พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธี พระราชทานกระบี่ และปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา จากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ และวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ณ อาคารใหม่สวนอัมพร วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๓๖

 “…ทหารนั้น  มิใช่จะมีหน้าที่ในการใช้ศาสตราวุธทำสงครามประการเดียว  หากยังต้องปฏิบัติภารกิจด้านกิจการพลเรือน  คือ ใช้ความรู้ ความคิด จิตวิทยา และความเฉลียวฉลาด ซึ่งอาจรวมเรียกได้ว่า อาวุธทางปัญญาเข้าปฏิบัติพัฒนาท้องถิ่น ให้ ประชาชนอยู่ดีกินดี มีความปลอดภัย มีขวัญและกำาลังใจที่จะสร้างความดีความเจริญ ความมั่นคงให้แก่ตนเอง และส่วนรวมอีกประการหนึ่งด้วย…”

277-30

งานกิจการพลเรือนของฝ่ายทหาร เป็นงานที่ได้ดำเนินการควบคู่กับการปฏิบัติการทางทหารมาตั้งแต่ครั้งในอดีตจวบจนปัจจุบัน เพียงแต่ใน ในอดีตมิได้มีการแบ่งแยก หรือเรียกว่าเป็น “งานกิจการพลเรือน” เป็นการเฉพาะ แต่เป็นงานที่เป็นเนื้อเดียวกับการปฏิบัติการทางทหาร เนื่องจาก การทำสงครามในอดีตจะต้องมีการเก็บเกณฑ์ประชาชน และทรัพยากร ทั้งปวงเพื่อเข้าทำสงคราม เมื่อสงครามจบลงประชาชนก็จะไปประกอบ อาชีพกันตามปกติ งานการปฏบิตักิารทางทหาร และการปฏบิตัทิางดา้น พลเรือนจึงมิได้แบ่งแยกกันอย่างชัดเจนเหมือนในปัจจุบัน

ต่อมาเมื่อการจัดหน่วยทหาร และการทำสงคราม ได้มีการพัฒนา รูปแบบไปตามสถานการณ์ภัยคุกคามทั้งภายใน และภายนอกประเทศ รวมทั้งเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละห้วงเวลา ทำให้งานด้าน กิจการพลเรือนได้มีการพัฒนาตามไปด้วย โดยเฉพาะในห้วงของ สงครามเย็น ซึ่งเป็นการต่อสู้ในเรื่องของความคิดความเชื่อที่แตกต่างกัน ทางด้านลัทธิอุดมการณ ์งานด้านกิจการพลเรือนของทหารก็ได้ทวีความ สำคัญเพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยได้มีการพัฒนารูปแบบ และวิธีการปฏิบัติที่ หลากหลาย เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามภารกิจ ทั้งทางยุทธวิธี และทางยุทธศาสตร์ เช่น การพัฒนาเพื่อความมั่นคง (การพัฒนาโดยหน่วยทหาร)

การพัฒนาและเสริมสร้างกำลังประชาชน การปลูกฝังอุดมการณ์ทาง การเมืองที่มุ่งเน้นการพัฒนาประชาธิปไตย รวมทั้งการปฏิบัติการ จิตวิทยา และการประชาสัมพันธ์ ก็ได้มีการปรับรูปแบบ และวิธีการที่มุ่ง เนน้ไปสกู่ารเสรมิสรา้งความเขา้ใจทดี่ตีอ่กนัของคนในชาติ การเสรมิสรา้ง ความรักความสามัคคี การสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาต่อกลุ่มเป้าหมายที่ เป็นประชาชนทั่วไปมากยิ่งขึ้น ซึ่งแต่เดิมจะมุ่งไปสู่การให้ได้ชัยชนะต่อ ข้าศึกศัตรูภายนอกประเทศเพียงอย่างเดียว นอกจากนั้นสถานการณ์ ภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ ก็ยิ่งทำให้ขอบเขตการดำเนินงานด้านกิจการ พลเรือนของฝ่ายทหารขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ทั้งในเรื่องยาเสพติด การ ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฏหมาย ปัญหาความขัดแย้งทางความคิดของชาวต่างชาติที่มีแนวโน้มนำสู่ความแตกแยกและใช้ความรุนแรงต่อนัก การจาบจ้วง ล่วงละเมิดสถาบันฯ และปัญหาอื่น ๆ ที่ฝ่ายทหารจำเป็นต้องเข้าไปมี ส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหา

สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันหลักที่สร้างชาติบ้านเมือง และ ปกครองดูแลให้อาณาประชาราษฎร์มีความร่มเย็นเป็นสุขมาตั้งแต่ เริ่มความเป็นชาติไทย ให้ดำรงคงอยู่จนถึงพวกเราคนไทยในทุกวันน ี้ พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ได้ทรงทำนุบำรุงประเทศชาติ โดยทรง พระวิริยะอุตสาหะ ทุ่มเทพระวรกาย และพระสติปัญญาในการแก้ไข ปัญหาชาติบ้านเมืองให้ผ่านพ้นวิกฤตการณ์ต่าง ๆ มาได้จนถึงปัจจุบัน ดังนั้นการถวายความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงถือว่าเป็น ภารกิจที่สืบเนื่องทางประวัติศาสตร์ ที่เหล่าบรรดานักรบบรรพชนไทย ได้ยึดถือสืบเนื่องกันมาจากครั้งโบราณกาล ถึงแม้จะมีการบัญญัติไว้ใน ธรรมนูญการปกครองหรือไม่ก็ตาม แต่เหล่าทหารหาญทั้งหลายต่างก็ยึดมั่นในความจงรักภักดีไม่เสื่อมคลาย และพร้อมที่จะถวายชีวิตเป็น ราชพลีในทุกโอกาส จึงเป็นบทบาทงานด้านกิจการพลเรือนที่สำคัญยิ่ง อีกประการหนึ่งในการพิทักษ์รักษา และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ อย่างเต็มกำลังความสามารถ

สรุปว่าการดำเนินงานด้านกิจการพลเรือนของฝ่ายทหารโดยทั่วไป ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นการผสมผสานหลักการทางการทหาร เข้ากับหลักการทางพลเรือน ที่มีความแตกต่างกันให้สามารถทำงาน ร่วมกันได้อย่างประสานสอดคล้อง เพื่อให้บรรลุผลประโยชน์สูงสุดของ ประเทศชาติในทุกมิติ โดยแบ่งกลุ่มงานให้มีความเหมาะสมสอดคล้อง กับการปฏิบัติภารกิจทั้งของฝ่ายทหาร ฝ่ายพลเรือน และการจรรโลง ไว้ซึ่งสถาบันหลักของชาติ ออกเป็น ๓ กลุ่มงานดังนี้

๑. กลุ่มงานสนับสนุนการปฏิบัติทางทหาร เป็นการผนึกทรัพยากร ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนเข้าด้วยกัน เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจ ทางทหารในทุกมิติ แบ่งการดำเนินการออกเป็น การปฏิบัติงานกิจการ พลเรือน การปฏิบัติการจิตวิทยา และการประชาสัมพันธ์ โดยลักษณะ ของการปฏิบัติจะมุ่งเน้นสนับสนุนการปฏิบัติทางทหารด้วยการใช้กำลัง ประชาชน และการใช้สื่อสนับสนุนการปฏิบัติการข่าวสารในทุกภารกิจ ได้แก ่การป้องกันประเทศ การรักษาความมั่นคงภายใน การรักษาความ สงบเรียบร้อยภายในประเทศ และการปฏิบัติการอื่น ๆ

๒. กลุ่มงานสนับสนุนพลเรือน เป็นการใช้ทรัพยากรของฝ่ายทหาร ที่มีความเหมาะสม ทั้งคน และเครื่องมือ เข้าไปให้การช่วยเหลือ และ สนับสนุนฝ่ายพลเรือนในการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปด้วยความ เรยีบรอ้ย อยา่งตอ่เนอื่ง รวมทงั้การชว่ยเหลอืพฒันาทอ้งถนิ่ใหป้ระชาชน มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และพ้นจากภัยพิบัติต่าง ๆ เพื่อให้ประเทศชาติมี ความมั่นคงปลอดภัย และประชาชนมีความผาสุก ทั้งในยามปกติ และ ในสถานการณ์วิกฤต

๓. กลมุ่งานสง่เสรมิและสนบัสนนุสถาบนัหลกัของชาติ เปน็งานทฝี่า่ย ทหารได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับส่วนราชการอื่น ภาคเอกชน และประชาชน ในการจัดกิจกรรมที่แสดงออกถึงความจงรักภักดี และยึดมั่นในสถาบัน หลักของชาติ รวมทั้งเป็นหน่วยริเริ่มในการจัดกิจกรรม และรณรงค์ ให้สังคมไทยเกิดความรักความสามัคคี มีอุดมการณ์รักชาติ มีจิตสำนึก ด้านความมั่นคง จรรโลงไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ตลอดจนแสดงออกอย่างชัดเจนในการพิทักษ์รักษา และเทิดทูนสถาบัน พระมหากษัตริย์อย่างเต็มความสามารถในทุกโอกาส

277-31

เปรียบเทียบงานกิจการพลเรือนของทหารกับงาน CSR (Corporate Social Responsibility)

งาน CSR เป็นความรับผิดชอบของภาคเอกชนที่ประกอบธุรกิจมีกำไและต้องการตอบแทนคืนกลับให้สู่สังคม โดยให้การช่วยเหลือสนับสนุน การพัฒนาท้องถิ่นหรือเอกชนในด้านต่างๆ ให้ไดเ้รับการพัฒนาไปพร้อมๆ กับการทำธุรกิจ รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรให้ เป็นที่ยอมรับในการเอื้ออาทรต่อสังคมอีกทางหนึ่งด้ว

ส่วนงานกิจการพลเรือนของทหารเป็นงานที่ผสมผสานทรัพยากร ระหว่างทหารกับพลเรือนเพื่อสนับสนุนภารกิจของฝ่ายทหารและการ ดำเนินงานของฝ่ายพลเรือน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ ชาติ ดังนั้นขอบเขตและวัตถุประสงค์งานกิจการพลเรือนของทหาร จึง แตกต่างจากงาน CSR ของภาคเอกชน แต่รูปแบบและกิจกรรมอาจ มีความเหมือนกันบ้างในบางโครงการ เช่น การปลูกต้นไม้เพื่อเสริม สร้างสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชน หรือการช่วยเหลือ ประชาชนเมอื่ประสบภยัพบิตัิ เปน็ตน้ แตห่ากจะเทยีบเคยีงงาน CSR กับงานของฝ่ายทหารที่มีความใกล้เคียงกันมากที่สุด น่าจะเป็นงาน “ชุมชน สัมพันธ์” ซึ่งเป็นกิ่งหนึ่งของการประชาสัมพันธ์ทางทหาร คือ การสร้าง ความสมัพนัธท์ดี่กีบัชมุชนทหี่นว่ยทหารไปตงั้อยู่ หรอืชมุชนทอี่ยใู่นความ รับผิดชอบของหน่วยทหาร โดยให้ความช่วยเหลือและเสริมสร้างสิ่ง ที่เป็นประโยชน์ให้กับชุมชน

ปัจจัยแห่งความสำเร็จของงานกิจการพลเรือนขึ้นอยู่กับปัจจัย ที่สำาคัญยิ่ง ๒ ประการ คือ

ผู้บังคับบัญชา ต้องมีความรู้ความเข้าใจในสาระสำคัญของงาน กิจการพลเรือน และสามารถกำหนดนโยบายการปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน

นายทหารกิจการพลเรือนและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ต้องมีความรู้ ความสามารถในการประสานงานให้ทั้งฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน มีการปฏิบัติงานที่สอดคล้องเกื้อกูลซึ่งกันและกันในแต่ละภารกิจอย่างมีดุลยภาพ โดยมีคุณสมบัติพื้นฐานที่สำคัญ คือ มีความรอบรู้ในกิจการทางการทหารเป็นอย่างดีควบคู่ไปกับการเรียนรู้ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ของฝ่ายพลเรือน เพื่อให้สามารถนำทรัพยากรทั้งปวงมาผสมผสานกัน และให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติได้อย่างสมบูรณ ์หรืออาจสรุปเป็น ข้อความสั้น ๆ ได้ว่า “รู้ความต้องการทางทหาร ชำนาญประสาน พลเรือน”