างรัฐธรรมนูญขึ้น ๒ ฉบับ เพื่อจะได้ศึกษา พิจารณาว่าจะเหมาะสมกับประเทศไทยหรือ ไม่เพียงใด ซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ที่พระมหากษัตริย์เป็นผู้ดำริที่จะให้มีการ ปกครองระบอบพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้ รัฐธรรมนูญ โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกเป็น ร่างของพระยากัลยาณไมตรี หรือ ดร.ฟราน ซิสบีแซร์ ซึ่งยกร่างขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๖๗ ส่วน ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ ๒ ยกร่างโดย นาย เรมอนด์ บีสตีเวนส์ ที่ปรึกษากระทรวงการ ต่างประเทศ และพระยาศรีวิสารวาจา ปลัด ทูลฉลองกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งร่างขึ้น ในปี พ.ศ.๒๔๗๔
อนึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า ทั้งนายเรมอนด์ บีสตเวนส์ แลพะพระยาศรีวิสารวาจา ต่างไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ โดยอ้างเหตุผลว่ายังไม่ถึงเวลา เพราะคนไทยส่วน ใหญ่ยังไม่เหมาะสมที่จะมีส่วนในการปกครองเพื่อที่จะให้แน่ใจว่าสภานิติบัญญัติจะทำงาน ได้อย่างน่าพอใจ กรรมการทั้ง ๒ ท่านมีความ เห็นว่า จะต้องให้ประชาชนได้มีประสบการณ์ ในการปกครองตนเองก่อน ต่อมาทรงทำหนังสือเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญไปถึงที่ประชุม อภิรัฐมนตรี ในวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๔๗๔ เพื่อ จะได้ปรึกษากันในที่ประชุมอภิรัฐมนตรี
ทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะพระราชทาน รัฐธรรมนูญแก่ปวงชนชาวไทย ในวันที่ ๖ เมษายน ๒๔๗๕ อันเป็นวันสถาปนาราชวงศ์ จักรีครบ ๑๕๐ ปี แต่เมื่อถึงวันดังกล่าวก็มิได้ มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแต่อย่างใด ต่อ จากนั้นไม่ถึง ๓ เดือน คณะราษฎร์ก็ได้ทำการ เปลี่ยนแปลงการปกครอง แม้จะยังไม่พบ หลักฐานแน่ชัด แต่จากคำบอกเล่าของบุคคล ต่าง ๆ ในสมัยนั้น ต่างได้ความตรงกันว่าการ งดประกาศใช้รัฐธรรมนูญในวันที่ ๖ เมษายน ๒๔๗๔ เป็นเพราะอภิรัฐมนตรีสภาไม่เห็นด้วย อย่างไรก็ตามพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัวยังทรงยืนยันที่จะให้มีการปกครอง ระบอบพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
ในการเตรียมประชาชนให้มีความพร้อม สำหรบัการปกครองระบอบประชาธปิไตยแบบ รัฐสภาร มีพระบรมราโชวาทในงานประจำปีของ วชิราวุธวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๔๗๕ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๓ เดือน ความตอนหนึ่งว่า
“การปกครองที่จะดีนั้นยิ่งเป็นแบบรัฐสภา หรือแบบปาลิเมนต์ด้วยแล้ว ถ้าจะดีได้ก็ ต้องอาศัยความดีของประชาชน ต้องอาศัย น้ำใจ และนิสัยประชาชนเป็นส่วนใหญ่ ถ้า ประเทศใดมีประชาชนมีน้ำใจดี รู้จักวิธีการที่ จะปกครองตนเองโดยแบบมรีฐัสภาจรงิ ๆ แล้ว การปกครองนั้นก็จะเป็นประโยชน์แก่ประเทศ เป็นอันมาก”
ทรงอธิบายถึงแนวทางที่จะให้ประชาชนมี น้ำใจดี โดยทรงยกตัวอย่างประเทศอังกฤษว่า อยู่ที่การฝึกฝนตามแบบอย่างโรงเรียนราษฎร ที่เป็นโรงเรียนประจำที่เรียกว่า พับลิกสกูล ซึ่ง มีวิธีการสอนสรุปได้ ๓ ประการคือ ประการ แรก พับลิกสกูลจะสอนให้รักขนบธรรมเนียม ของโรงเรยีน และของประเทศ ขนบธรรมเนียมใดที่มีแต่เดิม แม้จะคร่ำครึไม่ประโยชน์ แต่ถ้าหากไม่เสียหายก็ควรรักษาไว้ เพื่อให้นักดรียนภูมิใจ ให้นึกถึงความรุ่งเรืองของโรงเรยีนที่ มีมาแล้วตั้งแต่ในอดีต เมื่อเด็กอังกฤษเติบโตขึ้นก็มีก็มีน้ำใจกับขนบธรรมเนยีมของบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง การรักขนบธรรมเนียมไม่ได้ทำให้ ประเทศอังกฤษมีความเจริญล้าหลังประเทศ อื่น ๆ เลย แต่ทำให้ประเทศอังกฤษสามารถ เปลี่ยนแปลงแบบแผนการปกครองได้อย่าง เรียบร้อย ประการที่สอง ในโรงเรียนพับลิก สกูลของอังกฤษมีการปกครองกันเป็นลำดับ ชั้น มีการปกครองที่เข้มงวดมากเป็นลำดับ ชั้น ตั้งแต่ครู เด็กชั้นผู้ใหญ่ เด็กชั้นเล็ก จะให้ ปกครองกันเป็นลำาดับชั้น และมีวินัยเคร่งครัด ทั้งนี้เพื่อฝึกหัดให้รู้จักปกครองกันเองตาม ลำดับชั้น ถ้าไม่มีก็ย่อมปกครองกันไม่ได้ ทรง เห็นว่า ถ้าจะให้ประเทศไทยมีการปกครอง ที่ดีงามต่อไป เราต้องฝึกหัดเด็กของเราให้ รู้จักเคารพนับถือผู้ใหญ่ และให้รู้จักรับผิด ชอบที่จะปกครองผู้น้อยต่อไปโดยยุติธรรม ประการที่สาม ต้องฝึกหัดให้นักเรียนมีน้ำใจ เป็นนักกีฬาแท้ มีพระราชดำริว่า การฝึกหัด น้ำใจนั้นเป็นของสำคัญยิ่ง เราจะปกครองใน ระบอบประชาธปิไตยก็ยิ่งสำคัญมากขึ้น ทรงให้ อรรถาธิบายคำว่านักกีฬาว่า จะเล่นเกมอะไรก็ ต้องเล่นให้ถูกต้องตามกฎข้อบังคับของเกมนั้น ไม่ใช่วิธีโกงเล็กก็โกงนอ้ย ถ้าเกมนนั้เล่นกันหลายคน คนก็ต้องเล่นเพื่อชัยชนะของฝ่ายตน ไม่ใช่เล่น เพื่อแสดงความเก่งของคนคนเดียว ข้อสำคัญ คือนักกีฬาแท้ต้องรู้แพ้รู้ชนะ ทรงเห็นว่า หลัก การของความเป็นนักกีฬาแท้นี้เป็นประโยชน์ ทางด้านการเมืองด้วย โดยเฉพาะเมื่อประเทศ ของเราจะปกครองในระบอบรัฐสภา
มีพระราชดำรัสว่า “การปกครองแบเดโม คราซีนั้น ผู้ที่ชนะแล้วได้เข้ามาปกครองบ้าน เมือง ก็ควรจะต้องนึกถึงน้ำใจของฝ่ายน้อย ที่แพ้เหมือนกัน ไม่ใช่ว่าเราชนะแล้วก็หาวิธี กดขี่ข่มเหงผู้ที่เป็นฝ่ายแพ้ต่าง ๆ นานาหาได้ ไม่ย่อมต้องมุ่งปกครองเพื่อประโยชน์ของคณะต่างๆ ทั้งหมด ส่วนผู้ที่แพ้ก็เหมือนกัน เมื่อแพ้ แล้วถ้าตั้งกองวิวาทเรื่อย บอกว่าถึงแม้คะแนน โหวตแพ้ กำหมัดยังไม่แพ้เช่นนั้นแล้ว ความ เรียบร้อยจะมีไม่ได้ คงได้เกิดตีกันหัวแตกเต็ม ไป ฝ่ายผู้แพ้ควรต้องนึกว่าคราวนี้เราแพ้แล้ว ต้องไม่ขัดขวางหรือขัดคอพวกที่ชนะอย่างใด เลย ต้องปล่อยให้เขาด?าเนินการตามความเห็น ของเขาต่อไป ภายหน้าเราอาจเป็นฝ่ายที่ชนะ ได้เหมือนกัน”
จึงเห็นได้ว่า ประเทศไทยกำลังจะมี รัฐธรรมนูญฉบับที่ ๒๐ ภายใต้การร่างของ คณะกรรมาธกิารยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมี ศ.ดร. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน คงไม่อาจ นำพาประชาธิปไตยกลับมาสู่ประเทศไทยตาม ความวาดหวังได้ หากตราบใดหัวใจของคนเล่นกติกายังขาดความมีน้ำใจนักกีฬาเป็นสำคัญ แล้วประชาธิปไตยแบบไทยไทยที่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ ตลอดเวลา ๘๒ ปี ก็คงเสียของเดิมอย่างแน่นอน