บริบทของสังคมไทยในปัจจุบัน อยู่ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน ์ (Globalization) เช่นเดียวกับทุกประเทศในสังคมโลก จาก ที่เคยมีเส้นแบ่งพรมแดน มีความแตกต่างและมีอัตลักษณ ์ กลับถูกหลอมรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ไม่ว่าจะทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้าน เทคโนโลยี ด้านสังคม-วัฒนธรรม ไม่เว้นแม้กระทั่งมิติทางด้านการเมือง การปกครอง และการทหาร
การดำรงอยู่ในกระแสโลกาภิวัตน์ คือการเรียนรู้ที่จะปรับทุกมิติให้ สอดคลอ้ง สามารถโตค้ลนื่ลกูที่ ๓ หรอืคลนื่ของการปฏวิตัสิารสนเทศและ ขบัเคลอื่นประเทศใหเ้คยีงบา่เคยีงไหลไ่ปกบัชาตติา่ง ๆ ในประชาคมโลก
คลื่นลูกที่ ๓ มีความสำคัญอย่างไรในมิติของการเมือง การปกครอง การทหาร และจะนำมาซึ่งแนวคิดในการเตรียมการด้านกำลังทหาร อย่างไร ประเด็นนี้ผู้เขียนได้เสนอแนวคิดไว้แล้วในบทความเรื่อง “วิธีการผลิตอย่างไร : วิธีการรบอย่างนั้น” โดยเป็นการเชื่อมโยง แนวคิดของนักวิชาการด้านการพยากรณ์อนาคตศาสตร์ (Futurist) และ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง (Political Economy) เข้าไว้ ด้วยกัน ซึ่งจะขอสรุปเพื่อให้เข้าใจแนวคิดดังนี้
สองแนวคิด สองมุมมอง
อัลวิน และ ไฮดี ทอฟเลอร์ (Alvin and Heidi Toffler) นักเขียน ชาวอเมรกินั ซงึ่เปน็นกัพยากรณอ์นาคตศาสตร์ (Futurist) ไดก้ลา่วไวใ้น หนังสือ The Third Wave โดยอธิบายสังคม ๓ แบบ บนพื้นฐานแนวคิด ที่ว่า คลื่นแต่ละลูกที่ผลักดันสังคมในแต่ละยุคสมัยให้เปลี่ยนไป จะนำมา ซึ่งอารยธรรมและวัฒนธรรมของสังคมยุคใหม่ให้เข้ามาแทนที่คลื่น ลกูที่ ๑ คอื การปฏวิตักิารเกษตร คลนื่ลกูที่ ๒ คอื การปฏวิตัอิตุสาหกรรม และคลื่นลูกที่ ๓ คือ การปฏิวัติสารสนเทศ ซึ่งสังคมไทยเราเรียกว่า ยุคไอที (IT : Information Technology) เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสาร ก้าวสู่ระบบดิจิตอล ดาวเทียม ทำให้โลกแคบลง กลายเป็นหมู่บ้านโลก (Global Village) การติดต่อสื่อสารรวดเร็ว ครอบคลุมทั่วโลกในเวลา จริง (Real time) ทำให้มนุษย์เข้าถึงข้อมูลข่าวสารความรู้ได้ ส่วนแนวคิดอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์การเมือง (Political Economy) และเป็นนักคิดฝ่ายซ้าย ได้แก่ คาร์ล มาร์กซ์ และ ฟรีดิช เองเกลส์ (Karl Marx and FreidrichEngles) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ คำระกาศคอมมวินสิต์ (The Communist Manifesto) ถงึววิฒันาการ ของสังคมที่มีผลมาจากปัจจัยการผลิตและการต่อสู้ทางชนชั้นที่เป็นเหตุ ให้เกิดวิวัฒนาการของสังคมแนวลัทธิมาร์กซ์ ๖ ชั้น
สองแนวคิด สู่ “วิธีการผลิตอย่างไร วิธีการปกครองวิถีการรบอย่างนั้น
แนวคิดของทั้งทอฟเลอร์และมาร์กซ์ มีประเด็นที่สอดรับกันอยู่ ๒ ประเด็น ได้แก่
ประเด็นแรก“วิธีการผลิตอย่างไร วิธีการปกครองอย่างนั้น” : ผู้ปกครอง คือ ผู้ที่ครอบครองปัจจัยการผลิต และเป็นผู้กำหนดรูปแบบ การปกครองให้สอดรับกับวิธีการผลิตหรือกิจกรรมทางเศรษฐศาสตร์ ของยุคสมัยนั้น ๆ วิถีการรบ ถือเป็นกิจรรมทางเศรษฐศาสตร์อย่างหนี่ง โดยมาร์กซ์เน้นว่า เป็นการต่อสู้ทางชนชั้นหรือการปฏิวัติ ส่วนทอฟเลอร ์ เนื่องจากเขามองว่า การปฏิวัติทางสังคมเป็นคลื่นลูกใหม่ที่ถาโถมจน แปรเปลี่ยนวิถีในสังคม ดังนั้นวิถีการรบจึงต้องสอดรับกับรูปแบบการ ปฏิวัติ นั่นคือ โต้คลื่นลูกที่ ๑ ด้วยวิถีการรบยุคการปฏิวัติการเกษตร โต้คลื่นลูกที่ ๒ ด้วยวิถีการรบยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม และโต้คลื่น ลูกที่ ๓ ด้วยวิถีการรบยุคปฏิวัติสารสนเทศ
ประเด็นที่ ๒ “การปฏิวัติหรือวิวัฒนาการรูปแบบการปกครอง รูปแบบอารยธรรมวัฒนธรรม รูปแบบการใช้ชีวิตของมนุษยชาติ ตลอด จนรูปแบบวิถีการรบ เกิดจากการปฏิบัติทางการผลิตหรือกิจกรรมทาง เศรษฐศาสตร์ที่เปลี่ยนไป”
คลื่นลูกที่ ๑ ยุคการปฏิวัติการเกษตร
วิธีการผลิต : ใช้กล้ามเนื้อคนและสัตว์ในการเพาะปลูก มีปัจจัยการ ผลิต เครื่องมือการเกษตร ที่ดิน และแรงงาน สังคมการผลิตแบบวรรณะ
วิธีการปกครอง : แบบศักดินา ผู้ปกครอง คือ ผู้ที่มีกำลังมากและ เป็นผู้ครอบครองอำนาจ รัฐมีวิวัฒนาการจากแคว้นหรือนครรัฐ เป็น ราชอาณาจักรหรือจักรวรรดิ์ วิถีการรบ คือ การทำสงครามครอบครอง ที่ดินและประชากร
วิถีการรบ : ใช้กล้ามเนื้อแขนขา จับหอกดาบ ยิงธนูบนหลังม้า ใคร มีกำลังคน ช้าง ม้ามาก ใช้ศักยภาพของกำลังมาก กองทัพนั้นคือผู้มี ชัยชนะ อำนาจอยู่ที่นักรบที่มีพละกำลัง
กองทัพมีรูปแบบการจัด การฝึก การยุทธ์ หรือวิถีการรบที่โต้คลื่นลูก ที่ ๑ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น กองทัพม้ามองโกล หรือต้องล้ำยุคสมัย สามารถโตค้ลนื่ลกูที่ ๒ ในยคุตน้ได้ จงึจะประกนัชยัชนะ ซงึ่กค็อื กองทพั ประจำการแบบ Labour Intensive Army ของรัสเซียและอังกฤษใน ต้นศตวรรษที่ ๑๘ นั่นเอง
คลื่นลูกที่ ๒ ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม
วิธีการผลิต : ใช้โรงงานอุตสาหกรรมผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก ๆ
วิธีการปกครอง : แบบทุนนิยม เสรีนิยมประชาธิปไตย ผู้ปกครอง หรืออำนาจอยู่ที่ผู้มีทุนหรือเงินตรามาก วิถีการรบ คือ การทำสงคราม ล่าอาณานิคม
วิถีการรบ : ใครมีเรือรบ รถถัง เครื่องบิน ระเบิดมาก ก็จะประสบ ชัยชนะ อำนาจอยู่ที่นักรบที่มีทุนเงินตรา อาวุธ จำนวนมากและมี มาตรฐาน
กองทัพที่โต้คลื่นลูกที่ ๒ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็เพราะมีวิธีการ ฝึก การจัด การยุทธ หรือวิถีการรบแบบทุนนิยม ซึ่งก็คือกองทัพประจำการแบบ Capital Intensive Army ของสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และ พันธมิตรที่ประสบชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒ นั่นเอง
คลื่นลูกที่ ๓ ยุคการปฏิวัติสารสนเทศ
วิะีการผลิต : ใช้ดาวเทรยมสื่อสารแบบดิจิตอล สารสนเทศ และคอมพิวเตอร์ สิ้นยุคอุตสาหกรรมปล่อยควัน การติดต่อสื่อสารในเวลาจริง (Real time) โลกแคบลงเป็นหมู่บ้านโลก
วีธีการปกครอง : แบบทุนนิยมเสรีประชาธิปไตย ผู้ปกครองหรือ อำนาจเริ่มย้าย (Power Shift) ไปสู่ผู้ที่มีสติปัญญา (Wisdom) ประเทศต่าง ๆ เริ่มเข้าสู่เสรีนิยมประชาธิปไตยมากขึ้น สิ้นสุดยุคการ ลา่อาณานคิม พรอ้มกบัการปดิตวัลงของโรงงานอตุสาหกรรมปลอ่งควนั ขนาดใหญ่ ตอ้งการประสทิธภิาพการผลติทสี่งูขนึ้เพอื่ชดเชยวตัถดุบิจาก ทรัพยากรที่ลดน้อยถอยลง
วิถีการรบ : ใครมีสติปัญญา (Wisdom) มีความรู้ (Knowledge) เท่าทันเวลาจริง (Real time) และมีข่าวกรอง (Intelligence) กองทัพ นั้นจึงจะประสบชัยชนะ อำนาจที่มีประสิทธิภาพที่สุด คือ ความรู้
กองทัพที่โต้คลื่นลูกที่ ๓ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ กองทัพที่มี การฝึก การจัด และวิถีการรบ หรือการยุทธแบบทุนนิยมสารสนเทศ กองทัพประจำการแบบ Capital Intensive Army ซึ่งมีลักษณะแบบ Information Technology Intensive Army หรือ Smart Army คือกองทัพที่มีพลังพลวัต (Dynamic) ไปได้ไกล (Range) มีความเร็ว (Speed) และอำนาจการทำลายล้างที่แม่นยำ (Lethality) ต้องการ “ทหาร” หรือ “นักรบที่ชาญฉลาด” ถึงจะโต้คลื่นลูกที่ ๓ หรือเผชิญ กระแสโลกาภิวัตน์ได้นั่นเอง
สิ่งสำคัญที่สุด
การเลือกใช้ “วิถีการรบ” ที่ผิดยุคสมัย อาจนำมาซึ่งความพ่ายแพ้ ของกองทัพอันเกรียงไกร ดังตัวอย่างของกองทัพพม่าอันยิ่งใหญ่ในยุค คลื่นลูกที่ ๑ แต่กลับถูกพิชิตได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง และย่อยยับลง ด้วยอานุภาพของกองทัพอังกฤษมหาอำนาจแห่งคลื่นลูกที่ ๒ หรือแม้ กระทั่งอภิมหาอำนาจอย่างอเมริกา ซึ่งกรีธาทัพที่ออกแบบไว้เพื่อโต่คลื่น ลูกท ี่๒ แต่กลับต้องไปจมปลักกับสงครามเวียดนามซึ่งเป็นสงครามคลื่น ลูกที่ ๑ ที่รบกันด้วยวิถีการรบที่อาศัยความทรหดอดทนของกล้ามเนื้อ มนุษย์ ซ้ำร้ายคนอเมริกันซึ่งกำลังเข้าสู่วิถีชีวิตแบบสังคมคลื่นลูกที่ ๓ ต้องมานั่งดูข่าวทีวีเห็นภาพการสูญเสียของเยาวชนอเมริกันในสงคราม เวียดนาม ในดินแดนที่ห่างจากประเทศของตนเองนับหมื่นไมล์
บทสรุปสำหรับกองทัพไทย
สังคมไทยเป็นสังคมที่มีองค์ประกอบเป็นรูปพีระมิด นั่นคือ ยังคง มีฐานของประชากรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรอาศัยอยู่ในสังคมเกษตร มีประชากรย่านกลางของพีระมิดเป็นผู้ใช้ชีวิตในเมืองและอยู่ในภาค อุตสาหกรรม และมีเพียงคนกลุ่มน้อยเท่านั้นที่ใช้ชีวิตและประกอบ การงานภายใต้รูปแบบสังคมสารสนเทศเต็มตัว เมื่อคำนึงถึงความเป็น หมู่บ้านโลกก็พบว่าประเทศในกลุ่มภูมิภาคอาเซียนก็มีลักษณะสังคม ทั้ง ๓ แบบเช่นเดียวกับประเทศไทย ในปริมาณที่มากบ้างน้อยบ้าง แตกต่างกันไป
ฉะนั้นแล้ว กองทัพไทยต้องมีทั้งลักษณะกองทัพประจำการ Labour Intensive Army เช่น กองกำลังทหารพราน ตำรวจตระเวนชายแดน และกองอาสารักษาดินแดน เพื่อใช้ในการโต้คลื่นลูกที่ ๑ กองกำลังมี ปริมาณให้ได้สัดส่วนกับพีระมิดส่วนฐานของสังคมที่ยังคงเป็นสังคม เกษตร
สำหรับคลื่นลูกที่ ๒ คือ การมีกองทัพประจำการแบบ Capital Intensive Army ที่แพ้ชนะกันที่จำนวนหน่วยนับของยุทโธปกรณ์ เช่น กองพลทหารราบที่ ๒ รักษาพระองค์ หรือ กองพลทหารม้าที่ ๒ รักษา พระองค์
การมีกองกำลังเคลื่อนที่เร็ว Rapid Deployment Force : RDF (ทหารราบที่ฝึกเพิ่มเติมในการเป็นหน่วยส่งทางอากาศและเป็นหน่วย เคลื่อนที่ทางอากาศ ปัจจุบันคือ กรมทหารราบที่ ๓๑ รักษาพระองค์) ไว้โต้คลื่นลูกที่ ๓ เป็นเรื่องที่ดี ซึ่งน่าจะเพิ่มกองกำลังทางเรือ กำลัง นาวิกโยธิน และกำลังขนส่งทางอากาศ ที่น่าจะมีการฝึกร่วมกัน มีการ รวมตัวกันอย่างหลวม ๆ คือ มีกองเรือลำเลียงพลนาวิกโยธินของ กองทัพเรือ กองบินขนส่งของกองทัพอากาศ อากาศยานปีกหมุนของ กองทัพบก ซึ่งติดสัญลักษณ์บอกฝ่ายเดียวกันที่พร้อมจะรวมตัวกัน เป็นกองกำลังเฉพาะกิจร่วมสำหรับการฝึกร่วมหรือการปฏิบัติการเพื่อ สันติภาพร่วมกับกองกำลัง UN หรือแม้แต่การแสดงกำลัง (Show of Forces) หรือการปฏิบัติการร่วมกับชาติอาเซียนอื่นเพื่อโต้คลื่นลูกที่ ๓ ของการก้าวไปสู่ความเป็นเอกภาพของประชาคมอาเซียน ๒๐๑๕
นั่นคือสิ่งที่เป็นการประกันความสำเร็จของทุกภารกิจ ทุกวิธีการรบ ในการโต้คลื่นลูกที่ ๓
ทัศนะเพิ่มเติม
ความรู้ คือ อำนาจ
ในการโต้คลื่นลูกที่ ๓ นั้น แม้ว่าการมีข่าวกรอง (Intelligence) และ เท่าทันเวลาจริง (Real time) จะเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้ใน ยุคปฏิวัติสารสนเทศ แต่สิ่งสำคัญที่จะส่งเสริมให้กองทัพมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้นคือการพัฒนากำลังพลให้เป็น “นักรบที่ชาญฉลาด” มีสติ ปัญญา (Wisdom) และมีความรู้ (Knowledge) อันเป็นการพัฒนาสู่ ความเป็นมืออาชีพส่งเสริมให้กองทัพนั้นเป็นกองทัพที่เกรียงไกรและ ประสบชัยชนะในสมรภูมิ
การพัฒนาบุคลากรทางทหารจึงเป็นสิ่งสำคัญที่กระทรวงกลาโหม และเหล่าทัพให้ความสำคัญ สำหรับหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน ซึ่ง เป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพบกที่รับผิดชอบกิจการกำลังสำารองทั้งปวงโดย เฉพาะงานหลัก ๔ ด้าน ได้แก่ กิจการกำลังพลสำรอง, กิจการนักศึกษา วิชาทหาร, กิจการสัสด ีและกิจการอาสารักษาดินแดน (ให้กับกระทรวง มหาดไทย) ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของกำลังพลเพื่อให้สามารถนำมาใช้เป็น “กำลังสำรอง” สนับสนุนปฏิบัติการทางทหารใน ยามสงครามและค้ำจุนให้กองทัพมีความเข้มแข็ง สดชื่น ทำการรบได้ อย่างต่อเนื่อง ยาวนาน
การฝึกกำลังสำรองทั้ง ๔ กลุ่มข้างต้น เป็นการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์จากที่เป็นเพียงประชาชน คนธรรมดา (people) ให้เป็นพลเมือง (citizen) ที่มีความสามารถในการรบ และมีจิตสำนึกรักชาติ พร้อม เสียสละประโยชน์ส่วนตัว เพื่อปกป้องเอกราชของชาติเคียงข้างกำลัง ประจำการ
มุ่งสู่การเป็นกองทัพประจำกาอาสาสมัคร (Volunteer Army)
การทำให้กองทัพยุคใหม่ กองทัพแห่งคลื่นลูกที่ ๓ มีความเข้มแข็ง สดชื่น สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่กองทัพต้องการคือ คนรุ่นใหม่ไฟแรง ที่มีความรู้ความสามารถ มีความต้องการเป็นทหาร และเป็นพลเมือง แห่งยุคดิจิตอล เพื่อมาเป็นกำลังพลที่มีจิตใจฮึกเหิม รุกรบ พร้อมปฏิบัติ หน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มขีดความสามารถ หากกองทัพได้ คนกลุ่มนี้หมุนเวียนสับเปลี่ยนกันเข้ามารับใช้ชาติจะช่วยให้กองทัพมี ความสดอยู่เสมอ
ามสดอยู่เสมอ วิธีการที่จะได้คนเหล่านี้มา คือ การเปิดรับอาสาสมัครโดยในปี ๒๕๕๖ นรด. ได้ริเริ่มโครงการที่จะนำผู้ที่สำเร็จการฝึกวิชาทหารชั้นที่ ๓ หรอืชนั้ปทีี่ ๕ ทเี่ตม็ใจเปน็อาสาสมคัรเขา้รบัราชการเปน็ทหารประจำการแบบชั่วคราว ในระยะเวลา ๑ – ๒ ปี และหากต้องการสมัครสอบ เข้ารับราชการทหาร ก็มีสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมให้ ถือเป็นการสร้างแรง จูงใจสำหรับคนที่ต้องการเป็นทหาร มี ๒ โครงการ ดังนี้
๑) โครงการ“Contract Army”เป็นการนำผู้ที่สำเร็จการฝึกวิชา ทหาร ชั้นปีที่ ๓ หรือปีที่ ๕ ที่มีความสมัครใจเข้ารับราชการทหาร เป็นการชั่วคราว ระยะเวลา ๒ ปี โดยเข้ารับการฝึกเพิ่มเติม และ บรรจุทำหน้าที่เช่นเดียวกับกำลังพลประจำการ ในตำแหน่งนายทหาร สัญญาบัตรและนายทหารประทวนที่ขาดแคลน เมื่อครบกำหนดแล้วจะ เป็นกำลังสำรองที่มีคุณภาพของ ทบ. เนื่องจากได้ผ่านการปฏิบัติหน้าที่ เช่นเดียวกับกำลังพลประจำการมาแล้ว
๒) โครงการ “Enlisted Man” รับกำลังพลสำรองประเภท นายทหารสัญญาบัตรกองหนุนและนายทหารประทวนกองหนุน ที่มี ความสมัครใจเข้ารับราชการในตำแหน่งของกำลังพลสำรองตามบัญชี บรรจุกำลังของหน่วยในระบบกำลังสำรองตามแผนการเรียกพลเพื่อตรวจสอบและฝึกวิชาทหารประจำปี เพื่อทำหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าว เป็นระยะเวลา ๑ ปี กำหนดให้เข้ารับการฝึกจำนวน ๑๔ สัปดาห์ ในห้วง การฝึกทหารใหม่เพื่อทำหน้าที่เป็นครูทหาร
สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อสร้างแรงจูงใจในการสมัครเข้ารับราชการ ก็คือ โควตาการสอบเข้าเป็นนักเรียนนายสิบ (นนส.) โดยการสอบ แข่งขันภายในกลุ่ม ซึ่งทางโรงเรียนนายสิบทหารบก (รร.นส.ทบ.) จะ รับเฉพาะผู้ที่ผ่านการฝึกวิชาทหาร (ชั้นปีที่ ๓ หรือชั้นปีที่ ๕) และผู้ที่ ผา่นการรบัราชการทหารกองประจำการเทา่นนั้ โดยกำหนดเปน็สดัสว่น เช่น ๖๐ ต่อ ๔๐ เป็นต้น
ทั้งโครงการ “Contract Army” และ โครงการ “Enlisted Man” นับเป็นการพัฒนาด้านกิจการกำลังพลสำรอง ให้เข้าสู่ค่านิยมใหม่ คือ “การเรียน รด. เพื่อเป็นทหาร”
นอกจากนี้แล้ว ในแต่ละปีจะมีเยาวชนชายที่ไม่ได้เข้าในระบบกำลัง สำรองอีกประมาณสองแสนคน หากมองในมุมของการพัฒนาบุคลากร ทางทหารแล้ว ถือว่าคนกลุ่มนี้เป็นเพียง “ประชากร (people)” ที่ สมควรเพมิ่ศกัยภาพ เพอื่ใหก้ลายเปน็ “พลเมอืง (Citizen)” ทมี่คีณุภาพ ดงันนั้จงึเปน็การสมควรอยา่งยงิ่ทจี่ะ “เปดิรบัอาสาสมคัร”จากประชากร กลุ่มนี้ ซึ่งเป็นเยาวชนชายที่มีอายุตั้งแต่ ๑๘ ปีขึ้นไป ไม่เคยผ่านการฝึก วิชาทหาร แต่มีความต้องการที่จะเป็นทหาร เข้ามารับการฝึกอบรมทาง ทหารในระยะเวลาหนึ่ง และสร้างแรงจูงใจเพื่อให้สอบเข้ารับราชการ ทหารต่อไป แม้ว่าจะมีบางส่วนที่ไม่ได้เข้ารับราชการต่อ แต่คนกลุ่มนี้ ก็ได้กลายเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ มีจิตสำนึกรักชาติ พร้อมเสียสละ ประโยชน์ส่วนตัว เพื่อประโยชน์ส่วนรวม เรียกได้ว่า สังคมไทยจะเพิ่ม จำนวนพลเมืองที่มีคุณค่าสำหรับพัฒนาประเทศต่อไป
แนวคิดกองทัพประจำการอาสาสมัคร (Volunteer Army) จะ เป็นการส่งเสริมให้กองทัพไทยก้าวสู่การเป็น “กองทัพแห่งคลื่นลูกท ี่๓” ทมี่นีกัรบทชี่าญฉลาด มสีตปิญัญา มคีวามรู้ และเปน็มอือาชพี พรอ้มทจี่ะ ร่วมโต้คลื่นแห่งการปฏิวัติสารสนเทศไปพร้อมกับประชาคมโลก