ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตรสมาคมแห่ง ประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือกฎบัตรอาเซียน (ASEAN-Charter) เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๐ โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๑ ซึ่งกฎบัตร อาเซียนเปรียบเสมือนธรรมนูญที่กำหนดกรอบด้านกฎหมายและ โครงสร้างองค์กรอาเซียน ทำให้อาเซียนมีกฎกติกาในการทำงาน มี สถานะเป็นนิติบุคคล มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และวางรากฐานการ รวมตัวเป็นประชาคมในปี ๒๕๕๘ ทั้งนี้การเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN-Community) มีเจตจำนงให้ภูมิภาคนี้เป็นภูมิภาคที่มีสันติสุข รักษาสันติภาพ และความเป็นกลาง มีวิธีการร่วมในการแก้ไขข้อพิพาท ลดความขดัแยง้โดยสนัตวิธิี มเีสรทีางการคา้ โดยทกุประเทศในประชาคม จะให้ความร่วมมือกันและดำเนินกิจกรรมของอาเซียนในทุกรูปแบบ ทั้งระดับทวิภาคี อาทิ การแลกเปลี่ยนการเยือน การแลกเปลี่ยนการฝึก ศึกษา หรือการเจรจาหารือเพื่อสร้างความร่วมมือ เป็นต้น และระดับพหุภาคี อาทิ การประชุมหรือการสัมมนา เป็นต้น ซึ่งเป็นการดำเนินกิจกรรมของอาเซียนจะครอบคลุมในทุกมิติ อันประกอบไปด้วย การเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อลดความแตกต่าง ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในด้านต่าง ๆ โดยแบ่งการดำเนินงาน ออกเป็น ๓ เสาหลัก (three-pillars) ได้แก่

๑) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political Security Community: APSC)

๒) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) และ

๓) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio Cultural Community: ASCC)

277-28

การดำเนินการในข้างต้น ทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องเตรียมการ รองรับผลกระทบด้านความมั่นคงที่จะเกิดขึ้น ทั้งในรูปแบบที่จะกระทบ ต่อประเทศไทยโดยตรงและรูปแบบที่จะกระทบต่ออาเซียนในภาพรวม รวมทั้ง ผลกระทบต่อภูมิภาคอื่น ๆ ของโลกอีกด้วย ซึ่งผลกระทบ ที่จะเกิดขึ้นไม่จำกัดอยู่เฉพาะแต่ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ อาทิ ภัยพิบัติ ทางธรรมชาติ การก่อการร้าย ยาเสพติด อาชญากรรมข้ามชาติด้าน เศรษฐกิจ เป็นต้น แต่ยังรวมถึงภัยคุกคามแบบดั้งเดิม เช่น การขัด แย้งของเส้นเขตแดนทั้งทางบกและทางทะเล ซึ่งรวมถึงประเทศไทย กับประเทศเพื่อนบ้าน และยังรวมถึงความขัดแย้งที่ประเทศสมาชิก อาเซียนอื่น ๆ ที่มีกับประเทศเพื่อนบ้านด้วย เช่น ปัญหาทะเลจีนใต้ ซึ่ง มาเลเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม มีปัญหาอยู่กับจีนในปัจจุบัน โดยในระยะเริ่มต้นของการเป็นประชาคมอาเซียนนั้น ปัญหาต่าง ๆ จะ เพิ่มทวีคูณในแนวตั้งชัน (Sheer) แบบยกกำลัง (Exponential) โดย เฉพาะประเทศไทย ที่จะต้องดูแลเฉพาะปัญหาภายในประเทศ เช่น การแตกแยกของคนในชาต ิ(Division) ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต ้ และปัญหาความไม่ชัดเจนของเส้นเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้านแล้ว ประเทศไทยยังจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาอื่น ๆ ของประเทศ สมาชิกอาเซียน ซึ่งต้องมีความรับผิดชอบร่วมกันในฐานะประเทศ สมาชิกอาเซียน รวมทั้งยังต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหาในภูมิภาคอื่น ๆ ในฐานะที่อาเซียนเป็นนิติบุคคล ซึ่งต้องมีปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ผลต่อการรวมตัวไม่ได้ส่งผลเสียเพียงอย่างเดียว เท่านั้น การรวมตัวเป็นเพียงแต่การกระตุ้นให้ปัญหาต่าง ๆ ที่จำเป็น จะต้องได้รับการแก้ไขมีความชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือ ในลกัษณะพหภุาคี ที่จะช่วยกันในการแก้ปัยหาที่จะเกิดขึ้น ซึ่งหากได้ มีการเตรียมการแต่เริ่มต้น และมีการประสานงาน รวมทั้งร่วมมือกันใน ทุกภาคส่วนของไทย และของประเทศสมาชิกอาเซียนแล้ว ผลประโยชน์ ที่ได้รับก็จะอยู่กับประชาชนของประเทศสมาชิกอาเซียน

การดำเนินการเพื่อรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้น จะเห็นได้ว่ารัฐบาล ได้ให้ความสำคัญกับการเป็นประชาคมในปี ๒๕๕๘ โดยมีนโยบายและ ยุทธศาสตร์ด้านต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินการดังกล่าว ซึ่งนำไปสู่ การจัดทำแผนงาน โครงการ และงบประมาณของหน่วยราชการต่าง ๆ ซึ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานด้านความมั่นคงนั้น มีความจำเป็น ที่รัฐบาลจะต้องจัดตั้งหน่วยงานใหม่ ๆ ขึ้นรองรับงานด้านภัยคุกคาม รปูแบบใหมท่เี่พมิ่มากขนึ้ อาท ิหนว่ยงานดา้นการปอ้งกนัและปราบปราม สิ่งเสพติด หน่วยป้องกันพื้นที่ชายฝั่ง หน่วยบริหารจัดการพื้นที่ชายแดน แบบรวมการ หน่วยงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและภัยพิบัติ เป็นต้น ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวต้องมีความเป็นสากล มีกำลังพล และยุทโธปกรณ์ที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงานทั้งในประเทศและนอกประเทศ เช่นเดียวกันกองทัพจเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้าง ภารกิจ และอนาจ หน้าที่ โดยในระยะเริ่มต้น มีความจเป็นที่จะต้องมอบหมายให้หน่วย งานสังกัดกระทรวงกลาโหมที่มีภารกิจในการสนับสนุนรัฐบาลเกี่ยวกับ การดเนินการดังกล่าวสนับสนุนหน่วยงานใหม่ที่จัดตั้ง โดยต้องให้ ความรู้ การศึกษาอบรม การช่วยเหลือและสนับสนุนทั้งกลังพลและ ยุทโธปกรณ์ เพื่อให้การจัดตั้งหน่วยงานใหม่ที่จะเกิดขึ้นมีความพร้อม ในทุก ๆ ด้าน โดยภารกิจใหม่ และโครงสร้างใหม่ของกองทัพนั้นรัฐบาล ต้องลดภาระของกองทัพในการดเนินการด้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ที่ไม่จเป็นลง รวมทั้งยังต้องให้เวลา และสนับสนุนงบประมาณ และ การดเนินการทุกด้านในการพัฒนาให้กองทัพเป็นกองทัพที่ทันสมัย มีความเป็นสากลพร้อมปฏิบัติภารกิจในฐานะอาเซียนได้อย่างเต็ม ภาคภมูิ ซงึ่หากสามารถดเนนิการไดแ้ลว้กจ็ะเปน็พนื้ฐานใหป้ระเทศไทย สามารถที่จะบริหารจดัการได้อยา่งมีประสิทธิภาพมากขนึ้ และประหยัด งบประมาณการดำเนินการในระยะยาว เพื่อรองรับและเตรียมการในทิศทางต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อไป กระทรวงกลาโหมเป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่อยู่ภายใต้เสาหลักประชาคมการเมืองและความมั่นคง รวมทั้ง มีภาระรับผิดชอบในการสนับสนุนเสาหลักประชาคมเศรษฐกิจ และ เสาหลักประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอีกด้วย ซึ่งการดำเนินการในการ รองรบัการเปน็ประชาคมอาเซยีน นนั้ กระทรวงกลาโหมประเทศสมาชกิ อาเซียนได้จัดตั้งเวทีในการประชุมของฝ่ายทหารขึ้น เพื่อเปิดโอกาส ให้เจ้าหน้าที่ในระดับผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม ปลัดกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มีโอกาส ในการแลกเปลี่ยนแนวความคิด เจรจาหารือ และกำหนดแนวทางการ ดำเนินการของกองทัพประเทศสมาชิกอาเซียน โดยได้เริ่มดำเนินการมา ตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ โดยมีการประชุมครั้งท ี่๑ ที่มาเลเซีย ครั้งที่ ๒ ที่สิงคโปร ์ ครั้งที่ ๓ ที่ไทย ครั้งที่ ๔ ที่เวียดนาม ครั้งที่ ๕ ที่อินโดนีเซีย ครั้งที่ ๖ ที่ กัมพูชา ครั้งที่ ๗ ที่บรูไน และล่าสุดครั้งที่ ๘ ในปีนี้จัดขึ้นที่เมียนมา ซึ่ง การดำเนนิการในปจัจบุนัไดพ้ฒันาไปสกู่ารประชมุของรฐัมนตรกีลาโหม อาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา อีก ๘ ประเทศ คือ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รัสเซีย อินเดีย นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และจีน โดย มีกรอบความร่วมมือที่สำคัญ จำนวน ๒ กรอบความร่วมมือ คือ กรอบ การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน และกรอบการประชุมรัฐมนตรี กลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจาดังนี้

เอกสารในกรอบ ADMM จำนวน ๖ ฉบับ

๑. เอกสารแนวความคิดเรื่องความร่วมมือระหว่างกลาโหมอาเซียน กับองค์กรภาคประชาสังคมในด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่ (Concept Paper on ASEAN Defence Establishments and Civil Society Organisations (CSOs) Cooperation on Non-Traditional Security) (ไทย)

๒. เอกสารแนวความคิดเรื่องการใช้ทรัพยากรและศักยภาพทาง ทหารอาเซียนในการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมและการบรรเทา ภัยพิบัติ (Concept Paper on the Use of ASEAN Military Assets and Capacities in Humanitarian Assistance and Disaster Relief) (อินโดนีเซีย)

๓. เอกสารแนวความคิดว่าด้วยความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม ป้องกันประเทศในกรอบอาเซียน (Concept Paper on ASEAN Defence Industry Collaboration) (มาเลเซีย)

๔. เอกสารแนวความคิดว่าด้วยการจัดตั้งเครือข่ายศูนย์ปฏิบัติ การรักษาสันติภาพในกรอบอาเซียน (Concept Paper on the Establishment of ASEAN Peacekeeping Centers Network) (ไทย – อินโดนีเซีย)

๕. เอกสารแนวความคิดว่าด้วยโครงการปฏิสัมพันธ์ทางทหาร ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน (Concept Paper on the Establishing ASEAN Defence Interaction Programmes) (บรูไน) ๖. เอกสารแนวความคิดว่าด้วยการสนับสนุนการส่งกำลังบำรุง ร่วมกันในอาเซียน (Concept Paper on the Establishment of LogisticsSupport Framework) (บรูไน)

เอกสารในกรอบ ADMM – Plus จำนวน ๖ ฉบับ

๑. เอกสารแนวความคิดว่าด้วยการจัดตั้งคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญ ด้านความมั่นคงทางทะเล (ADMM-Plus: Maritime Security Working Group Concept Paper) (บรูไน – นิวซีแลนด์)

๒. เอกสารแนวความคิดว่าด้วยการจัดตั้งคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญ ด้านการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ (ADMM-Plus: Concept Paper for the Establishment an Experts’ Working Group on Humanitarian Assistance and Disaster Relief (HADR)) (ลาว – ญี่ปุ่น)

๓. เอกสารแนวความคิดว่าด้วยการจัดตั้งคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญ ด้านการต่อต้านการก่อการร้าย (ADMM-Plus: Concept Paper for the Counter Terrorism Experts’ Working Group) (สิงคโปร์ – ออสเตรเลีย)

๔. เอกสารแนวความคิดว่าด้วยการจัดตั้งคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญ ด้านการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ (ADMM-Plus: Work Plan of the Experts’ Working Group on Peacekeeping Operations) (กัมพูชา – เกาหลีใต้)

๕. เอกสารแนวความคิดว่าด้วยการจัดตั้งคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญ ด้านการแพทย์ทางทหาร (Experts’ Working Group on Military Medicine work plan) (ไทย – รัสเซีย)

๖. เอกสารแนวความคิดของคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม (Concept Paper on the Establishment of The ADMM-Plus Expert’s Working Group on Humanitarian Mine Action) (เวียดนาม – อินเดีย)