“…ประวัติศาสตร์ได้แสดงให้ปรากฏตลอดว่า ชาติใดเสื่อมสูญย่อยยับอับปางไป ก็เพราะประชาชาติขาดสามัคคีธรรม  แตกแยกเป็นหมู่คณะ เป็นพรรคเป็นพวก คอยเอารัดเอาเปรียบ ประหัตประหารซึ่งกันและกัน บางพรรคบางพวกถึงกับ เป็นไส้ศึกให้ศัตรูมาจู่โจมทำลายชาติของตนดังนี้ ข้าพเจ้าจึงขอชักชวนพี่น้องชาวไทยทั้งหลายให้ระลึกถึงพระคุณของ บรรพบรุษุ ซึ่งได้กอบกู้รักษาบ้านนอนของเรามานั้นให้จงหนักแล้ว ความสามัคคี ความยินยอม เสียสละส่วนตัว เพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ของประเทศชาติเป็นคุณธรรมประจำใจอยู่เนืองนิตย์ จึงขอให้ชาวไทยทั้งหลาย จงบำเพ็ญกรณียกิจ  ของตนแตล่ะคนด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียร อดทนและกล้าหาญ แล้วอุทิศความเสียสละส่วนตัว ความเหน็ดเหนื่อย ลำบากยากแค้น เป็นพลีบูชาบรรพบุรุษ ผู้ซึ่งได้ก่อสร้างชาติเป็นมรดกตกทอดมาถึงพวกเราชาวไทยจนบัดนี้…”

พระราชดำรัสที่ผู้เขียนอัญเชิญมา ถ่ายทอดในโอกาสนี้เป็นข้อความส่วนหนึ่ง ของพระราชดำรัสพระราชทานแก่ประชาชนชาว ไทยในโอกาสขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๔๙๔ ในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๔๙๓ ซึ่งพระราชดำริที่ทรงถ่ายทอดออกมานั้นเป็นการเตือนสติพสกนิกรชาวไทยให้มีความตระหนักในเรื่องของ ความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การรู้จัก คำว่าเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ ของประเทศชาติ และที่สำคัญที่สุดคือโทษของการสามัคคีที่ทำลายประเทศชาติ ซึ่งผู้เขียนใคร่ขอขยายความในขอ้ความพระราชดำรัส เพื่อให้ทุกท่านได้กรุณาประจักษ์ในพระราชปณิธาน ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรง พระราชทานถ่ายทอดต่อสาธารณชนเมื่อ ๖๓ ปีก่อน กล่าวคือ

ประการแรก : ลักษณะและโทษของ การแตกสามัคคี

ประวัติศาสตร์ในอดีตได้บันทึกและแสดง ให้ปรากฏมาโดยตลอดว่า ความเสื่อมสูญและ สิ้นสลายลงของประเทศ ของชาติ มีปัจจัย และสาเหตุสำคัญเนื่องมาจากการที่ประชาชน ในชาติขาดสามัคคีธรรม โดยมีลักษณะ พื้นฐานของการแตกสามัคคี โดยการแบ่ง ฝัก แบ่งฝ่ายของประชาชนจากที่เคยมีความ กลมเกลียว จากที่เคยมีสายสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ให้แตกแยกออกเป็นหมู่เป็นคณะ ก่อตั้งองค์กร ออกเป็นพรรคเป็นพวกที่คำนึงถึงผลประโยชน์ ร่วมกันเพื่อคอยรักษาประโยชน์ของพวกตน ในลักษณะต่างๆ อาทิ มุ่งเอารัดเอาเปรียบ สังคมด้วยการสร้างอุดมการณ์ร่วมที่ดูเสมือน ว่าเป็นคุณต่อสังคมแต่เคลือบแฝงไปด้วย การปกป้องผลประโยชน์ของฝ่ายตนเอง หรือ คอยเวลาที่มุ่งจะประหัตประหารฝ่ายตรงกัน ข้ามกับตนเองให้คงเหลือแต่ฝ่ายของตนเอง ซ้ำที่ร้ายไปกว่านั้นคือบางพรรคบางพวกถึงกับ ยอมขายตวัเองหรอืขายจติวญิญาณของตนเอง เพื่อก้าวเป็นไส้ศึกให้ศัตรูเข้าจู่โจมทำลายชาติของตนเอง ดังเช่นที่เคยปรากฏมาแล้วทั้ง ในประวัติศาสตร์โลกและประวัติศาสตร์ของ ไทย ซึ่งการแตกสามัคคีนี้เองถือเสมือนกับเป็น เนื้อร้ายในการทำลายประเทศชาติให้สูญสิ้น นั่นก็คือ สภาวการณ์ที่ประชาชนในชาติแตก ความสามัคคี นั่นเอง

ประการที่สอง : คุณธรรมความดีของ คนในชาติ

สงิ่ทปี่ระชาชนชาวไทยไมค่วรหลงลมืคอื ผนื แผ่นดินไทยที่เราได้ร่วมกันอาศัยอยู่ในปัจจุบัน อนัเกดิมาจากความมงุ่มน่ั ทมุ่เทแรงกาย แรงใจ กอปรกับความเสียสละเลือดเนื้อและชีวิตของ บรรพบุรุษไทยในอดีต ซึ่งในโอกาสอันเดียว กันนี้ องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ ทรงชักชวนให้พสกนิกรชาวไทยทั้งหลายได้ ตระหนักและระลึกถึงพระคุณอันงดงามของ บรรพบุรุษไทยที่ได้เพียรสร้าง เพียรกอบกู้ เพียรรักษาบ้านเกิดเมืองนอนของเราเพื่อดำรง ไว้ให้แก่ลูกหลานคือคนไทยทุกคน พร้อมกับ ได้ทรงย้ำเตือนให้พสกนิกรชาวไทยถือเอา ความสามัคคีเป็นแบบอย่างในการอยู่ร่วมกัน ของคนในสังคมควบคู่ไปกับการตกลงปลงใจ ที่จะให้ความยินยอมในการเสียสละประโยชน์ ส่วนตัว เพื่อเกื้อกูลต่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ของ ประเทศชาติ ทั้งนี้ พสกนิกรพึงตระหนักใน เรื่องของคุณธรรมความสามัคคีและยึดถือไว้ เป็นคุณธรรมประจำใจอยู่ตลอดเวลา เพราะ จะเปน็หนทางสำคญัทจี่ะขบัเคลอื่นใหป้ระเทศ ชาติสามารถก้าวเดินไปข้างหน้าเพื่ออำนวย ประโยชน์ของประชาชนและสังคมได้อย่างมี เสถียรภาพ

276-2

ประการสุดท้าย : กรณียกิจอันสมควร

แนวทางสำคัญอย่างยิ่งที่องค์พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงชี้แนะให้พสกนิกร ชาวไทยพิจารณาปฏิบัติเป็นกรณียกิจ (กิจที่ พึงกระทำ) อันเหมาะสม โดยขอให้พสกนิกร ชาวไทยทั้งหลาย ต่างบำเพ็ญกรณียกิจของตน หรือของแต่ละบุคคลบนพื้นฐานของความ ซื่อสัตย์สุจริต ความขยันหมั่นเพียร ความ อดทนและกล้าหาญ ในขณะเดียวกัน ก็ให้ อุทิศความเสียสละที่ตนเองบำเพ็ญหรือปฏิบัติ ด้วยความตั้งมั่นแม้ว่าจะต้องประสบกับความ เหน็ดเหนื่อยหรือลำบากยากแค้นในทุกกรณี เพื่อเป็นการบวงสรวงบูชาในคุณงามความดี ของบรรพบุรุษไทย ผู้ซึ่งได้อุทิศแรงกายแรงใจ ในการก่อร่างสร้างประเทศ สร้างเสถียรภาพ และบูรณภาพแห่งประเทศชาติ จนสืบทอด มาเป็นมรดกตกทอดให้แก่ประชาชนชาวไทย ในปัจจุบัน หรือพิจารณาอีกนัยหนึ่งคือทรง ชี้แนะให้พสกนิกรชาวไทยยึดมั่นในคุณธรรม ความดีและบำเพ็ญเพียรตามหน้าที่ของตน ดว้ยความมงุ่มนั่ศรทัธาโดยมไิดห้วงัประโยชนท์ี่ ตนเองจะได้รับจากการกระทำ ในทางกลับกัน ผลประโยชน์ที่ได้รับจะบังเกิดแก่สังคมไทย และประเทศชาติ จึงถือเสมือนกับเป็นการ อุทิศความดีนี้แด่บรรพบุรุษ ซึ่งนับว่าเป็น พระราชกุศโลบายอันแยบคายและเป็น สิริมงคลแก่พสกนิกรชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง

หากนับเวลาที่เดินทางของพระราชดำรัส พระราชทานบทนี้นับได้ว่าเป็นเวลามากกว่า ๖๓ ปี ซึ่งเหตุการณ์ทางการเมืองในห้วงเวลา ดังกล่าวก็นับเป็นวิกฤตที่บั่นทอนการก้าวเดิน ไปข้างหน้าของประเทศชาติมากพอสมควร เพราะประเทศไทยในห้วงเวลาดังกล่าวเป็นห้วงเวลาที่เปราะบางทางการเมืองในยุคเริ่มต้นของสงครามเย็น จนนำไปสู่การกระทบกระทั่ง ของกลุ่มชนทางการเมืองที่มีความคิดเห็น แตกต่างกันอยู่หลายครั้งหลายคราว

แม้กระทั่งวันนี้ สถานการณ์ทางการเมือง ก็ยังคงเป็นผลกระทบจากความแตกแยก ทางความคิดของพี่น้องชาวไทยที่มีความเห็น แตกต่างกันอยู่ หากเปรียบไปแล้วก็เสมือน กับวงล้อเกวียนที่หมุนทับลงบนรอยเกวียน เดิมนั่นเอง ผู้เขียนเชื่อว่าสังคมไทยส่วนใหญ่ ต่างน้อมรับความคิดเห็นของทุกฝ่ายที่ต่าง ฝ่ายต่างแสดงออกให้เห็นถึงความตระหนักใน ทางการเมืองและอุดมการณ์ทางการเมืองของ แต่ละฝ่าย โดยต่างหวังว่าวิถีทางของตนเอง หรือกลุ่มของตนนั้นว่า จะอำนวยประโยชน์ ให้แก่ประเทศชาติและพี่น้องประชาชน แต่ใน ทางกลับกันอาจตั้งอยู่บนความคิดเห็นที่เป็น อุดมคติหรือความคิดเห็นที่สุดโต่งไปบ้างหรือ ไม่ จนทำให้ความคิดเห็นของแต่ละฝ่ายเป็น เสมือนเป็นเส้นขนานหรือทางขนานกับความ คิดของกลุ่มอื่นไปโดยปริยาย

ดังนั้น หากว่าเราจะทำให้เส้นขนานนั้นมา บรรจบกนัดว้ยวถิทีางทตี่งั้บนพนื้ฐานของเสนห่์ ความเป็นไทยอันเกิดจากการแบ่งปันรอยยิ้ม การแบ่งปันน้ำใจ การส่งมอบไมตรีและความปรารถนาดีบ้างจะดีหรือไม่ โดยที่หลักคิดนี้อาจเริ่มต้นจากแนวทางอันเนื่องมาจากพระราชดำรัสข้างต้น ที่เริ่มต้นจากความตระหนัก ในคุณธรรมความสามัคคี และประยุกต์เอา ความสามัคคีมาเป็นแบบอย่างในการอยู่ร่วม กันของคนในสังคม ควบคู่ไปกับการบำเพ็ญ กรณียกิจในการเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อ เกื้อกูลต่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ของประเทศชาติ แนวทางนี้อาจเป็นกลไกสำคัญที่จะขับเคลื่อน ความสงบสุข ความรักใคร่กลมเกลียวของคน ในชาติให้กลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ ขาดหายไปหลายปี และคาดหวังได้ว่าเป็น ความสงบสุขที่ยั่งยืน มีเสถียรภาพ ตลอดจน ผลักดันให้ประเทศชาติสามารถก้าวเดินไป ข้างหน้าได้อีกครั้ง

ถือได้ว่า ประชาชนชาวไทยเป็นคนที่โชคดี ที่เกิดมาบนผืนแผ่นดินไทยที่อุดมสมบูรณ์ มี ภาษา มีศิลปวัฒนธรรมที่งดงาม มีพื้นฐานทาง จิตใจที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และที่สำคัญที่สุดที่เกิด ภายใต้ร่มฉัตรแห่งพระเมตตาธรรมขององค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทาน พระราชดำริเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ชาวไทย มาโดยตลอด และถ้าวันนี้เราลองตั้งสติ ลอง หันกลับไปดูเหตุการณ์ที่ผ่านมาด้วยใจที่ ปราศจากอคติพร้อมกับอัญเชิญพระราชดำรัส พระราชทานข้างต้นมาเป็นกรอบแนวทางใน การคิด ในการดำเนินกิจกรรม และบำเพ็ญ กรณียกิจ สิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นทางออกให้ ประเทศไทยสามารถก้าวผ่านวิกฤตอันเชี่ยว กรากในครั้งนี้ไปได้ ลองทำดูเถิดครับ! คงไม่ เสียหายอะไรไปมากกว่านี้อีกแล้ว !

ช่วยกันเถอะครับ ! ช่วยกันขับเคลื่อน ประเทศไทยให้กลับคืนมาสู่ความเป็นเสือ แหง่อาเซยีนอกีครงั้ อยา่ทำใหป้ระเทศไทย อันเป็นที่รักของเราเป็นแมวป่วยของ อาเซยีนอยา่งทกุวนันเ้ีลย และกอ่นทจี่ะจบ ลงไป ผเู้ขยีนขอนำเอาบทประพนัธท์ชี่อื่วา่ เพลงชาต ิของ อาจารยน์ภาลยั (ฤกษช์นะ) สุวรรณธาดา ที่ได้กรุณาประพันธ์ไว้เมื่อ ปีพุทธศักราช ๒๕๑๐ มาทบทวนความ จำกันอีกครั้ง และขอให้บทสุดท้ายของ บทประพันธ์เป็นเพียงอนุสติเตือนใจ พี่น้องชาวไทยของเรา และขออย่าได้เกิด เหตุการณ์อันเลวร้ายนั้นเลย