เหลือเวลาอีก ๑ ปีเศษเท่านั้น ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคม อาเซียน (ASEAN Community : AC) อย่างเต็มตัว ในวันที่ ๓๑ ธ.ค. ๒๕๕๘ อย่างไรก็ดีคนบางกลุ่มในสังคมไทยได้รับข้อมูล ของประชาคมอาเซียนในเรื่องของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) เพียงอย่างเดียว จนเข้าใจผิดไปว่า ประชาคมอาเซียน (AC) คือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เป็นเรื่องเดียวกัน ทั้ง ๆ ที่ประชาคมอาเซียน (AC) ยังมีเสาหลักอีก ๒ เสาหลัก คือ เสาหลักด้านประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community : APSC) และเสาหลักด้านประชาคม สังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC) ปัจจุบันหน่วยงานของรัฐเกือบทุกองค์กรได้เตรียมความพร้อม ต่อการที่ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านอีก ๙ ประเทศจะรวมตัว กันเป็นประชาคมอาเซียนกันอย่างเต็มที่ เช่น การให้ความสำคัญกับ การใช้ภาษาอังกฤษแก่บุคลากรในองค์กร การให้ความรู้ความเข้าใจว่า ประชาคมอาเซียนคืออะไร จะมีผลดี-ผลเสียต่อประเทศไทยและต่อ ประเทศเพื่อนบ้านอย่างไร และกระทรวงกลาโหมจะอยู่ตรงไหน และมี ส่วนร่วมใดต่อประชาคมอาเซียน ซึ่งจะขอกล่าวในโอกาสต่อไป
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนมีพัฒนาการจากความ ร่วมมืออันใกล้ชิดและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมานานกว่า ๔๐ ป ี นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) โดยในที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๐ เห็นพ้องให้กลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้มองไปสู่โลกภายนอก อยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีเสถียรภาพและมีความมั่งคั่ง ผูกพันกันด้วยความเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาอันเป็นพลวัต และในประชาคมแห่งสังคมที่เอื้ออาทร เพื่อให้วิสัยทัศน์อาเซียน พ.ศ. ๒๕๖๓ มีผลอย่างเป็นรูปธรรม ผู้นำอาเซียนได้รับรองปฏิญญาอาเซียน คอนคอร์ด สอง (บาหลี คอนคอร์ด สอง) เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๖ เพื่อจัดตั้ง ประชาคมอาเซียนภายในปี พ.ศ.๒๕๖๓ โดยประชาคมอาเซียน (AC) ที่ จัดตั้งขึ้นประกอบด้วย ๓ เสาหลัก คือ ประชาคมการเมืองและความ มั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและ วัฒนธรรมอาเซียน ผู้ำาอาเซียนตระหนักว่าการส่งเสริมการรวมตัว ของอาเซียนให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นโดยการเร่งจัดตั้งประชาคมอาเซียนจะ ช่วยส่งเสริมความเป็นศูนย์กลางของอาเซียน ดังนั้นที่ประชุมสุดยอด ผู้นำอาเซียน ครั้งที่ ๑๒ ที่ประเทศฟิลิปปินส์จึงได้ตัดสินใจที่จะำเนิน การเร่งรัดการจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี พ.ศ.๒๕๕๘ ในที่ ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๑๓ ที่ประเทศสิงคโปร์ ผู้นำอาเซียนได้ ลงนามกฎบัตรอาเซียนซึ่งแสดงเจตนารมณ์ในการเร่งสร้างประชาคม โดยการเสริมสร้างความร่วมมือและการรวมตัวในภูมิภาค ในการนี้ ผู้นำได้มอบหมายให้รัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่จัดทำร่างแผนงานการ จัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC) เพื่อให้ที่ ประชุมสุดยอดฯ ครั้งที่ ๑๔ ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพพิจารณาให้การ รับรองแผนงานจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC) ยึดหลักการในกฎบัตรอาเซียนซึ่งพัฒนาจากเอกสารแผนปฏิบัติ การสำหรับการจัดตั้งประชาคมความมั่นคงอาเซียน แผนปฏิบัติการ เวียงจันทน์ (VAP) และข้อตัดสินใจต่าง ๆ จากองค์กรเฉพาะด้านของ อาเซียน เอกสารแผนปฏิบัติการสำหรับการจัดตั้งประชาคมความ มั่นคงอาเซียนเป็นเอกสารหลักที่ระบุกิจกรรมที่จำเป็นในการบรรลุ วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ในขณะที่ VAP เป็นเอกสารที่วางมาตรการที่จำเป็นระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๗ – ๒๕๕๓ เอกสารทั้ง ๒ ฉบับเป็นเอกสารอ้างอิงที่สำคัญใน การสานต่อความร่วมมือทางการเมืองและความมั่นคง ดังนั้นแผนงาน APSC จึงเป็นเอกสารที่จะเป็นแผนงานและกรอบเวลาสำหรับการจัด ตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนภายในปี พ.ศ.๒๕๕๘ นอกจากนี้ แผนงาน APSC ยังมีความยืดหยุ่นที่จะสานต่อกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะดำเนินการหลังปี พ.ศ.๒๕๕๘ ด้วย เพื่อให้คงไว้ซึ่งความสำคัญและ ความยั่งยืน
คุณลักษณะและองค์ปะกอบของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน เอพีเอสซี (APSC)
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC) จะทำให้ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงของอาเซียนมีการพัฒนามากยิ่งขึ้น ซึ่งประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ คือ
๑. ประชาคมที่มีกติกาและมีการพัฒนาค่านิยมและบรรทัดฐาน ร่วมกัน มี ๒ องค์ประกอบดังนี้
๑.๑ ความร่วมมือด้านการพัฒนาการทางการเมือง ตั้งแต่ที่ได้ รับรองแผนปฏิบัติการของประชาคมด้านความมั่นคงอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ อาเซียนมีความก้าวหน้าในการดำเนินมาตรการด้านการพัฒนา ทางการเมือง โดยมีส่วนร่วมขององค์การต่าง ๆ เพิ่มขึ้น อาทิ สถาบัน การศึกษา สถาบันวิจัยและองค์กรภาคประชาสังคม ในการประชุมและ กิจกรรมของอาเซียน การปรึกษาหารือและการปฏิสัมพันธ์ที่เพิ่มขึ้น ดังกล่าว ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดี และส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีสำหรับ ภูมิภาค มีความพยายามที่จะปูทางสำหรับกรอบองค์กร เพื่ออำนวย ความสะดวกต่อการไหลเวียนข้อมูลอย่างเสร ีโดยเป็นไปตามกฎหมาย และกฎระเบียบของแต่ละประเทศ ป้องกันและต่อต้านการทุจริต ความ ร่วมมือด้านนิติธรรม ระบบยุติธรรมและโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมาย และธรรมาภิบาล นอกจากนี้ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพพื้นฐาน กฎบัตรอาเซียนระบุให้มีการจัดตั้งองค์กรด้านสิทธิ มนุษยชนของอาเซียน
๑.๒ การสร้างและแบ่งปันกฎเกณฑ์ร่วม อาเซียนส่งเสริมให้มี บรรทัดฐานระดับภูมิภาคเรื่องแนวปฏิบัติที่ดีเลิศและความเป็นปึกแผ่น โดยสอดคล้องกับหลักการสำคัญตามที่บัญญัติไว้ในกฎบัตรอาเซียน ใน บริบทนี้ อาเซียนยังคงยึดมั่นในสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (TAC) สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และข้อตกลงสำคัญอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงปฏิญญา ว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้
๒. ประชาคมที่ทำให้ภูมิภาคมีความเป็นเอกภาพ มีความสงบสุข มีความแข็งแกร่ง พร้อมทั้งมีความรับผิดชอบร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหา ความมั่นคงที่ครอบคลุมในทุกมิติ มี ๖ องค์ประกอบดังนี้
๒.๑ ป้องกันความขัดแย้งและมาตรการการสร้างความ ไว้เนื้อเชื่อใจ และการทูตเชิงป้องกันเป็นเครื่องมือสำคัญในการ ป้องกันความขัดแย้ง ช่วยลดความตึงเครียดและป้องกันไม่ให้เกิด ข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และระหว่างประเทศ สมาชิกอาเซียนกับประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกอาเซียน ตลอดจนช่วย ป้องกันการขยายความรุนแรงของความขัดแย้งที่มีอยู่แล้ว ในส่วน ของการหารือด้านการป้องกันหรือการเมืองในภูมิภาค เจ้าหน้าที่ กลาโหมอาเซียนได้มีส่วนร่วมในการเจรจาด้านความมั่นคงของ อาเซียนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๙ ภายใต้กรอบความร่วมมือของเวทีการ ประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงใน ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ARF) อาเซียนได้ทำการรายงานโดยสมัครใจ ในเรอื่งพฒันาการดา้นการเมอืงและความมนั่คงในภมูภิาคและจดัประชมุ เจ้าหน้าที่กลาโหมระดับสูงโดยสม่ำเสมอภายใต้การหารือของเจ้าหน้าที่ กลาโหมเออาร์เอฟ (ARF DOD) และการประชุมนโยบายความมั่นคง ARF (ASPC) อาเซียนยังได้จัดตั้งการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ประจำป ี(ADMM) และการประชมุเจา้หนา้ทอี่าวโุสอาเซยีนดา้นกลาโหม
๒.๒ การแก้ไขความขัดแย้งและการระงับข้อพิพาทโดยสันติ โดยเชื่อมั่นว่าการระงับความแตกต่าง หรือข้อพิพาทควรกำกับโดย กระบวนการที่มีเหตุผล มีประสิทธิภาพ และยืดหยุ่นเพียงพอ เพื่อ หลีกเลี่ยงแนวคิดในทางลบซึ่งอาจเป็นอันตรายหรือเป็นอุปสรรคต่อ ความร่วมมืออาเซียน จึงสนับสนุน TAC ซึ่งพยายามรักษาสันติภาพ และอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในภูมิภาคและบัญญัติให้ประเทศสมาชิก ระงับการข่มขู่ว่าจะใช้หรือการใช้กำลัง TAC ให้บทบัญญัติสำหรับ การระงับข้อพิพาทโดยสันติ ตลอดเวลา โดยผ่านการเจรจาฉันท์มิตร และหลีกเลี่ยงการข่มขู่ว่าจะใช้หรือการใช้กำลังเพื่อแก้ไขข้อพิพาท ยุทธศาสตร์สำหรับการแก้ไขความขัดแย้งจะเป็นส่วนหนึ่งของแนวทาง ที่ครอบคลุมในทุกมิติ วัตถุประสงค์สำหรับยุทธศาสตร์เหล่านี้เป็นไป เพื่อป้องกันข้อพิพาทและความขัดแย้งไม่ให้เกิดขึ้นระหว่างประเทศ สมาชิกอาเซียน ซึ่งมีศักยภาพที่จะสร้างภัยคุกคามต่อสันติภาพและ เสถียรภาพในภูมิภาคอาเซียน สหประชาชาติและองค์การอื่นได้ จัดกิจกรรมความร่วมมือจำนวนมากร่วมกันภายใต้ความพยายาม ในการส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพ มีความจำเป็นที่จะมีความ พยายามที่มากขึ้นในการเสริมสร้างวิธีการระงับข้อพิพาทโดยสันติที่มี อยู่ เพื่อหลีกเลี่ยงหรือระงับข้อพิพาทในอนาคต และการดำเนินการ ในการจัดการความขัดแย้งและการศึกษาวิจัยเรื่องการแก้ไขความ ขดัแยง้ อาเซยีนอาจจดัตงั้กลไกการระงบัขอ้พพิาททเี่หมาะสมไดเ้ชน่กนั ภายใต้กฎบัตรอาเซียน
๒.๓ การสร้างสันติภาพหลังความขัดแย้ง ความพยายามของ อาเซียนในเรื่องการสร้างสันติภาพหลังความขัดแย้งต้องเกื้อกูล ความ พยายามอื่น ๆ ที่ใช้แนวทางที่ครอบคลุมในทุกมิติ เพื่อ (ก) ให้มั่นใจ ว่าจะไม่เกิดความขัดแย้งและความรุนแรง และ/หรือ ภัยพิบัติที่เกิด จากมนุษย์ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ (ข) ส่งเสริมการกลับคืนมาของ สันติภาพ และ/หรือ การกลับสู่ภาวะปกติของชีวิตโดยเร็วที่สุด และ (ค) พลตรี วางพื้นฐานเพื่อการสมานฉันท์และมาตรการที่จำเป็นต่าง ๆ เพื่อรักษา สันติภาพและเสถียรภาพ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจาก การกลับไปสู่ความขัดแย้งในอนาคต สามารถใช้มาตรการต่าง ๆ ในการ ส่งเสริมกิจกรรมบรรเทาเพื่อมนุษยธรรมซึ่งรวมถึงการเพิ่มความร่วมมือ กับสหประชาชาติและองค์การอื่น ๆ ตลอดจนการเสริมสร้างขีดความ สามารถให้กับประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ
๒.๔ ประเด็นความมั่นคงรูปแบบใหม่ จุดประสงค์หลักของ อาเซียนคือ การตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงทีโดย สอดคลอ้งกบัหลกัการดา้นความมนั่คงทคี่รอบคลมุทกุมติิ จากภยัคกุคาม ในทุกรูปแบบ อาชญากรรมข้ามชาติและความท้าทายข้ามแดน
๒.๕ เสริมสร้างความร่วมมือของอาเซียนด้านการจัดการ ภัยพิบัติ และการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน
๒.๖ การตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพและทันกาลต่อ ประเด็นเร่งด่วนหรือสถานการณ์วิกฤติที่ส่งผลกระทบต่ออาเซียน
๓. ประชาคมที่ทำให้เป็นภูมิภาคที่มีพลวัตและมองไปยังโลก ภายนอกที่มีการรวมตัวกันและลักษณะพึ่งพาซึ่งกันและกันมาก ยิ่งขึ้น มี ๓ องค์ประกอบดังนี้
๓.๑ การสง่เสรมิความเปน็ศนูยก์ลางของอาเซยีนเปน็ศนูยก์ลาง ในความร่วมมือระดับภูมิภาค และการสร้างประชาคม
๓.๒ ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่เพิ่มพูนกับประเทศภายนอก
๓.๓ เสริมสร้างการปรึกษาหารือและความร่วมมือในประเด็น พหุภาคีที่เป็นความกังวลร่วมกัน
กระทรวงกลาโหมกับประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC) กล่าวโดยภาพรวม ๆ ของประชาคมอาเซียนแล้ว กระทรวง กลาโหมเป็นส่วนหนึ่งหรือมีบทบาทที่สำคัญในเสาหลักประชาคม การเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC) ซึ่งตามแผนงานการจัดตั้ง ประชาคมการเมอืงและความมนั่คงอาเซยีน กรอบหลกัในการดำเนนิงาน ของกระทรวงกลาโหม จะถกูกำหนดอยใู่นคณุลกัษณะที่ ๒ คอืประชาคม ที่ทำให้ภูมิภาคมีความเป็นเอกภาพ มีความสงบสุข มีความแข็งแกร่ง พร้อมทั้งมีความรับผิดชอบร่วมกัน เพื่อแก้ไขปัญหาความมั่นคง ที่ครอบคลุมในทุกมิติในองค์ประกอบที่ ๑ คือป้องกันความขัดแย้งและ มาตรการการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ โดยมีคุณลักษณะที่ ๒ เสริมการ ดำเนินการต่อคุณลักษณะที่ ๓ (ตามรายละเอียดข้างต้น) โดยมีเวทีการ ดำเนินการดังต่อไปนี้
การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ASEAN Defence Ministers’ Meeting : ADMM)
การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศ คู่เจรจา (ASEAN Defence Ministers’ Meeting-Plus : ADMM-Plus)
การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Defence Ministers’ Meeting Retreat : ADMM Retreat) และการ ประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา อย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Defence Ministers’ Meeting-Plus Retreat : ADMM-Plus Retreat)
การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกลาโหมอาเซียน (ASEAN Defence Senior Officials’ Meeting : ADSOM) และการประชุมเจ้าหน้าที่ อาวุโสกลาโหมอาเซียนกับเจ้าหน้าที่อาวุโสกลาโหมประเทศคู่เจรจา (ASEAN Defence Senior Officials’ Meeting-Plus : ADSOM-Plus)
การประชุมคณะทำงานเจ้าหน้าที่อาวุโสกลาโหมอาเซียน (ASEAN Defence Senior Officials’ Meeting Working Group : ADSOM WG) และการประชุมคณะทำงานเจ้าหน้าที่อาวุโสกลาโหมอาเซียนกับ เจ้าหน้าที่อาวุโสกลาโหมประเทศคู่เจรจา (ASEAN Defence Senior Officals’ Meeting-Plus Working Group : ADSOM-Plus WG)
สรุปในภาพรวมกระทรวงกลาโหมจะดำเนินการในเรื่องความมั่นคง ที่เกี่ยวข้องภายใต้เสาหลักประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC) ซึ่งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC) จะใช้ กลไกหรือเครื่องมือที่มีอยู่ อาทิ การประชุมว่าด้วยการเมืองและความ มั่นคงในเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum – ARF) มุ่งเน้นการ สรา้งความไวเ้นอื้เชอื่ใจระหวา่งกนั สนธสิญัญาไมตรแีละความรว่มมอืใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation – TAC) โดยเชิญให้ประเทศคู่เจรจาภาคยานุวัติ (การเป็นภาคีหลังจากที่ความ ตกลงมีผลใช้บังคับ) เข้าเป็นสมาชิก TAC ซึ่งจะทำให้ประเทศคู่เจรจา ยอมรับหลักการของการเคารพในเอกราชอธิปไตย และบูรณภาพแห่ง ดนิแดนของกนัและกนั ไมแ่ทรกแซงในกจิการภายในซงึ่กนัและกนั ไมย่อม ให้ประเทศอื่นใช้ดินแดนของตนเป็นฐานในการบ่อนทำลายประเทศ เพื่อนบ้าน ใช้วิธีการแก้ไขข้อขัดแย้งโดยสันติ และจะร่วมมือกันอย่าง แข็งขันกับอาเซียน ขณะนี้ประเทศคู่เจรจาทั้งหมดได้ภาคยานุวัติ TAC แล้ว นอกจากนี้ อาเซียน (ASEAN) ยังต้องการให้ประเทศมหาอำนาจที่มีอาวุธนิวเคลียร์ทำการภาคยานุวัติสนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธ นิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Nuclear Weapon Free Zone Treaty – SEANWFZ) ด้วยขณะนี้มหาอำนาจ นวิเคลยีรท์งั้ ๕ ประเทศอนัไดแ้ก่ สหรฐัฯ รสัเซยี จนี องักฤษ และฝรงั่เศส ได้ตกลงที่จะภาคยานุวัติสนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว และอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายของการตรวจ ความถูกต้องของเอกสาร นอกจากนี้ อาเซียนยังมีความร่วมมือในการ รับมือกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ อันได้แก่ การก่อการร้าย อาชญากรรม ขา้มชาติ (การคา้มนษุย์ การลกัลอบเขา้เมอืงอยา่งผดิกฎหมาย ยาเสพตดิ การฟอกเงิน และอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์) โจรสลัด โรคระบาด และภัยพิบัติ รวมทั้งความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเล (maritime security) และความร่วมมือทางทะเล (maritime cooperation) ด้วย โดยเป็นความร่วมมือระหว่างสมาชิกอาเซียนด้วยกันเอง และระหว่าง อาเซียน (ASEAN) กับประเทศคู่เจรจา ซึ่งนอกจากนี้ อาเซียน (ASEAN) ใช้เวทีการประชุมอื่น ๆ อีกในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงที่กระทรวง กลาโหมมีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ASEAN Defence Ministers’ Meeting : ADMM) การประชุมรัฐมนตรี กลาโหมอาเซยีนกบัรฐัมนตรกีลาโหมประเทศคเู่จรจา (ASEAN Defence Ministers’ Meeting-Plus : ADMM-Plus) การประชมุรฐัมนตรกีลาโหม อาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Defence Ministers’ Meeting Retreat : ADMM Retreat) และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน กับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจาอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Defence Ministers’ Meeting-Plus Retreat : ADMM-Plus Retreat) การประชมุเจา้หนา้ทอ่ีาวโุสกลาโหมอาเซยีน (ASEAN Defence Senior Officials’ Meeting : ADSOM) และการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส กลาโหมอาเซียนกับเจ้าหน้าที่อาวุโสกลาโหมประเทศคู่เจรจา (ASEAN Defence Senior Officials’ Meeting-Plus : ADSOM-Plus) การ ประชมุคณะทำงานเจา้หนา้ทอี่าวโุสกลาโหมอาเซยีน (ASEAN Defence Senior Officials’ Meeting Working Group : ADSOM WG) และ การประชุมคณะทำงานเจ้าหน้าที่อาวุโสกลาโหมอาเซียนกับเจ้าหน้าที่ อาวุโสกลาโหมประเทศคู่เจรจา (ASEAN Defence Senior Officals’ Meeting-Plus Working Group : ADSOM-Plus WG) ดังนั้นการ เป็นประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN PoliticalSecurity Community : APSC) จะประสบความสำเร็จ ขึ้นอยู่กับการ ที่ประเทศสมาชิกอาเซียนมีความสัมพันธ์และความร่วมมือที่ดีต่อกัน และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศภายนอก มีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน ใช้วิธีการเจรจาในการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างกัน ตลอดจนยึดมั่น ในหลักการและค่านิยมร่วมอันเดียวกัน อันจะทำให้เกิดความร่วมมือ กันอย่างแท้จริงในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงในอาเซียน (ASEAN) ส่งผลให้เกิดความสงบสุขของประชาชนในหมู่มวลประเทศสมาชิก อาเซียนสืบไป