ในสภาวการณ์ปัจจุบัน การดำรงไว้ซึ่งเอกราชอธิปไตยและ ผลประโยชน์ของชาตินั้น อุตสาหกรรมป้องกันประเทศนับว่า เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ทั้งนี้เป็นเพราะว่า อุตสาหกรรมป้องกันประเทศที่เข้มแข็งนอกจากจะสร้างศักย์สงคราม เป็นหลักประกันในด้านความมั่นคงให้กับประเทศแล้ว ยังสามารถ สร้างรายได้จำนวนมหาศาลเข้าประเทศส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของ ประเทศอีกด้วย สำหรับประเทศไทยนั้น กิจการอุตสาหกรรมป้องกัน ประเทศได้เริ่มต้นมาเป็นเวลานานพอสมควร กระทรวงกลาโหมได้ให้ ความสำคัญในการผลิตยุทโธปกรณ์เพื่อใช้งานเอง ดังจะเห็นได้จาก โรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในสังกัด กระทรวงกลาโหมมีจำนวนถึง ๔๘ แห่ง แต่ในส่วนของภาคเอกชนนั้น กิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศส่วนใหญ่ยังมีขนาดค่อนข้างเล็ก และ เป็นการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนแก่กองทัพเป็นหลัก ขีดความสามารถ ด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยในปัจจุบัน เป็นการซ่อมบำรุง ขั้นต้น และมีโครงการภายในประเทศซึ่งต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจาก ต่างประเทศ รายงานวิเคราะห์ของ Jane’s ระบุว่า เมื่อเทียบกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกัน มีขีดความสามารถระดับเทียบเท่ากับประเทศเวียดนาม ซึ่งน้อยกว่าทั้ง สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

ระเทศเวียดนาม ซึ่งน้อยกว่าทั้ง สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ประเทศต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ จะมีการสร้างและพัฒนาเทคโนโลยีด้วยตนเอง โดยจะมีองค์กรที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เช่น องค์กร The Defense Advanced Research Projects Agency (DARPA) ของสหรัฐอเมริกา องค์กร The Defense Acquisition Program Administration (DAPA) ของสาธารณรัฐเกาหล ีองค์กร The Defence Science and Technology Agency (DSTA) ของสาธารณรัฐสิงคโปร์ และองค์กร Science and Technology Research Institute for Defence (STRIDE) ของสหพันธรัฐมาเลเซีย เป็นต้น สำหรับประเทศไทยมีการจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) ขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๕๒ โดยเป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของกระทรวง กลาโหม มีภารกิจหลักในการผลักดันให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพา ตนเองได้ในด้านยุทโธปกรณ์ ด้วยการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีป้องกัน ประเทศซึ่งจะนำไปสู่การสร้างอุตสาหกรรมป้องกันประเทศที่เข้มแข็ง นอกจากนี้ รับบาลยังมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนามากยิ่งขึ้น สังเกตได้จากการเพิ่มขึ้นของงบประมาณการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ป้องกันประเทศเพื่อสร้างขีดความสามารถทางอุตสาหกรรมป้องกัน ประเทศตั้งแต่ภาคการวิจัยพัฒนาถึงภาคการผลิต ดำเนินการประสาน ความร่วมมือของภาครัฐในฐานะผู้กำหนดทิศทางและนโยบาย เหล่าทัพ ในฐานะหน่วยใช้ และภาคเอกชนในฐานะภาคการผลิต สำหรับเทคโนโลยี ชั้นสูงนั้น จะมุ่งเน้นไปที่การวิจัยและพัฒนาต่อยอดจากเทคโนโลยี ที่มีอยู่เดิม และการเป็นเจ้าของเทคโนโลยีจากหลากหลายวิธี เช่น การถ่ายทอดเทคโนโลยี (technology transfer) การทำวิศวกรรม ย้อนกลับ (reverse engineering) เป็นต้น

สทป. ได้ดำเนินการศึกษาความต้องการ ทิศทางและแนวโน้มของ เทคโนโลยี ตลอดจนศักยภาพโดยรวมแล้วจึงกำหนดแผนที่นำทางซึ่ง ประกอบด้วยยุทธศาสตร์หลัก ๔ ด้าน โดยมียุทธศาสตร์การวิจัยและ พัฒนาเทคโนโลยีป้องกันประเทศเป็นยุทธศาสตร์แรก และภายใต้ ยุทธศาสตร์ดังกล่าว สทป. ได้ดำเนินงานด้านการวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ดังนี้

เทคโนโลยีจรวดและอาวุธนำวิถี
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางทหาร
เทคโนโลยีการจำลองยุทธ์และการฝึกเสมือนจริง
เทคโนโลยียานไร้คนขับ
เทคโนโลยีต่อต้านการก่อการร้ายและสงครามนอกแบบ
เทคโนโลยียานรบและระบบอาวุธ
เทคโนโลยีพลังงานสำหรับกิจการป้องกันประเทศ
เทคโนโลยีต่อต้านอาวุธทำลายล้างสูง

จากการดำเนินการตามแผนงานยุทธศาสตร์จนถึงปัจจุบันนี้ ทำให้ สามารถบรรลุผลสำเร็จงานในโครงการต่าง ๆ มากมายหลายโครงการ ที่สำคัญ ๆ อาทิเช่น ต้นแบบจรวดหลายลำกล้องแบบ DTI-1 (ได ้ ส่งมอบให้กับกองทัพบกนำไปใช้งานแล้ว) ต้นแบบรถยิง และรถบรรทุก บรรจุจรวด ๑ ระบบ (อยู่ระหว่างการทดสอบเพื่อส่งมอบต้นแบบให้ กองทัพบก) ต้นแบบ Fixed Wing UAV และระบบที่เกี่ยวเนื่อง (อยู่ ระหว่างทดสอบ) ต้นแบบ VTOL UAV พร้อมระบบที่เกี่ยวเนื่อง (เตรียม ส่งมอบให้กับกองทัพเรือ) ต้นแบบระบบสนามฝึกยิงปืนยุทธวิธีเสมือน จรงิ และอปุกรณท์ดสอบและระบบประเมนิผลการยงิทดสอบอาวธุ (บาง ส่วน) เป็นต้น ซึ่งผลงานเหล่านี้ สามารถยืนยันได้ว่า ภายใต้การดำเนิน งานตามแผนยุทธศาสตร์ที่วางไว้ สถาบันฯ มีขีดความสามารถเพียงพอ สามารถตอบสนองต่อภารกิจทไี่ดร้ับมอบหมาย นอกจากนี้โครงการวิจัยและพัฒนาของ สทป. สามารถนำไปต่อยอดเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและ ประเทศได้รับประโยชน์สูงสุด ซึ่งผลประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ที่ประเทศ ชาติจะได้รับสามารถสรุปได้ดังนี้

ด้านเศรษฐกิจ สามารถลดงบประมาณในการจัดหายุทโธปกรณ์จาก ตา่งประเทศ และยุทธภัณฑ์ส่งกำลังบำรุงได้กว่าปีละหลายหมื่นล้านจากการพึ่งพาตนเองในการผลิตและซ่อมบำรุงได้เองภายในประเทศ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยีที่ได้รับมาสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาในด้านต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยีจรวดและ อาวุธนำวิถีสามารถนำไปพัฒนาเทคโนโลยีการเฝ้าตรวจและเตือนภัย ในระบบ UAV เป็นต้น

ด้านการเมือง สร้างบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาสู่อุตสาหกรรม ป้องกันประเทศ สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฯ ตามนโยบายของรัฐบาล

ด้านการทหาร สนับสนุนให้กองทัพบรรลุเป้าหมายในการพึ่งพา ตนเองด้านยุทโธปกรณ์ในอนาคต ซึ่งเป็นความคุ้มค่าสูงสุดที่ไม่สามารถ ประเมินค่าได

การพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ อย่างยั่งยืนนั้น นอกจากจะต้องอาศัยการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ป้องกันประเทศแล้ว ยังต้องส่งเสริมภาคการผลิตด้วย จึงมีความจำเป็น ต้องใช้ศักยภาพของภาคเอกชน เข้ามาร่วมดำเนินการเชิงธุรกิจ ในการ บูรณาการศักยภาพของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนนั้น สทป. จะทำหน้าที่เป็นผู้สร้างเครือข่ายและประสานความร่วมมือของ หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ โดยภาครัฐเป็นผู้กำหนดทิศทางและ ให้การสนับสนุนให้ภาคเอกชนสามารถพัฒนากิจการไปสู่การผลิต เชิงพาณิชย์ หากพิจารณาจากศักยภาพตลอดจนการตอบรับจาก ภาคเอกชนในการดำดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาที่ผ่านมา ทำให้เชื่อได้ว่าประเทศไทยกำลังก้าวเดินสู่การเป็นประเทศที่มีขีดความสามรถทางด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศที่มั่นคงสามารถพึ่งพาตนเองได้